 |
เครดิตภาษีเงินปันผล คือ การขอเงินภาษีที่จ่ายเกินไว้คืน
|
|
อ่านกระทู้เรื่องเครดิตภาษีแล้ว ลองเซิจดู เจอตัวอย่างดังนี้ครับ
เงินปันผลที่ได้รับ 70,000 บาท (1) หักภาษี ณ.ที่จ่าย 10% 70,000 x 10% = 7,000 บาท (2) เงินปันผลรับจริง (1) (2) 70,000 7,000 = 63,000 บาท (3) ขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ 70,000 x 3 / 7 = 30,000 บาท (4) *, **
ภาษีที่ถูกหักไว้ทั้งสิ้น (2) + (4) 7,000 + 30,000 = 37,000 บาท (5) หากไม่มีรายได้อื่น จะมีรายได้ (1)+(4) 70,000 + 30,000 = 100,000 บาท (6) หักค่าลดหย่อนส่วนตัว = 30,000 บาท รายได้เหลือหลังค่าลดหย่อน = 70,000 บาท
เงินได้พึงประเมินต่ำกว่า 80,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ***, ****
แต่เนื่องจากเงินได้จากเงินปันผลนี้ไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และมียอดตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป จึงต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ร้อยละ 0.5 ของเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย
ในกรณีนี้คือ 100,000 x 0.5% = 500 บาท (7) ขอเงินภาษีคืนส่วนชำระเกิน (5) (7) 37,000 500 = 36,500 บาท (8)
http://www.investorchart.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=investorchartcom&thispage=7&No=185507
***กรณีนี้ เป็นกรณีที่ผู้ถือหุ้นมีรายได้ทางเดียว และต่ำกว่าเกณฑ์ จึงเอารายได้ปันผลกรอกไว้ใน ภงด เพื่อรับเงินภาษีคืน จึงไม่จำเป็นต้องให้ นักแถรายใด มาแถไปว่า "ถ้าไม่นำมารวมใน ภงด ก็ไม่มีเครดิตภาษี" อีก
---------------------------------------------------------------------------
เครดิตภาษีเงินปันผล
เครดิตภาษี หมายความว่า สิทธิหรือประโยชน์อันมีมูลค่าเป็นเงินที่ผู้เสียภาษีได้รับเนื่องจากได้เสียภาษีล่วงหน้าไว้แล้ว หรือถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว หรือได้เสียภาษีไว้ในประเทศที่ทำสัญญาว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย หรือได้รับเครดิตภาษีมาเนื่องจากกฎหมายกำหนด (เช่น กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย) และสิทธิในเครดิตภาษีดังกล่าว ผู้เสียภาษีมีสิทธินำไปหักกลบกับจำนวนเงินภาษีที่ผู้เสียภาษีมีหน้าที่จะต้องชำระตามกฎหมาย และหากเครดิตภาษีมีมากกว่าจำนวนเงินภาษีที่จะต้องชำระแล้ว ผู้เสียภาษีมีสิทธิได้รับคืนเป็นเงินด้วย เว้นแต่จะถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายความตกลงระหว่างประเทศ
---------------------------------------------------------------------------
จากที่เน้นไว้ ยิ่งเห็นชัด ว่าเป็นส่วนที่จ่ายเกินไว้จึงขอคืนได้ ไม่ใช่แค่ส่วนลดของการซ้ำซ้อน เพราะถ้าเป็นส่วนลด จะขอคืนเป็นเงินสดไม่ได้ เวลาที่คิดภาษีปลายปี เมื่อมีภาระภาษี ก็เอาที่จ่ายเกินไว้ มาหักจากยอดที่ต้องจ่าย เท่านั้นเอง
1. มี "นักแถตัวพ่อ" บอกไว้ว่า เงินภาษีที่บริษัทจ่ายไป ไม่น่าสามารถนำมากล่าวอ้างได้ว่า เป็นเงินที่ผู้ถือหุ้นจ่าย
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า เงินภาษีที่บริษัทจ่าย ผู้ถือหุ้นสามารถจะไปขอคืนได้ ถ้าเงินภาษีที่บริษัทจ่ายไปไม่ใช่ภาษีของผู้ถือหุ้น(ตามกฎหมาย) แล้ว ผู้ถือหุ้นไปขอเงินส่วนนี้คืนได้อย่างไร????? (จากตัวอย่าง บรรทัดสุดท้าย เขียนไว้ชัดเจน ว่าขอเงินภาษีคืนส่วนชำระเกิน) ดังนั้นถึงบริษัทจะเป็นผู้จ่ายภาษี ก็เป็นเงินของผู้ถือหุ้นอยู่ดี
2. มี "นักแถตัวพ่อ" บอกไว้ว่า เงินเครดิตภาษีเป็นแค่ส่วนลดไม่มีการจ่ายจริง ใช้ได้แค่ลดหย่อน แต่จากตัวอย่างจะเห็นได้ชัดว่า ผู้ถือหุ้นไปรับเงินจากกรมสรรพากร ไม่ได้เอาไปหักลดจากภาษีแต่อย่างใด แบบนี้จะเรียกว่า เป็นส่วนลดการจ่ายภาษีซ้ำซ้อนได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีการจ่ายภาษีซ้ำซ้อน บริษัทจ่าย 30% ส่วนผู้ถือหุ้นโดนหัก 10% ผู้ถือหุ้นขอคืนได้ทั้งหมด แสดงว่าส่วนนี้ไม่ได้ซ้อนกัน (ถ้าซ้อนจะต้องขอคืนได้แค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด)
จากคุณ |
:
ดาวเหิน
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ก.พ. 53 22:44:33
A:112.143.15.249 X:
|
|
|
|  |