 |
ความคิดเห็นที่ 71 |
ทวงคืนผลประโยชน์แผ่นดิน ในสัญญาสัมปทานเอไอเอส ทวงคืนผลประโยชน์แผ่นดิน ในสัญญาสัมปทานเอไอเอส
การประกอบกิจการโทรคมนาคมของบริษัทเอไอเอสฯ กระทำอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานกับ ทศท หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (เดิม) ซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของรัฐ พูดง่ายๆ คือ ทศท เป็นผู้ดูแลคลื่นความถี่ดังกล่าว และ ทศท ได้ตกลงทำสัญญาร่วมการงานกับเอกชน โดยให้บริษัทเอไอเอสเข้ามาลงทุนและดำเนินการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่โทรคมนาคม ภายใต้เงื่อนไขสัญญาว่าจะต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ ทศท ตามอัตราส่วนที่ตกลงกันไว้ เปิดสัญญาดังกล่าว พบว่า อัตราส่วนแบ่งรายได้ที่บริษัทเอไอเอสฯ จะต้องจ่ายให้แก่ ทศท นั้น ไม่ได้เป็นอัตราเดียว คงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน ระหว่าง พ.ศ. 2533 - 2558 แต่เป็นอัตราก้าวหน้า ดังนี้ ปีที่ ๑-๕ เดือน ต.ค. ๒๕๓๓- ๒๕๓๘ จ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ ทศท. ในอัตราร้อยละ ๑๕ ปีที่ ๖-๑๐ เดือน ต.ค. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๓ จ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ ทศท. ในอัตราร้อยละ ๒๐ ปีที่ ๑๑-๑๕ เดือน ต.ค. ๒๕๔๓ - ๒๕๔๘ จ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ ทศท. ในอัตราร้อยละ ๒๕ ปีที่ ๑๖-๒๐ เดือน ต.ค. ๒๕๔๘ - ๒๕๕๓ จ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ ทศท. ในอัตราร้อยละ ๓๐ ปีที่ ๒๑-๒๕ เดือน ต.ค. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๘ จ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ ทศท. ในอัตราร้อยละ ๓๕ จะเห็นได้ว่า ในปีแรกๆ บริษัทเอไอเอสเอาเปรียบ ทศท โดยจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในอัตราต่ำ และสัญญาจะจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในอัตราที่สูงขึ้นในปีหลังๆ เรียกว่า ขอจ่ายน้อยๆ ในปีแรกๆ แล้วจะจ่ายให้มากๆ ในปีหลังๆ ภาษาชาวบ้านก็ว่า "ขอเอาเปรียบก่อน วันหลังจะจ่ายให้" แต่ที่ผ่านมา ในยุครัฐบาลทักษิณ ซึ่งครอบครัวท่านผู้นำของเรามีผลประโยชน์ มีส่วนได้เสียกับบริษัทเอไอเอสฯ ได้ปรากฏว่า มีการใช้อำนาจรัฐทำให้ ทศท. เสียผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ตามสัญญาเดิม คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท ! เพราะที่เคยสัญญาว่าจะจ่ายให้ในอนาคตก็ขอลดอัตราจ่ายตอบแทนลง เอกชนคู่สัญญา คือ บริษัทเอไอเอสฯ จึงได้รับผลประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ! เฉพาะ ๒ กรณีที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก คือ 1) การใช้อำนาจรัฐทำข้อตกลง ทำให้บริษัทเอไอเอสฯ ได้จ่ายเงินค่าส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ ทศท. ลดลง สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรเติมเงิน จากเดิมตามสัญญาต้องจ่ายในอัตราร้อยละ 25-30 ลดเหลือเพียง ร้อยละ 20 ตั้งแต่ ปี 2544 ทำให้ ทศท และ ผลประโยชน์ของแผ่นดินเสียหาย ในขณะที่บริษัทเอไอเอสฯ ได้รับผลประโยชน์ คิดมูลค่าความเสียหาย ตลอดอายุสัญญา กว่า 83,000 ล้านบาท! ยิ่งเมื่อปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่หันมาใช้ระบบบัตรเติมเงิน กลายเป็นว่า อัตราส่วนแบ่งรายได้ที่เคยสัญญาว่าจะจ่ายให้สูงๆ (สูงสุด ถึงร้อยละ 35) ตามสัญญาเดิมไม่มีความหมาย เพราะถูกเลี่ยงมาจ่ายในอัตราเพียงร้อยละ 20 ตามข้อตกลงใหม่ที่ทำในปี 2544 น่าเจ็บใจ ... ที่ประชาชนเลือกผู้นำประเทศมาทรยศ หักหลังคนไทยเช่นนี้ ไม่แปลกใจ ขณะนี้ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้รับเรื่องนี้ไว้พิจารณาสอบสวนแล้ว หวังว่า จะลากคอคนที่ทำให้รัฐเสียหาย และทวงเอาผลประโยชน์ของแผ่นดินคืนกลับมาให้ได้โดยเร็ว 2) การลดค่าสัมปทานโทรคมนาคมให้แก่บริษัทเอกชนคู่สัญญากับรัฐ โดยอนุญาตให้เอกชนนำค่าภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมไปหักออกจากค่าสัมปทานที่ต้องจ่ายตามสัญญาสัมปทานเดิมได้ แปลงค่าสัมปทานไปเป็นภาษีสรรพสามิต ทำให้ ทศท.ได้รับเงินค่าส่วนแบ่งรายได้ลดลง ! ดูเผินๆ เหมือนรัฐไม่เสียอะไร เพราะแม้เอกชนคู่สัญญาของรัฐจะได้จ่ายเงินส่วนแบ่งรายได้ลดลง แต่ก็ต้องไปจ่ายเพิ่มในรูปภาษีสรรพสามิตเข้ากระทรวงการคลัง ทำให้ยอดรวมเงินที่เอกชนต้องจ่ายยังเท่าเดิม รัฐยังคงได้รับเงินรวมเท่าเดิม แต่วิธีการนี้ เป็นการใช้ภาษีสรรพสามิตมาเป็นเครื่องมือปกป้องธุรกิจของบริษัทเอกชนเยี่ยงบริษัทเอไอเอสฯ และรายเก่าอื่นๆ ได้อย่างแยบยล เพราะ "ค่าส่วนแบ่งรายได้" เป็นเงินที่รัฐเรียกเก็บแต่เฉพาะจากเอกชนที่เป็นคู่สัญญาร่วมการงานกับรัฐ เคยหากินกับสัมปทานรัฐเท่านั้น แต่ "ภาษีสรรพสามิต" ร้อยละ 10 เป็นเงินที่รัฐเรียกเก็บจากเอกชนทุกราย ไม่ว่าจะเป็นรายเก่าที่เคยหากินกับสัมปทานรัฐอย่างบริษัทเอไอเอสฯ หรือรายใหม่ที่จะเข้ามาแข่งขันในอนาคต เท่ากับว่า บริษัทเอกชนผู้ประกอบการรายใหม่ จะต้องจ่ายภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมเช่นเดียวกับรายเอกชนรายเก่าเยี่ยงเอไอเอสฯ โดยที่ไม่สามารถนำค่าภาษีไปหักลบออกจากค่าส่วนแบ่งรายได้ตามสัมปทานเหมือนรายเก่า ทำอย่างนี้ เอกชนรายใหม่ จึงไม่มีแรงจูงใจจะเข้ามาแข่งขันกับรายเก่า รายเก่าก็กินดีอยู่ดี ทำอย่างนี้ เท่ากับเป็นการไปก้าวก่ายอำนาจและการปฏิบัติงานของ กทช. ซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ให้คุณให้โทษ เพราะอำนาจในการจะเพิ่มหรือลดภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมอยู่ที่กระทรวงการคลัง น่าแปลกใจ จนบัดนี้ เรื่องดังกล่าว ก็ยังไม่มีการแก้ไขให้ถูกต้องเลย Posted by นสพ. แนวหน้า on Thursday, November 09, 2006 at 15:09 Comments
จากคุณ |
:
Russian_KGB
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ก.พ. 53 18:13:32
A:110.164.74.140 X:
|
|
|
|
 |