 |
ความคิดเห็นที่ 4 |
|
อย่างไรก็ตาม กฎหมายอาญาก็ไม่ห้าม การใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยย้อนหลัง โดยกำหนดให้ใช้ได้ในขณะศาลพิพากษา แม้ว่าขณะกระทำความผิดจะไม่มีมาตรการเหล่านี้ก็ตาม เพราะมาตรการใหม่ๆ ย่อมจะนำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดในอนาคตได้ดีกว่าเป็นประโยชน์ทั้งผู้กระทำผิดเพราะไม่ใช่โทษอาญา และเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมเพราะมีมาตรการใหม่กับการกระทำ เพื่อป้องกันการเกิดความผิดได้ดีกว่าเดิม
การใช้มาตรการดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องกฎหมายย้อนหลังอันเป็นผลร้ายหรือเป็นโทษแก่บุคคล เทียบได้กับกรณีคนที่มาเช่าบ้าน ทำบ้านสกปรกเลอะเทอะเสียหาย ถึงขนาดลงมือรื้อฝาบ้านไปขาย, ให้คนนอกมาเช่าพื้นที่อยู่อาศัยโดยเอารายได้ใส่ตน, ค่อยๆ ทยอยขายทรัพย์สินในบ้านที่เจ้าของบ้านสะสมไว้ จนบ้านทรุดโทรม ทรัพย์สินร่อยหรอลงไปทุกที
เมื่อความจริงเปิดเผยเข้า จึงมีการบอกเลิกสัญญาเช่า โดยเพียงขอให้ผู้เช่าออกจากบ้านไปชั่วคราวก่อน จะได้เข้าไปซ่อมแซมบ้าน ไม่ได้เอาไปลงโทษ ทำร้ายที่ไหน การให้ผู้เช่าที่กำลังทำลายบ้านเช่าออกไปจากบ้าน เพื่อป้องกันความเสียหายของบ้าน จึงไม่ใช่โทษ แต่เป็นมาตรการเพื่อยุติความเสียหายแก่บ้านเช่าที่เขากำลังทำลายอยู่
ผู้เช่าที่กำลังทำลายบ้านนั้นกลับโวยวายว่าตนถูกตัดสิทธิ แถมยังมีคนบางคนเข้าใจผิดเห็นอกเห็นใจผู้เช่า ทั้งๆ ที่เจ้าของบ้านน่าจะจับผู้เช่าที่ทำลายข้าวของนี้ ติดคุกด้วยซ้ำ แต่เขาก็ไม่ทำ
จึงเห็นตรงข้ามกับ อาจารย์วรเจตน์ โดยสิ้นเชิงว่า
หากไม่นำมาตรการตัดสิทธิเลือกตั้งอันไม่ใช่โทษนี้ไปใช้กับกลุ่มผู้ทุจริตในการเลือกตั้งกลับจะทำให้ประชาชนภายใต้หลักนิติรัฐจะคลางแคลงและไม่ไว้วางใจให้ความเชื่อถือต่อหลักนิติรัฐเพราะความผิดปรากฏชัด แต่ผู้ทำผิดกลับลอยนวลไปได้
จากคุณ |
:
สารขัณฑ์
|
เขียนเมื่อ |
:
12 มี.ค. 53 10:04:46
A:111.84.121.184 X:
|
|
|
|
 |