 |
มุมมองทางวิชาการ: ตัวแบบชนชั้นนำ (Elite Model) ที่ใช้อธิบายการเมืองของประเทศกำลังพัฒนา
|
|
| | | | | เห็นด้วย (8 คน) | | | | ไม่เห็นด้วย (2 คน) | | | | อื่นๆ (1 คน) | | | จำนวนผู้ร่วมโหวตทั้งหมด 11 คน |
ลักษณะสังคมแบบชนชั้นนำ 1. สังคมที่คนกลุ่มหนึ่งมีอำนาจสูง ขณะที่เหลือแทบไม่มีหรือไม่มีอำนาจเลย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในประเทศที่ด้อยพัฒนา หรือ กำลังพัฒนา ซึ่งประชาชนขาดการศึกษา, ถูกกีดกันโดยระบบให้ไม่เติบโต 2. นโยบาย หรือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีลักษณะ ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อรักษาเสถียรภาพและป้องกันการปฎิวัติ 3. เป็นการตอบสนองความต้องการของชนชั้นล่างเท่าที่จำเป็น มากกว่าปฎิรูปครั้งใหญ่ที่ทำให้กลุ่มที่ไม่มีอำนาจ กลายมาเป็นกลุ่มอำนาจใหม่ ทำให้โครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนไป 4. เฉพาะผู้นำ ที่ยอมรับในสถานะและปรับตัวให้เข้ากับระบบหรือเสริมระบบ โดยไม่เข้าไปเปลี่ยนแปลงสถานะของชนชั้นนำเท่านั้น ที่จะได้รับการอนุญาตให้เข้ามาร่วมในการบริหาร ปกครอง ประเทศ 5. นโยบายสาธารณะ ไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชน แต่สะท้อนจุดยืนและผลประโยชน์ของชนชั้นนำ 6. การเลือกตั้ง และ พรรคการเมือง เป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น ว่าประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง เพื่อช่วยผูกพันประชาชนเข้ากับระบบ โดยการบริหารจริงๆ ต้องไม่ไปขัดแย้งกับสถานะและประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นสูง 7. กติกาของเกม ถูกกำหนดโดยชนชั้นนำ 8. ชนชั้นนำ มีอิทธิพลต่อความคิดมวลชน, ล้างสมอง, โดยการควบคุมสื่อ ขณะที่ ความคิดเห็นประชาชน ไม่มีผลต่อความคิดของชนชั้นนำ โดย ทัศนคติ ค่านิยม ของประชาชนเกิดจากแนวคิดที่ชนชั้นนำวางไว้ ผ่านทางสื่อที่ชนชั้นนำควบคุม 9. ชนชั้นนำมองประชาชนส่วนใหญ่ว่ามีลักษณะ เฉื่อยชา, เป็นผู้รับมากกว่าผู้กระทำ, ไม่สนใจการเมือง ขณะที่นักการเมือง สกปรก, หิวเงิน, ชั่วช้า ไม่สามารถบริหารประเทศได้
จากคุณ |
:
พลังแผ่นดิน
|
เขียนเมื่อ |
:
14 มี.ค. 53 10:46:43
A:124.122.133.172 X:
|
|
|
|  |