 |
ความคิดเห็นที่ 44 |
|
การ ระงับกิจการชั่วคราวเป็นการระงับความเสียหายไม่ให้เพิ่มขึ้นเพื่อรอการทำแผน ฟื้นฟู ควบกิจการ หรือการแยกหนี้ดี-เสีย เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งถ้ากระทำตามนโยบายเดิมหรือนโยบายเร่งด่วน ความเสียหายก็คงจะไม่สูงถึง 620,419 ล้านบาท ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และที่สำคัญที่สุดคือ ความเสียหายนี้ต้องตกเป็นภาระของสถาบันการเงินเหล่านี้ กับเจ้าหนี้ทั้งไทยและต่างประเทศ เป็นหนี้ของภาคเอกชนที่ประชาชนไทยทั้งประเทศไม่ต้องมาแบกรับภาระ
ใน LOI ฉบับที่ 1 มีการกำหนดไว้ชัดเจนข้อหนึ่งว่า รัฐบาลไทยจะไม่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินมาชำระแทนเอกชน เป็นเรื่อง moral hazard ที่ไอเอ็มเอฟเห็นด้วย แต่ธารินทร์กลับไปแก้และออก LOI ฉบับต่อๆ มา แล้วออกพระราชกำหนด (พรก.) ให้รับโอนภาระความเสียหายของกองทุนฟื้นฟู 5 แสนล้านบาท โดยอ้างว่าเป็นเรื่องที่ผูกพัน์กันมาก่อน ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะจะโอนภาระหนี้ของเอกชนมาเป็นของรัฐได้อย่างไร ทำไมประชาชนทั่วไปซึ่งไม่ได้ก่อหนี้เหล่านี้จะต้องออกมารับภาระหนี้นี้แทน ในการเจรจากับไอเอ็มเอฟ ไทยไม่เคยยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้ และไอเอ็มเอฟเองก็บอกว่าทำไม่ได้และไม่ควรทำ แต่ไม่มีใครทราบเหตุผลที่แท้จริงว่า ใน LOI ฉบับที่ 2 และ 3 รัฐบาลนี้ไปเจรจารับภาระทำไม และที่สำคัญ ไอเอ็มเอฟเห็นชอบได้อย่างไร การไปรับโอนหนี้ของเอกชนมาเป็นหนี้ของรัฐและประชาชนเป็นการกระทำที่ผิดพลาด อย่างมหาศาล การประกาศว่ารัฐจะดูแลผู้ฝากและผู้ให้กู้ที่ทำธุรกิจถูกต้องเป็นเพียงการ บรรเทาสถานการณ์ของการระดมถอนเงินเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น การบังคับให้กองทุนฟื้นฟูสละสิทธิ์หนี้บุริมสิทธิ์ของหลักประกันที่กองทุนฯ ถือ ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินเหล่านี้ก็เพียงเพื่อเอาใจ เจ้าหนี้ต่างประเทศที่ให้กู้แบบปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกัน (clean loan) เป็นการเอาใจฝรั่งโดยการผลักภาระความเสียหายให้คนไทยที่ไม่รู้เรื่อง
ความเสียหายขณะนี้สูงถึง 7 แสนล้านที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความบกพร่องผิดพลาดและการปฏิบัติที่ไม่โปร่งใส ของ ปรส.ที่นำสินทรัพย์ดีๆ ไปขายแบบเลหลัง และนโยบายที่รัฐบาลเคยประกาศเอาไว้แต่แรกว่าจะป้องกันความเสียหายนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้มีการปฏิบัติเลยกลับนำไปขายให้กับต่างชาติโดยเฉพาะ และชาวต่างชาติก็ทำกำไรไปมหาศาล ความเสียหายไม่หยุดแค่ 7 แสนล้านบาท เพราะการปิด 56 บริษัทเงินทุน เป็นการทำลายความมั่งคั่งของระบบสถาบันการเงินที่เหลือ และนักธุรกิจไทยอีกจำนวนมากอย่างไม่สามารถที่จะคำนวณได้ ปรส.ขายทรัพย์สินแบบเลหลัง โดยได้ราคาไม่ถึง 15-20% ของมูลค่าจริง การลดลงของมูลค่าทรัพย์สินเหล่านี้ทำให้สินทรัพย์และฐานะของทุกธนาคาร รวมทั้งเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ทั่วประเทศกระทบกระเทือน และลดลงทั้งระบบ นั่นคือทำให้คนไทยจนลงถ้วนหน้า สร้างปัญหาแก่ธุรกิจ ทำลายความมั่นคงของระบบธนาคารและนำไปสู่การจำนำอนาคตทางเศรษฐกิจของไทยไว้ กับต่างชาติ และคนที่ได้ผลประโยชน์ก็คือต่างชาติ คนไทยกลายเป็นเพียงลูกจ้าง
เลี่ยงกฎหมายเอาคลังค้ำหนี้เน่า
ล่า สุดธารินทร์ มีวาระนำเรื่องการชดเชยการขาดทุนอีกกว่า700,000 ล้านบาทให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันอังคารที่ 31 ตุลาคม ซึ่งการชดเชยดังกล่าวจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดและมีคณะ กรรมการขึ้นมาพิจารณาว่า การชดเชยให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯแต่ละครั้งว่ามีจำนวนเท่าใด เขาบอกว่า ในการเสนอคณะรัฐมนตรีนั้นจะให้ที่ประชุมพิจารณากรอบที่กระทรวงการคลังชดเชย ให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯว่า มีวิธีการอย่างไร แต่จะไม่ให้เป็นภาระแก่งบประมาณตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ความเสียหายที่กระทรวงการคลังจะชดเชยให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและมีความชัดเจน
ทั้งยังกล่าวอีกว่า ความเสียหายที่คาดว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯจะได้รับนั้น ในอีก 5 ปีข้างหน้าจากการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่ขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก 70,000 ล้านบาท การเข้าไปช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงธนาคารกรุงไทยและการซื้อหนี้เสียกว่า 500,000 ล้านบาทจากธนาคารกรุงไทยด้วยนั้น เมื่อคิดเป็นราคาปัจจุบันแล้วประมาณ 717,000 ล้านบาท บนสมมติฐานว่า หนี้เสียทั้งหมดจะสามารถติดตามให้ชำระคืนได้ร้อยละ 40
สรุปกองทุนฟื้นฟูฯขาดทุน 1.2 ล้านล้าน
ธารินทร์ กล่าวว่า เดิมนั้นกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย มีสมมติฐานในการคำนวณความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯแตกต่างกัน โดย ธปท.เห็นว่า อาจเกิดความเสียหายประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท ขณะที่กระทรวงการคลังเห็นว่า ควรอยู่ที่ประมาณ 800,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการหารือและมีการคำนวณองค์ประกอบต่างๆ แล้ว จึงสรุปว่าตัวเลขน่าจะอยู่ที่ 717,000 ล้านบาท ข้างต้น เมื่อรวมกับการที่กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตร 500,000 ล้านบาทชดเชยให้แก่สถาบันการเงิน 56 แห่งไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 แล้ว เท่ากับ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯทั้งสิ้นประมาณ 1.217 ล้านล้านบาท
การขายทรัพย์สิน 56 ไฟแนนซ์ของ ปรส.ในเบื้องต้นขาดทุนไปประมาณ 570,000 ล้านบาท สูงกว่าเดิมที่คาดการณ์ไว้ 500,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยังเหลือสินทรัพย์อีกประมาณ 100,000 ล้านบาท ที่ยังไม่ได้จำหน่ายและอยู่ระหว่างการฟ้องร้องดำเนินคดี หากได้มาเท่าไรก็ต้องนำไปหักออกจาก 700,000 ล้าน ซึ่งจะทำให้ความเสียหายลดลงอีก การที่ธารินทร์อ้างว่าการชดเชยดังกล่าวจะไม่เป็นภาระงบประมาณเพราะวิธีการ ที่ใช้นั้น คือ ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นผู้ออกพันธบัตรและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ส่วนพันธบัตรจะออกในแต่ละงวดและค้ำประกันเท่าใดนั้น จะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันเพื่อพิจารณา โดยจะมีหลักเกณฑ์ตามที่กำหนด อาทิ ความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างแน่ชัดแล้ว
กฤษฎีกาชี้การค้ำประกันพันธบัตรอาจผิดกฎหมาย
ต่อ มาก็มีการเปิดเผยด้วยว่า ก่อนหน้านี้ธารินทร์ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อหารือถึงการที่กระทรวงการคลังจะค้ำประกันพันธบัตรที่ออกโดยกองทุนเพื่อ การฟื้นฟูฯว่า สามารถทำได้หรือไม่ โดยถามคณะกรรมการกฤษฎีกา 2 ประเด็น คือ
กอง ทุนเพื่อการฟื้นฟูฯเป็นหน่วยงานของรัฐที่กระทรวงการคลังสามารถค้ำประกันหนี้ ได้ตาม พ.ร.บ.กำหนดอำนาจกระทรวงการคลังในการค้ำประกัน พ.ศ.2510 ได้หรือไม่ กระทรวง การคลังสามารถจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยพันธบัตรที่ออกโดยกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯแทนกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้หรือไม่ เมื่อพันธบัตรดังกล่าวครบกำหนดชำระ คณะ กรรมการกฤษฎีกาก็วินิจฉัยว่า ในข้อที่ 1 กระทรวงการคลังสามารถค้ำประกันกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ แต่ในข้อที่ 2 คณะกรรมการเห็นว่า การใช้วิธีการดังกล่าวก็คือการกู้เงินนั่นเอง จึงไม่สามารถทำได้ เพราะต้องออกเป็นกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด เนื่องจากวงเงินเกินกว่า พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณกำหนด อย่างไรก็ตาม ธารินทร์ได้ขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยหาทางออกว่าจะชดเชยกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯด้วยวิธีการใดก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่วิธีการออกกฎหมาย เมื่อมีปัญหาในข้อกฎหมายเช่นนี้ ทางคณะกรรมการเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตอบข้อหารือของกระทรวงการคลังอย่างเป็น ทางการ เพราะจะมีผลกระ ทบต่อการบริหารงานของรัฐบาล ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงทำหนังสือตอบข้อแรกเพียงข้อเดียว คือ กระทรวงการคลังสามารถค้ำประกันกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้ ส่วนวิธีการกระทรวงการคลังต้องดำเนินการเอง
เลี่ยงให้กองทุนฟื้นฟูออกพันธบัตร
วิธี การที่กระทรวงการคลังจะชดเชยความเสียหายแต่ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯเป็นผู้ ออกพันธบัตรเองและกระทรวงการคลังค้ำประกันให้นั้น ก็เหมือนกับกระทรวงการคลังเป็นผู้รับภาระเองเพียงแต่เลี่ยงให้กองทุนเพื่อ การฟื้นฟูฯ ออกแทน เพราะหวั่นเรื่องการเมือง เพราะในที่สุดแล้วกระทรวงการคลัง จะต้องรับภาระเองทั้งหมดเนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะมารับภาระหนี้จากการออกพันธบัตรดังกล่าว แหล่งข่าวจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯให้ความเห็นว่า ตัวเลขความเสียหายที่ประมาณการร่วมกันกับกระทรวงการคลังล่าสุดอยู่ที่ 850,000 ล้านบาท ส่วนตัวเลข 717,000 ล้านบาทยังไม่ได้พูดคุยกันและยังไม่เห็นตัวเลขดังกล่าว หากลดลง 100,000 ล้านบาท ถือว่ายังเป็นภาระหนัก
นอกจากนี้ ยังมีภาระการชดเชยจากรายได้ที่ขาดหายไปจากลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (Yield Maintenance) และการร่วมแบ่งรับผลกำไรขาดทุนจากการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ (Gain/Loss Sharing) ให้แก่สถาบันการเงินที่ทางการเข้าไปแทรกแซงที่มีการประมาณการความเสียหาย ในอีก 5 ปีข้างหน้าว่าจะมีประมาณ 7-8 แสนล้านบาท แต่เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯจะทยอยมา เรื่อยๆ ที่จะต้องรับมาเป็นหนี้สาธารณะเพิ่มเติมต่อจาก 5 แสนล้านบาทในระยะเวลาอันใกล้นั้น ก็คงจะไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ตัวเลขยังไม่แน่นอน เจ้าหน้าที่บางคนบอกว่า 2.1 แสนล้านบาท บางคนก็บอก 2.8 แสนล้านบาท
จากคุณ |
:
สองด้าน
|
เขียนเมื่อ |
:
21 มี.ค. 53 08:55:46
A:114.128.54.153 X:
|
|
|
|
 |