 |
ความคิดเห็นที่ 10 |
|
ส่วนหนึ่งของตัวอย่างคำอธิบายเรื่อง Waveform
ความ คิดเห็นที่ 2
ตัวอย่างที่ 1 ผมเชื่อว่า (26/04/52, 1:10) – Spectrogram
Spectrogram หรืออีกชื่อหนึ่งคือ short-time Fourier transform เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์สัญญาณที่มีลักษณะเป็น time-series ทั่วๆ ไปนะครับ โดยที่ในแกนนอนยังเป็นเวลาที่ผ่านไปเหมือนเดิม แต่ในแกนตั้งคือที่เราเห็นมีค่าไล่จาก 0 ถึง 5000 นั่นก็คือความถี่ในเสียงครับ สีดำแสดงค่าสูง ส่วนสีขาวแสดงค่าต่ำ
จุด ที่ควรสังเกตเมื่อดู spectrogram ก็คือ formant ครับ เราอาจรู้จัก formant ในอีกชื่อหนึ่งคือความถี่สั่นพ้องครับ จะแทนด้วย (F1, F2, …) เมื่อดู spectrogram formant เหล่านี้ก็คือเงาสีดำๆ ที่เราเห็นในรูปที่มีลักษณะเป็นเส้นนี่แหละครับ (บางครั้งเราจะเรียกมันว่า formant tracking ครับ) เมื่อคนแต่ละคนพูด คนแต่ละคนอาจจะมี formant ในลำดับสูงๆ ที่แตกต่างกันไปนะครับ หรือแม้แต่หากคนพูดเป็นคนเดิม แต่ลักษณะการพูดแตกต่างออกไป เช่น อาจจะเจ็บคอ ฟันผุ formant เหล่านี้ก็จะเปลี่ยนไปตามสภาพของช่องปากของเราครับ
เมื่อเรา วิเคราะห์ดูระหว่างคลิป X และ O แล้วพบว่า formant (หรือเงาสีดำๆ) ของทั้งสองรูปในตัวอย่างนี้ จะพบว่าเหมือนกันเป๊ะ
นอกจากนี้เราอาจจะ สังเกตพบว่าตรง “ช” ของคำว่าเชื่อมีช่วงที่มีความถี่สูง แต่ไม่มี formant เราจะเรียกเสียงตรงนี้ว่าเป็นลักษณะ fricative นะครับ เพราะเสียง “ช” เกิดจากการที่ลิ้นและเพดานปากมาอยู่ใกล้กันทำให้เกิดช่องแคบ และเกิดความถี่สูงในลักษณะพ่นครับ
ซึ่งการที่เสียงจากทั้งสองที่จะ เหมือนกันขนาดนี้ เป็นไปได้ในกรณีเดียวคือทั้งสองคือทั้งสองไฟล์มาจากการออกเสียงเดียวกันครับ
บาง คนอาจจะสังเกตเห็นสีขาวๆ ที่บริเวณความถี่สูงของรูป O การที่มีสีขาวแสดงว่าไม่ค่อยมีความถี่ในบริเวณนั้นครับ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการบีบอัดข้อมูลเสียงแบบ lossy ที่มักจะลบเอาความถี่สูงออกนะครับ
credit: คุณ phonetics
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/09/X8285336/X8285336.html
จากคุณ |
:
น้ำค้างในยามเช้า
|
เขียนเมื่อ |
:
24 มี.ค. 53 22:13:04
A:58.10.87.87 X:
|
|
|
|
 |