 |
ความคิดเห็นที่ 16 |
ผมไม่เห็นว่า กลุ่มคนเสื้อแดงจะทำผิดเหมือนกลุ่มเสื้อเหลือง
เพราะกลุ่มเสื้อเหลือง ไม่ได้ชุมนุมโดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ แต่เป็นการชุมนุมโดยมีอาวุธครบมือ ทั้งระเบิดต่างๆ ที่จับได้แต่ไม่เป็นข่าว อีกทั้งไปบุกทำลายสถานที่ราชการ และเอกชนต่างๆ ดังที่เป็นข่าว จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ดังที่ ศาลเคยตัดสินและให้ออกหมายจับ และมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้พันธมิตรฯ ออกจากทำเนียบรัฐบาล แต่ พันธมิตร ขัดคำสั่งศาล อีกทั้งสถานที่ราชการก็เสียหายจำนวนมาก
แต่กลุ่มเสื้อแดงต่างกับเสื้อเหลือง
การชุมนุมครั้งนี้ มีกฏหมายรองรับหรือไม่? คำตอบก็คือ มีครับ 1. ตามรัฐธรรมนูญ จะได้รับความคุ้มครองโดยการชุมนุมด้วยความสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ซึ่งแม้ว่าจะมีคนมาชุมนุมจำนวนมากจนกีดขวางทางจราจรก็ตาม หากยังอยู่ในกรอบของการชุมนุม โดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ไม่ได้ไปหาเรื่องทำร้ายใครก่อน ไม่ไปบุกทำลายสถานที่ราชการ ก็จะได้รับความคุ้มครอง 2. สนธิสัญญาระหว่างประเทศ คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (อังกฤษ: International Covenant on Civil and Political Rights) หรือ ICCPR เป็นสนธิสัญญาพหุภาคี ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ให้ การรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 สนธิสัญญานี้ให้คำมั่นสัญญาว่าภาคีจะเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของ บุคคล ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพในศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการรวม ตัว สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาความอย่างยุติธรรม จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 กติการะหว่างประเทศนี้มีประเทศลงนาม 72 แห่งและภาคี 165 แห่ง[1] ICCPR เป็นส่วนหนึ่งของ "International Bill of Human Rights" ร่วมกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights หรือ ICESCR)[2] กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนี้ติดตามตรวจ สอบโดยคณะ กรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Committee) (หน่วยงานต่างหากจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสห ประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) ซึ่งได้แทนที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on Human Rights) ภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติใน พ.ศ. 2549) ซึ่งตั้งขึ้นอย่างถาวร เพื่อพิจารณารายงานตามกำหนดเวลา ที่ส่งเข้ามาโดยรัฐสมาชิกตามข้อตกลงในสนธิสัญญา สมาชิกของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนนั้นจะคัดเลือกโดยรัฐสมาชิก แต่ไม่ได้เป็นตัวแทนของรัฐใด ๆ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้โดยการภาคยานุวัติเมื่อ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540[3] ดังนั้น การชุมนุมโดยสงบ ไม่ได้ไปบุกสถานที่ราชการจึงได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายระหว่างประเทศด้วย ถ้ารัฐบาล สลายการชุมนุมโดยไร้เหตุผล จนมีคนตาย จะทำให้ถูกฟ้องขึ้นศาลระหว่างประเทศได้อย่างแน่นอน และผู้ใช้อาวุธฝ่ายรัฐบาล ย่อมต้องมีความผิดอย่างแ่น่นอน เพราะนั่นไม่ใช่ผู้พิพากษาคนไทย ที่ไร้หลักการ ไร้มาตรฐาน ตราบใดที่กลุ่มคนเสื้อแดง ไม่ใช้อาวุธ ทำลายสถานที่ราชการ จะได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายทั้งสองฉบับอย่างเต็มที่
http://th.wikipedia.org/wiki/กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
จากคุณ |
:
thipch
|
เขียนเมื่อ |
:
9 เม.ย. 53 12:17:48
A:124.120.109.251 X:
|
|
|
|
 |