|
ความคิดเห็นที่ 49 |
การพิจารณาติดตามการดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สิน ของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์
สภาพปัญหา การดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ปี พ.ศ. ๒๕๓๓) และอดีตประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (ปี พ.ศ. ๒๕๓๔) เริ่มต้นขึ้นจากกรณีที่นางอัมพาพันธ์ ธเนศเดชสุนทร ซึ่งเป็นภรรยาของพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ และ พลเอก สมโภชน์ สุนทรมณี ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๒ เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ โดยมี พันเอก (หญิง) คุณหญิง อรชร คงสมพงษ์ ภรรยา และบุตรชายอีก ๒ คน คือ พันโท อภิรัชต์ คงสมพงษ์ และพันตรี ณัฐพร คงสมพงษ์ เป็นผู้คัดค้าน ทั้งนี้ เนื่องจากก่อนที่ พลเอก สมโภชน์ สุนทรมณี อดีตนายทหารคนสนิทเป็นผู้ดำเนินการจัดการมรดกและดำเนินการจัดพิธีศพ ในขณะเดียวกัน พันเอก (หญิง) คุณหญิง อรชร คงสมพงษ์ และบุตร ชายอีก ๒ คน คือ พันโท อภิรัชต์ คงสมพงษ์ และ พันตรี ณัฐพร คงสมพงษ์ ก็เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นางอัมพาพันธ์ ธเนศเดชสุนทร กับพวก รวม ๑๒ คน เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมและเรียกคืนทรัพย์สิน ประมาณ ๓,๙๐๐ ล้านบาท ซึ่งเป็นที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ห้องสมุด หุ้นบริษัท บัญชีเงินฝาก(๑๕ บัญชี) เงินสด เช็คเงินสด และอื่น ๆ
จากการพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลในรายละเอียดเกี่ยวกับการมีอยู่ ซึ่งจำนวนทรัพย์สินที่ปรากฏ พบว่า จำนวนทรัพย์สินตามคำฟ้องร้องนั้น มีการประเมินตัวเลขจำนวนทรัพย์สินที่สูงเกินความจำเป็นหลายเท่า อาจเป็นความประสงค์ของโจทก์ที่ยื่นฟ้องที่ต้องการให้เป็นข่าวและเป็นที่สนใจ ของสาธารณชนทั่วไป ดังนั้น จำนวนตัวเลขทรัพย์สินที่ปรากฏเป็นข่าว จึงค่อนข้างแตกต่างกันมาก ตัวอย่าง เช่น
๑. รายการเงินที่ฝากในสถาบันการเงิน จำนวน ๒,๗๕๕,๓๕๐,๔๕๖ บาท ๒. รายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำนวน ๖๗๕,๕๓๒,๐๐๐ บาท
จำนวนทรัพย์สินดังกล่าวคณะกรรมาธิการวิสามัญได้ตรวจสอบแล้วพบว่ามียอดจริง แตกต่างกันจากยอดตามคำฟ้องค่อนข้างมาก โดยยอดจริงที่คณะกรรมาธิการตรวจสอบแล้วปรากฏดังนี้
๑. รายการเงินฝากในสถาบันการเงิน จำนวน ๙๗๗,๖๒๕,๐๘๖.๖๙ บาท ๒. รายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำนวน ๖๗,๕๐๖,๓๐๐ บาท
ในการดำเนินการเพื่อพิจารณาติดตามและตรวจสอบว่า นางอัมพาพันธ์ ได้ทรัพย์สินมาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ คณะกรรมาธิการวิสามัญได้ดำเนินการแยกการพิจารณาออกเป็น ๒ แนวทาง ดังนี้
๑. ร้องขอให้สำนักงานป้องกันและปรามปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. ดำเนินการพิจารณาติดตามและตรวจสอบว่าการได้มาซึ่งทรัพย์สินของนางอัมพาพันธ์ เข้าข่ายมูลฐานความผิด ๗ ประการ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่ ๒. ส่งหลักฐานให้กรมสรรพากรพิจารณาติดตามและตรวจสอบว่า นางอัมพาพันธ์ ได้เสียภาษีเงินได้บุคคลตามกฎหมายประมวลรัษฎากร หรือไม่
จากการดำเนินการติดตามและตรวจสอบทรัพย์สินของ นางอัมพาพันธ์ ได้ข้อสรุปดังนี้ ๑. สำนักงานป้องกันและปรามปรามการฟอกเงินได้ดำเนินการติดตามและตรวจสอบถึงแหล่ง ที่มาของทรัพย์สิน โดยเฉพาะเงินสดที่ฝากไว้ในสถาบันการเงิน พบว่าการดำเนินการติดตามและตรวจสอบเป็นไปอย่างยากลำบากและล่าช้า เพราะต้องตรวจสอบรายละเอียดถึงรายการฝากและถอนทุกรายการรวมทั้งการโอนเงิน ต่าง ๆ จากสถาบันการเงินหนึ่งไปยังอีกสถาบันการเงินหนึ่ง ประกอบกับระยะเวลาการทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงินได้ผ่านมาเป็นเวลาหลายปี จึงทำให้การค้นหาหลักฐานเป็นไปด้วยความล่าช้า เพราะหลักฐานบางอย่างสถาบันการเงินได้นำไปเก็บไว้ในโกดัง ซึ่งต้องส่งเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ไปค้น นอกจากนี้ หลักฐานบางส่วนก็ถูกทำลายไป เนื่องจากเป็นเอกสารที่พ้นระยะเวลาเก็บรักษาตามกฎหมาย
จากการตรวจสอบรายการฝาก – ถอน บางส่วนของ นางอัมพาพันธ์ สำนักงาน ปปง. ไม่พบหลักฐานหรือข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งที่ชี้ชัดว่า ทรัพย์สินที่นางอัมพาพันธ์มีอยู่นั้น ได้มาไม่ถูกต้องและเข้าข่ายมูลฐานความผิด ๗ ประการ ของกฎหมายฟอกเงิน ดังนั้น สำนักงาน ปปง. จึงยังไม่อาจดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้ อย่างไรก็ตาม ปปง. ได้ประสานความร่วมมือไปยังกรมสรรพากร เพื่อดำเนินการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎหมายประมวลรัษฎากร ต่อไป ๒. กรมสรรพากรได้ดำเนินการตรวจสอบการเสียภาษีย้อนหลังของนางอัมพาพันธ์ โดยได้นำยอดจำนวนเงินฝากทั้งหมด ๒๙ บัญชี ในสถาบันการเงินระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๕๓ มาพิจารณาตรวจสอบว่ายอดเงินฝากดังกล่าวมีการเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายหรือ ไม่ จากการชี้แจงและพิสูจน์ที่มาของยอดเงิน ได้ข้อสรุปว่า
๑) นางอัมพาพันธ์สามารถชี้แจงแหล่งที่มาของเงินได้ประมาณ ๔๐๐ ล้านบาท ๒) ไม่สามารถชี้แจง และพิสูจน์ถึงแหล่งที่มาของเงินสด จำนวนประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท
จากการที่นางอัมพาพันธ์ไม่สามารถพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน จำนวน ๑๐๐ ล้านบาท ตามข้อ ๒ นั้น กรมสรรพากร ถือว่าจำนวนเงินที่ไม่สามารถชี้แจงหรือพิสูจน์แหล่งที่มาได้ถือว่าเป็นเงิน ได้ตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนางอัมพาพันธ์จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณเสียภาษีพร้อมชดเชยค่าปรับ และเงินเพิ่มตามกฎหมายกำหนด ซึ่งรวมเป็นเงินประมาณทั้งสิ้น ๗๕ ล้านบาท
จากคุณ |
:
kfai
|
เขียนเมื่อ |
:
10 เม.ย. 53 05:49:02
A:125.24.5.207 X:
|
|
|
|
|