ปิด"สื่อ แดง"ลดหรือเพิ่มเชื้อไฟ?
|
|
ปฏิบัติการของรัฐบาลหลังประกาศพ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ผ่านไปไม่ถึง 24 ชั่วโมง ได้สั่งปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม "พีเพิล แชนแนล" ของคนเสื้อแดง
ตาม ด้วยวิทยุชุมชนและเว็บไซต์ต่างๆ นับสิบแห่ง
ท่ามกลางการโจมตีของคน เสื้อแดง ถึงการเลือกปฏิบัติปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของสื่อ
การดำเนิน การดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่เพียงไรหรือจะทำให้เหตุการณ์รุนแรงบานปลายมากขึ้น หรือไม่ มีเสียงสะท้อนดังนี้
สุกัญญา สุดบรรทัด
ส.ว.สรรหา
อดีต รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
กรณีที่รัฐบาลปิดสถานีพี เพิลแชนแนล รัฐบาลมีแต่ผลเสียหลายประการ
1.ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนขั้นพื้นฐานที่ถือว่าผิดหลักรัฐธรรมนูญ
กฎหมายนี้ถือว่า สำคัญมากไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีความสากลทั่วโลก การที่รัฐบาลทำถือว่ายิ่งกว่าการแทรกแซง รู้สึกสังเวชรัฐบาลที่ไม่มีหนทางดีกว่านี้ในการดำเนินการ
2.พีทีวี เป็นสื่อคล้ายเอเอสทีวี เป็นสื่อทางเลือกเฉพาะกลุ่มตามความเชื่อและอุดมการณ์แต่ละฝ่าย
เพราะ ต้องเข้าใจว่ารัฐบาลก็มีสื่อหลักอย่างช่อง 11 แต่ไม่เปิดพื้นที่ให้เขาได้ยืน เขาจึงต้องแสวงหาสื่อทางเลือกในการดำเนินการ
การ ที่รัฐบาลทำเช่นนี้จะเป็นเชื้อชนวนให้เกิดรุนแรงความโกรธแค้น ไม่เป็นผลดีต่อชาติบ้านเมือง
การกระทำดังกล่าวคล้ายคลึงกับเผด็จ การหรืออำนาจนิยม ตรงกันข้ามกับความคิดของรัฐบาลที่ประกาศตลอดว่าเป็นประชาธิปไตย
ซึ่ง ในระบอบประชาธิปไตยต้องฟังเสียงที่แตกต่างจากประชาชน ทำไมรัฐบาลชุดนี้ไม่จำบทเรียนจากพฤษภาทมิฬ
การทำเช่นนี้ยิ่งทำให้คน เสื้อแดงออกมาทั่วถนนและโกรธแค้นรัฐบาลไม่สิ้นสุด
หากถามว่าเป็น 2 มาตรฐานหรือไม่ที่ไม่ปิดเอเอสทีวีด้วย ยืนยันว่าเป็น 2 มาตรฐานแน่นอน
ทาง ที่ดีรัฐบาลควรปิดเอเอสทีวีด้วย จะได้ไม่มีข้อครหาเรื่อง 2 มาตรฐาน
ส่วน ข้อเสนอแนะรัฐบาล เมื่อปิดไปแล้วคงแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่รัฐบาลควรนำคนเสื้อแดงมาเปิดพื้นที่ไว้ในสื่อของรัฐ อย่างช่อง 11 เพื่อให้คนเสื้อแดงได้แสดงความคิดเห็นเพื่อปลดล็อกรหัสความรุนแรงจากสื่อ
และ รัฐบาลหยุดยั่วยุฝ่ายตรงข้ามโดยการให้คนฝ่ายตรงข้ามไม่มีอาวุธอะไรตอบโต้เลย
สุ รพงษ์ โสธนะเสถียร
อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
การเมืองปัจจุบัน คนมักมองเปรียบเทียบกับการเมืองในอดีต ซึ่งมองอย่างนั้นไม่ได้
การ ปิดสื่อของคนเสื้อแดงมองได้ 2 มุม คือมุมมองวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน กับมุมมองรัฐศาสตร์
ในแง่สื่อสารมวลชนจะมองเรื่องเสรีภาพอันดับหนึ่ง เรื่องความมั่นคงของรัฐอันดับสอง อาจทนไม่ได้ที่มีการละเมิดเสรีภาพสื่อ
แต่ หากมองแง่รัฐศาสตร์จะมองเรื่องความมั่นคงอันดับหนึ่ง เรื่องเสรีภาพสื่อเป็นเรื่องรองลงมา
สถานการณ์ปัจจุบันรัฐอาจ ต้องยับยั้งการท้าทายอำนาจรัฐ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มองคนละด้านกัน ผมมองว่ารัฐบาลจำเป็นต้องปิดสื่อเสื้อแดง เพราะเป็นสงครามช่วงชิงมวลชน
รัฐบาล รู้ว่าตัวเองต่อสู้ไม่ได้เมื่อมีการชิงมวลชนก็จำเป็น ต้องปิด
ขณะ ที่เนื้อหาสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชนแนลของเสื้อแดง มี 2 เรื่องที่รัฐบาลรับไม่ได้ คือ การเชิดชู พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นผู้กระทำผิดแต่ไม่ยอมมารับโทษและเรื่องล้มเจ้า รัฐบาลมองว่าเนื้อหาท้าทายอำนาจรัฐที่ไม่ใช่รัฐบาล ดังนั้นต้องตัดไฟแต่ต้นลม
การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินทำให้รัฐบาลมีความชอบธรรมในการปิดสื่อในสถานการณ์ที่ร้ายแรง เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องร้ายแรงในสายตาสื่อและสังคม
ส่วนการมองว่า รัฐบาล 2 มาตรฐาน อยากให้ถามประชาชนกลุ่มใหญ่มองอย่างไร รู้สึกอย่างไร เพราะการต่อสู้มีกันหลายกลุ่ม ไม่ใช่แค่เสื้อแดง ไม่ใช่การเมืองของคน 2 กลุ่ม คือ เสื้อแดงกับรัฐบาล แต่ยังมีคนเสื้อชมพู คนกทม. ชาวบ้านในชุมชนที่เริ่มไม่พอใจแล้ว
การปิดทีวีเสื้อแดงอาจทำให้ ประชาชนส่วนหนึ่งรู้สึกสะใจ เพราะรอรัฐบาลทำการอย่างใดอย่างหนึ่งมานาน
หลังจากปิดทีวีเสื้อแดงแล้วคิดว่าเสื้อแดงอาจลงไปใช้สื่อใต้ดิน สื่อบุคคลอื่นๆ มากขึ้น
จึงอยู่ที่รัฐบาลว่าได้เตรียมรับมือไว้ หรือยัง
ขนิษฐา ปาลโมกข์
ประธานหลักสูตร นิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
การปิดสื่อ เสื้อแดงมีผลให้สถานการณ์ร้อนแรงขึ้นแน่นอน เพราะเสื้อแดงพูดล่วงหน้ามาตลอดว่ารัฐบาลจะปิดสัญญาณทีวีเสื้อแดง
การ รับสื่อด้านเดียวมีผลให้เกิดความโน้มเอียงต่อทรรศนะ ซึ่งต้องยอมรับว่าภาษาที่ใช้ปลุกระดม จูงใจ กล่าวอ้างอิงบุคคลที่ยกมาปลุกกลุ่มเป้าหมาย เป็นลักษณะการจับใส่ ทำให้คนฟังโน้มเอียงง่าย
การสื่อสารต้องมองเรื่องความถูกต้อง เป็นสำคัญ การรับสื่อต้องมีวิจารณญาณ แต่จะมองว่ารัฐบาลสองมาตรฐานก็คงไม่ได้ เพราะรัฐบาลเองก็ต้องมีสื่อของรัฐในการสื่อสารกับประชาชน
การปิดทีวี เสื้อแดงหลังประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง ถือว่าสมควรต่อสถานการณ์ เพราะสื่อเสื้อแดงกำลังสร้างเสริมอุดมการณ์ความรุนแรง เรียกคนมาเพิ่ม การตัดสินใจของรัฐบาลย่อมต้องเอาผลประโยชน์ชาติ
รัฐบาลมีสาเหตุใน การปิด ว่าสื่อเสื้อแดงให้ข้อมูลรุนแรง ปลุกระดม บางอย่างไม่ใช่ข้อเท็จจริง ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อแต่เป็นการปลุกระดมคนให้มีอุดมการณ์สร้างความเสียหาย
หาก รัฐบาลปิดตั้งแต่ต้นเลยถือว่าปิดกั้นข่าวสาร แต่ตอนนี้รัฐทำเพื่อรักษาผลประโยชน์บ้านเมืองได้ โดยรัฐบาลก็แจ้งให้ทราบมาระยะหนึ่ง สร้างความเข้าใจประชาชนแล้ว ไม่ใช่ลุอำนาจในการปิด
หลังปิดพีทีวีมีผลแน่นอน เสื้อแดงจะจับมาเป็นประเด็นพูดได้ว่ารัฐปิดช่องทางข่าวสารด้านเดียว อาจบานปลายมาก แต่แค่ไหนคาดเดายากเพราะสถานการณ์เปลี่ยนวันต่อวัน
แต่ ที่แน่ๆ จะเอาประเด็นปิดสื่อมาปลุกระดมการชุมนุมได้อีกประเด็น
แถลงการณ์ ร่วม
เรื่อง การสั่งปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและเว็บไซต์ k
ตาม ที่รัฐบาลอ้างอำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินในการปิดกั้นสัญญาณสถานีโทรทัศน์พีทีวี รวมทั้งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาข่าวสารความคิดเห็นทางการ เมือง เช่น เว็บไซต์ www.prachatai.com ตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 8 เม.ย. ที่ผ่านมานั้น
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย หารือร่วมกันแล้ว มีความเห็นดังต่อไปนี้
1.การปิดกั้นสัญญาณของ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวีและการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ที่แสดง ความคิดเห็นดังกล่าว
เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 45 ที่บัญญัติว่า "การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรา นี้ จะกระทำมิได้"
ทั้งนี้ รัฐบาลจะสามารถใช้กฎหมายพิเศษเพื่อจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชนได้ก็เพียงการ ห้ามเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วนเท่านั้น
2.การ ที่รัฐบาลกล่าวอ้างว่าการดำเนินการปิดกั้นสัญญาณและการปิดกั้นการเข้าถึง เว็บไซต์ดังกล่าว เพื่อป้องกันการบิดเบือนข่าวสาร ทำให้ประชาชนไม่ได้รับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง
ขณะที่รัฐบาลเองยัง ใช้สถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐในการเสนอรายการที่มีลักษณะนำเสนอข้อมูลด้าน เดียว อีกทั้งยังปล่อยให้สถานีวิทยุและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอื่นๆ นำเสนอเนื้อหาในลักษณะใกล้เคียงกัน
ซึ่งอาจนำไปสู่ความแตกแยกใน สังคมมากขึ้นนั้น
ย่อมเป็นการกระทำที่รัฐบาลอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็น "สองมาตรฐาน" และสร้างความชอบธรรมแก่ผู้ชุมนุมมากขึ้น
3.การปิด กั้นสื่อในลักษณะนี้ย่อมเป็นการปิดกั้นสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
จึง อาจทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกั้นสื่อดังกล่าวออกมาเข้าร่วมกับ กลุ่มผู้ชุมนุมมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้สถานการณ์มีความซับซ้อนและอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้
4.องค์กร วิชาชีพสื่อมวลชนขอเรียกร้องให้สื่อมวลชนทุกแขนง ทำหน้าที่รายงานข่าวสารที่เกิดขึ้นในขณะนี้ด้วยความครบถ้วนรอบด้าน
โดย นำเสนอความจริงและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วยการคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพในการ รับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน และระมัดระวังการนำเสนอข่าวที่อาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในการยุติปัญหา
สุด ท้ายนี้การแสดงจุดยืนของทั้งสองสมาคมเป็นไปตามหลักการของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยยึดถือประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ไม่ประสงค์จะให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำแถลงการณ์ฉบับนี้ไปใช้ในการสร้างความชอบ ธรรมให้กับตนเอง
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคม เคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย
8 เมษายน 2553
จากคุณ |
:
teawsad
|
เขียนเมื่อ |
:
10 เม.ย. 53 01:08:34
A:58.8.170.141 X:
|
|
|
|