คุณคิดว่า รัฐบาลควรประกาศกฏอัยการศึกหรือไม่
|
|
| | | | | ควร (74 คน) | | | | ไม่ควร (15 คน) | | | | เฉยๆ ไม่รู้ (0 คน) | | | จำนวนผู้ร่วมโหวตทั้งหมด 89 คน |
เมื่อมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว จะทำให้มีผลในทางกฎหมายหลายประการที่พอจะสรุปได้ดังนี้
๑. เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในกรณีนี้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอยู่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนใน ๓ เรื่อง คือ เรื่องที่เกี่ยวกับการยุทธ เรื่องที่เกี่ยวกับการระงับปราบปราม หรือเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยกฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฎิบัติตามความต้องการของเจ้า หน้าที่ฝ่ายทหาร
๒. อำนาจในการพิจารณาคดีของศาล ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ในมาตรา ๗ โดยทั่วไปแล้วในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกยังคงให้ศาลพลเรือน(ในปัจจุบัน นี้น่าจะหมายถึง ศาลยุติธรรมและศาลปกครอง) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามปกติ เว้นแต่ผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางประเภทที่ได้กำหนดไว้แบ้วในบัญชี ต่อท้ายพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก แต่ถ้าคดีอาญาเรื่องใดที่มีเหตุผลพิเศษอันเกี่ยวด้วยความมั่งคงของประเทศ แม้คดีอาญาเรื่องนั้นจะมิได้มีอยู่ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาจจะสั่งให้นำคดีอาญาเรื่องนั้นๆ ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทหารก็ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อน่าสังเกตคือ ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ ได้กำหนดให้ศาลทหารในเขตที่มีการใช้กฎอัยการศึกเป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ซึ่งมีผลต่อการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา คือ ทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหารมีเพียงชั้นเดียว จะไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้ และผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกอาจจะประกาศกำหนดให้ศาลพลเรือนทำหน้าที่ เป็นศาลทหารได้ด้วย ๓. เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร มีอำนาจในการที่จะตรวจค้น เกณฑ์ ห้าม ยึด เข้าอาศัย ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และขับไล่ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘ ถึงมาตรา ๑๕ โดยปรากฏตามคำบรรยายในกฎเสนาบดี พอสรุปได้ว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่จะมีอำนาจดังกล่าวนั้นมิได้หมายความว่าทหารทุกคนจะมี อำนาจดังกล่าว แต่กฎหมายให้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีอำนาจประกาสให้กฎอัยการศึกเท่านั้น และในทางปฏิบัติเมื่อมีการใช้กฎอัยการศึกแล้ว ผุ้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกก็อาจจะออกประกาศเพื่อแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ทหาร หรือเจ้าหน้าที่อื่น เพื่อให้กระทำการต่างๆ ดังกล่าวได้ การตรวจค้น” เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจในการตรวจค้น ดังนี้
ก. ตรวจค้นบรรดาสิ่งซึ่งจะเกณฑ์ หรือต้องห้าม หรือต้องยึด หรือต้องเข้าอาศัย หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบกฎหมาย ทั้งมีอำนาจที่จะตรวจค้นได้ไม่ว่าที่ตัวบุคุล ในยายพาหนะ เคหสถานสิ่งปลูกสร้าง หรือที่ใดๆ และไม่ว่าเวลาใดๆ ทั้งสิ้น
ข. ตรวจข่าวสาร จดหมาย โทรเลข !บห่อ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่งหรือมีไปมาถึงกันในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก
ค. ตรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพโฆษณา บท หรือคำประพันธ์
“การเกณฑ์” เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเกณฑ์ดังนี้
ก. เกณฑ์พลเมืองให้ช่วยกำลังทหารในกิจการซึ่งเนื่องในการป้องกันพระราชอาณาจักร หรือช่วยเหลือเกื้อหนุนราชการทหารทุกอย่างทุกประการ
ข. เกณฑ์ยวดยาน !พาหนะ เสบียงอาหาร เครื่องศาตราวุธ และเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ จากบุคคลหรือบริษัทใดๆ ซึ่งราชการทหารจะต้องใช้เป็นกำลังในเวลานั้นทุกอย่าง
“การห้าม” เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจที่จะห้ามได้ดังนี้
ก. ห้ามประชาชนมั่วสุม
ข. ห้อมออก จำหน่าย จ่ายหรือแจกซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพ บทหรือคำประพันธ์
ค. ห้ามโฆษณา แสดงมหรสพ รับหรือส่งซึ่งวิทยุ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์
ง. ห้ามใช้ทางสาธารณะเพื่อการจราจรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ รวมถึงทางรถไฟ และรถรางที่มีรถเดินด้วย
จ. ห้ามมีหรือใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธและเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล ! พืช หรือทรัพย์สิน หรือที่อาจนำไปใช้ทำเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้ ฉ. ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด
ช. ห้ามบุคคลออกยอก เข้าไปหรืออาศัยอยู่ในเขตท้องที่ใด ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเมื่อได้ประกาศห้ามเมื่อใดแล้ว ให้ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในเขจนั้นออกไปจากเขตภายในกำหนดเวลาที่ได้ประกาศกำหนด
ซ. ห้ามบุคคลกระทำหรือมีซึ่งกิจการหรือสิ่งอื่นใดได้ตามที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม ได้กำหนดไว้ว่าควรต้องห้ามในเวลาที่ได้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก
“การ ยึด” ตามมาตรา ๑๒ ถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นเป็นการจำเป็นจะยึดไว้ชั่วคราวบรรดาสิ่งของตาม มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ เพื่อมิให้เป็นประโยชน์แก่ราชศัตรู หรือเพื่อเป็นประโยชน์แก่ราชการทหารก็กระทำได้
“การเข้าอาศัย” ตามมาตรา ๑๓ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเข้าพักอาศัยในที่อาศัยใดๆ ที่เห็นว่าจำเป็นจะใช้ประโยชน์ในราชการทหารก็ได้
“การทำลาย”หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ ตามมาตรา ๑๔ กำหนดไว้
ก. ถ้าการสงครามหรือการสู้รบเป็นรองศัตรู ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเผาทำลายบ้านเรือนและสิ่งของที่เห็นว่าจะเป็น ประโยชน์แก่ศัตรูเมื่อกรมกองทหารถอยไปแล้วได้ หรือถ้าสิ่งใดๆ นั้นอยู่ในที่ซึ่งกีดขวางการสู้รบก็ให้ทำลายได้ทั้งสิ้น
ข. มีอำนาจที่จะสร้างที่มั่น หรือดัดแปลงภูมิประเทศ หรือหมู่บ้าน เมือง สำหรับการต่อสู้กับศัตรูหรือเตรียมป้องกันรักษาได้ ตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
“การ ขับไล่” ตามมาตรา ๑๕ ได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายหทารมีอำนาจขับไล่บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งไม่มีภูมิ ลำเนาอาศัยเป็นหลักฐาน หรือเป็นผู้มาอาศัยในตำบลนั้นชั่วคราวได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีความจำเป็น หรือสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใด
“การ กักตัวบุคคล” ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๐๓ ลงวันที่ ๑๓ ธ.ค.๒๕๑๕ ได้กำหนดให้มีมาตรา ๑๕ ทวิ เพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจในการกักตัวบุคคลไว้ได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นเป็นราชศัตรู หรือได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องกฎอัยการศึก หรือคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ทั้งนี้ เพื่อการสอบถาม หรือตามความจำเป็นของทางราชการทหารได้ โดยมีระยะเวลากักได้ไม่เกิน ๗ วัน
จากคุณ |
:
This is a book
|
เขียนเมื่อ |
:
11 เม.ย. 53 14:53:13
A:222.123.205.5 X:
|
|
|
|