Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ข่าวดี! การใช้อำนาจพรก.ฉุกเฉินฯของ"อภิสิทธิ์" อาจเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้!!!  

.........เห็นบทความดี ๆของ  "คณิน บุญสุวรรณ"  อดีตอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2540   ที่ตีพิมพ์ลงใน นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันนี้หน้า 6 น่าสนใจมากเลยนำมาให้อ่านกัน

.........."คณิน" ตั้ง "ข้อสังเกต" กรณี "อภิสิทธิ์" ประกาศใช้ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)  ตั้งแต่เมื่อวันที่ 7  เมษายน 2553 ที่ผ่านมา  นั้น มีกฎหมายรองรับ และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่? มีทั้งหมด 4 ข้อด้วยกันคือ  

........ประการที่ 1.  พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ตราขึ้นใช้บังคับ ดังเช่น พระราชบัญญัติโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา218ของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งถูกยกเลิกไปเมื่อ19 ก.ย.49  ส่วนการตราพระราชบัญญัติในระหว่างที่รัฐธรรมนูญ 2550 ต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 184  จะต้องดำเนินการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ  เสียก่อนแล้วจึงตราพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับใหม่ขึ้นมา เหมือนเช่น พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า "ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495" ที่บังคับใช้อยู่ก่อนหน้านั้น

.........แต่ว่า...ตั้งแต่ 19 ก.ย.49เป็นต้นมา  และแม้ก่อน "อภิสิทธิ์"จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในวันที่ 7 เม.ย.53 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันยังไม่ได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯนั้น...

........ ไม่ปรากฏว่า มีกระบวนการใด ๆในการตรา "พระราชกำหนด"ดังกล่าว ให้เป็นไปตามมาตรา 184 ของรัฐธรรมนูญ 50  หรือแม้แต่จะมีการจัดทำเป็นพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม พรก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548ให้เป็นกิจจะลักษณะแต่ประการใด

.......ประการที่ 2.   พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548นั้นถึงแม้จะไม่ได้ถูกการยกเลิกไปจากผลของการยกเลิกรัฐธรรมนูญ40 ก็ตาม แต่เสมือนหนึ่งถูกยกเลิกโดยปริยายเนื่องจากเป็น  "พระราชกำหนด"ที่ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 218ของรธน.40  หาใช่  "พระราชกำหนด"ที่ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 184 ของรธน.50 แต่ประการใดไม่

........ประการที่ 3. แม้จะตีความกันโดยอาศัยบรรทัดฐานและความเชื่อทางด้านนิติศาสตร์ที่คุ้นเคยกันว่า  "พระราชกำหนด"เมื่อตราขึ้นใช้บังคับดังเช่น "พระราชบัญญัติ"แล้ว ก็ยังมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติได้ตลอดไปจนกว่าจะยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมก็ตาม  แต่เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติม "พระราชกำหนด"หรือตรา "พระราชกำหนด"ให้สอดคล้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรธน.50ก็ย่อมต้องถือเสมอเสมือนหนึ่งว่า "พระราชกำหนด"นั้นสิ้นสภาพและไม่มีผลใช้บังคับไปแล้วโดยปริยาย

........ประการที่ 4. รธน.40 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลไว้อย่างรัดกุมและเข้มงวดเป็นพิเศษมากกว่ารธน.ที่ผ่านมาก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบัญญัติที่ "ห้าม มิให้มีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรอง"ไว้ แต่ก็ผ่อนปรนให้จำกัดได้บ้างเฉพาะกรณีที่จำเป็นและที่สำคัญจะจำกัดสิทธิเกินกว่าเหตุอันสมควรจนกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้  กฏหมายจำกัดสิทธิดังกล่าวนอกจากนี้ยังระบุบทบัญญัติแห่งรธน.ที่ให้อำนาจในการตรากฏหมายนั้นขึ้นด้วย โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 29 ซึ่งก็เป็นมาตราเดียวกับที่บัญญัติไว้ในรธน.50นั่นเอง

.....ซึ่งกรณีนี้ พรก.ฉุกเฉินฯได้บัญญัติให้เป็นไปตามรธน.50 ว่า

......พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบด้วย มาตรา 1,35,36,37,39,44,48,50 และ51 ของรธน.  

........แต่พอมาดูในประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในวันที่ 7 เม.ย.53  รวมทั้งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฉบับอื่น ๆประกาศ ข้อกำหนด  รวมทั้งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่ง "อภิสิทธิ์  "ได้ลงนามประกาศใช้เรื่อยมาทุกฉบับจะปรากฏข้อความซึ่งไม่ตรงกับข้อความที่ปรากฏในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548เกี่ยวกับเรื่องการออกกกหมาย  จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล  

......ข้อความที่"อภิสิทธิ์"ลงนามประกาศใช้มีว่า ...."อาศัยอำนาจตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548อันเป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล    ซึ่งมาตรา 29 ประกอบด้วย มาตรา 32,33,34,36,38,41,43,45และ63

....ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ข้อความในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฏหมายจำกัดสิทธินั้นระหว่างพรก.ฉุกเฉินฯและบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฏหมายที่ปรากฏในประกาศที่ปรากฏในประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และบรรดาประกาศข้อกำหนด รวมทั้งคำสั่งนายกฯที่"อภิสิทธิ์"ลงนามประกาศใช้ไม่ตรงกันถึง 8 มาตรา ที่ตรงกันมี 1 มาตราคือ 29 แต่เนื่องจากเป็นเหตุบังเอิญมากกว่าและที่ตรงกันอีกมาตราหนึ่งก็คือ มาตรา 36 แต่เนื้อหาเป็นคนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง

....ฉะนั้นจึงเท่ากับว่า"อภิสิทธิ์"ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเอกสารสำคัญที่เป็นกฏหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้ตนสามารถใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ  พูดง่าย ๆคือ "เปลี่ยนแปลงกฏหมาย"เพื่อให้ตนเองในฐานะนายกรัฐมนตรีสามารถใช้อำนาจจำกัดสิทธิเสรภาพของผู้อื่นได้ทั้ง ๆที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนั่นเอง

.....ในฐานะบุคคลธรรมดา "อภิสิทธิ์"อาจต้องรับผิดฐานเปลี่ยนแปลงเอกสารโดยมีเจตนาให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในสาระสำคัญเพื่อประโยชน์ในการใช้อำนาจของตนเอง

.....แต่ในฐานะนายกรัฐมนตรี "อภิสิทธิ์"อาจต้องรับผิดฐานปลอมแปลงกฏหมายที่มีบทบัญญัติในการทำลายล้างสูงถึงขั้นสั่งใช้กำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าปราบปรามและสลายการชุมนุมของประชาชนรวมทั้งตั้งข้อกล่าวหาร้ายแรงกับศัตรูทางการเมืองของตนได้

....เรื่องแบบนี้คงต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศอย่างแน่นอนไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้เพราะผลจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงและใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์เเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 89 ศพและบาดเจ็บอีกเกือบสองพันคน ถือเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนความรู้สึกของประชาชน ทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก  

........อีกทั้งยังเป็นเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงอีกด้วยจึงต้องมีผู้รับผิดชอบ  ถึงจะไม่ใช่ในระยะเวลาอันใกล้นี้แต่ก็คงไม่นานหลังจากที่ได้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงแล้ว พูดงาย ๆคือ ยกเลิก พรก.ฉุกเฉินฯเมื่อไรเมื่อนั้นก็จะได้รู้กันว่าอะไรเป็นอะไร!!!!!

จากคุณ : Pagan
เขียนเมื่อ : 5 ก.ค. 53 11:50:05 A:115.67.176.179 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com