Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
“ธงชัย วินิจจะกุล”:สนทนากลางฝุ่นตลบหลังพฤษภา(ฉบับเต็ม) ตอน๒.“ผู้ฆ่าประชาชน นำปรองดอง เป็นเรื่องน่าขยะแขยง”  

“แมนเดลาที่เป็นเหยื่อถูกกระทำ ขอให้คนผิวดำให้อภัยแก่คนผิวขาว มันฟังขึ้น แต่หากสมมติว่า แทนที่คนพูดจะเป็นแมนเดลา แต่เป็น เดอ เคลิร์ก ผู้นำคนขาวคนสุดท้ายของแอฟริกาใต้พูดกับคนผิวดำว่า ต้องก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง ต่างกันใช่ไหมครับ

นัยยะมันคนละเรื่อง อันหนึ่งเห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่ มันสง่างาม แต่อีกอันหนึ่งมันน่าขยะแขยง ทีนี้มาลองนึกถึงสังคมไทยใครพูดเรื่องปรองดอง เดอะคล้าก หรือเดอะมาร์ค แล้วที่น่าเศร้าคือคนในสังคมไทยรับความน่าขยะแขยงได้”


1984 สอนให้รู้ว่าสังคมรัฐ จัดการกับ Thought Crime อย่างไร สุวิชา ท่าค้อ หลังจากออกจากคุก ได้อ่านไหมครับ บุญยืน ประเสริฐยิง ติดคุกคนละปีโดยประมาณ ผมขอเล่าความรู้สึกที่เขามีต่อคำสัมภาษณ์ ในภาษาวิชาการตีความโดยผม เมื่อผมอ่านแล้วเกิดอะไรขึ้นในความคิดผม ผมคิดถึง 10 หน้าสุดท้ายของ 1984

ใน 1984 เบากว่าและหนักยิ่งกว่าเพราะกบฎลงไปถึง individual ผู้ชายชื่อลีสตัน และผู้หญิงชื่อจูเลีย จูเลียกับลีสตัน (ไม่แน่ใจชื่อนะ) เขาละเมิดกฎเกณฑ์ของสังคมที่มี Big Brother ละเมิดด้วยการแอบมีเซ็กส์กัน ซึ่งสังคมนั้นอนุญาตเฉพาะเซ็กส์ที่อนุญาต 1984 Big Brother ปลอมตัวลงมาในฐานะโอไบรอัน ทำมาเป็นเห็นอกเห็น สุดท้ายคนนั้นคือ Big Brother เอง ทำให้พวกเขาถูกจับไปทรมาน สุดท้ายเขาทนไม่ไหว ยอมแพ้ การยอมแพ้ของจูเลียกับลีสตัน ผมไม่รู้นะผมอ่านแล้ว ลีสตันขายจูเลีย จูเลียขายลีสตัน ทันทีที่คุณขายปุ๊บ Big Brother ปล่อยตัว ความทรมานไม่เท่ากับ ที่คุณ Spirit หมด หมดความเคารพตัวเองทันที ไม่เหลืออะไรเลย เป็นประชากรของโอเชียเนีย

Sense ที่ผมได้ เราเกลียดจูเลียกับลีสตันไม่ลง ผมไม่รู้จริงๆ ไม่ว่าเขาตัดสินใจ บุญยืนใส่เสื้อชมพูออกมาสัมภาษณ์ผมโกรธไม่ลง แต่ฉากนี้โหดร้ายยิ่งกว่าเอาเขาเข้าคุก โหดร้ายไม่น้อย ทันทีที่คุณขายเพื่อน หมดความเคารพตัวเอง รัฐบอกว่าไม่ต้องห่วงหมอนี่อีกแล้ว รัฐกำลังชำระสะสางฝุ่นที่ตลบให้ลงตัว คิดต่างทั้งหลาย ถึงจุดหนึ่งต้องระวังต้องเกรง คนที่ไม่โดนก็ต้องระวัง 1984 ทำลาย Spirit สำคัญกว่า Physical

รัฐไทยอาจไม่ทำถึงขนาดนั้น แต่ลองนึกสิครับ ไล่จับไล่ขู่ สุธาชัยก็ปล่อย แค่ไหนที่คนนี้เป็นอันตรายน้อยลง ต้องระวัง ต้องกลัว ผมจะไม่ชายตาไปหาเพื่อนผมคนหนึ่งในที่นี้ ที่ถูกจับคดีหมิ่น ความคิดเขาไม่เปลี่ยน แต่แทนที่จะอยู่ได้อย่างมนุษย์ Inviduality ปัจเจกภาพของเขาต้องถูกลดทอน

ตอนสุดท้ายของสุดท้ายของ 1984 จูเลียกับลีสตันมาเดินจ๊ะเอ๋กัน ไม่อยากเจอกันแล้ว หนังสือก็ทะลึ่ง โดยเขียนให้เห็นว่า ลึกๆ แล้วลีสตันยังหวนอาวรณ์การมีเซ็กส์กับจูเลียอยู่ คือไม่ถึงกับที่ Big Brother จะต้องคลีนหมด แต่แค่นั้นพอแล้ว

@ คำพิพากษาจากสื่อมวลชล

การจัดการความทรงจำประการที่สาม ผู้แสดงนำคือสื่อมวลชน ยกตัวอย่าง นิยายไทยก็ได้ มีใครอ่านคำพิพากษา คนที่ไม่ได้อ่านลองไปอ่าน ของชาติ กอบจิตติ มันจัดการแบบหนังสือบอก

นายฟัก เขาตั้งชื่อโดยไม่รู้ว่าเล่นกับภาษาอยู่ ถูกหาว่าเป็นชู้กับแม่ตัวเอง ทำให้เราต้องเลือกข้างว่าจะเชื่อฟักว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้น เขาไม่ทำให้มันชัดว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่มันเป็น Scandal คือสังคมตัดสินทันทีจนฟักต้องอยู่อย่างทุกข์ทรมาน ไม่ว่า fact จะคืออะไร

สิ่งที่มีอำนาจทำให้สังคมตัดสินอย่างนั้นคือ สื่อมวลชน fact คืออะไรเรื่องหนึ่ง แต่เขาพิพากษาได้ แล้วโลกวันข้างหน้าเปลี่ยนความคิด นสพ.จะเป็นฉบับแรกๆ ที่ออกมาบอกว่าเห็นใจ 6 ตุลา แล้วตอนที่ปราบนั่นพวกคุณทำอะไร

ช่วงที่สถาปนาว่า นศ.ธรรมศาสตร์ เลว โหด คือสื่อมวลชน พวกเราก็ต้องพึ่งสื่อมวลชนอยู่ดี สุดท้ายพวกนี้นี่แหละที่บอกว่าสังคมไทยโหดมากนะที่ทำกับ นศ.แบบนั้น ใครพูดล่ะ

วิธีจัดการสั้นๆ ทำเหมือนอย่างครูใหญ่หรือสังคมในหนังสือเรื่องคำพิพากษา

@ ปรองดอง/สมานฉันท์/อภัย ต้องให้ "เหยื่อ"(Victim) เป็นคนพูด

อันที่สี่ ไม่ใช่วรรณคดีแต่ผ่านหนังสือเหมือนกัน ค.ฅน ฉบับพิเศษ ที่เพิ่งออกมา พาดหัวว่าอะไรนะ ภาพหน้าปกเลย "ก้าวให้พ้นความโกรธ เกลียด ชิงชัง" หนังสือเล่มนั้น จะเป็นรูปภาพ มีเนื้อหาสาระสัมภาษณ์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล และพระไพศาล วิสาโล ก้าวข้ามชิงชัง ทำนองนี้ ไม่แน่ใจ

ผมฝากให้คุณไปทำการบ้าน ไปดูคำสัมภาษณ์ของคนสองคน แล้วนับดูว่ามีความยุติธรรมกี่ที่ ประเด็นคืออะไร โศกนาฏกรรมที่เกิดในสังคมไทยหลายครั้งทำโดยชนชั้นปกครองและคนมีอำนาจ ซึ่งคนมีอำนาจนั่นแหละมาพูดเรื่องปรองดอง สมัย 6 ตุลาใช้คำว่า สมานฉันท์ นิรโทษกรรมพวกผม แต่พอจะมีการต้อนรับ ก็บอกว่าอย่าต้อนรับ สมานฉันท์ดีกว่า ตอนผู้พัฒนาชาติไทยกลับมาก็ใช้เพื่อคืนดีกัน สมานฉันท์กัน หยุดการชุมนุม หยุดการต้อนรับ แล้ว 6 ตุลาถูกเบรคหลายปี ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อความสมานฉันท์ อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ

สิ่งที่เรียกว่าความสมานฉันท์ ปรองดองในสังคมไทย ไม่ผูกติดกับความยุติธรรม ผมอยากจะออกจาก ค.ฅน ไปหา หนัง INVICTUS สังคมแอฟริกาใต้เต็มไปด้วยการเหยียดผิว พอยกเลิกการเหยียดผิวได้ ตอนที่แมนเดลล่าเป็นประธานาธิบดี และต้องการใช้ทีมรักบี้ซึ่งเป็นรากของคนผิวขาวมาสร้างความสมานฉันท์ของคนต่างสี คนผิวสีจะค้าน ทีมรักบี้ของคนผิวขาว แมลเดลาบอกว่าต้องกล้าก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง

ดีใช่ไหมครับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนัง คือผู้นำของฝ่ายที่ตกเป็นเหยื่อออกมาต่อสู้กับพลพรรคตนเอง ว่าต้องก้าวข้ามให้ได้ จะได้อยู่ในสภาวะที่ปกติ ไม่อย่างนั้นจะไม่จบ แน่นอนคนของเขาไม่เห็นด้วยเยอะแยะ แต่มันก็พอฟังขึ้น แมนเดลา ทำให้เกิดโจทย์ที่ต้องคิดต้องเขียน ผมสมมติว่า ลองนึกภาพคนที่พูดจากแมนเดลา เป็น เฟร็ด ดับเบิลยู เดอ เคลิร์ก (De Clerk) ผู้นำคนขาวคนสุดท้าย พูดกับคนผิวดำว่าต้องก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง ต่างกันใช่ไหมครับ

Implication นัยยะมันคนละเรื่อง อันหนึ่งเห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่มันสง่างาม แต่อีกอันหนึ่งมันน่าขยะแขยง ทีนี้มาลองนึกถึงสังคมไทยใครพูดเรื่องปรองดอง เดอะคล้าก หรือเดอะมาร์ค แล้วที่น่าเศร้าคือคนในสังคมไทยรับความน่าขยะแขยงได้ ในสังคมคนลงมือ สั่งเองเป็นคนพูดสำหรับผมมันน่าขยะแขยง คุณไม่มีสิทธิพูด คุณเอาคนกลางๆ มาพูดก็ว่าไป

ประเด็นที่สี่ ที่จะพูดคือ คำว่าปรองดองในสังคมไทยมันทำงานแบบไทยๆ หนึ่ง คือไม่ผูกติดกับเรื่องความยุติธรรม สอง ใครๆ ก็พูดได้ ผมลืมคำที่แมนเดลา บอกว่า Forgive ถึงเห็นด้วยไม่เห็นด้วย เราก็ต้องฟัง

เรื่องนี้เป็นลักษณะของสังคมไทย หนังสือ ค.ฅน เสกสรรค์ ที่มีความสามารถเรื่องพุทธศาสนา หรือพระไพศาล อะไรคือ Forgiveness ในสายตาของสังคมนี้ ผมไม่พิพากษาว่าดีไม่ดี มันเป็น forgiveness ของ individual ไม่ใช่ social-relation ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมให้อภัยกันและกัน

สังคมไทยมีคนจนเยอะแยะ คุณคิดว่า พอเห็นคนจนคุณเป็นผู้บริหารจะบอกว่า จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ หรือบอกว่าพอใจในสิ่งที่มีอยู่ แต่พยายามหน่อยนะ แต่จะมี Public policy ออกมา ต่างกันไหมครับ

เมื่อไหร่ก็แล้วแต่ ถ้าคุณจัดการเรื่องนี้ทางศีลธรรม โดยไม่ผูกกับ Social-relation จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ จบ ก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง กับก้าวข้ามแล้วมี policy มันต่างกันนะ มันฟังแล้วเหมือนกับบอกว่าจงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ ผมไม่ได้เรียกร้องว่าไม่ควรพูดเรื่องพวกนี้ แต่ถ้าพูดเรื่องพวกนี้โดยไม่มีกลไกทางสังคมจัดการปัญหา ก็จบ เวลาผมอ่านคำสัมภาษณ์ของ 2 ท่าน

ไปสัมภาษณ์พระไพศาล เรื่อง evil ในตัวคน ก็จบอย่างที่เห็น หรืออาจเป็นเพราะพระพุทธศาสนาไม่มี Social-relation คุณลองสังเกตดูกัมพูชา และศรีลังกาเป็นแบบนี้คล้ายๆ กัน เรื่องนี้เป็นเรื่องต้องคิด ปรองดอง โกรธเกลียด ก็ทำนองเดียวกัน

การปรองดองและการสถาปนา Justice ที่ดีที่สุด ให้ Victim เป็นคนทำ และมี Sophisticate ด้วยนะ ไม่ใช่มีอำนาจแล้วมาแก้แค้น 6 ตุลากล้าไหม ปล่อยให้ Victim ตั้งกรรมการ พฤษภากล้าไหมให้ Victim ตั้งกรรมการ แต่ไม่ใช่แก้แค้นเพื่อ feed ความรุนแรงไปไม่รู้จบ

@ ฝุ่นหายตลบโดยนักวิชาการ : ความสมเหตุสมผลบนความไม่สมเหตุสมผล

ประเด็นสุดท้าย นักวิชาการ คุณเห็นการถกเถียงว่าการด่าแกนนำผิดไม่ผิดไหมครับ มันเป็นเหตุเป็นผลเป็นบ้า การสู้กับความอยุติธรรมขนาดเอาชีวิตเข้าแลกมันเป็นเหตุเป็นผลไหม การที่ยอมตายเพื่อความยุติธรรม มัน Rational ไหม สมเหตุสมผล คือที่ปกติไม่ทำกันหรอก ไม่ใช่บ้า หรือปัญญาอ่อน แต่มันไม่สมเหตุ รังแกตนเองไม่ว่านะ รังแกลูกตนเองเมื่อไหร่สู้ สมเหตุสมผลนะ แต่เป็นเหตุเป็นผลเป็นอีกเรื่อง

มนุษย์เป็นแบบนี้กี่ร้อยกี่ล้านคนแล้ว ผมคิดว่านักวิชาการหาความสมเหตุสมผลจนสุดโต่ง มนุษย์มีความสมเหตุสมผลจำกัด ใช้ใจ ไม่ได้แปลว่าไร้เหตุผลนะ และไม่ได้บอกว่าควรจะทำ แต่การถกเถียงของนักวิชาการคือการหาเหตุผล แต่คนมีเหตุผลจำกัด ซึ่งไม่ใช่เรื่องความเลวร้ายที่เขาประณาม เป็นเรื่องเห็นอกเห็นใจ แสนจะเป็นคน

ถึงจุดหนึ่งจะตัดสินใจด้วยสัญชาตญาณ ได้ยินคำกล่าวว่า
คนที่อดอยาก หิว แต่ไม่ง่ายที่จะให้เขาเอาชีวิตเข้าแลก แต่กลายเป็นว่า ความอยุติธรรม คนเอาชีวิตเข้าแลกมาไม่รู้เท่าไหร่

ถามว่าความยุติธรรมกินได้ไหม ทำให้เรามีที่พักอาศัย รักษาโรคได้ไหม แต่มนุษย์ตระหนักว่า ความอยุติธรรมดีกรีที่มันแรงชีวิตอยู่ปกติไม่ได้ เขาจึงยินดีที่จะตายเพื่อสู้กับความยุติธรรม ที่สมเหตุสมผลถึงตรงนั้นมันไม่ apply แล้ว

ผมไม่บอกว่าแกนนำตัดสินใจยังไง แต่คนที่บอกว่าสู้จนตาย มันอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผลทางวิชาการ บอกไม่ได้ว่าทำไมเขาตัดสินใจแบบนั้น ทุกคนก็ดูหนังมา อธิบายไม่ได้ คนเรายินดีเสี่ยง ยินดีเอาตัวเข้าแลก ดูเหมือนไม่คุ้มเลย

ผมไม่กล้าบอกด้วยซ้ำว่าการตัดสินใจถูกหรือไม่ ผมว่ามันลำบากมาก ผมว่าถ้าคนเราเป็น Rational ไม่เกิดการปฏิวัติสักแห่ง ผู้นำปฏิวัติฝรั่งเศส พาคนไปตายไหม รัสเซีย จีนพาคนไปตายไหม ยกย่องทำไมปฏิวัติฝรั่งเศส 14 ก.ค. พาคนไปตายเยอะแยะ มันแสนจะไม่สมเหตุสมผล แต่มันก่อผล ผลนั้นมหาศาล

นั่นคือการตัดสินใจของแต่ละคน บอกได้เลยว่าถ้าไม่กล้าตัดสินใจเอาตัวเข้าแลก คุณก็กรุณาหุบปากซะ นักวิชาการพยายามทำให้ฝุ่นหายตลบด้วยเหตุด้วยผล มันต้องยอมรับว่านั่นคือการตัดสินใจของมนุษย์ นั่นคือโศกนาฏกรรม พฤษภาคม 6 ตุลา ที่ผ่านมา มันคือโศกนาฏกรรม ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็มีผลเสีย เป็น dilemma ตัดสินใจเลิกสลายก่อนแล้วทำไปยาวๆ โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยว่าเขาชุมนุมต่อ พอเขาชุมนุมต่อผมสารภาพว่าด่าเขาไม่ลง และมันเป็นโศกนาฏกรรมที่มันแพ้และเสียหายหนัก

การเข้าใจสถานการณ์ ประเมินถูกต้อง ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ถูกต้องและได้รับชัยชนะ มันไม่มี พวกเราในห้องนี้ ตัดสินใจเรื่องใหญ่เรื่องเล็กไม่รู้กี่ครั้ง ในชีวิตเราเอง (ผมตัดสินใจครั้งสำคัญผิดมาแล้วในเรื่องที่ใหญ่มาก) เช่นมา มช. เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาไปผิดก็เจอรถติด การประมวลข้อมูล บ้างครั้งเราตัดสินใจพลาดและ มันเป็นโศกนาฏกรรม หรือบ่อยครั้งฐานข้อมูลในการประเมินมันคือชุดเดียวกัน คนๆ เดียวกันประเมินข้อมูลเหมือนกัน ยังไม่สามารถบอกได้ว่าผมไม่ตัดสินใจแบบนั้นแน่ บ่อยครั้งที่ประมวลแล้วเราลังเลว่าเอายังไงดี แล้วเอาไงดี แล้วในชีวิตมีกี่ครั้งที่บอกว่าเอางี้ละวะเป็นไงเป็นกัน แล้วในโศกนาฏกรรมแทบทุกครั้ง มีกี่ครั้งที่จะประเมินอย่างถูกต้องแล้วได้ชัยชนะ

นักวิชาการจะทำให้ฝุ่นหายตลบ มันเป็นเหตุเป็นผล ตรงนี้ขัดแย้งกับเหตุการณ์ เมื่อเหตุการณ์ พฤษภาที่ผ่านมา ผมต้องหยุดคิดเชิงเหตุผล แล้วอ่านนิยาย นึกถึงนิยายที่เคยอ่าน นึกถึง Tragedy ที่เคยอ่าน แล้วจะรู้ว่ามันจะยากลำบากเพียงไหน

ผมไม่ได้ปฏิเสธ หรือให้พวกเราปฏิเสธการใช้เหตุใช้ผล มันมีเหตุเกินไปจากนั้น แล้วเมื่อเราตัดสินใจได้ หรือตัดสินใจไม่ได้ ไม่ว่าจะลงบางซื่อหรือลงหัวลำโพงมันคือโศกนาฏกรรมทั้งนั้น ทั้งหมดที่พูดมานี้เพื่อจะบอกว่าในแนวรบหนึ่งเรื่องความทรงจำ


(ที่มา สำนักข่าวประชาธรรม)

“ธงชัย วินิจจะกุล”:สนทนากลางฝุ่นตลบหลังพฤษภา(ฉบับเต็ม)  ตอน๑.“จาก Double standard(2มาตรฐาน)  สู่ Double Speech(พูดอย่าง ทำอย่าง)”

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9530808/P9530808.html

จากคุณ : อายุธ
เขียนเมื่อ : 1 ส.ค. 53 21:26:38 A:125.25.243.177 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com