ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 12 ม.ค. 53 เวลา 10.00 น. พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภ.5 พ.ต.อ.สรรักษ์ หรือสมชาย จูสนิท ผกก.สภ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล ผกก.สภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี นายตำรวจนอกราชการ และ จ.ส.ต.ประสงค์ ทอรั้ง ตำรวจนอกราชการ ประกอบอาชีพรับจ้าง
ผู้ต้องหาที่ 1-5 คดีร่วมกันฆ่านายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี่ (Mr.Mohammad Al - Ruwaily) นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย พระญาติกษัตริย์ไฟซาล ซึ่งหายตัวไปอย่างลึกลับเมื่อปี 2533 เข้าพบนายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ สั่งคดี โดยนายธนพิชญ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ แจ้งให้ พล.ต.ท.สมคิด กับพวกซึ่งเป็นผู้ต้องหาทราบว่า คณะทำงานอัยการ พิจารณาพยานหลักฐานแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด
ต่อมา เวลา 10.30 น. นายรุจ เขื่อนสุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 ได้นำจำเลยทั้งหมดมาเบิกตัวยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และเพื่อปกปิดการกระทำความผิดอื่นของตน และเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นความผิดทางอาญาที่ตนได้กระทำไว้ , ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 , 289 , 309 และ 310
ทั้งนี้ ศาลประทับรับคำฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.119/2553 ซึ่งศาลอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยทั้งห้าฟังเพื่อสอบคำให้การ ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้า ให้การปฏิเสธขอต่อสู้คดี โดยแถลงว่าจัดเตรียมทนายความไว้เรียบร้อยแล้ว ศาลจึงนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 29 มี.ค.นี้ เวลา 09.00น.
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20100112/94966/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5.%E0%B8%95.%E0%B8%97.%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%AF.html
3 กย. 2553 21:59 น.
สถานเอกอัครราชฑูตซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทย ออกคำแถลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับมติของ ก.ตร. ซึ่งมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นประธาน ในการพิจารณาตำแหน่ง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภาค 5 ผู้ต้องหาในคดีการหายตัวของนายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวบี่ นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
สถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียต้องการชี้แจงต่อข้อมูลที่ได้รับจากทางการที่ว่า พล.ต.ท.สมคิด ตกเป็นจำเลย และคดีอยู่ในชั้นศาล ซึ่งจะเริ่มต้นนัดสืบพยานในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ หลังจากสำนักอัยการสูงสุดสั่งฟ้องคดีดังกล่าว และมีความเห็นว่าหลักฐานที่รวบรวม โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษนั้นเพียงพอในการพิจารณา และได้สั่งฟ้อง พล.ต.ท.สมคิด เป็นผู้ต้องหาคดีอุ้มฆ่านายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี่ ตามมาตรา 95 พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ระบุว่า ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญาจะต้องถูกสั่งพักราชการจนกว่าการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ สถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียรู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ทราบว่า นายสุเทพ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยมีมติว่า พล.ต.ท.สมคิด ไม่มีความผิด และได้เลื่อนตำแหน่ง
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=466748
มาตรา ๙๕ ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ หรือผู้บังคับบัญชาอื่นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัยได้
http://www.bpp.go.th/policelaw.htm
ชัดเจนที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน แต่กฎหมายไม่ได้ระบุว่า "ต้อง" กฎหมายบอกเพียงว่า "มีอำนาจ" เท่านั้น
เมื่อศาลยังไม่ตัดสิน ก็ถือว่า พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม เป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้บังคับบัญชาจึงไม่สั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ก็แค่ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และเพื่อปกปิดการกระทำความผิดอื่นของตน และเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นความผิดทางอาญาที่ตนได้กระทำไว้ , ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 , 289 , 309 และ 310
เท่านั้นเอง