 |
การชุมนุมสาธารณะ : เสรีภาพที่ต้องการกรอบกติกา คำตอบสำหรับ Learn & Live
|
|
แหม...L&L ธรรมะขั้นเทพ เมพขิงๆ ถึงขั้นยอมลดเกียรติตั้งกระทู้ทรงค่า ถาม...แต่ไม่รู้ว่าถามใคร ดิฉันเลยไปค้นในเน็ต หาคำตอบมาให้ ทักษะเรื่องด่าคนด้วยธรรมะท่านเป็นเริ่ดดดดด แต่ทักษะในการค้นข้อมูลต่ำ.....
อากู๋ น่ะ ใช้เป็นหรือเปล่า? หรือว่ามัวแต่อ่านหนังสือธรรมะจนธาตุไฟแตกซ่าน?
นี่ มีบทความตั้งเยอะแยะ ที่ตอบข้อ 2-3 ที่คุณถาม ส่วนข้อ 1 น่ะ คุณตอบดิฉันมาก่อนว่า ตัวคุณเป็น "คนดี" หรือ ไม่?
แล้วดิฉันจะมาตอบคำถาม (อันยาวเฟื้อยอ่านไม่เข้าใจ) ของคุณ
อ่ะนี่บทความที่เขาตอบคำถามข้อ 2-3 ของคุณ ค่ะ
http://ppvoice.thainhf.org/?module=page&page=detail&id=100
ประเทศ ไทยมีกฎหมายมากมายหลายฉบับที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่ไม่เป็นที่รับรู้ของสังคมเท่าใดนัก ส่งผลให้การปฏิบัติตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นมีปัญหาตามไปด้วย ดังนั้นคงจะดีไม่น้อยหากประเทศไทยมี กระบวนการทำความเข้าใจต่อสังคมในวงกว้าง ให้ตระหนักถึงเนื้อหาและความสำคัญของกฎหมายแต่ละฉบับ โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญๆ ยิ่งควรจะเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคมอย่างรอบด้าน เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายจึงจับมือกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดเวทีนโยบายสาธารณะ เรื่อง “การชุมนุมสาธารณะ : เสรีภาพที่ต้องการกรอบกติกา” เพื่อรับฟังเสียงสะท้อนจากภาคประชาสังคมต่อกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่งนับวันจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นทุกที โดยภายในงานได้มีผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านแสดงความคิดเห็นต่อกฎหมายฉบับนี้อย่างกว้างขวาง เริ่มต้นจาก ศ. ดร. คณิต ณ นคร ที่กล่าวว่า การชุมนุมสาธารณะถือเป็นพัฒนาการสำคัญในการแสดงความคิดเห็นของพลเมืองใน ประเทศประชาธิปไตย และเป็นเครื่องมือสำคัญของประชาชนระดับล่างในสังคมไทยเพื่อสะท้อนปัญหาต่อ รัฐบาล ซึ่งในที่สุดจะตกผลึกกลายเป็นวัฒนธรรมที่นำไปสู่รากฐานของประชาชนและการเป็น นิติรัฐในที่สุด ขณะที่ ศ. พน. ประเวศ วะสี ก็กล่าวสำทับว่า การชุมนุมสาธารณะถือเป็นเรื่องปกติที่ควรมีในระบอบประชาธิปไตย แต่การชุมนุมควรเป็นไปอย่างสันติและสร้างสรรค์ เปรียบเหมือนการเล่นฟุตบอลที่ต้องมีกรอบกติกา มีกรรมการ และมีคนดูเพื่อคอยตรวจสอบกรรมการอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ผู้ที่มีส่วนร่วมใน การชุมนุมสาธารณะทุกภาคส่วนควรมาร่วมกันกำหนดกรอบกติกา ไม่ว่าจะเป็นผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจ สื่อมวลชน และนักวิชาการ พร้อมทั้งซักซ้อมทำความเข้าใจร่วมกันก่อนที่จะมีเรื่องมีราว เหมือนการฝึกว่ายน้ำให้เป็นก่อนที่เรือจะล่ม อีกทั้งยังต้องพยายามสื่อสารให้ทั่วถึงกันด้วยวจีสุจริต และใช้หัวใจของความเป็นเพื่อนมนุษย์มาพูดคุยกัน ส่วนการขับเคลื่อนสันติวิธีในสังคมไทย ต้องให้ภาคีเครือข่ายที่ทำงานทางด้านนี้มาร่วมไม้ร่วมมือกัน เพื่อให้มีพลังในการขับเคลื่อน ทางด้าน ดร. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มต้นด้วยการหยิบยกตัวอย่าง 2 เหตุการณ์ คือ กรณีที่ชาวอำเภอจะนะชุมนุมประท้วงโครงการท่อส่งก๊าซของบริษัท ปตท. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 และกรณีการสลายการชุมนุมเมื่อวัน 7 ตุลาคม 2551 เพื่อชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยจำเป็นต้องมีกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 63 “วรรค แรก” ได้ให้เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะโดยสงบและปราศจากอาวุธ แต่เมื่อไหร่ที่การชุมนุมเกินเลยขอบเขตของความสงบหรือมีอาวุธ รัฐย่อมสามารถจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะนั้นได้ตาม “วรรคสอง” แต่ปัญหา คือ ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องปรับใช้กฎหมายอื่นๆ ที่ใกล้เคียงมาบังคับใช้ เช่น พ.ร.บ.จราจรทางบก, พ.ร.บ.ทางหลวง, พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยการใช้เครื่องขยายเสียง เป็นต้น ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เสรีภาพ ชุมนุมสาธารณะ ดังนั้น คณะอนุกรรมการพิจารณากฎหมายว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จึงได้ร่วมกันประชุมปรึกษาหารือถึงเนื้อหาของกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ 3 ประการ คือ การคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ การคุ้มครองบุคคลที่สามที่มาใช้ที่สาธารณะ และการกำหนดหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้ ยังมีการหารือถึงสถานที่ที่ห้ามชุมนุม หน้าที่ของผู้จัดการชุมนุม การแจ้งให้ทราบล่วงหน้า การคัดค้าน สั่งห้าม และยกเลิกการชุมนุม ตลอดจนมาตรการบังคับทางปกครองและบทกำหนดโทษ เพื่อนำร่างกฎหมายฉบับนี้ให้สังคมพิจารณาและนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป สำหรับ ศาสตราจารย์พิเศษ สิทธิโชค ศรีเจริญ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการพิจารณากฎหมายว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้แสดงความเห็นด้วยต่อการแบ่งประเภทของการชุมนุมออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.การชุมนุมธรรมดา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 วรรค 1 เป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และ 2.การชุมนุมในที่สาธารณะที่ไปกระทบเสรีภาพของคนอื่น ซึ่งใน กรณีหลังควรจะต้องมีการจัดแบ่งหรือวางกรอบในการอำนวยความสะดวกทั้งผู้ชุมนุม สาธารณะ และผู้ใช้ที่สาธารณะ เป็นกฎหมายที่ออกมาเป็นกลางๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าไปอำนวยความสะดวก เข้าไปแบ่งปันพื้นที่ให้คู่กรณีสามารถชุมนุมได้โดยไม่ให้คนที่ใช้ทางสาธารณะ เดือดร้อน และต้องมีกรอบในการจัดการกับการชุมนุมที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย สิ่งสำคัญ คือ กฎหมายฉบับนี้ต้องส่งเสริมให้เกิดกลไกหรือเกิดเครื่องมือของรัฐที่เป็นสากล เจ้าหน้าที่จะต้องได้รับการฝึกฝนอบรมในเรื่องการรับมือกับการชุมนุมสาธารณะ มาอย่างดี ต้องฝึกอบรมในเรื่องการอดทนอดกลั้น มีแผนปฏิบัติการเป็นขั้นเป็นตอน รวมถึงการใช้อุปกรณ์ยุติการชุมนุมตามมาตรฐานสากล ท่านต่อไป คือ คุณจินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์บ้านกรูด ที่ดูจะไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้สักเท่าไรนัก จนเปรียบเปรยว่าเหมือนเรากำลังหาไม้เรียวขนาดใหญ่มาไล่ตีผู้ใหญ่ (ม็อบการเมือง) แต่ตีไม่ได้จึงมาไล่ตีเด็กแทน (ม็อบที่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนและปากท้อง) ประเด็น ที่คุณจินตนาแสดงความกังวล ได้แก่ การห้ามชุมนุมที่ศาล เพราะการขึ้นโรงขึ้นศาลของชาวบ้านมักจะรวมกลุ่มกันไปให้กำลังใจ แต่ไม่ได้ไปชุมนุม ส่วนประเด็นที่ไม่เห็นด้วย คือ การแจ้ง เพราะเคยมีประสบการณ์ในการแจ้งต่อ อบต. แล้วโดนกลุ่มชายฉกรรจ์สวมหมวกไอ้โม่งมาดักรุมทำร้าย อีก ประเด็น คือ การเป็นผู้จัดการชุมนุมซึ่งบ่อยครั้งเธอเป็นเพียงผู้ประสานงาน แต่สื่อนำชื่อไปลงว่าเป็นแกนนำ ส่วนประเด็นเรื่องการคัดค้านการชุมนุมก็มีปัญหาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่มีผลประโยชน์ร่วมกับนายทุน เป็นต้น ท่านสุดท้าย คือ คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่วิพากษ์ว่าสื่อมักจะพุ่งเป้าไปที่คู่ขัดแย้งแต่ละเลยการนำเสนอข้อเท็จ จริงให้รอบด้าน ซึ่งสมาคมได้พยายามแก้ไขด้วยการจัดทำคู่มือในการรายงานข่าวขึ้นมา เพื่อเสนอว่าควรรายงานข่าวถึงรากเหง้าของปัญหา สภาพแวดล้อม และผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนนำเสนอทางออกให้กับสังคมด้วย นอกจากนี้ คุณประสงค์ยังเชื่อมโยงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกันของกฎหมายที่ใช้กับการ ชุมนุมสาธารณะ 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2511, พระราชกำหนดการบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และกฎอัยการศึก 2457 ซึ่งในบางสถานการณ์ก็มีความทับซ้อนกันของกฎหมาย ซึ่งโดย ส่วนตัวแล้วคุณประสงค์เห็นด้วยว่าควรมี พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ และควรปรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งระบบให้สอดคล้องกัน ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่รัฐก็ต้องปรับการทำงาน วิธีการ และเครื่องไม้เครื่องมือให้เป็นสากลด้วย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ท้ายที่ สุดไม่ว่ากฎหมายฉบับนี้จะออกมามีหน้าตาเป็นอย่างไร หากทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน เคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน และยึดหลักสันติอหิงสา ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นย่อมนำพาสังคมไทยให้วิวัฒน์ไปข้างหน้าแทนที่จะพัฒนา ไปสู่ความรุนแรง และเมื่อกลไกระงับความขัดแย้งเช่นนี้ดำเนินไปกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมที่ดี งาม วันหนึ่งสังคมไทยอาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ อีกเลยก็เป็นได้
(สำหรับท่านที่สนใจเนื้อหาฉบับเต็มของผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ในคอลัมน์บทความพิเศษ)
============================ อ่ะ อ่านซะ
อันนี้อีกอัน เขียนไว้ได้ดี บทความเรื่อง เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ ตาม ม.63 โดย ผศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ไปตามลิงนี้ (http://www.lrc.go.th/download/document/DocLib/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0%20%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%20%E0%B8%A1.63%20%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%20%E0%B8%9C%E0%B8%A8.%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%20%20%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2.pdf)
อ้อ แล้วอย่าลืมไปอ่านตามที่ คุณ ไทรันโนซอรัส บอกด้วยล่ะ
แหม ปล่อยเวลาล่วงเลยมาตั้งร้อยวัน ให้ตัวเองจมอยู่กับข้อกังขาอยู่ได้...
มิน่าล่ะ เลยบรรลุขั้นโซดาบันไล.... เมพขิงๆ เลยนะลุงเอ้ย 
===================
มาเพิ่มเติม... ว่าแต่ว่า..ถามไปทำไมเหรอท่าน? งง ไม่เข้าใจ ถามหาหวันวิมาน ทำไมเหรอจ้ะ??? คริคริ
มาเพิ่มเติมรอบที่สาม...สงสัยเราตอบผิด เพราะลุงแกใช้คำว่า "การชุมนุมฯ" แต่เราดันยกคำตอบของการ "ชุมนุมในที่สาธารณะ" มาให้แก งั้นรบกวนใครก็ได้ ไปถามแกหน่อยว่า "การชุมนุมฯ" ที่แกใช้เครื่องหมาย ฯ ต่อท้ายนั่นน่ะ...
คำส่วนที่เหลือจนต้องใช้ไปยาลน้อย มันคืออะไรเหรอ?
การชุมนุมฯ = กาุรชุมนุมมหานคร (เหมือนกับ กรุงเทพฯ = กรุงเทพมหานครไง) กร๊ากกกกกก อย่างฮา เมพขิงๆ เลยลุงเอ๊ย
แก้ไขเมื่อ 07 ก.ย. 53 21:19:23
แก้ไขเมื่อ 07 ก.ย. 53 21:18:10
แก้ไขเมื่อ 07 ก.ย. 53 20:37:07
แก้ไขเมื่อ 07 ก.ย. 53 20:22:32
จากคุณ |
:
SassyKate
|
เขียนเมื่อ |
:
7 ก.ย. 53 20:19:43
A:202.47.224.130 X:
|
|
|
|  |