เมืองไทย 4 ปี 3 นายกฯ กับ ญี่ปุ่น 4 ปี 5 นายกฯ
|
|
แต่ความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนนายกฯระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีความแตกต่างกันราวกับฟ้ากับเหว
เรามาดูจิตสำนึกทางการเมือง และมาตรฐานการเมืองของทั้ง 2 ประเทศกันนะครับ เอาที่ญี่ปุ่นก่อนนะครับ
นายกฯคนแรกที่ลาออก คือ นายชินโซ อาเบะ ลาออกในเดือน กันยายน ปี 2007 เพราะการบริหารงานที่ล้มเหลว รัฐมนตรี 4 คน พัวพันการครอบครองการเงินที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ความนิยมลดลง
นายกฯคนที่สอง คือ นายยาสิโอะ ฟูคุดะ ลาออกเดือน กันยายน ปี 2008 เพราะยอมรับว่าไม่สามารถต่อกรกับพรรคฝ่ายค้านได้
นายกฯคนที่สาม คือ นายทาโร อาโสะ ต้องลาออกจากตำแหน่งในเดือน กันยายน ปี 2009 เพราะคำวิจารณ์ของตัวเองมีผลกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน
นายกฯคนที่สี่ คือ นายยูกิโอะ ฮาโตยามะ พึ่งจะลาออกเมื่อเดือน มิถุนายน ปี 2010 ลาออกเพราะความนิยมตกต่ำจากเดิมที่มีความนิยมถึง 70 เปอร์เซ็นต์เหลือไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
สี่นายกฯดังที่กล่าวมาข้างต้น ลาออกอย่างง่ายๆ โดยไม่กลัวว่าประเทศชาติจะเดินหน้าต่อได้หรือไม่ ไม่มีใครต้องการทำเพื่อประเทศชาติอีกต่อไป ทั้งๆที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังเป็นหนี้เกือบ 200 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี มีอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น และการยกระดับสวัสดิการสังคม
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนายกฯคนใหม่ ก็คือ นายนาโคโอะ คัง ซึ่งถ้าไม่สามารถพิสูจน์ความสามารถหรือไม่อาจสร้างผลงานได้ตามที่สัญญากับประชาชน นั่นอาจเป็นเหตุให้ความนิยมลดต่ำลง แล้วเราอาจได้เห็นนายกฯคนที่ 6 ในรอบสี่ปีคนต่อไป นี่จึงเป็นนายกฯในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
คราวนี้เรามาดู 4 ปีกับ 3 นายกฯของเราดูบ้างนะครับ
นายกฯคนแรกที่ต้องออกจากตำแหน่งในรอบ 4 ปี ก็คือ นายสมัคร สุนทรเวช ในเดือน กันยายน ปี 2008 เพราะผิดกฎหมายตามพจนานุกรมบรรทัดเดียว ด้วยความคิดเห็นของคนเพียง 9 คน ก็สามารถล้มล้างมติมหาชนคนสิบกว่าล้านเสียงได้ นี่คือ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
นายกฯคนที่สอง คือ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องออกจากตำแหน่งในเดือน ธันวาคม ปี 2008 เพราะการยุบพรรคพลังประชาชน ซึ่งก็ด้วยคน 9 คน ทั้งๆที่การสอบพยานยังไม่ครบถ้วน มีการวินิจฉัยอย่างรีบเร่ง แม้แต่คำวินิจฉัยยังเขียนได้ไม่สมบูรณ์ มีการอ่านคำวินิจฉัยผิดๆถูกๆ แต่ก็สามารถยุบพรรคการเมืองที่มีคนเลือกเข้ามาถึง 14 ล้านเสียง สร้างความกังขาให้กับคนทั้งโลกว่า จะเป็นการได้รับความกดดันจากกรณีปิดสนามบินหรือไม่
แล้วก็มาถึงนายกฯคนปัจจุบัน นั่นก็คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชิวะ นายกฯที่ไม่เคยได้รับความนิยมสูงสุดจากประชาชน ไม่ได้เป็นพรรคคะแนนสูงสุดตามระบอบประชาธิปไตย แต่ได้เป็นนายกฯเพราะอาศัยลูกพรรคของพรรคที่ได้รับความไว้วางใจสูงสุดจากประชาชน แปรพักตร์มาร่วมโหวดให้เป็นนายกฯ โดยมีเงื่อนไขของผลประโยชน์และกระทรวงสำคัญเป็นข้อแลกเปลี่ยน
และเพราะนายกฯคนนี้เห็นแก่ผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง ถึงแม้จะประสบกับวิกฤติมากมายในช่วงปีกว่าที่ผ่านมา ท่านก็ไม่ยอมลาออก เพราะท่านเล็งเห็นถึงความต้องการของคนในชาติ ดังนั้น
ท่านไม่ยุบสภาตามการเรียกร้องของประชาชนเป็นแสน ทั่วประเทศ เพราะนั่นไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหา ท่านไม่ลาออก กับการใช้กำลังและอาวุธในการสลายการชุมนุม เพราะเป็นการทำตามนิติรัฐ ท่านไม่ลาออก เพราะประชาชนที่บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ไม่เกี่ยวกับคำสั่งของท่าน แต่เป็นการทำร้ายกันเอง ท่านไม่ลาออก เพราะได้สับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีที่มีส่วนพัวพันกับการทุจริตไปทำหน้าที่อื่นแล้ว ท่านไม่ลาออก กับคำวิจารณ์ของท่านที่กระทบกับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เพราะท่านทำไปเพราะความรักชาติรักแผ่นดิน ท่านไม่ลาออก กับคะแนนนิยมตกต่ำไม่ถึง 5 จากคะแนนเต็ม 10 เพราะเห็นว่าชาติยังต้องการท่านเป็นนายกฯอยู่ และกลัวว่าประเทศจะไปต่อไม่ได้ เมื่อขาดท่าน และสุดท้ายท่านคงไม่ลาออกแน่ๆ เมื่อประเทศไทยยังไม่มีบรรยากาศของความปรองดอง
นี่คือความแตกต่างระหว่างนายกฯในระบอบประชาธิปไตยในแบบสากลกับนายกฯในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ดังนั้นจิตสำนึกทางการเมืองไม่ต้องพูดถึง เราเพียงต้องการจริยธรรม คุณธรรมในแบบไทยๆก็เพียงพอแล้วครับ เพราะนี่คือ ความโชคดีของประเทศไทยที่ได้คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ
จากคุณ |
:
ทวดเอง
|
เขียนเมื่อ |
:
4 ต.ค. 53 08:41:27
A:183.89.253.114 X:
|
|
|
|