ซึ่งต่อมาทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสนช. สายสื่อมวลชน เป็นผู้เสนอญัตติการ “ถอดถอน” นายจรัล กระบวนการถอดถอนนายจรัล ดิษฐาอภิชัย ในฐานะเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ก็อาศัยบทบัญญัติตามมาตรา 11 ของ “กฎหมายคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542” ความว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนกรรมการออกจาก ตำแหน่ง เพราะเหตุที่กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของ ชาติและประชาชน หรือไม่เป็นกลาง หรือมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องทางศีลธรรมจรรยา ที่อาจมีผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการดำรงตำแหน่ง หน้าที่หรือต่อการส่งเสริมหรือคุ้มครองสิทธิมนุษยชน หรือมีส่วนได้เสียในกิจการหรือธุรกิจใดๆ ที่อาจมีผลกระทบโดยตรงหรือก่อให้เกิดความเสียหายทำนองเดียวกัน หรือมีหรือเคยมีพฤติการณ์ในการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง มติของวุฒิสภาตามวรรคหนึ่งต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา” และรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2549 ที่ระบุในมาตรา 5 วรรคสอง ว่า “ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและรัฐสภา” ต่อมาทางสนช.ได้ตั้งคณะกรรมาธิการสอบสวนเรื่องนี้โดยมี คุณกำธร อุดมฤทธิรุจ เป็นประธาน คุณบดินทร์ อัศวาณิชย์ เป็นเลขานุการ และมีสมาชิกหลายท่านเช่น พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ พล.อ.ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม นายกระหยิ่ม ศานต์ตระกูล พล.อ.อ.ปัญญา ศรีสุวรรณ พล.ร.อ.วิชัย ยุวนางกูร พล.ต.ท.สมศักดิ์ แขวงโสภา และคุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ โดยทางคณะกรรมาธิการได้เรียกบุคคลหลายท่านไปสอบสวน สอบถาม ขอข้อมูล ก็มีเรียกนายจรัล ดิษฐาอภิชัย,ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อาจารย์เสน่ห์ จามริก,กรรมการสิทธิมนุษยชนบางท่านอย่างคุณสุนีย์ ไชยรส,เรียกพล.ต.ต.เจตน์ มงคลหัตถี รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล,อาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ ที่มีหลักฐานคือจดหมายที่นายจรัลส่งไปให้องค์กรต่างประเทศและยังบิดเบือน ข้อมูลความเป็นจริงในจดหมาย รวมถึงขอข้อมูลจากชาวบ้านละแวกที่มีการเกิดเหตุปะทะด้วย และเมื่อวันที่ 26 กันยายน หลังการพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเสร็จสิ้น แล้ว ก็ได้มีการพิจารณาเรื่องการถอดถอนนายจรัล ต่อทันที โดยจะต้องใช้เสียง 3 ใน 5 คือ 150 เสียงตาม กฎหมายกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ จากนั้นได้มีการประชุมลับเพื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการที่มีท่านกำธร อุดมฤทธิรุจ เป็นประธานโดยใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยที่ประชุมได้มีมติถอดถอนนายจรัลด้วยคะแนนเสียง 156 เห็นด้วย กับ 1 เสียงไม่เห็นด้วย และ 3 เสียงที่งดออกเสียง ซึ่งเป็นผลให้นายจรัล พ้นจากตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทันที ส่วนเหตุผลที่ถอดถอนนายจรัลคือ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ โดยเป็น 1 ในแกนนำนปก. ทำการชุมนุมก่อความวุ่นวายหน้าบ้านประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 ทำให้มีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินของราชการและเอกชนเสียหาย ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=124605
|