กระทู้นี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียบเรียงและเพิ่มเติมเรื่องราวและเหตุการณ์
ที่เพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป จากที่เคยเขียนๆไว้
เพื่อพยายามมองว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย
โดยกระทู้นี้เป็นตอนที่หก และเป็นตอนจบ (ประกอบด้วยบทที่ 11, 12) ต่อมาจาก
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9790798/P9790798.html
ขอบคุณข้อมูลข้อคิดของเพื่อนๆ มากมาย ที่นำมารวบรวมไว้ด้วย ณ ที่นี้
แม้ไม่ได้เอ่ยนาม แต่ก็ประทับไว้ด้วยใจ
ข้อเขียนทั้งหมดนี้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์
11. ผ่าตัดที่เหง้าร้าย
11.1
โลกก้าวไปข้างหน้า
สิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงไป
ประชาชนควรเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ที่ซึ่งการยึดอำนาจกดขี่อย่างเผด็จการ
ไม่ใช่สิ่งดีงาม ไม่ใช่ความชอบธรรม ไม่ใช่สิ่งถูกต้อง ของสังคม
อีกต่อไป
ตำรากฎหมายที่ว่าด้วยการยอมรับการยึดอำนาจของคนกลุ่มหนึ่ง
สามารถออกกฎหมายบังคับใช้ ในฐานะรัฐาธิปัตย์
ขัดแย้งกับพัฒนาการของสังคม
กลับกลายเป็นรากเหง้าอย่างหนึ่งของความชั่วร้าย
กลายเป็นปลูกฝังจิตสำนึกผิดเพี้ยนแก่ผู้ถูกประสิทธิ์ประสาทความรู้
ทั้งศาล อัยการ ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่บ้านเมือง แม้กระทั่งราษฎร
ให้ขัดแย้งบิดเบี้ยวไปจากโลกสังคมปัจจุบัน
ได้เวลาสลัดการหลงยึดติด
เผาตำรากฎหมายบางส่วนเช่นว่านั้นทิ้ง
หรือยัง ?
11.2
ควรมีตุลาการรัฐประหาร เป็นองค์กรอิสระของประชาชนที่เลือกตั้งขึ้นโดยตรง
ไว้พิจารณาดำเนินคดีการทำรัฐประหาร
เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนได้ตอบโต้ผู้ปล้นสิทธิเสรีภาพ อำนาจอธิปไตยของประชาชน
และเพื่อก่อความยำเกรงต่อประชาชน ของผู้จะทำรัฐประหาร ไว้บ้าง
ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะถูกประกาศยกเลิกโดยผู้กระทำรัฐประหารไว้อย่างไร
จะมีการนิรโทษกรรมตัวเองเช่นไร
ก็คืนสภาพตุลาการรัฐประหารเดิมขึ้นใหม่ กลับคืนไปที่สภาพเดิม
ดำเนินคดีเอาโทษการก่อการรัฐประหาร
ในสถานการณ์ปกติ ให้คณะตุลาการรัฐประหารทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณของทหาร
11.3
เลือก สส. แบบสัดส่วน ใช้บัญชีแบบทั้งประเทศ
โดย สส. แบบสัดส่วนเท่านั้นมีสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
จะเป็นการที่ประชาชนทั้งประเทศเป็นผู้เลือกคณะรัฐมนตรีไปบริหารประเทศ
เลือก สส. แบบแบ่งเขต ให้ประชาชนหนึ่งเขตเลือก สส. ได้หนึ่งคนเท่านั้น
โดย สส. แบบแบ่งเขตไม่มีสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
จะเป็นการที่ประชาชนแต่ละเขตเป็นผู้เลือก สส. ในเขตตน ไปควบคุมและกำกับคณะรัฐมนตรี
ให้บุคคลใดๆมีสิทธิดำรงตำแหน่ง สส. แบบแบ่งเขต ไม่เกิน 8 ปี
เพื่อไม่ให้เกิดการฝังรากอิทธิพลในพื้นที่
ทั้งทำให้นักการเมืองท้องถิ่นต้องพัฒนาตนไปสู่นักการเมืองสำหรับคนทั้งประเทศ
ไมใช่โกงกินหรือเอาจากทั้งประเทศมาเป็นสินบนในท้องถิ่นตน อย่างที่กำลังเป็นอยู่
ทั้งเปิดโอกาสให้แก่คนดีๆอื่นได้รับพิจารณาจากประชาชน
ทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสที่จะเลือกได้มากขึ้น
และให้บุคคลใดๆมีสิทธิดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 8 ปี
เพื่อไม่ให้เกิดการฝังรากอิทธิพลต่อประเทศ
11.4
ประชาชนไม่เคยมีช่องทางใดที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดรัฐธรรมนูญ
ยกเว้นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แต่ก็เป็นเพียงโอกาสเฉพาะในสถานการณ์ที่มีเงื่อนไขพิเศษเท่านั้น
เพื่อจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหารัฐธรรมนูญได้
เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสง่ายขึ้น ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เหมาะสม
เพื่อพัฒนารัฐธรรมนูญให้ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่เสมอ
เพื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
ให้ประชาชนเลือกตั้งองค์กรอิสระร่างรัฐธรรมนูญ และจัดทำประชามติ
ใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ทุก 4 ปี
ถ้าประชามติไม่ผ่าน ให้คงใช้รัฐธรรมนูญฉบับก่อน ต่อไป
เช่นนี้ ทุกๆ 4 ปี
11.5
ให้ภูมิคุ้มกันแก่อนุชนรุ่นหลังของชาติ
ด้วยการให้ได้เรียนรู้กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นมาแล้ว เป็นอุทาหรณ์ ในตำราเรียน
เพื่อรู้เท่าทันต่อการรัฐประหาร ต่อนักการเมือง ต่อสื่อ ต่อการโฆษณาชวนเชื่อ ต่อลัทธิล้างสมอง
เพื่อไม่ฟังความข้างเดียว
หลงเชื่อเป็นเหยื่อของ สื่อ นักการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มอำนาจ
12.
การต่อสู้ระหว่างระบอบอภิสิทธิ์ชน-อำมาตยาธิปไตย กับระบอบราษฎรธิปไตย
การต่อสู้ของสองระบอบในระบอบประชาธิปไตย
เพื่อพิสูจน์ความเป็นแก่นแท้อันถูกต้องเหมาะสมดีงาม
มันยังไม่จบ
มันจะมีตอนต่อไป
อำนาจอธิปไตยควรจะเป็นของใคร
ของอภิสิทธิ์ชน โดยอภิสิทธิ์ชน เพื่ออภิสิทธิ์ชน คนส่วนน้อยของประเทศ
หรือ ของราษฎร โดยราษฎร เพื่อราษฎร คนส่วนใหญ่ของประเทศ