มูลค่าส่งออก
สินค้าเกษตรกรรม
ปี 2551 = 662,228.94 ล้านบาท
ปี 2552 = 559,458.63 ล้านบาท
ปี 2552 (ม.ค.-ต.ค.) = 446,941.58 ล้านบาท
ปี 2553 (ม.ค.-ต.ค.) = 547,558.63 ล้านบาท
(เฉลี่ยต่อเดือน 54,755.86, 2 เดือน = 109,511.72 ล้านบาท)
ถ้าโตในสัดส่วนเดียวกัน ประมาณมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรกรรม
จะได้ = 547,557.63+109,511.72 = 657,069.35 ล้านบาท
เทียบกับปี 2551 ลดลง = -5,159.59 ล้านบาท
สินค้าอุตสาหกรรม
ปี 2551 = 4,405,983.91 ล้านบาท
ปี 2552 = 3,959,607.70 ล้านบาท
ปี 2552 (ม.ค.-ต.ค.) = 446,941.58 ล้านบาท
ปี 2553 (ม.ค.-ต.ค.) = 547,558.63 ล้านบาท
(เฉลี่ยต่อเดือน 395,960.77, 2 เดือน = 791,921.54 ล้านบาท)
ถ้าโตในสัดส่วนเดียวกัน ประมาณมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
จะได้ = 3,959,607.70+791,921.54 = 4,751,529.24 ล้านบาท
เทียบกับปี 2551 เพิ่มขึ้น = 345,545.33 ล้านบาท
รวมสองกลุ่ม
ปี 2551 = 5,068,212.85 ล้านบาท
ปี 2553*= 5,408,598.59 ล้านบาท (ประมาณการในสัดส่วนเดียวกัน)
เทียบกับปี 2551 เพิ่มขึ้น = 340,385.74 ล้านบาท (โตขึ้น 6.7% เมื่อเทียบกับปี 2551)
ถ้าเปรียบเทียบดูจะเห็นว่าส่วนที่โตขึ้น ทั้งหมดหรือมากกว่าเป็นสินค้าอุตสาหกรรมล้วนๆ ครับ
คงไม่ต้องอธิบายต่อว่าสินค้าอุตสาหกรรมเป็นส่วนของไทยแท้ๆ เท่าไร และต่างอย่างไรกับสินค้าเกษตรกรรมนะครับ
รวมไปถึงเม็ดเงินจริงๆ ที่ได้รับของไทยเพิ่มขึ้นหรือลดลงนะครับ แล้วลองเอาเงินกู้ไปลบดูซิครับจะเหลือเท่าไร?
- การประมาณการนี้ไม่ได้เปรียบเทียบมูลค่าด้วยการนำเอา "ดัชนีค่าเงินเฟ้อ" มาคำนวณ
- ถ้าเงินเฟ้อปีละ 5 เปอร์เซนต์ หมายความว่าเงินปี 2551 มีมูลค่า 100 บาท จะ = (100*(1+5%))*(1+5%) = 110.25 บาทในปี 2553 นะครับ
- ถ้าจะถามว่าทำไมไม่เทียบกับปี 2552 ก็ต้องบอกว่าก็เพราะบริหาร ห่วย ไง ปีต่อมามากกว่าปีที่แล้วก็แค่แสดงให้เห็นพัฒนาการของตัวมันเองเท่านั้น แต่นี่ต้องการเปรียบเทียบกับคนอื่น ถึงจะเห็น ค่าเสียโอกาส
ทำไมงานเยอะ
- ง่ายๆ สั้นๆ ครับ จำนวนผู้ค้าน้อยลง ออเดอร์เพิ่มขึ้นมากเองครับ
- ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม มองไปที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปนะครับ
ปี 2551 มูลค่าส่งออก 101,842.85 ล้านบาท
ปี 2552 มูลค่าส่งออก 88,567.80 ล้านบาท
ปี 2552 (ม.ค.-ต.ค.) = 74,503.86 ล้านบาท
ปี 2553 (ม.ค.-ต.ค.) = 73,617.49 ล้านบาท
ปี 2553*(ประมาณการในสัดส่วนเดียวกัน) = 88,340.99ล้านบาท
ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2551 = -13,501.86 ล้านบาท (-13.3%)
กิจการอุตสาหกรรมที่หดตัวสิบกว่าเปอร์เซนต์ถึงสองปี บวกกับ
วัตถุดิบที่สำคัญเช่น ฝ้าย เป็นต้น จากที่เคยซื้อเครดิต 2-3 เดือน ปัจจุบันต้องซื้อเงินสด และราคาสูงขึ้นอีกเท่าตัว
ปลาใหญ่เท่านั้นที่อยู่ได้ครับ ปลาซิวปลาสร้อยร่วงระนาวครับ
ผมแปลกใจอยู่อย่างนึงครับ
นาน้ำท่วมแล้ว ..... ชีวิตก็ปกติดีและหาตังค์ได้เท่าๆ เดิม ไม่เดือดร้อนอะไร
ถ้ารายได้ทางบ้านไม่ได้มาจากการทำนา แล้วรายได้ที่ใช้จ่ายมาจากไหนหรือครับ??
หรือเพราะไม่ได้มีอาชีพไม่ได้ทำมาหากินในด้านนี้ ถึงนาจะท่วมเสียหายเท่าไรก็ไม่เดือดร้อนอะไร?
ถ้าไม่อคติจนหูมืดตาลาย คงจะตอบกันด้วยเหตุและผลนะครับ