Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ขอสนับสนุนความเห็นของคุณสมิงกิ๋งกิ๋ง ที่ว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว ติดต่อทีมงาน

ขอสนับสนุนคุณ สมิงกิ๋งกิ๋ง ในกระทู้ P9937230 ซึ่งคุณสมิงกิ๋งกิ๋ง ได้โพสต์ไว้ว่า "ทำงานอาชีพร้บจ้างทำของ และมีงานเข้ามาไม่ขาดสายตั้งแต่เรื่องม๊อบยุติ ที่ผมรายได้ดีขึ้น อาจเป็นเพราะประเทศสงบ คนเลยกล้าใช้เงิน".... ในส่วนที่ผมเห็นด้วยกับคุณ สมิงกิ๋งกิ๋งนั้นคือ จากสภาพแวดล้อมผู้คนที่ผมพบด้วย จากตัวเลขทางเศรษฐกิจจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ทำให้ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวจริงๆ หลังจากที่ประเทศไทยเราต้องเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจโลกมาตั้งแต่ปลายปี 2551  ส่วนที่คุณสมิงกิ๋งกิ๋ง ระบุว่าอาจเป็นเพราะประเทศสงบ คนเลยกล้าใช้เงิน อันนี้เป็นข้อสันนิษฐานที่น่ารับฟัง แต่ผมขอไม่อภิปรายในประเด็นนี้ เพราะยังไม่สามารถเช็คตัวเลขในประเด็นนี้ได้

หลังจากกระทู้ที่สมิงกิ๋งกิ๋ง ตั้งขึ้น ก็ดูจะมีสมาชิกแสดงความเห็นมากมาย หลายๆคห.ไม่เห็นด้วยกับคุณสมิงกิ๋งกิ๋ง หลายๆคห.ดูจะไม่ยอมเชื่อว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ซึ่งก็เป็นสิทธิของสมาชิกจะยึดถืออย่างนั้นหรือเชื่อเช่นนั้น แต่ในส่วนของผมผมเชื่อว่าเศรษฐกิจริ่มฟื้นตัว และเรื่องที่คุณสมิงกิ๋งกิ๋งเล่าให้ฟัง ก็น่าจะสอดคล้องกัน แต่จะเกี่ยวกับเหตุบ้านเมืองสงบลงหรือไม่ ประเด็นละเอียดตรงนี้ขอเว้นไม่พูดถึง แต่จะขอสนับสนุนในประเด็นที่ว่าขณะนี้เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวจริงๆ แม้การฟื้นตัวนี้จะเริ่มชะลอตัวลงบ้าง แต่ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา ถือว่ามีการฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี


เศรษฐกิจของไทยมีปัญหามาตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ก่อนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน เพราะในเวลานั้นได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงขึ้น  เป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลที่เข้ามาบริหารราชการในช่วง วิกฤติคือต่อจากนั้นคือในช่วง 2ปีต่อมา 2552-2553 จะพลิกสถานการณ์ เศรษฐกิจให้ทุกอย่างดีสุดยอดได้อย่างฉับพลัน  นี้ยังไม่นับวิกฤตการณ์ภายในประเทศที่เกิดจากคนบางจำพวกก่อความวุ่นวาย ล้มมาการประชุมนานาชาติที่ไทยเองเป็นเจ้าภาพ มีการเผาบ้านเผาเมือง ก่อการจลาจลใหญ่ๆถึงสองครั้งคือในเมษายน 2552 และมีนาคม-พฤษภาคม 2553  ไม่นับการชุมนุมย่อยๆที่สร้างความปั่นป่วนอีกหลายครั้ง แต่การที่รัฐบาลสามารถประคองประเทศให้รอดพ้นมาได้ก็นับว่า น่าจะเป็นที่พอใจในระดับหนึ่งอยู่  หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกและมีผลกระทบมายังประเทศไทย สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ตัวเลขการส่งออกลดลง รายได้ประชาชาติลดลงทั้งโดยรวมและคิดต่อหัวประชากร แต่ต่อมา สภาวะต่างๆก็เริ่มที่ฟื้นตัว เริ่มด้วยภาคส่งออกที่ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง และมีผลให้เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งในช่วง  1ปีที่ผ่านมา และเริ่มมีการชลอตัวลงบ้างในไตรมาสนี้


รายงานของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุดสำหรับไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เพิ่งออกมาเมื่อเช้าวันนี้เอง ขอนำบางส่วนมาลงเ พื่อให้เห็นว่าสอดคล้องกับที่คุณสมิงกิ๋งกิ๋ง หรือ คุณไป่ฉีคุณไป่ฉี โพสต์ไว้ในกระทู้ รายละเอียดขอนำมาลงคือ

เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 6.7 โดยมีแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความมั่นใจของนักลงทุน ส่งผลให้การส่งออก การลงทุน และการบริโภคของภาคเอกชนยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 โดยปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว หดตัวร้อยละ 0.2 (%QoQ, SA) รวม 9 เดือนแรกของปี 2553 เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.3

 

(1) ภาคการส่งออก มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสนี้สูงถึง 49,721 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นมูลค่าสูงที่สุดในประวัติการณ์ โดยขยายตัวร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สินค้าหลักที่ส่งออกได้แก่ ยานพาหนะและชิ้นส่วน แผงวงจรรวม เครื่องปรับอากาศ และยางพารา ขยายตัวร้อยละ 60.1 17.0 38.2 และ 93.9 ตามลำดับ ตลาดส่งออกหลักทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังคงขยายตัว ยกเว้นตลาดออสเตรเลียที่ลดลง


(2) ภาคการท่องเที่ยวเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยใน ไตรมาสสามมีจำนวน 3.69 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน มาเลเซีย และอินเดีย เป็นหลัก ส่งผลให้ GDP ในสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 10.1 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.2 ในไตรมาสที่ผ่านมา


(3) การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 5.0 มีปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกรจากราคาพืชผลหลัก เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประกอบกับภาวะการจ้างงานอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 อัตราการว่างงานต่ำที่ร้อยละ 0.9 ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับร้อยละ 80.5 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 75.9 ในไตรมาสที่ผ่านมา


(4) การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 14.5 เป็นการขยายตัวในการก่อสร้างที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในขณะที่การลงทุนในเครื่องจักร เครื่องมือชะลอลง ดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ (Business Sentiment Index : BSI) ในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 50.4 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 49.3 ในไตรมาสที่ผ่านมา

http://www.nesdb.go.th/Portals/0/eco_datas/economic/eco_state/3_53/Press%20Thai%20Q3-2010.pdf

นั้นเป็นรายงานของสภาพัฒฯล่าสุด ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานต่อเนื่องมายาวนาน ข้อมูลต่างๆบิดเบือนได้น้อยมาก เพราะข้อมูลทั้งหมดจะเป็นฐานสำหรับการคำนวณในไตรมาสต่อๆไป หากมีการบิดเบือน ข้อมูลจะฟ้องในไตรมาสต่อไปหรือเมื่อมีรัฐบาลใหม่ และข้อมูลจากสภาพัฒนฯนี้เป็นข้อมูลที่องค์การนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารโลก ธนาคารเอดีบี หรือไอเอมเอฟ จับตามอง เพราะองค์กรเหล่านี้ต้องมีและต้องใช้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง เพื่อประเมินการอนุมัติปล่อยกู้ให้ส่วนต่างๆ หากมีการรายงานที่คลบาดเคลื่อนหรือบิดเบือนไป องค์กรระหว่างประเทศเหล่านี้ซึ่งมีตัวแทนในไทยจะจับได้ และเป็นข่าวใหญ่

ลองดูตัวเลขการเก็บภาษีสรรพากรกันบ้าง ภาษีสรรพากรไม่ใช่ภาษีสรรพสามิต รายได้ส่วนใหญ่ของสรรพากรมาจากรายได้ของประชาชน เอกชน ห้างร้าน บริษัทฯ หากผู้เสียภาษีเหล่านี้มีรายได้มากขึ้น กรมารรพากรก็เก็บรายได้มาขึ้น


จะเห็นว่าการจัดเก็บรายได้ในปี 2553 เดือนต่อเดือนเมื่อเที่ยบกับปี 2551ซึ่งเป็นปีทีที่วิกฤติเศรษฐกิจโลกเพิ่งก่อตัวและยังไม่มีผลต่อประเทศไทยนั้น ปี 2551 จะดีกว่า แต่พอพ้นปี 2551 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก รายได้ของสรรพากรก็ลดลงในปี 2552 แต่แล้วก็กลับมาเริ่มฟื้นตัวปี 2553 เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน

การที่กรมสรรพากรเก็บภาษีได้มากขึ้น อาจมาจากบริษัท ห้างร้าน และหรือประชาชนทั่วไปสามารถเสียภาษีมากขึ้นเพราะรายได้มากขึ้นจริงตามที่คุณสมิงกิ๋งกิ๋ง อภิปรายไว้ ก็มีสมาชิกบางคนแย้งลอยๆว่า เป็นเพราะบริษัทเท่านั้นที่มีรายได้มากขึ้น ความข้อนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ แต่หากจะเหมาเอาแต่ว่าเฉพาะแต่บริษัทที่มีรายได้มากขึ้น หากเป็นดังนี้โดยธรรมชาติบริษัทก็จะมีการลงทุนมากขึ้น มีโบนัสมากขึ้น มีการจ้างงานมากขึ้น ทั้งจ้างพนักงานบริษัท หรือจ้างเหมาบริษัทอื่นห้างร้านอื่นในกิจการต่างที่ตนต้องการ ย่อมทำให้เศรษฐกิจโดยรวมหมุนเวียน
 

 

                            2553                       2552                   2551                      2549
ยอด          1,264,845.279       1,138,564.899       1,276,270.378        1,057,326.825
 ตุลาคม         72,228.336            78,023.686            73,278.242             62,081.561   
พฤศจิกายน  85,308.327            83,213.979            85,824.286             72,181.214 
ธันวาคม       72,714.379             65,839.272            72,858.097            61,176.240  
มกราคม       81,157.948            74,952.799             81,993.386           68,007.930
กุมภาพันธ์   71,905.881             64,025.039             81,888.381           71,527.814
มีนาคม        93,617.660             82,044.583             86,173.674          73,998.117
เมษายน      78,895.520             70,823.370             85,121.314           69,513.642
พฤษภาคม 238,473.268          181,910.567          253,700.776         202,049.885
มิถุนายน      83,663.067           124,278.335            78,834.366          68,480.668 
กรกฎาคม    83,492.100             69,809.538            83,917.913          66,000.620 
สิงหาคม     222,538.057           175,079.565          153,519.196         178,311.906 
กันยายน      80,850.738             68,564.166          139,160.747           63,997.228

http://www.rd.go.th/publish/41800.0.html
http://www.rd.go.th/publish/36097.0.html
http://www.rd.go.th/publish/29653.0.html

สำหรับองค์กรระหว่างประเทศก็ให้คำวิจารณ์ในทำนองเดียวกันว่าเศรษฐกิจไทยดีขึ้นจริงๆ คำวิจารณ์ในลักษณะนี้หาอ่านได้ทั่วไป ตัวอย่างเที่ขอนำมาลงบางส่วนคือของธนาคาร ADB ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจประเทศไทยว่ากำลังดีขึ้นฟื้นตัวขึ้น ดังต่อไปนี้เป็นบางส่วน (ไปอ่านฉบับเต็มในลิงค์ได้ครับ)


Updated assessment

Recovery from the 2009 economic slump was stronger than expected,especially in the first quarter of 2010 when GDP rose by 12.0% year on year. The momentum continued into the second quarter. It was interrupted when political tensions that had been simmering over recent years boiled over into violent demonstrations over 7 weeks in central Bangkok during April and May. But as the violence was confined mainly to a section of the capital, the economic impact was limited: GDP grew by 9.1% in the second quarter (Figure 3.9.1), and by 10.6% in the January–June half.  


http://www.adb.org/Documents/Books/ADO/2010/Update/ado2010-update-tha.pdf


คนที่ไม่ชอบรัฐบาลก็ย่อมจะว่าเศรษฐกิจไม่ดีอยู่รำไป อาจจะไม่ได้ดูข้อเท็จจริงว่าในเวลานี้ หากเศรษฐกิจไม่ดีจริง ทำไม่อัตราคนว่างงานจึงลดลง ทำไมรายได้ต่อหัวประชากรจึงเพิ่มขึ้น เอาละครับ อาจไม่ได้เพิ่มมากหรือมากกว่าสมัย่กอนวิกฤติเศรษฐกิจโลกคือในปี 2551  แต่ก็ยังมากกว่าสมัยคุณทักษิณเป็นนายกฯคือก่อนปี 2549ก่อนการปฏิรูปการปกครอง(ขออนุญาตพาดพิง แต่เป็นการเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดความเข้าใจ)  และที่สำคัญตัวเลขที่เห้นนั้นเป้นปี 2552 ก่อนที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเต็มที่ในปี 2553 นี้ที่ ทุกอย่างดีขึ้น


รายได้ประชาชาติต่อหัว
ปี2548-  77,628 บาท
ปี2549-  86,081 บาท
ปี2550-  94,512 บาท
ปี2551- 101,216 บาท
ปี2552-   97,351บาท
ปี 2553 ตัวเลขยังไม่ออก แต่สูงกว่าปี 2552 อย่างชัดเจนในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา

ต้องมีสมาชิกโต้แย้งว่า รายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้น จากปี 2549 ที่ได้  86,081 บาทเป็น 97,351บาท ในปี ปี2552 นั้นเพิ่มน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจากคำนวณแบบชาวบ้านๆในเบื้องต้นตามวิธีคำนวณข้างล่างแล้ว พบว่าในช่วง 3 ปีนั้นอัตราเงินเฟ้อคิดสะสมทบต้นอยู่ที่ 5.7 เปอร์เซนต์ ดังนั้น จะอย่างไรรายได้ประชาชาติก็เพิ่มในช่วง 3 ปีก็ยังมากกว่าอัตราเงินเฟ้อที่คิดสะสมทบต้น เพราะรายได้เพิ่มในช่วง 3 ปีนี้เท่ากับ 13.09 เปอร์เซนต์ ซึ่งมากกว่าอัตราเงินเฟ้อมาก (การคำนวณตรงนี้ เป็นการคำนวณโดยประมาณ สมาชิกท่านใดทำการคำนวณตรงนี้แตกต่างไป ก็ย่อมได้นะครับ เพราะเป็นโดยประมาณให้ดูคร่าวๆเท่านั้นจริงๆ) และนี้ยังไม่นับว่าปี 2552 เป็นปีที่ประเทศวิกฤติรายได้ประชาชาติน้อยกว่าปกติ ปีนี้รายได้มากขึ้นมากอย่างแน่นอน ดังนั้นหากจะกล่าวว่าคนไทยจนลง ไม่น่าจะเป็นความจริง เพราะรายได้สูงขึ้นมาตลอด และมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ

http://www.nesdb.go.th/Portals/0/eco_datas/account/ni/ni_2009/NI2009.xls

จึงก็ขอสนับสนุนความเห็นของคุณสมิงกิ๋งกิ๋ง ในกระทู้ P9937230 ที่ว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวด้วยความเห็นข้างต้นนี้แหละครับ


 
 

 

 

.......

23 พย.2553 08.15

ขอเข้ามาอัพเดทข้อมูลตัวเลขในส่วนของอัตราเงินเฟ้อช่วงปี2550-2551-2552 สักหน่อยครับ เพราะตัวเลขประมาณการที่ใหไว้เดิมข้างบน ผมเองรู้สึกว่าสูงมากเกินไปสักหน่อย เลยลองไปเช็คตัวเลขจริงว่าเป็นเท่าไร ปรากกว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีของปี 2550 คือ 1.1, 2551 คือ 5.5 และ ปี2552 คือ -0.9

ผมไม่ทราบวิธีคิดอัตราเงินเฟ้อรวบยอดแบบ 3 ปีที่ใช้วิธีคิดตามหลักเศรษฐกศาตร์นะ แต่ขอคิดแบบชาวบ้านๆ ดังนี้คือ

1.สิ้นปี 2549 ของชิ้นหนึ่งมูลค่า 100 บาท สิ้นปี 2550 ของชิ้นนั้นจะมีราคาแพงขึ้นต้องจ่ายเงินซื้อ  101.1 บาท(เงินเฟ้อ 1.1 เปอร์เซนต์)

2. สิ้นปี 2550 ของชิ้นนั้นต้องซื้อด้วยเงิน 101.1 บาท สิ้นปี 2551 ของชิ้นนั้นจะมีราคาแพงขึ้นต้องจ่ายเงินซื้อ  106.66 บาท(เงินเฟ้อ 5.5 เปอร์เซนต์)

3.สิ้นปี 2551 ของชิ้นนั้นต้องซื้อด้วยเงิน 106.6 บาท สิ้นปี 2552 ของชิ้นนั้นจะมีราคาถูกลงเล็กน้อยต้องจ่ายเงินซื้อ  105.7 บาท(เงินเฟ้อ -0.9 เปอร์เซนต์)

 

ดังนั้นจากสิ้นปี 2549 ของมูลค่าเดิม 100 บาทต้องจ่ายเงินซื้อ 105.7 บาทเมื่อสิ้นปี 2552 เงินเฟ้อช่วง 3 ปีนี้จึงเท่ากับ 5.7 เปอร์เซนต์ วิธีคิดนี้คิดแบบชาวบ้านนะครับ หากผิดถูกอย่างไรแนะนำด้วย ยินดีรับฟัง อนึ่งการเปรียบเทียบกับช่วงปี 2549 นั้น ไม่ได้ต้องการเทียบว่ารัฐบาลใดเก่งกว่ารัฐบาลใด แต่ต้องการชี้ให้เห้นว่าจากช่วงปี 2549 ถึง 2552 คนไทยไม่ได้จนลง แม้จะมีวิกฤติเศรษฐกิจโลก ก็ผ่านมาได้

แก้ไขเมื่อ 23 พ.ย. 53 08:26:17

จากคุณ : thyrocyte
เขียนเมื่อ : 22 พ.ย. 53 12:00:38 A:58.136.4.204 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com