สวัสดียามบ่าย ค่ะ.....
กระทู้คุณ ลุงกับคุณหลาน ดังระเบิด น่ารักนะคะ แตกประเด็นกันไปหลายกระทู้..5555
เห็นเขาตัดแปะเรื่อง ข้อกฎหมาย ประเด็น ยกคำร้อง คดีพรรค ปชป. เอามาให้อ่านกันเยอะ
จนตาลาย ดิฉันก็คล้าย คุณทวดค่ะ ไม่ค่อยรู้ข้อกฎหมาย เอามาให้อ่านก็ไม่สามารถจะติดตาม
ข้อกำหนดอะไรได้ เห็นคุณ ห่านป่า อภิปรายแบบผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคุณ thyrocyte อภิปราย
กับคุณเติ้ง...ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่...แต่วันนี้ ไปเจอ บทวิจารณ์นี้เข้า แหม ..ตาสว่างเลยค่ะ
ลองอ่านกันดูนะคะ แต่บทความยาวมาก ต้องรบกวนให้ไปอ่าฉบะับเต็ม ตาม link ด้วยค่ะ
ความโชคดีซ้ำซากของพรรคประชาธิปัตย์"โดย ศ. ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
บทบรรณาธิการ เว๊บไซต์ www.pub-law.net ล่าสุด เรื่อง "ความโชคดีซ้ำซาก
ของพรรคประชาธิปัตย์" มีประเด็นและสาระสำคัญ ดังนี้
-
เมื่อตอนเช้าวันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่อ
ให้คู่กรณีแถลงปิดคดีด้วยวาจาในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองร้องขอให้ศาล
รัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์จากกรณีการใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
จำนวน 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ จากนั้นในตอนบ่ายสองโมง ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดฟัง
คำวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรค
ประชาธิปัตย์ เนื่องจากกระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในขณะที่เขียนบทบรรณาธิการนี้ ผมยังไม่เห็นคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการของศาลรัฐธรรมนูญ
และคำวินิจฉัยส่วนตัวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน จึงยังไม่ขอให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว แต่ผมเข้าใจว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องเนื่องมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์เกินระยะเวลาที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมืองกำหนด กล่าวคือ เกิดการนับวันไม่ตรงกันระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งกับ
ศาลรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งนับวันที่ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ฟ้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553
และต่อมา ประธานกรรมการการเลือกตั้งก็ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งก็อยู่ภายใน 15 วัน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญกลับถือเอาวันที่
17 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันที่ประธานกรรมการการเลือกตั้งเสนอเรื่องให้ที่
ประชุมพิจารณา ดังนั้น เมื่อประธานกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องในวันที่ 26
เมษายน พ.ศ. 2553 จึงล่วงพ้นระยะเวลา 15 วัน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองไปแล้ว
แม้จะยังไม่ได้เห็นคำวินิจฉัยฉบับจริง แต่เมื่อได้ฟังคำวินิจฉัยและรับทราบผล
คำวินิจฉัยในเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในเบื้องต้น ผมมีข้อสังเกตบาง
อย่างเกี่ยวกับ 2 องค์กรคือ ศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการการเลือกตั้งที่คง
ต้องนำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้ก่อน เมื่อได้อ่านคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตัวแล้ว หากมีประเด็นน่าสนใจ ก็จะได้ย้อนกลับมาพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่งครับ
องค์กรแรกที่อยากจะกล่าวถึงก็คือศาลรัฐธรรมนูญ มีหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
ศาลรัฐธรรมนูญที่อยากจะพูดถึง คงต้องเริ่มจากก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา
คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ มีข่าวไม่ดีไม่งามออกมามากมายที่ทำให้เกิดมุมมองใน
เชิงลบกับศาลรัฐธรรมนูญและกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน ข่าวไม่ดีไม่งาม
ดังกล่าวมีผู้ให้ความเห็นสรุปได้เป็นสองแนวทาง แนวทางแรกคือ มี ขบวนการ
จ้องทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ กับแนวทางที่สองคือ
ศาลรัฐธรรมนูญเองที่ทำให้องค์กรของตัวเองไม่น่าเชื่อถือ
เรื่องดังกล่าวจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดออกมาชี้แจงให้กระจ่างว่าในที่สุดแล้ว ปัญหา
เกิดจากใคร และความรับผิดชอบควรตกอยู่แก่ผู้ใด แต่ในช่วงเวลาเดียวกันก็กลับมีการ
ให้ข่าวออกมาว่า เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
เพราะฉะนั้น ในปัจจุบัน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ก็ชอบที่ผู้เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวจะออกมาชี้แจง
หรืออธิบายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นให้แก่สังคมทราบต่อไปว่า สรุปแล้วเกิดอะไรขึ้นที่
ศาลรัฐธรรมนูญครับ
เรื่องต่อมาที่ผมมีข้อสังเกตก็คือ เรื่องผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ยกคำร้องกรณียุบ
พรรคประชาธิปัตย์เนื่องจากมีการยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองนั้นผมได้ลองตรวจสอบข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วย
วิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ดูแล้ว ไม่ปรากฏว่ามี
ข้อใดเลยที่กล่าวถึงการตรวจสอบเรื่อง อายุความในการร้องขอต่อ
ศาลรัฐธรรมนูญ แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีระเบียบ
หรือหลักเกณฑ์อื่นใดที่กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวไว้หรือไม่ ซึ่งเมื่อเทียบ
เรื่องดังกล่าวกับวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครองแล้ว ก็จะพบว่าทั้ง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม กับระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วย
วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า
ต้องมีการตรวจสอบคำฟ้องในเบื้องต้นก่อนที่จะรับไว้พิจารณา
นอกจากนี้ จากการสอบถามเรื่องดังกล่าวกับพนักงานคดีปกครองทำให้ได้ข้อมูลว่า
การตรวจสอบเรื่อง อายุความ หรือ ระยะเวลาในการฟ้องคดี จะทำกันอย่างจริงจัง
และหลายขั้นตอน แม้กระทั่งเมื่อตุลาการหัวหน้าคณะจ่ายสำนวนคดีให้กับตุลาการเจ้า
ของสำนวนแล้ว ตุลาการเจ้าของสำนวนก็จะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำฟ้อง
ก่อนที่จะรับหรือไม่รับคำฟ้องนั้นไว้พิจารณา ดังนั้น หากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีกระบวน
การดังกล่าว ก็ชอบที่จะพิจารณาปรับปรุงข้อกำหนดของตัวเองเสียใหม่เพื่อให้การพิจารณา
วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นของคำร้องเกิดประโยชน์มากกว่า
พิจารณากันไปตั้งชาติหนึ่งแล้วค่อยมาบอกว่ายื่นคำร้องเกินระยะเวลาครับ !!!
นอกจากนี้ ในข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550
ยังได้ มีการแต่งตั้ง ตุลาการประจำคดี คล้าย ๆ กับ ตุลาการเจ้าของสำนวน ของศาลปกครอง
ด้วย แต่จำนวนอาจแตกต่างกันเพราะของศาลรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในข้อกำหนดฯ ข้อ 25 ว่าให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งตุลาการไม่น้อยกว่า 3 คนเป็นตุลาการประจำคดี แต่ก็มี
ข้อยกเว้นอยู่ 2 กรณีซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์ และก็มีข้อยกเว้นซ้อนเข้า
ไปอีกว่าหรือในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนประธานศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่แต่งตั้งตุลาการ
ประจำคดีก็ได้ ซึ่งข้อยกเว้นหลังนี้ก็ไม่เข้าเกณฑ์กรณียุบพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน
คำถามของผมคือ ใครเป็นตุลาการประจำคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และตุลาการ
ประจำคดีได้ทำหน้าที่ของตนในการตรวจสอบว่าการยื่นฟ้องกรณีดังกล่าวเกินระยะ
เวลาที่กำหนดหรือไม่ อย่างไร ครับ เพราะหากพิจารณาข้อกำหนดฯ ข้อ 29 ก็กล่าว
ไว้ชัดเจนพอสมควรว่าเมื่อศาลหรือตุลาการประจำคดี แล้วแต่กรณี
มีคำสั่งรับคำร้องที่มีคู่กรณีไว้พิจารณาวินิจฉัย ให้ส่งสำเนาคำร้องแก่ผู้ถูกร้อง หรือมีคำสั่งแจ้งผู้ถูกร้องมารับสำเนาคำร้องภายในระยกเวลา
ที่ศาลกำหนดเมื่อผู้ถูกร้องได้รับสำเนาคำร้อง ให้ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด
กรณีผู้ถูกร้องไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หรือไม่มารับสำเนาคำร้องภายในกำหนดเวลาตาม
วรรคหนึ่ง ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
ผมสงสัยจริง ๆ นะครับว่าใครเป็นตุลาการประจำคดีในเรื่องนี้ แล้วทำไมตุลาการประจำคดีถึงได้ไม่หยิบยกเรื่องยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กำหนด
มาพิจารณาตั้งแต่ต้น ปล่อยให้เสียเวลาไต่สวนข้อเท็จจริงมาถึงหลายเดือนแล้วก็มาจบ
ลงตรงที่ว่า ยื่นคำร้องเกินระยะเวลาครับ !!!
<
<
<
ผมไม่อยากโต้เถียงประเด็นนี้กับ นักกฎหมายใหญ่ บางคนที่รีบออกมาให้ความเห็นสนับสนุน
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่พิจารณายกคำร้องกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์เนื่องจาก
ขาดอายุความว่าเป็นหลักสากลที่ทั่วโลกทำกันคือต้องดูว่าถูกต้องตามกระบวนการตาม
กฎหมายหรือไม่ก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วในเรื่องดังกล่าว หากถามนักกฎหมายมหาชน แท้ ๆ ก็จะได้คำตอบไม่ต่างกันเท่าไรนัก เพราะหัวใจสำคัญของกฎหมายมหาชนคือ การคุ้มครอง
ประโยชน์สาธารณะซึ่งก็คือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชนนั่นเอง หากศาลซึ่งมีหน้าที่ในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะอ้างว่า กระบวนการ
ของการยื่นคำร้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วปฏิเสธไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง
กับประโยชน์สาธารณะ ศาลก็จะเป็นผู้บกพร่องต่อหน้าที่ที่ต้องคุ้มครองประโยชน์
สาธารณะเสียเองครับ
<
<
<
แต่ถ้าให้ผม เดา ผมคิดว่าคงไม่มีใครลาออกแน่ จะลาออกกันไปทำไมครับ มีตัวอย่าง
ที่เห็น ๆ กันอยู่หลายเรื่อง ล่าสุดที่เคยเกิดขึ้นในศาลรัฐธรรมนูญมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เถียงกันว่าการสอนหนังสือเป็นการรับจ้างหรือไม่ หรือกรณีล่าสุด กรณี
เลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ทุกคนเงียบ ไม่ลาออก ไม่ชี้แจง ปล่อยให้เวลาผ่านไป ไม่ช้าเรื่องก็เงียบ ตัวเองก็มีงานทำ มีเงินใช้ มีอำนาจวาสนาบารมีต่อไปครับ !!!
<
<
<
มีข้อสงสัยสุดท้ายที่คาใจอยู่ก็คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากความไม่รู้ หรือเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากความตั้งใจครับ
..
<
<
<
ท้ายที่สุด ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับพรรคประชาธิปัตย์ที่ โชคดีซ้ำซาก รอดพ้นจากทุกเหตุการณ์ไปได้อย่างง่ายดายครับ จริงอยู่ แม้จะมีคนออกมาตั้งข้อสงสัยในความ โชคดีซ้ำซาก ของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่สามารถ สลัด ข้อกังขาที่เป็นประเด็นให้หลุดไปได้ แต่ไม่ช้าไม่นานคนก็จะลืมกันไปเองเหมือนกับทุก ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา และยิ่งถ้ามีข่าว เหมือนเดิม ออกมา เช่น ข่าวการลอบทำร้าย หรือข่าวหมิ่นต่าง ๆ คนก็จะหันไปสนใจเรื่องเหล่านั้นจนไม่สนใจว่า การ รอด จากการถูกยุบพรรคด้วยข้อผิดพลาดทางเทคนิคนั้น เป็นความ สง่างาม หรือเป็นความ ถูกต้อง ที่พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศโดยควรจะ ภูมิใจ หรือไม่ เพราะข้อกล่าวหาว่า ใช้เงินภาษีอากรของพี่น้องประชาชนผิดประเภท ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ให้กระจ่างครับ !!!
ศ. ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291612533&grpid=&catid=02&subcatid=0200
*********************************************************************************************
หุ หุ ระดับศาสตราจารย์..วิเคราะห์นี่ ดิฉันก็ต้องรับฟังความคิดเห็นนะคะ
แล้วเพื่อน ๆ ที่ ยกกฎหมายหลาย ๆ มาตรามาตัดแปะ คิดยังไง กับ comment นี้บ้าง
ช่วยกันมา comment อ.จ.ท่านี้กันหน่อย...ดิฉันอยากอ่านมาก ๆ เลย
***************************************************************************************
ต่อด้วย คนดัง ระดับ อธิบดี DSI ...วันนี้โดนสื่อ วิจารณ์แบบนี้ เพื่อน ๆ
คิดยังไงกันบ้าง มาตอบกันหน่อยสิคะ ...เฮ้อ...จะมีใครมาวิจารณ์บทความนี้ไหม ?
มาตรฐานธาริต
เหล็กใน
สมิงสามผลัด
การทำงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นตัววัดมาตรฐานของรัฐบาล
ชุดนี้ได้อย่างชัดเจนที่สุด
ดีเอสไอยุคนี้ทำงานสนองรัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อย่าง
ไม่ขาดตกบกพร่อง
ยิ่งการทำหน้าที่ของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ ในสไตล์ใช่ครับพี่ ดีครับนาย
สบายครับผม เหมาะสมครับท่าน
ยิ่งเข้าหูเข้าตานายกฯมาร์คเข้าไปใหญ่
ย้อนกลับไปดูผลงานนายธาริต นับตั้งแต่เหตุการณ์สลายม็อบราชประสงค์
นโยบายหลักก็คือการไล่เช็กบิลคนเสื้อแดง
คดีความ 91 ศพไม่ต้องพูดถึง พี่น้องผู้เสียชีวิตหมดหวังไปแล้ว
ยิ่งล่าสุดนายธาริตประกาศจะยื่นศาลให้ถอนประกันนายจตุพร พรหมพันธุ์
แกนนำนปช. ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย
อ้างเหตุผลว่าข่มขู่นายเมธี อมรวุฒิกุล อดีตดาราเสื้อแดงที่แปรพักตร์ไป
ซบอกนายธาริต กลายเป็นพยานปากคำสำคัญเล่นงานแกนนำนปช.
อีกเหตุผลคือนายจตุพรยังไม่เลิกปลุกระดมม็อบเสื้อแดง
ยังไม่เลิกด่ารัฐบาล ไม่เลิกด่านายกฯมาร์ค
ที่เป็นงงก็เพราะการถอนประกันตัวครั้งนี้ นายธาริตประกาศจะยื่นต่อศาลเอง
หลังเคยยื่นอัยการไปแล้ว แต่อัยการเห็นว่าไม่จำเป็นต้องถอนประกันนายจตุพร
เพราะไม่มีหลักฐานว่าไปข่มขู่พยาน หรือไปยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย
นายธาริตก็ต้องเดินหน้าร้องศาลเอง เพื่อเอาอกเอาใจรัฐบาล
ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่าคนเสื้อแดงยังเป็นศัตรูตัวฉกาจในสายตารัฐบาล
การกระทำของนายธาริตสะท้อนได้ชัดเจนที่สุด
เมื่อเทียบเคียงกับคดีก่อการร้ายที่ม็อบเหลืองตกเป็นผู้ต้องหา กว่าจะมีการ
ออกหมายจับแกนนำที่บุกยึดสนามบินสองแห่งก็ปาเข้าไปเกือบ 3 ปี
หมายจับแกนนำพธม.โดนเบรกก่อนจะไปยื่นศาลหลายครั้ง
ทำเอาตำรวจปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน
ออกหมายจับแล้ว แกนนำทั้งหมดก็ได้ประกันตัว ไม่ต้องเข้าเรือนจำ
เลยสักคนเดียว
ทั้งที่เป็นคดีก่อการร้ายเหมือนกับที่คนเสื้อแดงโดน
ถามถึงเหตุผลที่นายธาริตบี้ถอนประกันแกนนำมอบแดง ก็คือข่มขู่พยาน
ยังไม่เลิกปลุกระดมม็อบ
แล้วที่แกนนำพธม.ทำทุกวันนี้ มันต่างกันตรงไหน
ศาสดาม็อบเหลืองไม่ได้แค่ข่มขู่พยาน แต่ข่มขู่ไปถึงพนักงานสอบสวน
ซ้ำร้ายกว่านั้นด่านายกฯว่าเนรคุณ
วันก่อนก็ขนม็อบที่มีอยู่หร็อมแหร็มไปประท้วงหน้ารัฐสภา
ก่อนประกาศจะชุมนุมใหญ่ช่วงเดือนม.ค.นี้
เข้าข่ายเดียวกันกับข้อกล่าวหานายจตุพร แต่นายธาริตไม่ยักจะไปยื่นศาล
ให้ถอนการประกันตัวเลย
นี่แหละคือมาตรฐานนายธาริต
ขุนพลเอกในยุครัฐบาล 2 มาตรฐาน
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNakE0TVRJMU13PT0=§ionid=TURNd05BPT0=&day=TWpBeE1DMHhNaTB3T0E9PQ==
ขอลาก่อน สำหรับตอนบ่าย ๆ นะคะ เย็น ๆ อาจจะมาอีกสักรอบ ถ้าเจอประเด็นเด็ดจากสื่อ
หรือจากเพื่อน ๆ
สวัสดียามเย็น.. ขอบคุณนะคะ คุณ thyrocyte ที่ให้เกียรติมาตอบ
แต่คคห.นี้คงต้องไปแย้งที่อ.จ. นันทวัฒน์ ท่านแสดงคคห.ไว้นะคะ
ดิฉันก็แค่เอามานำเสนอคคห.ของท่านเท่านั้น ค่ะ เพราะลำพังความรู้
ของดิฉันไม่บังอาจไปวิจารณ์ค่ะ...ถ้าจะให้ดีนะคะ ตั้งกระทู้เลยค่ะ
แตกประเด็นแย้งไปเลย ว่าอ.จ.เข้าใจผิด มีประเด็นที่ขอ
ขัดแย้งความเข้าใจของอ.จ. เอาอย่างนี้ดีไหม ? แต่อ.จ.ก็บอก
ไว้แล้วเหมือนกันว่า ท่านไม่อยากโต้เถียงกับนักฎหมายใหญ่นะ
นักกฎหมาย เขาก็มีหลายมุมมอง แล้วแต่การตีความนะคะ
นี่ก็แค่มุมมองของท่านกูรูกฎหมายระดับศาสตราจารย์ค่ะ
เพราะบทความของอ.จ. ดิฉันแค่ตัดแปะเท่านั้น..เองค่ะ
.กระทู้คุณ thyrocyte ...ค่ะ
คุณทักษิณมีความเสี่ยงอยู่บ้าง หากจะเดินทางเข้าสหรัฐ และตอบคุณsao..เหลือ..noi โดย คุณthyrocyte (P10003797)
แก้ไขเมื่อ 08 ธ.ค. 53 18:16:14