ที่จริงคุณทักษิณจะเข้าสหรัฐได้โดยไม่ถูกควบคุมตัวหรือไม่อีกไม่กี่วันก็คงจะได้ทราบกัน แต่ในช่วงก่อนจะถึงวันนั้น เห็นมีกระทู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากพอสมควร ฝ่ายที่รักคุณทักษิณก็บอกว่าเข้าได้โดยไม่มีปัญหา ไม่มีทางถูกจับซึ่งก็อาจเป็นไปได้ ผมจึงขอเกาะกระแสเรื่องวิเคราะห์นี้ด้วยคน ขอร่วมประเมินความเสี่ยงล่วงหน้าไว้เช่นกัน หากประเมินผิดไปก็อาจมีคนเก็บเอามาดิสเครดิตว่าประเมินผิด แต่ก็ไม่ถือสาหรอกครับ เพราะเรื่องแบบนี้ใครมันจะไปทำนายได้ถูกต้องละครับ โดยเฉพาะประชาชนคนเดินดินกินทั้งข้าวแกงและก๋วยเตี๋ยวอย่างพวกเรานี้ ไม่ได้ล่วงรู้ความในหรือความนัยอะไรไปได้เสียทั้งหมด ก็คาดเดากันไปเรื่อยตามสภาพ แต่เห็นหลายท่านใช้สิทธิถกเรื่องนี้แล้ว ผมก็ขอใช้สิทธิถกเรื่องนี้ด้วย
เริ่มเป็นหัวข้อหัวข้อไปอาจจะทำให้อ่านได้ไม่ยากลำบากจนเกินไปครับ
(1.) ในขณะนี้ไทยและสหรัฐได้มีการลงนามในสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ชื่อ TREATY BETWEEN THE GOVERNMENT OF THE KINGDOM OF THAILAND AND THE GOVERNMENT OF THE UNITED STATES OF AMERICA RELATING TO EXTRADITION โดยแต่ละประเทศจะมีกฎหมายภายในประเทศของตนใช้บังคับเพื่อให้เป็นไปตามสนธิสัญญานี้ ของฝ่ายไทยเราปัจจุบันใช้ พรบ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กับคู่สนธิสัญญาประเทศอื่นด้วย ส่วนของสหรัฐก็มีกฎหมายที่ว่า มีชื่อเป็นทางการของกระบวนการยุติธรรมสหรัฐว่า Act on Extradition between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the United States of America ในกฎหมายทั้งของสองประเทศในนั้นมีการระบุรายละเอียดและข้อกำหนดต่างๆที่จะปฏิบัติ แต่แนวทางจะคล้ายๆกัน และสามารถดูรายละเอียดโดยรวมได้ในตัวสนธิสัญญาเอง
(2.) การได้รับหมายเชิญจากองค์กรของสหรัฐไม่ว่าองค์กรใดๆก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเข้าสหรัฐได้โดยอัตโนมัติ และเข้าไปแล้วจะไม่ถูกควบคุมตัว เพราะองค์กรที่เชิญนั้นคือ OSCE หรือองค์กรอื่นก็ดี ไม่ได้อยู่เหนือกฎหมายของสหรัฐ หรือ อยู่หเนืออำนาจสนธิสัญญาที่สหรัฐได้ไปให้ไว้กับประเทศอื่น แม้แต่เป็นประธานาธิบดี หรือรัฐสภาสหรัฐออกหมายเชิญเอง ก็ยังต้องดำเนินการให้เป็นไปตามตามสนธิสัญญานี้อยู่ดี เพราะในสนธิสัญญา ไม่เห็นมีข้อกำหนดยกเว้นให้กับองค์กรใดในประเทศทั้งสอง ไม่มีข้อยกเว้นให้กับรัฐสภาสหรัฐ ยิ่งองค์กร OSCE เองก็เป็นเพียงองค์กรหนึ่งในหลายพันองค์กรที่มีอยู่ในสหรัฐ และไม่เคยได้ยินได้ฟังมาว่าประธานาธิบดีหรือใคร มีอำนาจตามกฎหมายที่จะสั่งงดการปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่กับประเทศอื่นมาก่อนได้ ในเรื่องนี้ มีแต่ว่าเมื่อควบคุมตัวผู้ที่ถูกร้องขอให้ส่งข้ามแดนได้แล้ว ให้นำตัวขึ้นศาลของประเทศนั้นว่า เพื่อศาลพิจารณาว่าเข้าตามข้อกำหนดของกฎหมายประเทศนั้นในการส่งข้ามแดนหรือไม่ หากศาลพิจารณาแล้วว่าไม่เข้าจึงจะมีการปล่อยตัวไป
(3.) การที่มีพาสปอร์ตประเทศที่สามไม่เป็นเครื่องการันตีว่าจะไม่ถูกจับ เพราะความผิดที่ติดอยู่กับตัว ไม่ได้หายไปเมื่อถือพาสปอร์ตสัญชาติอื่นหรือเปลี่ยนไปถือสัญชาติอื่น เช่นกรณีวิคเตอร์ บูท สัญชาติรัสเซีย ถือพาสปอร์ตรัสเซียเข้าไทยซึ่งตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับสหรัฐ ก็ถือว่าสัญชาติรัสเวียเป็นสัญชาติที่สาม แต่มีความผิดความผิดตามกฎหมายสหรัฐ และสหรัฐร้องขอให้ควบคุมและส่งกลับโดยอาศัยพรบ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พศ.2551 โดยอ้างอิงต่อสนธิสัญญาที่มีต่อกัน กรณีนี้ วิคเตอร์ บูทไม่ใช่สัญชาติไทย และไม่ใช่สัญชาติสหรัฐ แต่เป็นสัญชาติรัสเซียถือพาสปอร์ตรัสเซียซึ่งเป็นสัญชาติที่สาม ก็ไม่พ้นอำนาจกฏหมายไปได้
(4.) ที่จริงแล้วหากลำดับขั้นตอนการเข้าประเทศสหรัฐของคุณทักษิณ น่าจะเป็นดังนี้
1. ต้องมีพาสปอร์ตของประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่เป็นพาสปอร์ตที่ถูกต้องตามกฎหมาย อันนี้ ไม่น่ามีปัญหา เพราะดูเหมือนคุณทักษิณจะมีพาสปอร์ตของนิคารากัว กับ ของมอนเตรโกรอยู่
2. หากประเทศที่ถือพาสปอร์ตนั้น อยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องขอวีซ่าก่อนเข้าสหรัฐ ก็ต้องทำวีซ่าก่อนเข้าสหรัฐ ผมยังไม่ได้เช็คดูว่าพาสปอร์ตนิคารากัวกับพาสปอร์ตมอนเตรเนโกรนั้นเข้าสหรัฐได้เลยหรือไม่หรือต้องขอวีซ่าก่อน แต่หากต้องทำวีซ่าก็ยังต้องแจ้งว่าเคยต้องคดีหรือกำลังมีคดีติดตัวหรือไม่ในใบเข้าเมือง ตรงนี้เป็นปัญหาได้ หากมีคดีแล้วแจ้งว่าไม่มีคดี อาจเจอข้อหาแจ้งความเท็จกับทางการสหรัฐ หากไปทำการยื่นเอกสารที่มีข้อความที่ไม่จริงนี้ในสถานทูตสหรัฐ
3. ในขณะเข้าสหรัฐ หากมีหมายจับของประเทศอื่นอยู่ ในข้อหาทางกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับกันระหว่างประเทศนั้นกับประเทศสหรัฐ ก็อาจถูกทางการสหรัฐควบคุมตัวแม้จะถือพาสปอร์ตของประเทศที่สามก็ตาม เพราะดังที่กล่าวแล้ว พาสปอร์ตประเทศที่สามไม่เป็นเครื่องการันตีว่าจะไม่ถูกจับ เพราะความผิดที่ติดอยู่กับตัว ไม่ได้หายไปเมื่อถือพาสปอร์ตสัญชาติอื่นหรือเปลี่ยนไปถือสัญชาติอื่น
4.ความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ต้องเป็นความผิดอาญาซึ่งกฎหมายของประเทศผู้ร้องขอและกฎหมายไทยกำหนดให้เป็นความผิดอาญาซึ่งมีโทษโทษจำคุหรือจำกัดเสรีภาพในรูปแบบอื่นตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นความผิดที่ได้กำหนดไว้ในหมวดเดียวกัน หรือเรียกชื่อความผิดเป็นอย่างเดียวกันของทั้งสองประเทศหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างง่ายที่สุดคือข้อหาเกี่ยวกับ ฆาตกรรม ยาเสพติด พิมพ์นบัตรปลอม หรือ คอรัปชั่นในบางกรณี
5. หากมีการควบคุมตัว ประเทศที่ขอให้จับกุมควบคุมตัว ต้องร้องต่อศาลสหรัฐเพื่อขอให้ส่งตัวกลับ ซึ่งการส่งตัวกลับนั้นจะขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลสหรัฐ ไม่ใช่ขึ้นกับเอฟบีไอ หรือตม.สหรัฐ หรือตำรวจสหรัฐ
(5.) สำหรับกรณีคุณทักษิณต้องยอมรับว่าจนถึงเวลานี้ มีหมายศาลอออกมาแล้วรวมได้ 5 หมาย คือ
1.หมายของศาลฏีกาฯในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษกมูลค่า 772 ล้านบาทเศษ
2.หมายในคดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงค์)
3.หมายในคดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว ( หวยบนดิน )
4.หมายในคดีทุจริตแปลงสัมปทานมือถือ - ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพาสามิต
5. หมายจับของศาลอาญา ในข้อกล่าวหาคดีก่อการร้าย
ความผิดตามหมายใน 4 คดีแรกนั้น ยังเป็นปัญหาว่าจะหากฎหมายในสหรัฐ ที่มีบทบัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดเทียบเคียงได้หรือไม่ เพราะหากในสหรัฐการกระทำในลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นความผิด ข้อหาทั้ง 4 ในหมายทั้ง 4 ก็ไม่เข้าตามสนธิสัญญาตาม ARTICLE 2 Extraditable Offenses ในข้อ (1) ที่ว่า An offense shall be an extraditable offense for prosecution or for the imposition of a penalty or detention order only if it is punishable under the laws of both Contracting Parties by imprisonment or other form of detention for a period of more than one year or by any greater punishment แต่ความผิดในหมายที่ 5 คือหมายจับของศาลอาญา ในข้อกล่าวหาคดีก่อการร้าย น่าจะเป็นข้อความผิดที่สหรัฐมีกฎมายบัญญัติไว้เช่นกัน
(6.) อนึ่ง หมายตามสนธิสัญญานี้นั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นหมายที่ออกโดยศาลที่พิพากษาความผิดแล้ว แต่เป็นหมายที่นับรวมทั้งหมดที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรม ดังที่บัญญัติใน Article 1 ความว่า The Contracting Parties agree to extradite to each other, subject to the provisions described in this Treaty, persons found in the territory of one of the Contracting Parties who have been proceeded against for, have been charged with, have been found guilty of, or are wanted for the enforcement of a judicially pronounced penalty for committing an extraditable offense, by the judicial authority of the Requesting State.. The term judicial authority shall include the police and public prosecution authority for the purpose of proceeding against or charging such persons in accordance with the laws of each Contracting Party.
นั้นคือทั้งสองประเทศตกลงที่จะส่งบุคคลข้ามแดนตามข้อกำหนดในสนธิสัญญา คือ บุคคลที่กำลังอยู่ในระว่างการไต่สวนสอบสวน(who have been proceeded against for), บุคคลที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาแล้ว (have been charged with ), บุคคลที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดแล้ว(have been found guilty of ), หรือถูกตามตัวเพื่อรับโทษ (wanted for the enforcement of a judicially pronounced penalty ) และผู้ตั้งข้อกล่าวหาตามสนธิสัญญานี้ นับรวมถึง ตำรวจ และอัยการ (The term judicial authority shall include the police and public prosecution authority)
(7.) การส่งผู้ร้ายข้ามแดนต่อกันนั้น ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล แต่เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อประเทศคู่สัญญาตามสนธิสัญญาที่ทำต่อกันและตามกฏหมายภายในประเทศนั้นๆ หากมีกรณีแล้ว คู่สัญญาไม่ดำเนินการก็ถือเป็นกรณีที่ประเทศนั้นกระทำผิดต่อสนธิสัญญานั้นเอง ซึ่งปกติไม่มประเทศไหนกระทำกัน กรณีที่ไทยส่งวิคเตอร์ บูทให้สหรัฐก็เป็นกรณีต้องด้วยข้อกำหนดตามสนธิสัญญา และสหรัฐดำเนินการตามขั้นตอนโดยไม่ขัดต่อกฏหมายไทย
(8.) แม้สหรัฐอเมริกาจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมายสูงก็ตาม ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะแต่ประเด็นนี้ ต้องบอกว่ามีโอกาสเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ที่คุณทักษิณจะถูกควบคุมตัวทันทีที่ถึงสหรัฐ หากทางการไทยประสานเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวของของสหรัฐได้ทัน แต่หน่วยราชการไทยบางครั้งก็ทำงานไม่ฉับไว
แม้หากทำเรื่องนี้ได้ทัน แต่สหรัฐก็ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ให้เสรีภาพ และเคารพสิทธิมนุษยชนมากเช่นกัน ประเด็นเกี่ยวกับการเรื่องนี้ที่จะมาหักล้างไม่ให้ทางการสหรัฐดำเนินการควบคุมคุณทักษิณเมื่อเข้าถึงสหรัฐนั้น อยู่พ้นวิสัยที่ผมจะทราบได้ ตลอดจนกฎหมายภายในของประเทศสหรัฐเอง จะมีกฏหมายที่มีข้อยกเว้นอะไรอีกหรือไม่ ซึ่งผมไม่มีข้อมูลตรงนี้
ดังนั้นหากให้ประเมินความเสี่ยงในการที่คุณทักษิณจะถูกควบุคมตัวหากจะเดินทางเข้าสหรัฐแล้ว จากข้อมูลที่มีอยู่นี้ผมว่ามีโอกาสสูง 60 เปอร์เซ็นต์ ที่สหรัฐจะดำเนินการเช่นนั้นตามคำขอของทางการไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่าไทยเพิ่งส่งวิคเตอร์ บูทให้สหรัฐ (ตามขั้นตอนและกฎหมาย พรบ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พศ.2551 ของไทยเอง) จะเป็นการต่างตอบแทนและเป็นการบังคับใช้กฎหมายตามกฎหมายของแต่ละประเทศหรือไม่ อีก 8 วันก็คงทราบ ผมว่าคงไม่มีใครกล้าฟันธงแน่ว่าเรื่องจะออกมาเป็นอย่างไร ผมเองก็รับว่าไม่สมารถฟันธงได้ แต่ประเมินจากสภาพแล้ว คาดอาเองว่าหากคุณทักษิณจะเข้าสหรัฐจริง มีโอกาสถึง 60 เปอร์เซ็นต์ที่จะถูกควบคุมตัว ด้วยเหตุที่ได้อภิปรายมากดังกล่าว แต่อย่างว่าละครับ การทำนายความเสี่ยงครั้งนี้อาจผิดก็ได้ แต้หากสหรัฐไม่ดำเนินการตามสนธิสัญญาที่มีต่อกันก็เท่ากับละเมิดสนธิสัญญาซึ่งไม่ใช้ปกติวิสัยที่จะทำ
รายละเอียดในกฎหมายที่เกี่ยวข้องดูเพิ่มเติมได้จาก
http://www.thailawforum.com/database1/Siam-and-United-of-America.html
http://www.oja.go.th/law/Lists/law2/Attachments/300/jrd_crime_law_criminal_2551.pdf
อนึ่ง กระทู้นี้มิได้ต้องการจะให้เกิดความเกลียดชังต่อผู้ใด โดยเฉพาะต่อตัวคุณทักษิณ แต่ต้องการวิเคราะห์เรื่องนี้ตามสภาพข้อกฏหมายและพันธสัญญาระหว่างประเทศเท่านั้น
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
และข้อพื้นที่ท้ายกระทู้นี้ตอบคุณ sao เหลือ noi จากกระทู้ P10002728
การพิจารณาเรื่องอายุความ หรือระยะเวลาการฟ้องร้องบางทีไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดกันครับ บางคดีตรงไหตรงมา พิจารณากันในเบื้องต้น อัยการเองก็เห็นแล้วว่าพ้นอายุความหรือระยะเวลาการฟ้อง บางคดีเรื่องถึงศาล ศาลเห็นชัดแล้ว่าพ้นอายุความก้ไม่รับฟ้อง แต่มีคดีอีกมากมายที่ไม่เป็นเช่นนั้น ด้วยพฤติการณ์คดีก็ดีหรือสำนวนการฟ้องก็ดี ไม่สามารถทำให้ศาลทราบได้ว่าคดีนั้นพ้นอายุความหรือยัง จนกระทั่งพิจารณาคดีเสร็จนั้นแหละครับ หรือบางทีต้องว่ากันไปถึงชั้นฏีกา
ปัจจุบันเอง เรื่องเกี่ยวกับอายุความนี้มีขึ้นไปถึงชั้นฏีกาที่ศาลฏีกาต้องพิจารณาอย่างน้อยตอนนี้รวมพันคดี ในเวบค้นฏีกาของศาลฏีกาค้นเรื่องนี้จะพบว่ามีฏีกาเกี่ยวกับอายุความถึง 8144 รายการ หากตัดรายการที่ซ้ำซ้อนอออกไป(เพราะเวบนี้บางทีประมวลผลแล้วให้ฏีกาที่ซ้ำกันเป็นบางฏีกา) ก็ยังน่าจะมีฏีกาที่เกี่ยวกับอายุความนับพันคดีทีเดียวที่ขึ้นมาถึงศาลสูง แสดงว่า เรื่องอายุความ ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายที่จะตัดสินกันได้ในขณะที่มีการฟ้องร้องกัน สู้กันมา 2 ศาล ยังต้องให้ศาลฏีกาวินิจฉัย เกี่ยวข้องกับอายุความอีกเป็นพันคดี ขอยกตัวอย่างสัก 2-3 คดีพอไม่ให้เปลืองเนื้อที่กระทู้
ตัวอย่างที่ 1 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6736/2552
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีกำหนดอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) แต่โจทก์ได้ตัวจำเลยมายังศาลโดยยื่นฟ้องเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ชอบที่ศาลจะยกฟ้อง เสียตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 แม้ความผิดฐานนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 100 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ กับปรากฏในอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับความผิดตามกฎหมาย ข้างต้นยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะเหตุใด อันเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาและเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์.
ตัวอย่างที่ 2 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2552
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 11, 43 (4), 148, 157 และ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง, 60 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้เหตุเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2535 นับถึงวันฟ้องวันที่ 19 ตุลาคม 2539 ความผิดตามบทมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
ตัวอย่างที่ 3 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8606/2552
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยสั่งให้โจทก์ระงับการก่อสร้าง และบอกเลิกสัญญากับโจทก์ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2540 เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียกร้องเพื่อเข้าดำเนินการก่อสร้างต่อไป จึงถือว่าโจทก์และจำเลยเจตนาเลิกสัญญากัน โดยปริยาย คู่สัญญาจึงต่างกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม สำหรับการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับการชดใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวก็ต้องตกอยู่ในอายุความสองปี ตามมาตรา 193/34 (17) นับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยสั่งให้โจทก์ระงับการก่อสร้างและบอกเลิกสัญญาจ้างกับโจทก์ และโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่นั้น ตามมาตรา 193/12 นับถึงวันที่ 11 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ เป็นเวลากว่าสองปีแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ กรณีหาใช่สิทธิเรียกร้องของโจทก์เพิ่งจะเกิดขึ้นนับแต่วันที่ครบกำหนด 7 วัน นับแต่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามจากโจทก์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2540 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 มีนาคม 2540 ตามที่โจทก์ฎีกาไม่
จบครับ
ว่าจะจบไปแล้ว แต่นึกได้ว่าตกวิจาร์เรื่องเอกสิทธิ์ทางการทู๖ หรือ Diplomatic Immunity ซึ่งอาจจะเกี่ยวพันกับกรณีคุณทักษิณไป จึงขอเพิ่มไว้ตอนท้ายนี้
มีข่าวมาแต่ปีก่อนว่าคุณทักษิณมีพาสปอร์ตของนิคารากัวแบบ Diplomatic passport จึงอาจมีกรรีสงสัยว่าผู้ที่ถือ Diplomatic passport นี้จะได้ Diplomatic Immunity โดยอัตดนมัติเลยหรือไม่
เรื่องนี้ หากคิดตามตรรกทั่วไป เอกสิทธิ์ทางการทูตหรือ Diplomatic Immunity นั้น คงจะมีให้สำหรับผู้ที่ได้รับมอบหมายในทางการทูตให้ทำหน้าที่ทางการทูตเท่านั้น หากอยู่ในระหว่างที่ไม่ได้ทำหน้าที่นั้น สมมุติเช่น ถูกตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ในสถานทูตสหรัฐในไทยย่อมมีเอกสิทธิ์ทางการทูตในประเทศไทย แต่หากในระหว่างนั้น บินไปพักร้อนในอินเดียดดยอาศัยDiplomatic passport ที่ตนมี และไปกระทำอาชญกรรมในประเทศอินเดีย ปัญหาจะมีว่า เจ้าหน้าที่ทางการทูตท่านนี้จะได้เอกสิทธิ์ทางการทูตในอินเดียด้วยหรือไม่ อันนี้ต้องรอฟังคำตอบจากท่านผู้รู้ในห้องนี้
แต้ถ้าเอาคำตอบจากวิกิ, วิกิท่านบอกว่า "....having a diplomatic passport is not the equivalent of having diplomatic immunity." นั้นคือการมีพาสปอร์ตทางการทูตไม่ได้หมายความว่าจะมีเอกสิทธิ์ทางการทูตเสมอไป และต่อด้วยความว่า " A grant of diplomatic status, a privilege of which is diplomatic immunity, has to come from the government of the country in relation to which diplomatic status is claimed. " แปลได้ใจความว่า สถานะภาพทางการทูตซึ่งจะทำให้เกิดเอกสิทธิ์ทางการทูต จะต้องได้มาจากรัฐบาลของประเทศหนึ่งๆ ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งสถานะทูตนั้น คือ เหมือนกับว่าเอกสิทธิทางการทูตจะมีเพาะการแต่งตั้งเป็นทูตและเอกสิทธิ์นั้นจะติดอยู่กับสถานะนั้น ไม่ใช่ติดกับคน ดังนั้นกรณีตัวอย่างทูตสหรัฐไปเที่ยวและทำผิดในอินเดีย ก็ดูเหมือนทูตคนนั้นอาจไม่ได้รับเอกสิทธิ์ เพราะตำแหน่งเขาสหรัฐให้มากระทการงานในประเทศไทย แต่ตรงนี้ผมก็ไม่ชัดเจนนะครับ อาจเข้าใจผิด ใครรู้หรือมีหลักฐานมาแย้งยินดีรับฟัง
วิกิยังบอกอีกว่า "..Also, having a diplomatic passport does not mean visa-free travel. A holder of a diplomatic passport usually has to obtain a diplomatic visa, even if a holder of an ordinary passport may enter a country visa-free or may obtain a visa on arrival. In exceptional circumstances, a diplomatic passport is given to a foreign citizen with no passport of his own, such as an exiled VIP who lives, by invitation, in a foreign country."
กรณีคุณทักษิณ หากใช้พาสปอร์ตทูตนิคารกัว ก็ยังมีปัญหาว่าเดินทางเข้าสหรัฐครั้งนี้ เข้าไปในฐานะทูตนิคารากัวหรือเข้าไปทำภารกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวกับนิคารากัว กำหนดหน้าที่การแต่งตั้งสถานะทูตของคุณทักษิณจากนิคารากัวเดิมนั้น มีไว้ว่าอย่างไร อาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้คุณทักษิณพ้นจากเงื่อนสนธิสัญญาระหว่างไทยสหรัฐหรือไม่ ตรงนี้อยู่เกินที่ผมจะทราบได้ ท่านใดมีข้อมูลตรงนี้ ก็ยินดีรับฟัง
.
เข้ามาเพิมอีกหน่อยหนึ่งดังนี้ครับ
จากที่ได้มีโอกาสเข้าไปอ่านสนธิสัญญาเวียนนาที่เกี่ยวกับเอกสทิธิ์ทางการทูต(Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961) ซึ่งสหรัฐก็เป็นภาคีในสนธิสัญญานี้ด้วยนั้น ในใจความนั้น เอกสิทธิ์ทางการทูตที่มีระบุในสนธิสัญญาจะเกิดขึ้นระหว่างประเทศที่ส่งนักการทูตนั้น(the sending State) กับประเทศที่รับนักการทูตนั้น(the receiving State ) เท่านั้น เท่าที่อ่านดู ในสนธิสัญญาไม่ได้ระบุว่าเอกสิทธิ์ทางการทูตจะเกิดขึ้นแก่นักการทูตที่ปฏิบัติหน้าที่นอก ประเทศที่รับนักการทูตนั้น(the receiving State )
กรณีจึงน่าจะเป็นอย่างตัวอย่างที่ได้ยกมาคือ หากนักการทูตสหรัฐได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย มีหนังสือแต่งตั้งหรือตราตั้งประเทศไทยก็จะต้องให้ เอกสิทธิ์ทางการทูตแก่นักการทูตนั้น แต่เมื่อนักการทูตนี้ไปเที่ยวอินเดียในฐานะนักท่องเที่ยว อินเดียมีสิทธิไม่ให้เอกสิทธิ์ทางการทูตแก่นักการทูตรายนี้ อันนี้เป็นตามที่มีระบุในสนธิสัญญานะครับ แต่ในทางปฏิบัติจริงจะทำเกินนอกสนธิสัญญาหรือไม่ อาจมีสมาชิกมาอภิปราย
http://untreaty.un.org/ilc/texts/instruments/english/conventions/9_1_1961.pdf
มาตราที่สำคัญใน สนธิสัญญาเวียนนาที่เกี่ยวกับเอกสทิธิ์ทางการทูต
Article 31
1.A diplomatic agent shall enjoy immunity from the criminal jurisdiction of the receiving State.He shall also enjoy immunity from its civil and administrative jurisdiction,
Article 8
1.Members of the diplomatic staff of the mission should in principle be of the nationality of the
sending State.
2.Members of the diplomatic staff of the mission may not be appointed from among persons
having the nationality of the receiving State, except with the consent of that State which may be
withdrawn at any time.
3.The receiving State may reserve the same right with regard to nationals of a third State who are
not also nationals of the sending State
Article 9
The receiving State may at any time and without having to explain its decision, notify the sending State that the head of the mission or any member of the diplomatic staff of the mission is persona non grata or that any other member of the staff of the mission is not acceptable. In any such case, the sending State shall, as appropriate, either recall the person concerned or terminate his functions with the mission. A person may be declared non grata or not acceptable before arriving in the territory of the receiving State.