$$$ - White House ให้สัมภาษณ์กรณีทักษิน
|
 |
http://www.scoop.co.nz/stories/WO1012/S00291/us-daily-press-briefing-december-8-2010.htm U.S. Daily Press Briefing - December 8, 2010 Thursday, 9 December 2010, 4:05 pm Press Release: US State Department | Philip J. Crowley Assistant Secretary Daily Press Briefing Washington, DC December 8, 2010 *** ตัดมาเฉพาะท่อนที่เกี่ยวกับคุณทักษิน *** QUESTION: I have a question about Viktor Bout. The press in Thailand has reported that Victor Bout was extradited to the U.S. with a kind of implicit understanding that former Prime Minister Thaksin would be lured to the United States to testify before the Helsinki Commission and then would be extradited to Thailand. Did his the former prime ministers extradition come up in discussions with the Thai Government about Viktor Bout? ขอถามเกี่ยวกับเคส Victor Bout ด้วยสำนักข่าวต่างๆ ในประเทศไทย มีรายงานว่า Victor Bout ถูกส่งตัวมาดำเนินคดีในเมกา ได้ด้วยข้อตกลงทางลับ ที่ทักษินจักต้องถูกล่อโดยรัฐบาล เข้าประเทศฯ กรณีชี้แจงต่อคณะกรรมการ Helsinki แล้วจะถูกจับกุมส่งตัวกลับประเทศไทยทันที นั้น - เป็นไปตามการเจรจากับรัฐบาลไทยเกี่ยวเนื่องกับเคส Victor Bout หรือไม่? MR. CROWLEY: Look, let me take one thing first. Viktor Bout is here in the United States and is facing prosecution for a variety of charges, and Ill defer to the Justice Department to describe those charges. As to any other visit, on the one hand, visa applications are confidential; on the other hand, extradition matters are confidential. So I wouldn't connect the two. จะชี้แจงในเรื่องดังกล่าวดังนี้ครับ .... ประเด็นแรก ที่ Victor Bout ถูกควบคุมตัวในสหรัฐเพื่อเตรียมการดำเนินคดีแล้ว ณ ขณะนี้ จะให้กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อหา .... ส่วนในเรื่องการเข้าประเทศฯ ไม่ว่าจะด้วยปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาอนุมัติ หรือ การส่งตัวผู้ถูกดำเนินคดีข้ามพรมแดนนั้น ถือเป็นความลับทั้ง 2 กรณี และผมจะไม่ขอโยงความเกี่ยวข้องในประเด็นดังกล่าวเข้าด้วยกันครับ ความเห็นส่วนตัวผู้แปล (IMHO) .......... ถ้า 2 ประเด็นนั่นไม่เกี่ยวกัน แล้วตานี่จะยกขึ้นมาเอ่ยทำไม ... จะขอถามต่อก็คงเลี่ยงบาลีอีกแหงม ..... ส่วน Victor Bout ไม่ทราบประเทศไทยใช้ Red Notice ของ Interpoll ตัวใหนเข้าจับกุม Bout ณ มีนา 2008? ตกลงอันที่เมกายื่นขอ Red Notice จาก Interpoll ของตัวเอง โดยไม่ใช้ของเบลเยี่ยมตามมุลฐานฟอกเงิน .... ตกลงได้รับอนุมัติแล้ว และได้ใช้เอกสารจับกุมถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรมถูกต้องแล้วทุกแง่ทุกมุมแล้วหรือไม่? QUESTION: Well, but can you say explicitly that did you make an agreement or not with the Thai Government to lure the former prime minister here just to extradite him back to Thailand? อ่านะ ...... งั้นช่วยตอบคำถาม 'ใช่' หรือ 'ไม่ใช่' ที ....ตกลงรัฐบาลสหรัฐได้มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับรัฐบาลไทยเพื่อให้ล่อคุณทักษินเข้าประเทศเพื่อจับกุมแล้วส่งตัวกลับประเทศไทย หรือไม่? MR. CROWLEY: The well, first of all, the Thai Government, with the support of the United States, arrested Mr. Bout. There was a legal process and he was extradited to the United States consistent with the extradition treaty that exists between the United States and Thailand. Let me for any individual who may or may not be in the United States, there has to be a basis for an arrest and then there has to be a basis for an extradition. So I cant I dont I would not make a connection between the case of Mr. Bout, which we think we have a very strong case, and other issues. อ่า .... ครับ ..... ประเด็นแรก ตามที่ไทยสามารถจับกุมตัว Victor Bout ได้นั้น เป็นไปด้วยการช่วยเหลือจากสหรัฐ .... ในแง่กระบวนการทางกฎหมายแล้ว .... ถือเป็นไปตามข้อตกลงการส่งตัวผู้ร้ายข้ามพรมแดนระหว่างไทยและสหรัฐครับ ...... ทั้งนี้ ขอย้ำครับ .... ว่าการจะให้ใครก็ตามเข้าหรือไม่ให้เข้าประเทศสหรัฐฯ ได้นั้น จะต้องคำนึงถึงเรื่องการจับกุมตัวเพื่อดำเนินคดีฯ และในประเด็นที่เกี่ยวกับข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งตัวบุคคลข้ามพรมแดนฯ .... ซึ่ง .... ผม .... ขอปฏิเสธที่จะโยงความเกี่ยวข้องในประเด็นทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาแล้วนั้น กับเคส Victor Bout นะครับ .... ซึ่งรัฐบาลเชื่อมั่นว่า (เคส Victor Bout) เราทำทุกอย่างถูกต้องครับ (ย้ำเพิ่มว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับเคสในคำถาม - เคสทักษิน) ......................................................................................................... IMHO อย่าไปแหละดีแล้ว ...... ขนาดกระทู้ฝรั่งบางกระทู้ยังทักเลยว่า Helsinki Commission เป็นแค่ระดับ Low Level แทบจะไม่มีอำนาจทางการเมืองใดๆ .... อย่าวางใจเมกาถึงแม้จะเพิ่งเปลี่ยนขั้ว หลังเลือกตั้ง Mid-Term แล้วก็ตาม ขอต่อเกี่ยวกับเมกา เพราะคนไทยเราไม่ค่อยรู้อะไรดีๆ เยอะ ^^ http://www.opinion-maker.org/2010/11/us-bouts-victor-bout/ กรณีศึกษา CIA กับประเทศไทย 1. CIA กับการค้าประเวณีผู้เยาว์ไทย http://utahwearechange.org/2009/12/cia-involved-in-child-sex-trade-since-1978/ 2. CIA ร่วมกับ จนท. ไทย ช่วยกันทรมานผู้ที่โดนลักพอตัวไปสอบสวน http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/JA25Ae01.html 3. CIA กับการค้ายาเสพติดที่อยู่คู่กับไทย ไม่จบไม่สิ้น http://www.greenleft.org.au/node/43656 ........................................... การจัดระเบียบโลกใหม่ในช่วงสงครามเย็น - การเข้าแทรกแซงประเทศต่างๆ ของสหรัฐ วิลเลียม บลูม (อดีตข้าราชการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ซึ่งได้ลาออกจากราชการใน ค.ศ.1967 เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับทางการสหรัฐที่เข้าทำสงครามเวียดนาม) ได้ชี้ว่าในช่วงสงครามเย็น สหรัฐได้เข้าแทรกแซงในประเทศต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ 1) ประเทศจีน ช่วง ค.ศ.1945-49 ในสงครามกลางเมือง โดยเข้าข้างเจียง ไคเช็ค 2) อิตาลีระหว่าง ค.ศ.1947-48 เข้าแทรกแซงการเลือกตั้งในอิตาลีทุกรูปแบบเพื่อป้องกันไม่ให้พรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีได้รับเลือกตั้ง จนกระทั่งพรรคนี้ต้องพ่ายแพ้ (ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีอิตาลีเป็นนายทุนการสื่อสารขนาดใหญ่) 3) ประเทศกรีซ ระหว่าง ค.ศ.1947-49 เข้าแทรกแซงสงครามกลางเมือง โดยเข้าข้างกลุ่มนาซีใหม่ ต่อต้านฝ่ายซ้ายของกรีก จนกระทั่งกลุ่มนาซีใหม่ได้รับชัยชนะ และระหว่าง ค.ศ.1964-7 สหรัฐเข้าแทรกแซง และหนุนการก่อรัฐประหาร ในเดือนเมษายน 1967 เพื่อป้องกันไม่ให้นายยอร์จ ปาปันดริอู (George Papandreou) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้เนื่องจากนายปาปันดริอูต้องการนำประเทศกรีซออกจากสงครามเย็น ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด 4) ประเทศฟิลิปปินส์ ช่วง ค.ศ.1945-53 กองทหารสหรัฐได้ต่อสู้กับกองกำลังฝ่ายซ้าย ฮุกบาลาฮับ (Hukbalahap/Huks) สหรัฐเอาชนะได้และตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้น สืบทอดจนถึงเผด็จการมาร์กอส 5) ประเทศเกาหลีใต้ ช่วง ค.ศ.1945-53 เข้าแทรกแซง และปราบกำลังก้าวหน้าที่ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นอย่างแข็งขัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และตั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ร่วมมือกับญี่ปุ่น เป็นรัฐบาล 6) ประเทศแอลเบเนีย ค.ศ.1949 สหรัฐกับอังกฤษร่วมกันโค่นรัฐบาลคอมมิวนิสต์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ 7) ประเทศเยอรมนี ทศวรรษ 1950 เข้าทำการรณรงค์หลายรูปแบบตั้งแต่บ่อนทำลาย ก่อการร้าย และสงครามจิตวิทยาในเยอรมนีตะวันออก จนกระทั่งเกิดการสร้างกำแพงเบอร์ลินในปี 1961 8) ประเทศอิหร่าน ใน ค.ศ.1953 สหรัฐและอังกฤษร่วมปฏิบัติการก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลโมสสาเด็ก (Mossadegh) ที่มาจากการเลือกตั้ง สถาปนาพระเจ้าชาห์ขึ้นมาปกครอง และยกสัมปทานการขุดเจาะน้ำมันให้แก่ต่างชาติ โดยสหรัฐและอังกฤษได้ร้อยละ 40 ชาติอื่นได้ร้อยละ 20 9) ประเทศกัวเตมาลา ช่วง ค.ศ.1953-ทศวรรษ 1990 หน่วยข่าวกรองซีไอเอของสหรัฐได้จัดการก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลจาโคโบ อาร์เบนซ์ (Jacobo Arbenz) ที่มาจากการเลือกตั้ง เนื่องจากนายอาร์เบนซ์ยึดบริษัทยูไนเต็ดฟรุตของสหรัฐเป็นของรัฐ และเกรงว่านายอาร์เบนซ์ซึ่งมีหัวก้าวหน้าจะกระจายความคิดนี้ไปทั่วลาตินอเมริกา 10) ตะวันออกกลาง ช่วง ค.ศ.1956-58 ภายใต้ลัทธิไอเซนฮาวร์ (Eisenhower Doctrine) ประกาศว่า สหรัฐพร้อมที่จะใช้กำลังทหารช่วยเหลือประเทศใดๆ ในตะวันออกกลางให้พ้นจากการรุกรานทางทหารจากประเทศใดๆ ที่ครอบงำโดยสากลนิยมคอมมิวนิสต์ โดยข้ออ้างนี้ สหรัฐได้พยายามที่จะโค่นรัฐบาลซีเรีย 2 ครั้ง จัดสำแดงกำลังทางเรือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อข่มขู่การเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะต่อต้านรัฐบาลที่สหรัฐสนับสนุน ส่วนในจอร์แดนและเลบานอน สหรัฐยกพลจำนวน 14,000 คน ขึ้นบกที่ประเทศเลบานอน สมคบคิดเพื่อการโค่นล้มหรือลอบสังหารประธานาธิบดีนัสเซอร์แห่งอียิปต์ ที่มีแนวคิดแบบชาตินิยม 11) ประเทศอินโดนีเซีย ช่วง ค.ศ.1957-58 เคลื่อนไหวเพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีซูการ์โน ผู้มีความคิดแบบชาตินิยม ยึดทรัพย์ของเจ้าอาณานิคมเดิมเป็นของรัฐ และไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในสงครามเย็น เปิดให้พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียดำเนินการเคลื่อนไหวแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาใน ค.ศ.1965 ปรากฏร่องรอยการมีส่วนร่วมของสหรัฐหลายแห่ง ที่เกี่ยวข้องกับการก่อรัฐประหาร การต้านการรัฐประหาร และการต้านการต้านรัฐประหาร ในที่สุด นำไปสู่การโค่นล้มประธานาธิบดีซูการ์โนออกจากตำแหน่ง และแทนที่ด้วยเผด็จการทหาร นำโดยนายพลซูฮาร์โต และมีการสังหารพวกคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ Link ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/Indonesian_killings_of_1965%E2%80%931966
http://en.wikipedia.org/wiki/30_September_Movement
http://en.wikipedia.org/wiki/Suharto
http://en.wikipedia.org/wiki/Sukarno
........................
บทความ 'Western Media Perverts Information about Thailand' โดย Andre Vltchek
และข่าว Bloomberg
http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=newsarchive&sid=aE053qq388RI&refer=asia 12) ประเทศกายอานา (Guyana) ในช่วง ค.ศ.1953-64 เคลื่อนไหวขัดขวางล้มล้างรัฐบาลนายเชดดี จาแกน (Cheddi Jagan) ที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ให้ดำรงตำแหน่ง เนื่องจากเกรงว่านายจาแกนจะสร้างแบบอย่างการพัฒนาประเทศโดยไม่ใช้แบบทุนนิยม จนประสบความสำเร็จใน ค.ศ.1964 13) ประเทศเวียดนาม ค.ศ.1950-1973 มุ่งขัดขวางการรวมประเทศของโฮจิมินห์ ช่วง 23 ปีมีชาวเวียดนามตายไปกว่า 1 ล้านคน เวียดนามถูกทำลายจนถึงแก่น แผ่นดินเต็มไปด้วยสารพิษ และก่ออันตรายต่อยีนกองกลาง (Gene Pool) ของชาวเวียดนามอีกหลายรุ่น ทำลายโอกาสของการสร้างวิธีพัฒนาประเทศแบบเอเชียลง 14) ประเทศกัมพูชา ค.ศ. 1955-73 สหรัฐปฏิบัติการลับทิ้งระเบิดแบบปูพรมในกัมพูชาช่วง ค.ศ.1969-70 ก่อการรัฐประหารโค่นล้มสมเด็จเจ้านโรดม สีหนุสำเร็จใน ค.ศ.1970 ซึ่งในที่สุดเป็นผลให้กลุ่มพอลพตของเขมรแดงเข้ามามีอำนาจแทน 15) ประเทศซาอีร์ (Zaire) ค.ศ.1960-65 ก่อการรัฐประหารโค่นล้มนายกรัฐมนตรีแพทรีส ลูมุมบา โดยนายลูมุมบาถูกลอบสังหารในเดือนมกราคม 1960 ในที่สุดอำนาจตกอยู่กับโมบูตู (Mobutu Sese Seko) ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับซีไอเอ โมบูตูปกครองประเทศกว่า 30 ปี ชาวซาอีร์ตกอยู่ในความยากจน ขณะที่โมบูตูกลายเป็นเศรษฐีพันล้าน 16) ประเทศบราซิล 1961-64 สหรัฐได้มีส่วนร่วมอย่างลึกลับในการโค่นล้มประธานาธิบดีจาว กูลาต์ (Joao Goulart) ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และต้องการเดินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระ เช่น เปิดความสัมพันธ์กับประเทศสังคมนิยม คัดค้านการปิดล้อมคิวบา ป้องกันไม่ให้บรรษัทข้ามชาตินำเงินกำไรออกนอกประเทศได้ง่าย กูลาต์ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ เขาเป็นเศรษฐีเจ้าที่ดินใหญ่ แต่นั่นก็ช่วยอะไรไม่ได้ กูลาต์ถูกโค่นอำนาจใน ค.ศ. 1964 และบราซิลเข้าสู่การปกครองแบบเผด็จการทหารเป็นเวลากว่า 15 ปี 17) สาธารณรัฐโดมินิกัน ค.ศ.1963-66 ในเดือนกุมภาพันธ์ 1963 ฮวน บอช (Juan Bosch) ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแบบเสรีเป็นครั้งแรกนับแต่ปี 1924 ดำเนินนโยบายปฏิรูปที่ดิน ลดค่าเช่าบ้าน และแปรวิสาหกิจของเอกชนเป็นของรัฐแบบปานกลาง เป็นต้น ซึ่งชนชั้นนำสหรัฐเห็นว่าเป็นสังคมนิยม ในเดือนกันยายน คณะทหารก่อการรัฐประหารขับนายบอชออกจากตำแหน่ง โดยสหรัฐไม่ได้แสดงความไม่เห็นด้วย อีก 19 เดือนต่อมามีการลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลทหาร โดยประกาศว่าจะนำนายบอชกลับคืนสู่ตำแหน่ง สหรัฐได้ส่งทหาร 23,000 นายไปช่วยปราบการลุกขึ้นสู้ครั้งนี้ 18) ประเทศคิวบา ค.ศ.1959 จนถึงปัจจุบัน ประธานาธิบดีฟิเดล คาสโตร ขึ้นสู้อำนาจในต้นปี 1959 ในเดือนมีนาคมปีเดียวกันสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐได้ประชุม ซึ่งมีวาระการประชุมข้อหนึ่งว่าด้วยการนำรัฐบาลอื่นขึ้นมามีอำนาจในคิวบา จากนั้นเป็นเวลากว่า 40 ปีที่สหรัฐใช้วิธีการก่อการร้าย การทิ้งระเบิด การใช้ปฏิบัติการทางทหาร การแทรกแซง และการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ ต่อประเทศนี้ 19) ประเทศชิลี ค.ศ.1964-73 ซาลวาดอร์ อาเยนเด (Salvador Allende) มีแนวคิดแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และได้รับเลือกตั้งอย่างเสรี ซีไอเอได้ขัดขวางการลงสมัครเป็นประธานาธิบดีสำเร็จใน ค.ศ.1964 แต่ทำไม่สำเร็จในการเลือกตั้ง ค.ศ.1970 ได้ก่อกระแสความไม่พอใจในหมู่ทหารขึ้น ในที่สุด วันที่ 11 กันยายน ค.ศ.1973 (วันเดียวเดือนเดียวกับเหตุการณ์วินาศกรรมเวิลด์เทรด/เพนตากอน แต่คนละปี) คณะทหารก่อการรัฐประหาร อาเยนเดถูกสังหาร ประเทศชิลีตกอยู่ภายใต้เผด็จการทหารเป็นเวลายาวนาน 20) นิการากัว ค.ศ.1978-89 กลุ่มแซนดินิสตาที่เป็นฝ่ายซ้ายได้โค่นเผด็จการโซโมซาในปี 1978 สหรัฐได้หาทางโค่นอำนาจของกลุ่มนี้ โดยสนับสนุนกองกำลังคอนทราส์ (Contras) เพื่อทำลายการดำเนินนโยบายของรัฐบาล การสนับสนุนกลุ่มคอนทราส์นี้ ก่อให้เกิดคดีฉาว อิหร่าน-คอนทราส์ ขึ้น 21) ประเทศเกรเนดา ค.ศ.1979-84 เกรนาดาเป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรราว 110,000 คน มอรีส บิชอพ ก่อรัฐประหารขึ้นสู่อำนาจใน ค.ศ.1979 สหรัฐได้ก่อกวนล้มล้าง เนื่องจากเกรงว่าจะเกิด คิวบาอีกแห่ง ขึ้น ประกอบกับบิชอพได้ขอให้ประเทศคิวบาช่วยเหลือในการก่อสร้าง ในเดือนตุลาคม สหรัฐบุกยึดเกรเนดาสำเร็จ หลังจากนั้นประเทศนี้ได้ก้าวสู่ความเป็นเผด็จการขึ้นเรื่อยๆ 22) ประเทศลิเบีย ค.ศ.1981-89 ประธานาธิบดีกัดดาฟี (Muammar el-Qaddafi) ปฏิบัติตัวหัวแข็งต่อสหรัฐ จึงถูกสั่งสอน เช่น ยิงเครื่องบินของลิเบียตก 2 ลำในขณะที่ลิเบียถือว่าบินอยู่ในน่านฟ้าของตน ทิ้งระเบิดใส่หวังสังหาร จนมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับสิบ ในจำนวนนี้มีลูกสาวของกัดดาฟีรวมอยู่ด้วย 23) ประเทศปานามา ค.ศ.1989 สหรัฐส่งกองกำลังไปทิ้งระเบิด บุกยึด และจับกุมตัวนายพลนอริเอกา (Noriega) ในข้อหาค้ายาเสพติด ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สหรัฐรู้มานานแล้ว วิจารณ์กันว่าประธานาธิบดีบุชผู้พ่อสั่งโจมตีครั้งนี้เพื่อส่งข่าวสารไปยังชาวนิการากัวที่เตรียมจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในอีก 2 เดือนข้างหน้าว่า ถ้าหากเลือกกลุ่มแซนดินิสตากลับมาครองอำนาจ จะต้องเผชิญชะตากรรมอย่างไร 24) ประเทศอัฟกานิสถาน ค.ศ.1979-92 สหรัฐได้ให้การอุดหนุน คิดเป็นเงินนับพันล้านดอลลาร์ แก่กองกำลังหลายฝ่าย ในการโค่นล้มรัฐบาลอัฟกานิสถานที่รัสเซียหนุนหลัง ในจำนวนนี้ที่โดดเด่นออกมาได้แก่กลุ่มตอลิบัน ที่ต่อมายึดกรุงคาบูลได้ และถูกสหรัฐกล่าวหาว่า ร่วมรู้เห็นในการก่อวินาศกรรม 11 กันยายน 2544 25) ประเทศเอลซัลวาดอร์ ค.ศ.1980-92 เกิดการลุกขึ้นสู้ต่อต้านรัฐบาลเอลซัลวาดอร์ที่สหรัฐหนุนหลังในปี 1980 ลุกลามกลายเป็นสงครามกลางเมือง สหรัฐได้หนุนช่วยรัฐบาลทั้งทางกำลังเงินและกำลังคน สงครามกลางเมืองนี้ สิ้นสุดเมื่อ ค.ศ.1992 มีผู้คนเสียชีวิต 72,000 คน กระทรวงการคลังสหรัฐต้องสูญเสียเงินไปราว 6 พันล้านดอลลาร์ การเปิดเผยปฏิบัติการลับหรือกึ่งปิดลับของสหรัฐในช่วงสงครามเย็นนั้น มีนักเขียนอื่นอีกหลายคนที่กระทำเช่นกัน ตามการเปิดเผยข้อมูลลับของทางการตามกฎหมาย โนม ชอมสกี้ศาสตราจารย์แห่งสถาบันเอ็มไอทีอันมีชื่อ และนักเคลื่อนไหววิจารณ์นโยบายต่างประเทศของสหรัฐคนสำคัญ เป็นอีกผู้หนึ่งที่ใช้ข้อมูลลับที่เปิดเผยในภายหลัง ข้อมูลลับที่เปิดเผยภายหลังทำนองนี้ บางครั้งก่อให้เกิดกระแสการเคลื่อนไหวเป็นเรื่องใหญ่โต เช่น มีการเคลื่อนไหวกล่าวหาคิสซิงเจอร์ว่าเป็นอาชญากรสงครามก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ จนเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ ซึ่งคิสซิงเจอร์ได้ชี้ว่ามันเป็นการปฏิบัติการรวมหมู่ และในการตัดสินใจบางทีก็มีคะแนนก้ำกึ่งกันมาก และก็อาจมีการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ การที่สหรัฐเข้าแทรกแซงล้มล้างรัฐบาลและประเทศต่างๆทั่วโลกนั้น ก็อาจมีการตีความหมาย การประเมินค่า และการประเมินความถูกผิดต่างกันไปตามจุดยืน ทัศนะ และค่านิยมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ในที่นี้ต้องการชี้เพียงว่า การสมคบคิดในกลุ่มชนชั้นนำในกลุ่มทุนโลก เพื่อเปลี่ยนแปลงทั้งโลกให้เป็นไปตามแบบของตนนั้นเป็นเรื่องจริง และมีการดำเนินการอย่างทุ่มเทต่อเนื่อง ส่วนขอบเขตของการปฏิบัติว่ากว้างขวางลึกซึ้งอย่างใด ผลการปฏิบัติเป็นไปตามการสมคบคิดหรือไม่อย่างไร ตลอดจนเหตุบังเอิญต่างๆ มีผลต่อการสมคบคิดอย่างไรจะขอยกไว้ แต่ว่าอำนาจชนชั้นนำก็เช่นเดียวกับอำนาจรัฐย่อมมีความจำกัด และไม่สามารถจัดระเบียบโลกได้ตามใจ หมายเหตุ : ข้อมูลเกือบทั้งหมด คัดมาจากส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งในรายงานฉบับหนึ่ง ภายใต้โครงการ TTMP - Thailand Trends Monitoring Project ของ สำนักงานสนับสนุนกองทุนการวิจัย (สกว.)
แก้ไขเมื่อ 09 ธ.ค. 53 12:06:11
แก้ไขเมื่อ 09 ธ.ค. 53 12:03:57
จากคุณ |
:
iamdanai
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ธ.ค. 53 12:02:18
A:202.12.118.61 X:
|
|
|
|