Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ระเบิดเวลามูลล่า 1.2 ล้านล้าน ของนายอภิสิทธิ์ ติดต่อทีมงาน

     ผมว่าจะหยุดอภิปรายเรื่องเศรษฐกิจสักพัก แต่ก็อดไม่ได้ เพราะเห็นเพื่อนสมาชิกหลายท่านออกมาอภิปรายเรื่องนี้กันหลายท่าน ทั้งสนับสนุนและไม่เห็นด้วยกับนโยบายการบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้

     จากที่เคยอภิปรายอภิปรายกันด้วยข้อมูล ข่าวสาร ความเห็นจากนักวิชาการ เมื่อวานนี้ หลายๆท่านเลือกใช้ สำนวนโวหาร มาถกเถียงกันในประเด็นเศรษฐกิจ เป็นสำนวนที่อ่านแล้วก็ “ขำ”บ้าง “สะดุ้ง”บ้าง ตามอย่างที่คุณโพ้นฟ้าเธอบอกไว้ ซึ่งเธอคนนี้ก็แปลก 2 วันที่แล้วเอาข้อมูลการจัดเก็บรายได้ของรัฐ มาอภิปราย “ยกหาง” รัฐบาลนี้อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู

     พออีกฝ่ายเอาข้อมูลอีกด้านมาอภิปรายโต้แย้ง (ซึ่งก็คือผมเองกับคุณSassyKate) เธอกลับบอกว่า การอภิปรายเรื่องเด็กสองคน ของเธอนั้นเป็นเพียงการให้ข้อมูลล่าสุดกับฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่ได้เป็นการตอบการอภิปรายเรื่องเศรษฐกิจของผม แล้วยังบอกอีกว่า การที่ผมหาข้อมูลมาอภิปรายในวันนั้น เป็นการ “ทำงานหนัก” และ “เหนื่อยฟรี” เพราะเธอไม่คิดจะอภิปรายอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องอธิบายแทนใคร และเพราะไม่อยากหักล้างความเห็นของผม ยิ่งอ่านยิ่งงง ตกลงเธอหมายความว่ายังไงแน่ ทำให้ผมเกิดอาการ “มึนตื๊บ” กันไป

     รบกวนเพื่อนสมาชิกที่สนิทสนมกับคุณโพ้นฟ้าเป็นการส่วนตัว ช่วยเตือนเธอด้วยครับ ว่าอย่าติดตามข่าวสารการเมืองมากไป โดยเฉพาะข่าวคุณอภิสิทธิ์ เพราะลีลาการออกตัวของเธอละม้ายคล้ายคลึงอาการ "แถ" ของนายกฯหน้าหล่อเข้าไปทุกทีแล้ว

     แต่เพื่อไม่ให้เสียคำพูดเธอ ผมจึงยอม “ทำงานหนัก” เพื่อค้นหาข้อมูลมาอภิปราย แม้รู้ว่ามันอาจจะ “เหนื่อยฟรี” อีกก็ตาม แต่ยังไงเสียการทำงานหนักของผม ก็ยังดีกว่าการไม่ทำอะไรเลยของรัฐบาลนี้ในด้านเศรษฐกิจ

     แต่จะพูดแบบนั้นก็ไม่ถูกอาจเป็นการดิสเครดิตรัฐบาลนี้เกินไป เพราะยังมีสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลนี้ตั้งใจทำอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ คือเรื่องกู้ จริงจังจนชนิดที่ว่า ตัวผมเองคิดว่า “อันนี้ก็ทำเกินไป” วันนี้จึงรวมรวบข้อมูล ที่ส่วนตัวผมเห็นว่า รัฐบาลนี้ ทำเกินไปในด้านเศรษฐกิจ มาอภิปราย

     1.ขอเอา เรื่องพันธบัตร 50 ปีก่อนเลยแล้วกัน อาจจะเป็นเรื่องเก่าแล้ว แต่ผมก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้ ทำเกินไป คงต้องขออธิบายก่อนว่า พันธบัตรคืออะไร ให้เป็นข้อมมูลความรู้ ให้กับท่านที่ยังไม่ทราบ

     พันธบัตร (Bond) เป็นสัญญาที่ออกโดยผู้ขอกู้ยืม โดยจะมีสัญญาข้อผูกมัดที่ว่า ผู้ออกพันธบัตร (หรือผู้ขอกู้ยืม) จะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตร (ผู้ให้กู้) ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพันธบัตร ดังนั้นพันธบัตรรัฐบาล จึงถือเป็นสัญญากู้ยืมเงินของรัฐบาลกับผู้ที่ซื้อพันธบัตรซึ่งถือว่าเป็น ผู้ให้กู้

     ส่วนระยะเวลาที่กำหนดในพันธบัตรรัฐบาล เท่าที่เคยมีปรากฏคือ 3 5 7 10 12 ปี และ 20 ปี เพิ่มเติมเป็นเกร็ดความรู้ครับ พันธบัตร อายุ 3 ปีหมายความว่า ผู้ซื้อจะสามารถนำพันธบัตรที่ถืออยู่มาขายคืนให้รัฐบาล เพื่อรับเงินต้นคืน ก็ต่อเมื่อเวลาได้ผ่านไป 3 ปีแล้ว (แม้ว่าขายคืนให้รัฐบาลโดยตรงไม่ได้ แต่ผู้ถือครองที่ต้องการเงินต้นคืน สามารถขายให้กับผู้อื่นผู้ใดเป็นเจ้าของสิทธิถือครองแทนก็ได้)นับจากวันแรกที่ถือครองพันธบัตร 5 7 10 12 20 ปี แตกต่างกันแค่ระยะเวลาเท่านั้น

     เมื่อพันธบัตรรัฐบาลเป็นสัญญากู้ยืมเงิน จึงส่งผลให้มีผลผูกพันกับเงินคงคลัง และงบประมาณประจำปีที่จะใช้ในการดำเนินนโยบายพัฒนาประเทศ เพราะทุกปี รัฐต้องปันเงินงบประมาณบางส่วนเพื่อมาเป็นดอกเบี้ยให้กับผู้ถือครองพันธบัตร และต้องปันเงินบางส่วนเพื่อมาจ่ายการครบรอบอายุพันธบัตร พันธบัตรจึงเป็นการดึงเงินอนาคตมาใช้ ซึ่งจริงๆแล้ว การดึงเงินอนาคตมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศก็ถือว่าสมควร และสามารถกระทำได้ เพราะหากประเทศพัฒนาขึ้น มูลค่าเศรษฐกิจก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย และรัฐก็มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีมากขึ้นตามกัน และนำรายได้จัดเก็บภาษีมาชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการออกพันธบัตร หมุนวนเป็นวงจรแบบนี้

     แต่การที่รัฐบาลคิดจะออกพันธบัตร 50 ปี วงเงิน 3,500 -4,500 ล้าน เป็นการเอาเปรียบลูกหลานอย่างที่สุด เพราะนี้คือการเอาเงินลูกหลานมาใช้ โดยที่ตัวเองไม่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งเรื่องนี้ผมเห็นว่า “อันนี้ก็ทำเกินไปปปป.........”

     2.มูลค่ารวมของผลการกู้อันยอดเยี่ยมของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ของไม่อาจทำให้ผมมองข้ามไปได้ ขอสรุปรายละเอียด ดังนี้นะครับ ตลอดระยะเวลา 2 ปี ในการบริหารขึ้นปีที่3 รัฐบาลนี้ได้กู้เงินไปแล้วประมาณ 791,060.5 แสนล้านบาท และเตรียมที่จะกู้ในปีงบประมาณ 2554 อีกประมาณ 420,000 แสนล้านบาท

     การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงบประมาณ สำนักนายกฯ http://www.bb.go.th/bbhome/index.asp   เลือกงบประมาณโดยสังเขป > งบประมาณปี 2554  (ตาราง 2-12 หน้า 61)

ปี

งบประมาณรายจ่าย

ตาม พ.ร.บ(1)

วงเงินสุงสุดที่กู้ได้

ตาม พ.ร.บ(2)

กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล

งบประมาณ(3)

คิดเป็นร้อยละ

(3)/(1)

2544

910,000

191,708.2

105,000

11.5

2545

1,023,000

225,135.1

200,000

19.6

2546

999,900

227,941.4

174,900

17.5

2547

1,163,500

260,024.3

99,000

8.6

2548

1,250,000

290,061.0

-

-

2549

1,360,000

306549.8

-

-

2550

1,566,200

357,623.4

146,200

9.3

2551

1,660,000

368,421.6

165,000

9.9

2552

1,951,700

441,280.9

441,060.5

22.6

2553

1,700,000

380,736.7

350,000

20.6

2554

2,070,000

440,043.7

420,000

20.3

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน่วยเป็นล้านบาท

กู้มาจากไหนบ้าง ผมก็ไปสืบเสาะหาข้อมูลมาดังนี้ครับ

     2.1 การกู้โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลตั้งแต่ 1 มค 2552 – 31 ธค 2553 อยู่ที่ 304,000

     2.1.1 การออกพันธบัตรรัฐบาล ปี 2553 รวม 104,000 ล้านบาท ตามรายละเอียดดังนี้
• พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4 (LB196A) อายุคงเหลือ 8.90 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.875 ต่อปี จำนวน 30,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการ Re-open พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ 2552 ครั้งที่ 13 อายุ 10.05 ปี ทำให้ปริมาณพันธบัตรรุ่นดังกล่าวมีจำนวน 102,740 ล้านบาท โดยจำหน่ายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2553 และวันที่ 22 กันยายน 2553 งวดละ 15,000 ล้านบาท

• พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 5 (LB296A) อายุคงเหลือ 18.91 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.875 ต่อปี จำนวน 21,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการ Re-open พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2 อายุ 19.60 ปี ทำให้ปริมาณพันธบัตรรุ่นดังกล่าวมีจำนวน 50,000 ล้านบาท โดยจำหน่ายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 จำนวน 11,000 ล้านบาท และวันที่ 15 กันยายน 2553 จำนวน 10,000 ล้านบาท

• พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 6 (LB15DA) อายุ 5.32 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.125 ต่อปี จำนวน 20,000 ล้านบาท   โดยจำหน่ายในวันที่ 10 สิงหาคม 2553

• พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553  ครั้งที่ 7 (LB24DA) อายุคงเหลือ 14.35 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.75 ต่อปี จำนวน 11,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการ Re-open พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3 อายุ 15.15 ปี ทำให้ปริมาณพันธบัตรรุ่นดังกล่าวมีจำนวน 47,000 ล้านบาท โดยจำหน่ายใน วันที่ 18 สิงหาคม 2553

• พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 8 (LB406A) อายุคงเหลือ 29.86 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี จำนวน 5,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการ Re-open พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2 อายุ 30.70 ปี ทำให้ปริมาณพันธบัตรรุ่นดังกล่าวมีจำนวน 20,000 ล้านบาท โดยจำหน่ายในวันที่ 18 สิงหาคม 2553

• พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1 (LB147A) อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ 6 เดือน — ร้อยละ 0.15 ต่อปี จำนวน 9,000 ล้านบาท โดยจำหน่ายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2553 สำหรับอัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ 23 กรกฎาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 1.63875 ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2553 เท่ากับร้อยละ 1.78875 ต่อปี)

• พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2 (LB149A) อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ 6 เดือน — ร้อยละ 0.15 ต่อปี จำนวน 8,000 ล้านบาท โดยจำหน่ายในวันที่ 22 กันยายน 2553 สำหรับอัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ 24 กันยายน 2553 อยู่ที่ร้อยละ 1.84875 ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย BIBOR ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 20 กันยายน 2553 เท่ากับร้อยละ 1.99875 ต่อปี)

     แม้ตัวผมเองจะถือดีว่าตัวเองพอมีความรู้เรื่องนี้อยู่บ้าง แต่สารภาพตรงๆครับ ผมยัง “มีนตื๊บ” กับรายละเอียดที่กระทรวงการคลังแถลงเลย

     2.1.2 การออกพันธบัตรรัฐบาล ปี 2552 รวม ยอดรวม 214,000 ล้านบาท ผมขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดนะครับ แต่ท่านที่อยากสืบค้นสามารถไปดูได้ที่ http://www.bot.or.th/Thai/FinancialMarkets/DebtSecuritiesAuction/AuctionSchedule/Doclib_/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5.xls   ตามนี้เลยครับ

     2.2 การกู้ในลักษณะการกู้โดยตรงจากสถาบันการเงินในประเทศ ขออนุญาตสรุปรวม 2 ปีเลยนะครับ วงเงินรวม (ทั้งในและนอกประเทศ)  350,000 ล้านบาท ใช้กู้ในประเทศไป 193,460 ล้านบาท

     2.2.1 ผลการเบิกจ่ายเงินกู้ กระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการลงนามในสัญญากู้เงินเมื่อ
• วันที่ 21 กันยายน 2552 วงเงิน 30,000 ล้านบาท
• วันที่ 15 ธันวาคม 2552 วงเงิน 30,000 ล้านบาท
• วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 วงเงิน 45,000 ล้านบาท
• วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 วงเงิน 45,000 ล้านบาท
• วันที่ 3 มิถุนายน 2553 วงเงิน 40,000 ล้านบาท
• วันที่ 29 มิถุนายน 2553 วงเงิน 40,000 ล้านบาท

     โดยมีวงเงินรวมทั้งสิ้น 230,000 ล้านบาท สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินกู้สรุปได้ ดังนี้
กย 2552  วงเงิน 15,000,000,000 บาท เบิกจ่ายจริง 14,871,643,552.04 บาท
ตค-ธค 2552 วงเงิน 20,000,000,000 บาท เบิกจ่ายจริง 19,752,238,512.90 บาท
มค-มีค 2553 วงเงิน 70,000,000,000บาท เบิกจ่ายจริง  69,295,777,073.68 บาท
เมย-มิย 2553 วงเงิน 78,000,000,000 บาท เบิกจ่ายจริง  67,627,120,434.75 บาท
กค 2553 วงเงิน 17,000,000,000 บาท เบิกจ่ายจริง 21,913,960,626.80 บาท
รวมวงเงิน 200,000,000,000 บาท เบิกจ่ายจริง  193,460,740,200.25 บาท

     ตรวจสอบข้อมูลได้จากมติคณะรัฐมนตรี http://www.eppo.go.th/admin/cab/cab-2553-08-10.html#8 ในข้อ 8 นะครับ

     2.3 การกู้ในลักษณะการกู้โดยตรงจากสถาบันการเงิน หรือรัฐบาลของต่างประเทศ จาก ธนาคารโลก  (IBRD) ธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) รัฐบาลสหรัฐอเมริกา  (AID) ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) สถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (KfW) และอื่นๆอีกมากมาย สาธยายไม่ไหวครับ และในส่วนของรายละเอียดผมก็ไม่สามารถสืบค้นเจอได้ครับ ต้องขออภัยจริงๆ (ไม่รู้จะปกปิดอะไรกันนักหนา)

     และสาระสำคัญก็ไม่ได้อยู่ที่รายละเอียดอยู่แล้ว แต่มันอยู่ที่จำนวน 791,060.5 ล้านบาท และเตรียมที่จะกู้ในปีงบประมาณ 2554 อีก 420,000 ล้านบาท หากรัฐบาลนี้อยู่จนถึงช่วงพฤษภาคม 2554 ซึ่งนั้นหมายความว่ารัฐบาลชุดนี้จะกู้เงินรวมแล้วประมาณ 1,211,060.5 ล้านบาท (1.2 ล้านล้านบาท) และผมเชื่อมั่นอย่างมากว่า เมื่อผ่านร่าง พ.ร.บ งบประมาณในเดือน พฤษภาคมนี้ รัฐบาลนี้จะรีบกู้เต็มวงเงินทันที เพื่อเตรียมกระสุนดินดำครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะยุบสภา

     5 ปีที่ท่านนายกทักษิณทำหน้าที่ กู้เงินทั้งในและนอกประเทศ ประมาณ 473,900 ล้านบาท ขึ้นปีที่ 3 ของนายอภิสิทธิ์ ซัดไป 791,000.5 ล้านบาท เมื่อเทียบแล้วคิดเป็น 166% ของนายกทักษิณ เป็นอันว่า นายอภิสิทธิ์ใช้เวลาน้อยกว่าเกือบครึ่งก็สามารถชนะขาดในความสามารถด้านการกู้

     แปลกใจไหมครับ 2 ช่วงรัฐบาล มีโครงการประชานิยมเหมือนๆกัน แต่ทำไมทักษิณใช้เงินน้อยกว่า และหากว่ามีการคอรัปชั่นกันครั้งมโหฬารในช่วงรัฐบาลนายกทักษิณ ตามที่ฝ่ายล้มล้างกล่าวอ้าง ก็แสดงว่าเงินที่ใช้ดำเนินโครงการเหล่านี้ ก็จะยิ่งน้อยลงอีก แล้วทำไมประชาชนยังให้คะแนนความนิยมนายกทักษิณมากกว่าอีกล่ะ แจกก็แจกน้อยกว่า โกงก็โกงมากกว่า แต่ทำไมประชาชนยังชอบ  ผม“ไม่เข้าใจ” แล้วพวกที่เกลียดทักษิณล่ะครับ คุณเข้าใจไหมครับ

     จากตารางด้านบนทำให้ท่านผู้เข้าชมการอภิปรายนี้ จะเห็นอะไรบ้างผมไม่ทราบ แต่สิ่งที่ผมเห็นคือ ความด้อยประสิทธิภาพด้านการบริหารงานเศรษฐกิจชุดนี้ และเห็นอนาคตที่เตรียมจะพินาศย่อยยับจากการที่ต้องหาเงินใช้หนี้ในวันหน้า เห็นลูกหลานร้องไห้กับภาระที่เขาไม่ได้ก่อ

     ระเบิดเวลามูลค่า 1.2 ล้านล้าน ที่รัฐบาลชุดนี้ทำไว้ กำลังจะเข้ามาทำลายเศรษฐกิจเมืองไทยในอนาคต มันอาจจะไม่มาเร็วๆนี้หรอก แต่หากครบกำหนดชำระคืนเงินกู้เมื่อไร มันมาแน่  
-------------------------------------

เพิ่มเติมอีกนิด ตลอด ระยะเวลา 5 ปี ของนายกทักษิณ ท่าสามารถจัดทำงบประมาณแบบสมดุลได้ 2 ครั้ง คือ ปี 48 กับ 49 และก็ยังเป็นรัฐบาลที่ใช้หนี้ IMF จากการกู้ของรัฐบาลนายกชวน จากพรรคปชป. แม้ภายหลัง พรรคปชป. จะพยายามดิสเครดิตขอมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หนี้ ดังกล่าวด้วยก็ตาม แต่ประชาชนตาดำๆอย่างผม พอจะมีสมองคิดเองได้ว่า ใครกันแน่ที่ดีแต่ก่อหนี้ ใครกันแน่ที่มีปัญญาหาเงินใช้หนี้ (อย่าคิดว่าประชาชนโง่นะครับ)

-------------------------------------

เศรษฐกิจไทยในอนาคตจะเป็นไงยังไม่รู้ แต่เศรษฐกิจ "กิ๊ฟ" ในพันธ์ทิพฝืดเคืองมาก อยากให้กิ๊ฟกับหลายท่าน แต่ทำไม่ได้ ขอส่งเป็นกำลังใจรวมๆกันไปในกะทู้นี้นะครับ

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 09:03:58

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 08:36:04

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 08:34:00

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 08:10:49

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 08:00:31

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 07:42:10

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 07:41:31

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 07:40:30

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 07:38:03

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 07:35:45

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 07:33:43

แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 53 07:33:08

จากคุณ : พระรองตลอดกาล
เขียนเมื่อ : 27 ธ.ค. 53 07:31:02 A:27.130.208.156 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com