Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
หลังคำตัดสินที่รับไม่ได้ ความจริงก็เริ่มแสดงว่าละครฉากนี้มีใครเล่นเป็นอะไร ติดต่อทีมงาน

คัดมาให้อ่าน จากมติชนและบางกระทู้ เพื่อกระจายข่าวสาร


จากมติชนออนไลน์

กกต.รายหนึ่งระบุว่า เรื่องนี้นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียน ต้องให้ความชัดเจนต่อเรื่องที่ศาลมีคำวินิจฉัย จะนิ่งเฉยไม่ได้ และเห็นว่าในเมื่อผลของศาลออกมาเช่นนี้ ควรแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งประธาน กกต. เพื่อให้กกต.เลือกประธานกกต.กันใหม่ ที่ผ่านมากกต.สามารถประเมินผลการทำงานของนายทะเบียนได้แล้ว นายอภิชาตไม่มีความกล้าในการวินิจฉัยคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ แม้ แต่การเรียกประชุมกกต.เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2552 ยังไม่กล้าชี้ขาด จึงสมควรหรือไม่ที่นายอภิชาต จะอยู่ในตำแหน่งประธานกกต.ต่อไป

เล็งหนุน'ประพันธ์'นั่งปธ.แทน

กกต.คนเดียวกันกล่าวว่า หากหลังจากวันที่ 17 ธ.ค. 2552 แล้วนายอภิชาตทำความเห็นเข้ามาว่าให้ยกหรือไม่ยกคำร้อง โดยไม่แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบ เรื่องก็น่าจะยุติตั้งแต่ช่วงนั้นแล้ว หากมีความเห็นว่ายกคำร้อง เรื่องก็จบไม่ต้องนำเข้าที่ประชุมในช่วงนั้น แต่นายอภิชาตก็ยังไม่ทำความเห็น แต่เห็นควรให้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาแทน จนเป็นผลให้นำมาสู่การลงมติเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2553

อย่างไรก็ตาม กกต.ไม่สามารถลงมติ เพื่อให้นายอภิชาต ลาออกจากประธานกกต.ได้ จึงอยู่ที่ตัวนายอภิชาตเองว่า จะแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะหากนายอภิชาต ตัดสินใจลาออกจากประธานกกต. จะทำให้กกต. ต้องลงมติเลือกประธานกกต.คนใหม่ ขณะนี้กกต.มีความเห็นว่า นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง มีความเหมาะสมมากที่สุดที่จะเป็นประธานกกต.คนใหม่ แทนในสถาน การณ์ขณะนี้ แม้นายประพันธ์จะมาจากอัยการ แต่มีความเข้มแข็งและสุขุมกว่านายอภิชาต

ตั้งข้อสังเกตคำวินิจฉัย'นุรักษ์'

รายงานว่า จากคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 18/2550 ลงวันที่ 18 ต.ค.2550 เรื่องนายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคธัมมาธิปไตยนั้น พรรคธัมมาธิปไตยได้ต่อสู้ในประเด็นที่นายทะเบียนยื่นคำร้องเกินเวลาที่กำหนดภายใน 15 วัน ตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 65 วรรคสอง ซึ่งคำวินิจฉัยเห็นว่า "วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนฯคือ วันที่ผู้ร้องได้พิจาร ณาและเห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐ ธรรมนูญในวันที่ 3 พ.ย. 2549 และนายทะเบียนได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 10 พ.ย.2549 ศาลได้รับคำร้องดังกล่าวในวันที่ 13 พ.ย. 2549 เมื่อนับวันที่ผู้ร้องได้พิจารณาและเห็นชอบจนถึงวันที่ศาลรัฐธรรม นูญได้รับคำร้องแล้วอยู่ภายในระยะเวลา 15 วันตามมาตรา 65 วรรคสอง ข้ออ้างของพรรคธัมมาธิปไตยข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น ศาลจึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคธัมมาธิปไตย"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยที่ 19/2550 ลงวันที่ 18 ต.ค. 2550 ที่นายทะเบียนขอให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังธรรม โดยพรรคพลังธรรมได้ต่อสู้เรื่องการยื่นคำร้องต่อศาลในเรื่องเกินกำหนดเวลา 15 วัน ของนายทะเบียนเช่นกัน ศาลได้วินิจฉัยว่า วันที่นายทะเบียนได้พิจารณาและเห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2549 และนายทะเบียนได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 15 พ.ย. 2549 และศาลได้รับคำร้องเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2549 ดังนั้นจึงอยู่ภายในเวลา 15 วัน ตามมาตรา 65 วรรคสอง ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 และศาลได้มีคำสั่งให้ยุบพรรคพลังธรรม ซึ่งการวินิจฉัยคดีดังกล่าวข้างต้นของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดดังกล่าว มีนายนุรักษ์ มาประณีต ร่วมองค์คณะตุลาการรัฐธรรมนูญด้วย

กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยกคำร้องในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายนุรักษ์ก็อยู่ร่วมองค์คณะวินิจฉัยด้วย แต่มีมติให้ยกคำร้อง เป็นที่น่าสังเกตว่า การยกข้อต่อสู้ของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้ยกข้อต่อสู้ในเรื่องประเด็นเงื่อนเวลาการยื่นคำร้องของนายทะเบียนภายใน 15 วันแต่อย่างใด แต่ศาลกลับมองในแง่ของเงื่อนเวลาที่นายทะเบียนได้ยื่นคำร้องล่าช้าเกินกว่ากำหนดนับแต่วันที่ 17 ธ.ค.2552 จึงทำให้มีมติเสียงข้างมากให้ยกคำร้อง

เผย3เสียงชี้ทำผิดขั้นตอน

วันเดียวกัน สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ทำเอกสารข่าวประชาสัมพันธ์มาแจกจ่ายให้สื่อมวล ชน มีเนื้อหาว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจ ฉัยเรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมือง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 29 พ.ย.53 โดยมีมติเสียงข้างมาก 4 เสียง ให้ยกคำร้อง ตุลาการเสียงข้างมากดังกล่าว ประกอบด้วย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 3 เสียง วินิจฉัยให้ยกคำร้อง เนื่องจากความเห็นของประธานกกต. ที่ลงมติไว้เป็นคำวินิจฉัยส่วนตน ในการประชุมกกต. เมื่อวันที่ 12 เม.ย.53 นั้น ไม่ถือเป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 ดังนั้น นายทะเบียน จึงยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง และการให้ความเห็นชอบของกกต. เมื่อวันที่ 21 เม.ย.53 จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ในส่วนของสาระสำคัญ ไม่มีผลทางกฎหมายที่จะให้นายทะเบียน มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐ ธรรมนูญ ให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องได้

อีก1เสียงชี้ไม่ทำตามมติกกต.

ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากอีก 1 เสียง วินิจฉัยว่าพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 บัญญัติให้กกต.มีอำนาจหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมือง และนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมติของกกต. กรณีการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรค การเมืองตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรคสอง มิได้บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมือง ต้องเสนอความเห็นด้วยว่าพรรคใดมีเหตุตามวรรคหนึ่งหรือไม่ เพื่อขอความเห็นต่อกกต.แต่อย่างใด ซึ่งหากนายทะเบียนเสนอความเห็น ความเห็นของนายทะเบียนฯก็ไม่มีผลผูกพันกับกกต. แต่นายทะเบียนต้องปฏิบัติตามมติของกกต. แม้ประธานกกต. ซึ่งเป็นนายทะเบียนลงมติเป็นเสียงข้างน้อยให้ยกคำร้อง ก็ต้องปฏิบัติตามมติของกกต.เสียงข้างมาก

ขณะที่มาตรา 94 เป็นบทบัญญัติการกระทำต้องห้าม ซึ่งมีความร้ายแรงมากกว่ามาตรา 93 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ในมาตรา 94 จึงกำหนดกระ บวนการในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้เป็นการเฉพาะต่างหาก กล่าวคือ นายทะเบียนต้องตรวจสอบการกระทำนั้นด้วยอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนฯก่อน แล้วจึงเสนอความเห็นต่อกกต. เพื่อขอความเห็นชอบและแจ้งต่ออัยการสูงสุด

ดังนั้น คดีนี้นายทะเบียนต้องปฏิบัติตามมติของกกต.เสียงข้างมาก ตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค.53 แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเสนอความเห็นก่อน ดังนั้น เมื่อนายทะเบียนยื่นคำร้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 เม.ย.53 ซึ่งพ้นกำหนดเวลา 15 วัน ตามพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 วรรคสอง จึงให้ยกคำร้อง

เผย4เสียง-แบ่ง2แนวทาง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทำเอกสารชี้แจง ว่า ตุลาการที่ยกคำร้องในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ 4 เสียง แต่แบ่งเป็น 2 แนวทาง โดยมีตุลาการ 3 เสียง เห็นว่าควรยกคำร้องเนื่องจากนายทะเบียน ไม่ได้ทำความเห็นเสนอต่อกกต. ก่อนจะยื่นยุบพรรค ขณะที่อีก 1 เสียง เห็นว่าควรยกคำร้องจากกรณีที่นายทะเบียนยื่นคำร้องไม่ทัน 15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด 3 เสียงนั้นประกอบด้วย นายจรัญ ภักดีธนากุล นายสุพจน์ ไข่มุกด์ และนายนุรักษ์ มาประณีต ขณะที่อีก 1 เสียง คือนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี

รายงานข่าวแจ้งว่า การที่สำนักงานศาลทำเอกสารชี้แจงว่า 3 เสียงที่ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่านายทะเบียนไม่ได้ทำความเห็นนั้นจะเป็นการสร้างความสับสนให้กับสังคม เนื่องจากทั้ง 3 เสียงเห็นตรงกันว่าการทำหน้าที่ของนายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค. 2552 ซึ่งในวันดังกล่าว นายอภิชาต เป็นเสียงข้างน้อยในที่ประชุมกกต. ที่เห็นว่าควรยกคำร้อง การลงมติของนายอภิชาตในครั้งนั้น จึงถือเป็นความเห็นควรยกคำร้องของนายทะเบียนไปแล้ว


จาก
http://www.oknation.net/blog/jerasak/2010/12/01/entry-1
ตามที่มีความสับสนทั่วไป เกี่ยวกับคำวินิจฉัยคดียุบพรรค ปชป. อยู่ในขณะนี้ ตัวผมเองหลังจาก
ฟังคำวินิจฉัยและอ่านซ้ำอีก 3 รอบ พบว่าคำวินิจฉัยมีประเด็นเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายล้วนๆ ยาก-
ที่คนทั่วไปจะมีเวลาทำความเข้าใจ ก็เลยพยายามสรุปประเด็นเผยแพร่ทาง Twitter @jerasak
และมาจัดทำเป็นเอกสารชุดนี้ครับ

ผมพยายามสรุปให้สั้นกระชับที่สุด แต่เสร็จแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเข้าใจง่ายอย่างที่ตั้งใจหรือเปล่า
หากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ก็รบกวนช่วยเผยแพร่นะครับ เพื่อเห็นแก่สถาบันตุลาการของไทย ^_^

---

สรุปคดียุบพรรคปชป. ตุลาการเสียงข้างมากวินิจฉัย มีเหตุยกคำร้อง 2ประการ
1) การขอความเห็นชอบ กกต.เพื่อฟ้องไม่ได้ทำโดยนายทะเบียนฯ (ความเห็นตุลาการ
เสียงข้างมาก 3 เสียง)
2) นายทะเบียนฯ ยื่นฟ้องเลยกำหนด 15วันตาม ม.93 (ความเห็นตุลาการเสียงข้างมาก 1 เสียง)


เหตุยกคำร้องประการแรก : การขอความเห็นชอบ กกต.เพื่อฟ้องไม่ได้ทำโดย-
นายทะเบียนฯ
1. พรบ.พรรคการเมือง มาตรา 93 ระบุให้ นายทะเบียนฯ ฟ้องคดีโดยความเห็นชอบของ กกต.
หมายความว่า นายทะเบียนฯจะต้องแจ้งการตัดสินใจฟ้องคดีของตนต่อ กกต.เพื่อขอความเห็นชอบ
และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงดำเนินการฟ้องคดี

2. ข้อเท็จจริงคือ นายอภิชาต ไม่เคยแจ้งการตัดสินใจฟ้องคดีในฐานะนายทะเบียนฯ ต่อ กกต. มีแต่
ดำเนินการในลักษณะนำเข้าที่ประชุม กกต.เพื่อหารือ และท้ายที่สุดมีเพียงการลงความเห็นฟ้องคดี
ตามมาตรา 93 ในฐานะ ประธาน กกต.

3. กกต. นำการลงความเห็นฟ้องคดีมาตรา 93 ของนายอภิชาต ซึ่งกระทำในฐานะประธาน กกต.
มาอ้างอิงเป็นความเห็นนายทะเบียนฯ และ กกต.ได้ให้ความเห็นชอบการลงความเห็นดังกล่าว
นำมาฟ้องคดียุบพรรค ปชป.ต่อศาลรัฐธรรมนูญ

4. ตุลาการเสียงข้างมาก 3 ใน 4 เสียง วินิจฉัยว่า กกต.ให้ความเห็นชอบการฟ้องคดีข้ามขั้นตอน
โดยนายทะเบียนฯยังไม่ได้ขอความเห็นชอบ แต่ กกต.ให้ความเห็นชอบความเห็นฟ้องคดีของ
นายอภิชาตที่ให้ความเห็นไว้ในฐานะประธาน กกต.ซึ่งไม่ถือเป็นการขอความเห็นชอบฟ้องคดี
โดยนายทะเบียนฯตามกฎหมาย วินิจฉัยให้ยกคำร้อง


เหตุยกคำร้องประการที่ 2 : นายทะเบียนยื่นฟ้องเลยกำหนด 15วันตาม มาตาร 93
1. มาตรา 93 พรบ.พรรคการเมือง ระบุ "เมื่อความปรากฏต่อนายทะเบียนฯ" ให้นายทะเบียน
ทำการฟ้องคดี "ภายใน 15วัน"

2. เดิม กกต.มีมติให้ฟ้องคดีกรณีเงินสนับสนุน 29ล้านบาท รวมกับกรณีเงินสนับสนุน 258 ล้านบาท
ตามมาตรา 95 (ตีความเป็นกรณีทุจริตต่างๆ) ซึ่งมาตรานี้ไม่มีข้อกำหนด 15วัน

3. ประมาณ 4 เดือนต่อมา หลังจากตั้งคณะทำงานศึกษา กกต.มีมติให้นายทะเบียนฯ ฟ้องคดี
กรณีเงิน 29ล้าน ตามมาตรา 93 (กรณีเงินสนับสนุนพรรค) แยกต่างหากจากกรณีเงิน 258ล้าน
ที่ยังคงฟ้องคดีตามมาตรา 95

4. นายทะเบียนฯทำการฟ้องคดีโดยเข้าใจว่ากำหนด 15วัน นับจาก"ความปรากฏต่อนายทะเบียนฯ"
คือเมื่อ กกต.มีมติให้ฟ้องคดีตามมาตรา 93

5. ตุลาการเสียงข้างมาก 1 ใน 4 เสียง วินิจฉัยว่า "ความปรากฏต่อนายทะเบียนฯ" ตั้งแต่ กกต.
มีมติให้ฟ้องกรณีเงิน 29ล้านแล้ว แม้ตอนแรกมีการตัดสินใจฟ้องในมาตรา 95 แต่ไม่มีผลทำให้
กรณี "ความปรากฏต่อนายทะเบียนฯ" แล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไป กำหนด 15 วันเมื่อฟ้องตาม
มาตรา 93 ยังคงเดิม การฟ้องไม่เป็นไปตามกฎหมายกำหนด วินิจฉัยให้ยกคำร้อง

---
คนที่เรียนนิติศาสตร์ทั้งหลาย น่าจะชำระล้างกันเอง
ทั้งหมดเป็นข้อความที่นักกกฎหมายร่างขึ้่นมา
แล้วทำไมไม่ชัดๆง่ายๆ

หรือเป็นอย่างที่คิดว่า เล่นละครตบตาคนไทยกัน

แก้ไขเมื่อ 01 ธ.ค. 53 12:19:09

จากคุณ : คนแดนไท
เขียนเมื่อ : 1 ธ.ค. 53 12:15:39 A:183.89.211.196 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com