Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
สรุป ยกคำฟ้องเพราะนายทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา93 ติดต่อทีมงาน

ก่อนอื่น ก่อนจะเข้าประเด็นกระทู้นี้ ผมขอบคุณคุณ masatha ที่ P9980690 ที่ช่วยตอบกระทู้แทนนะครับ พอดีเมื่อคืนติดภารกิจไม่สามารถเข้ามาในพันทิพได้  จึงไม่ได้มีโอกาสตั้งกระทู้แจ้งข่าวว่าอันที่จริง ได้ตอบกระทู้บางกระทู้ที่อ่านพบและพาดพิงแล้วตั้งแต่เมื่อวานตอนเย็น คือกระทู้คุณเต้ง1234 และคำถามคุณ POE อยู่ในกระทู้เดิมที่

ผมอ่านกระทู้ คุณ masatha ที่ P9980690 แล้วเห็นว่าเขียนวิเคราะห์ได้น่าสนใจดีมาก และมีความว่าเกี่ยวกับ เรื่อง “กระบวนการนี้มันเป็นเรื่องภายในองค์กร” ที่คุณเติ้ง1234 ได้กรุณาวิจารณ์ไว้

อันที่จริงเรื่อง “กระบวนการนี้มันเป็นเรื่องภายในองค์กร” นั้นผมก็ได้ตอบไว้ในกระทู้ข้างล่างบ้างแล้ว แต่ขอยกมาอีกที ณ ที่นี้ว่า ที่มีการ อ้างว่าเป็นเรื่องภายในองค์กรศาลเข้าไปก้าวก่ายไม่ได้นั้น ขอบอกว่าไม่มีบทกฎหมายใดห้ามศาลเข้าไปยุ่งหรือให้ข้อวินิจฉัยครับ  มีแต่กฎหมายที่ให้อำนาจศาลเข้าไปตรวจวินิจฉัยได้หากเกี่ยวพันกับคดีที่พิจารณาอยู่

 ผมขอย้ำตรงกระทู้นี้อีกทีว่า องค์กรใดก็ตาม หน่วยงานใดก็ตาม ที่ต้องขึ้นศาลในฐานะผู้ร้องก็ดี ในฐานะผู้ถูกร้องก็ดี เมื่อต้องขึ้นศาลแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่ากระบวนการ ขั้นตอนการทำงานต่างๆภายในองค์กรนั้นๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีความนั้น ถูกต้องตามกฏหมาย กฏระเบียบหรือไม่ มีอำนาจแม้แต่จะเรียกคนภายในองค์กรทุกคนทุกระดับที่ศาลสงสัยว่าอาจจะเกี่ยงข้องกับพฤติการณ์ของคดี เอกสารต่างๆ หรือทุกอย่างที่จำเป็นภายในองค์กรมาพิจารณา

 อีกประการการพิจารณาคดีและการวินิจฉัยของศาลนั้นเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยการกระทำที่ได้ทำไปแล้วขององค์กรนั้น ไม่ได้เข้าก้าวก่ายสั่งการองค์กรนั้นๆให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ดังนั้นมีสมาชิก  อ้างว่าเป็นเรื่องภายในองค์กร ศาลจะเข้ามายุ่งเกี่ยวนั้น อ้างแบบนั้นไม่ได้ครับ เพราะศาลไม่ได้เข้าไปก้าวก่ายสั่งการอะไรและถ้าอ้างแบบนั้นเพื่อให้องค์กรนั้นพ้นการพิจารณาของคดี ก็เท่ากับว่าองค์กรนั้นอยู่เหนือกฏหมายอยู่เหนือการพิจารณาคดีสิครับ ไม่มีกฏหมายใดรองรับความคิดแบบนี้ที่ว่าศาลเข้าไปก้าวก่าย นะครับ มีแต่กฏหมายเขาบัญญัติว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะพิจารณาเรื่องได้ทั้งปวงที่เกี่ยวกับทางคดีที่เกี่ยวข้องได้ครับ ลองอ่านดูข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ครับ ส่วนรายละเอียดอื่นๆที่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม ก็ได้ตอบไว้ในกระทู้เดิมแล้วครับตั้งแต่เมื่อวานเย็น หากต้องการคำตอบของผมก็อ่านได้ในกระทู้เดิมที่
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9976588/P9976588.html

พอดีเห็นคุณเติ้งเข้ามาถกไว้ในกระทู้ข้างบนที่ P9981294 และมีข้อความโดยรวมแล้วสรุปในตอนท้ายว่า "ในกรณีที่ดุลยพินิจของนายทะเบียนกับศาลไม่ตรงกัน  เราต้องดูว่ากฎหมายให้ใครเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจครับ  มิฉะนั้นองค์กรอิสระอื่นๆจะทำงานใดๆไม่ได้เลย  เนื่องจากไม่รู้ว่าในภายหลังศาลจะมีดุลยพินิจอย่างไร  ตรงกับที่องค์กรอิสระนั้นๆได้ใช้ดุลยพินิจตัดสินใจไปแล้วหรือไม่"

ผมตอบได้เลยครับว่า หากดุลยพินิจของนายทะเบียนนั้นเกี่ยวข้องกับกฏหมายรัฐธรรมนูญ หรือพรบ.ประกอบรัฐะรรมนูญ เช่น พรบ.พรรคการเมืองนี้เป็นต้นั้น เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยครับ ไม่ใช่ตัวนายทะเบียน ดังคดีอื่นๆที่ปรากฏในเรื่องนี้มาแล้ว ลองเข้าไปอ่านดูครับ คดีพรรคธัมมาธิปไตย พลังธรรม และพรรคธรรมชาติ ทั้ง 3 พรรคต่างฟ้องแย้งเรื่องอายุความ เรื่องเวลาที่นายทะเบียนพบเหตุตามาตรา 93 ซึ่งทั้ง 3 กรณี เป็นศาลรัฐธรรมนูญครับ ที่เป็นผู้ชี้ขาดว่า วันใดเวลาใด เป็นวันที่ตามกกหมายถือว่าเป็นวันที่นายทะเบียนได้รับทราบเหตุตามมาตรา 93  เรื่องนี้ไม่มีกฏหมายใดรับรองให้ตัวนายทะเบียนเองใช้ดุลยพินิจตัดสินเรื่องนี้แทนศาลได้ครับ คุณเติ้ง1234 กลับไปอ่านกฏหมายรัฐธรรมนูญและคดีอื่นๆก่อนหน้านี้ให้ดีเสียก่อนเถอะครับ

ไม่มีใครอยู่เหนือกฏหมายครับ องค์กรอิสสระก็ไม่มีองค์กรใดอยู่หนือกฏหมาย กระบวารทั้งหลายทั้งปวงต้องอยู่ภายใต้กฏหมาย หากกระทำการเกี่ยวกับกฏหมายแพ่งไม่ถูกต้อง เช่นไปละเมิดผู้ใด ศาลแพ่งมีอำนาจวินิจฉัย หรือหากกระทำพลาดไป ไปผิดกฏหมายอาญา เช่นประมาทเลินเล่อ กกต.ก็ต้องถูกศาลอาญาพิจารณาดคี ในกรณีนี้เป้นกรณีคดีตามพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเต็มที่จะวินิจฉัยเหตุแห่งคดีทั้งปวงที่เกี่ยวกับคดี ไม่มีองค์กรใดอยู่เหนือกฏหมาย พ้นอำนาจศาลไปได้ครับ ไม่เช่นนั้น บ้านเมืองก็ไม่มีขื่อไม่มีแปสิครับ ขืนให้องค์กรอิสสระอยู่เหนือกฏหมายอย่างคุณเติ้ง 1234 คิดเอาเองแบบนั้น


.                               ขอกลับเข้าประเด็นกระทู้นี้ละครับ                               .


เรื่องเกี่ยวกับอายุความก็ถกกันมามากมายแล้ว แต่ ณ เวลานี้ความปรากฏแล้วว่า เรื่องอายุความนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากระบวนการยื่นฟ้องนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ใช่เหตุผลหลัก

ประเด็นที่ 1 ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคือ “ กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่”  ศาลรัฐธรรมนูญลงมติว่าไม่ชอบด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 2 เพียงแต่ในเวลานั้นไม่มีรายละเอียดว่าเหตุที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งยกไว้ 2 เหตุผลนั้น มีคะแนนเสียงอย่างไร แต่ในขณะนี้ปรากฏชัดแล้วดังรายละเอียดต่อไปนี้คือ

โดยคะแนนเสียงที่ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย 3 เสียง เห็นว่าเป็นเพราะ “นายทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา93 การให้ความเห็นชอบของกกต.เมื่อวันที่ 21เมษายน 2553 จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญ จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะมีผลให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องได้” โดยความตอนนี้ ที่จริงแล้วปรากกฏอยู่ในคำวินิจฉัยกลางที่ออกมาแต่แรก แต่สาธารณชนอาจจะข้ามไป
 
มีเพียง เสียงเดียวที่ เห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะ  “ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ 26 เมษายน 2553 จึงพ้นระยะเวลา15วันตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องจึงมิชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัยคำร้อง ในประเด็นอื่นอีกต่อไป”

ในเวลานั้น ดูเหมือนว่าสื่อมวลชน สังคมและสาธารณชนเกือบทั้งหมด เข้าใจไปว่าศาลรธน.ยกเหตุผลเรื่องอายุความ 15 วันเป็นเหตุผลหลักในการยกคดี และปัจจุบันก็มีการถกแต่ในเรื่องนี้กันแทบไฟแลบ แทบไม่ได้ถกประเด็นเรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา93 ทั้งนี้เพราะความเห็นส่วนน้อยเรื่องอายุความ 15 วันนั้นไปปรากฏอยู่ตอนท้ายสุดของคำวินิจฉัย ทำให้ประชาชนทั่วไปและรวมผมเองด้วยในเวลานั้น เข้าใจผิดไปว่านี้คือเหตุผลหลักในการยกคำร้อง

รายละเอียดเกี่ยวกับนายทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา93 มีปรากฏในหลายลิงค์ข่าว เช่น
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20101201/365656/เปิดคำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องคดียุบปชป..html


ส่วนที่ว่าคะแนนเสียงเป็น 3 และ 1 ที่ให้ยกคำร้องก็คงได้อ่านกันแล้ว เช่น ข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ การเมือง วันที่ 1 ธันวาคม 2553 05:09 เรื่อง "เปิด!4ตุลาการเสียงข้างมากยังแยกเป็น 3:1"
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20101201/365472/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94!4%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-3:1.html

จากนี้ไป อาจจะมีการถกในประเด็นเรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา93 จริงหรืออีกมากมายก็เป็นได้ และคงเกิดคำถามขึ้นว่า หากนายทะเบียนมีความเห็นเสียใหม่ตามขั้นตอนที่ศาลชี้นี้แล้ว จะยังสามารถนำเรื่องนี้ยื่นต่อศาลอีกครั้งได้หรือไม่ คงจะมีการถกเถียงกันและติดตามดูกันต่อไป

ขอจบการอภิปรายไว้ ณ เวลานี้เพียงแค่นี้ แต่ขอสงวนสิทธิมาอภิปรายเพิ่มเติมหากมีเหตุอันสมควรต่อไป

 

.        ขอตอบคำถามที่เห็น เท่าที่พอจะตอบได้นะครับ          . คุณ simpang

คำถาม คุณ simpang ในกระทู้ข้างล่างผมนี้เอง ผมขอตอบดังนี้ครับ กระทู้เดิมที่ผมตั้งไว้และที่คุณ simpang ยกมานั้น จุดมุ่งหมายอยู่ที่ให้สมาชิกและคนทั่วไปในเวลานั้นได้ตระหนักว่า กำลังผิดพลาดที่ไปเอาคดีที่มีการดำเนินการตามมาตรา 94 และ 95 ซึ่งไม่มีอายุความ มาเทียบกับคดีปชป.คดีนี้ ที่ดำเนินการตมาตรา 93 ที่มีอายุความ 15 วันนับแต่นายทะเบียนทราบเหตุ

เป็นความไม่เป็นธรรม ที่จะใช้วิธีการเทียบกันในแบบนั้น แต่คำถามที่คุณถามในกรณียุบพรรคธัมมาธิปไตย พลังธรรม และพรรคธรรมชาติ นั้นผมตรวจสอบดูแล้วครับ มาตราเดียวกันและนายทะเบียนส่งฟ้องในกำหนดไม่เกิน 15 วันครับ จึงเป็นกรณีที่ไม่เป็นปัญหา ต่างไปจากกรณีคดีปชป.ที่เกิน 15 วัน

ผมพยายามใช้เวลาเท่าที่มีนั่งอ่านคำวินิจฉัยของทั้ง 3 พรรคนั้นแล้ว พบว่าเป็นคดีไม่ซับซ้อนครับ สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งตรวจสอบพบความผิดปกติ แล้วสรุปแล้วส่งเรื่องเข้าที่ประชุมกกต. ที่มีนายทะเบียนนั่งอยู่ด้วย ที่ประชุมกกต.พิจารณาแล้วมีมติ และสุดทายนายทะเบียนส่งเรื่องไปศาลรธน. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่กกต.และนายทะเบียนทราบเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งส่งเข้ามาพิจารณา

ในกรณีคดี ปชป.ซับซ้อนกว่า เพราะมีการตั้งอนุกรรมการพิจารณาเรื่องนี้โดยละเอียด และอนุกรรมการสุดท้ายก็ส่งเรื่องมา และมีการประชุมกกต.และนายทะเบียน ในวันที่ 17 ธค.2552 ในการประชุม 144/2552 ในการประชุมนั้น กรรมการทั้งหมดทราบเรื่องที่อนุกรรมการสอบสวนสรุปมาแล้ว มีมติให้ดำเนินการต่อ โดยในเวลานั้นมี 2 ข้อกล่าวหาก ที่ประชุมให้ดำเนินการต่อตามพรบ.พรรคการเมือง 2550 มาตรา 95 ซึ่งในมาตรานั้นระบุไว้ว่า เมื่อนายทะเบียนทราบเหตุแล้ว จึงดำเนินการตมารตรานี้ ดังนั้นหากกกต.มีมติให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา 95 ก็เท่ากับ กกต.และนายทะเบียนได้ทราบเหตุจากคณะอนุกรรมการ และรับว่าเหตุนั้นมีอยู่จริง จึงเข้ามาตรา 93 ที่ต้องเริ่มนับ 15 นับแต่วันนี้ วันที่นายทะเบียนทราบเหตุ การที่ที่ประชุมวันนั้นมีมติราวบกันไปให้นายทะเบียนดำเนินการต่อตามาตรา 95 นี้มีปรากฏในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และมีปรากฏในเอกสารของ ปชป.เอง เรื่องความจริงสู้อธรรม หน้า 33 แต่ปชป.ไม่ได้นำเอกสารนี้มาต่อสู้เพื่อประโยชน์ของตน เพียงแต่มีอยู่เพื่อความครบถวนของหนังสือของเขา จึงเชื่อว่าข้อความในเอกสารนี้มีข้อเท็จจริงอยู่จริง และการที่มีมติรวบกันไปทั้ง 2 ข้อกล่าวหานั้น ก็ไม่ได้ทำให้ข้อกล่าวหาตามาตรา 93 ซึ่งไม่ต้องไปดำเนินการต่อตามาตรา 95 อีกแล้ว เป้นอันตกไป เพราะโดยพฤตินัยและนิตินัยแล้ว เท่ากับนายทะเบียนได้ทราบเหตุแล้วในวันนั้น

ส่วนในกรณีของ 3 พรรค ที่ได้อ้างนั้น นายทะเบียนไม่รีรอไม่ชักช้า ยื่นเรื่องต่อศาลรธน. จึงไม่มีปัญหาครับ ต่างจากกณีปชป.ที่นายทะเบียน เมื่อทราบเหตุจากอนุกรรมการแล้ว กลับรีรอ โลเล ไปทำขั้นตอนเก่าซ้ำซ้อนอีกจนก่อปัญหา

คำวินิจฉัยยุบพรรคทั้งสาม ดูได้จากลิงค์ต่อไปนี้

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/047/1.PDF

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/055/1.PDF

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/049/1.PDF

เรื่องความจริงสู้อธรรม หน้า 33 อ่านได้จากลิงค์นี้ครับ

http://www.democrat.or.th/upload/downloads/documents/Khwam_ching_Su_Atham.pdf

ขอบคุณมากครับสำหรับคำเตือนและคำแนะนำของคุณ simpang  แต่ในเฉพาะเวลานี้ผมขอใช้สิทธิให้ความโดยสุจริต ตามกฏของบอร์ดนี้ ตามเสรีภาพที่ผมมีตามรัฐธรรมนูญ และตามบัญญัติของกฏหมายทั้งปวง และผมยินดีรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากผมเสมอครับ

.        ขอตอบคำถามที่เห็น เท่าที่พอจะตอบได้นะครับ          . คุณ POE ที่กระทู้ P9982634

คุณจะเห็นแตกต่างจากผมไปในเรื่องคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็ตามแต่เถอะครับ มันเป็นสิทธิเสรีภาพของคุณครับ แต่เรื่องเกี่ยวกับอำนาจในการพิจารณาคดีของศาลรัฐะรรมนูญนั้น ผมยืนยันซ้ำตรงนี้อีกทีครับว่า ในกิจการใดๆของกกต.ที่ได้ดำเนินไปและเกี่ยวข้องกับ พรบ.ประกอบรัฐะรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นพรบ.พรรคการเมืองเองก็ดี  พรบ.กกต.เองก็ดี หรือเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเองก็ดี ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจศาลที่จะเข้าไปวินิจฉัยว่าการกระทำของกกต.นั้น หรืองค์กรอิสสระใดๆก็ตาม ได้ทำไปถูกต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฏหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวหรือไม่

ความเห็นที่ผมกล่าวมานี้มิใช่ความเห็นลอยๆ คุณลองกลับไปดูการพิจารณาคดีของศาลรฐธรรมนูญสิครับ มีมารวมจะเกือบร้อยกว่าคดีแล้วกระมัง ในคดีที่เกี่ยวกับกกต.เช่นคดียุบพรรคทั้งหลาย ศาลรัฐธรรมนูญล้วนเป็นผู้มีอำนาจชี้ขาดว่าการกระทำใดๆของกกต.เข้ากับบทบัญญัติของกฏหมายหรือไม่ ผมได้ยกตัวอยางไว้แล้วข้างบน ในกคดีที่มีพรรคการเมืองฟ้องแย้งว่านายทะเบียนยื่นฟ้องยุบพรรคเลยกำหนดเวลา คือ คดีพรรคธัมมาธิปไตย พลังธรรม และพรรคธรรมชาติ ทั้ง 3 พรรคต่างฟ้องแย้งเรื่องอายุความ เรื่องเวลาที่นายทะเบียนพบเหตุตามาตรา 93 ซึ่งทั้ง 3 กรณี เป็นศาลรัฐธรรมนูญครับ ที่เป็นผู้ชี้ขาดว่า ตามพฤติการณ์ของกกต.และนายทะเบียนนั้น วันใดเวลาใด เป็นวันที่ตามกกหมายถือว่าเป็นวันที่นายทะเบียนได้รับทราบเหตุตามมาตรา 93 

ดังนั้น กิจการใดที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญหรือพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ล้วนอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะชี้ขาดว่า การกระทำนั้นๆ ต้องด้วยกฏหมายที่บัญญัติหรือไม่ เช่นเดียวกับที่ศาลแพ่งย่อมมีอำนาจพิจารณากกต.หากมีคดีฟ้องกกต.ในทางแพ่ง ศาลอาญาย่อมมีอำนาจพิจารากกต.หากมีคดีทางอาญาต่อกกต.หรือกกต.มีส่วนเกี่ยวข้อง

ก็ขอจบความเห็นแย้งไว้ตามนี้และครับ และยืนยันว่าการวินิจฉัยของศาลรธน.ในรายละเอียดขั้นตอนนั้น ถูกต้องแล้ว ชอบแล้ว และเป็นดังที่ศาลรธน.เคยชี้มาก่อนแล้วว่า ตามพฤติการณ์ของกกต.และนายทะเบียนนั้น วันใดเวลาใด เป็นวันที่ตามกกหมายถือว่าเป็นวันที่นายทะเบียนได้รับทราบเหตุตามมาตรา 93  ในคดีของ 3 พรรคข้างต้น

มิใช่นายทะเบียนนึกเอาเองหรือตัดสินเอาได้ด้วยตัวเองครับ

 

.        ขอตอบคำถามที่เห็น เท่าที่พอจะตอบได้นะครับ          . คุณ กันยายน ที่กระทู้ P9981729

ขอตอบคำถามคุณ กันยายน และเกี่ยวเนื่องไปถึงกระทู้คุณ Politics Mania  คำถามมาจากกระทู้ P9981729 และ ความในกระทู้ P9981320 ที่ว่า “ดังนั้นตุลาการเลยนำมติทั้งสองมารวมกันเป็น 3+1 =  4 เสียง ว่าเป็นมติเสียงส่วนใหญ่ที่ให้ยกคำร้องพรรค ปชป.”

 

ซึ่งอันที่จริงผมนึกในใจแต่แรกแล้วว่า คงจะต้องถกกันในประเด็นนี้แน่ ในส่วนตัวผมนั้น เคยอ่านคำวินิจฉัยของศาลต่างๆมาบ้าง ของศาลรัฐธรรมนูญก็เคยอ่านอยู่บางคดี จำได้ว่ากระบวนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนะเป็นแบบนี้มานานแล้ว คือเมือรับคดีมา จะมีการประชุมคู่คดีทั้งผู้ร้องและผู้ถูกร้อง และศาลจะกำหนดประเด็นของคดีที่จะวินิจฉัย  คู่คดีทั้งสองฝ่ายก็นำเสนอข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามที่ฝ่ายตนเห็น แต่ประเด็นทั้งหลายที่ศาลกำหนดในแต่ละคดีนั้น มีหลายครั้งที่ศาลจะวินิจฉัยเอง โดยเฉพาะประเด็นในข้อกฎหมาย  เช่นในคดีนี้ก็มีการตั้งประเด็นของคดีตั้งแต่ 7 กค.2553  www.thairath.co.th/content/pol/94420    ดังที่ทราบกันดีคือ

 

 1. กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

2.การกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ตามคำร้องอยู่ในบังคับพ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 หรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2550

3.พรรคประชาธิปัตย์ใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองในปี 2548 เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือไม่

4.พรรคประชาธิปัตย์จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองปี ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่

5.กรณีมีเหตุให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคจะต้องถูกตัดสิทธิ หรือถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 …..

 

โดยปกติการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะไล่ไปทีละประเด็น ที่สำคัญคือที่ผ่านๆมา ในการวินิจฉัยแต่ละประเด็น ตุลาการที่ลงความเห็นยกหรือไม่ยกในประเด็นนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลในการยกประเด็นนั้นๆ ด้วยเหตุผลเดียวกันหรือจะต้องเหมือนกัน
 
ทั้งนี้เพราะตามข้อกำหนดการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญนั้นกำหนดให้ตุลาการแต่ละคน ทำการวินิจฉัยคดีในทุกประเด็นให้เสร็จก่อนเข้ามาลงมติ ดังนั้นคนที่เห็นด้วยในประเด็นเดียงกัน จึงอาจเห็นด้วยด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน แต่มติออกมาเช่นไร ก็ใช้เสียงข้างมากยกหรือไม่ยกประเด็นนั้นๆ ไม่เกี่ยวกับว่าหตุผลในการยกหรือไม่ยกประเด็นนั้นๆของตุลการแต่ละคนจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
 
ที่สำคัญ อย่างกรณีคดีปชป.นี้ แม้คำวินิจฉัยกลางจะพูดถึงประเด็นที่ 1 และ 2 เท่านั้น แต่ข้อบังคับการพิจารณาคดีของศาลรธน.นั้นกำหนดให้ตุลาการทุกท่าน สรุปทุกประเด็นมาก่อนแล้ว และจะมีการลงในราชกิจจานุเบกษาทั้ง 5 ประเด็นต่อไป ก็ต้องคอยตามอ่านกันละครับ


 
สำหรับตัวอย่างวิธีการพิจารณาคดีและลงมติแบบนี้ ก็ลองดูในอดีตสิครับ ก็เช่น คดีที่ศาลรัฐธรรมนูญยกฟ้งคุณทักษิณ เมื่อปี 2544 ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 ปรากฏว่า เหตุที่ตุลการทั้ง 8 ให้ยกคดีให้คุณทักษิณพ้นข้อกล่าวหานั้น มีเหตุผลแตกต่างกันออกไปคือ


- พล.ท.จุล อดิเรก ให้ยกเพราะพยานหลักฐานของผู้ร้องเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน พยานหลักฐานไม่พอฟัง

- คุณปรีชา เฉลิมวณิชย์ ให้ยกเพราะถือไม่ได้ว่าผู้ถูกร้องจงใจปิดบังข้อเท็จจริง

- คุณผัน จันทรปาน และ ดร.กมล ทองธรรมชาติ ยกเพราะ รธน.2540 มาตรา 295 นำมาใช้บังคับกับผู้ถูกร้องไมได้

- คุณศักดิ์ เตชาชาญ และคุณจุมพล ณ สงขลา ให้ยกเพราะ ผู้ร้องไม่อาจให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตาม รธน.2540 มาตรา 295ได้

- คุณสุจินดา ยงสุนทร และ ศจ.อนันต์ เกตุวงศ์ให้ยกเพราะ ผู้ร้องไม่จงใจยื่นบัญชีเป็นเท็จ

 

จะเห็นว่าการเอามติของที่ประชุมศาลรัฐธรรมนูญนั้น แม้เหตุผลที่ยกคดีจะต่างกันออกไป แต่สุดท้ายก็เอาคะแนนรวมมานับ ไม่ได้เกี่ยวกับว่าเหตุผลจะต่างกันออกไปหรือไม่ ไม่ได้สนใจว่าตุลาการจะมีเหตุผลที่แตกต่างกันหรือไม่ แต่หากลงมติว่าให้ยกประเด็นนั้นๆ แม้เหตุผลจะไม่เหมือนกัน ประเด็นนั้นหรือข้อกล่าวหานั้นก็จะถูกยกไป ทั้งนี้เพราะตุลาการแต่ละท่าน ทำความเห้นกันมาก่อนเข้าประชุมแล้ว ไม่ได้มาถกกันในที่ประชุม ที่ถกกันจะเป็นการถกเพื่อทำคำวินิจฉัยกลางหลังจากดูผลมติรวมเท่านั้นดังเช่นกรณีคุณทักษิณนั้นเองครับ หรือกรณียกประเด็นที่ 1 "กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่" ในคดีปชป.ที่กำลังมีการถกนี้ ซึ่งการยกประเด็นนี้ออก มีผลทำให้ยกคดีออก

 

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00018370.PDF

 

 อนึ่ง ผมเป็นเพียงประชาชนคนธรรมดาคนหนึ่งครับ แต่ที่มีข้อมูลมาเสนอ เพราะปกติเป็นคนชอบนำเสนอด้วยข้อมูล และผมสนใจสะสมลิงค์ที่ให้ข้อมูลและความรู้ไว้มากหน่อย เลยไม่ลำบากเวลาจะค้น อีกประการ ผมคงไม่ได้เข้ามาห้องนี้ประจำหรือบ่อยนักหรอกครับ เข้ามาก็เฉพาะช่วงนี้ ในช่วงที่มีประเด็นที่ผมสนใจจะถกด้วยเท่านั้น

 


 

แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 53 16:27:38

แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 53 13:14:41

แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 53 12:36:04

แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 53 11:29:24

แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 53 10:19:09

แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 53 09:31:45

แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 53 09:30:52

จากคุณ : thyrocyte
เขียนเมื่อ : 2 ธ.ค. 53 08:44:20 A:58.136.4.222 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com