Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ตอบคุณmasatha และ คุณthyrocyte ติดต่อทีมงาน

ตอบคุณmasatha

กรุณากลับไปอ่านข้อเขียนของผมให้ละเอียดนะครับ  และทบทวนมาตรา93ด้วยครับ  ไม่มีตอนไหนเลยที่ผมบอกว่า จะต้องผ่านขั้น1ก่อน จึงมาถึงขั้น2  เพราะตามมาตรา93 ระบุว่า “เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง” นั่นแสดงว่าต้องครบทั้ง 2 ขั้นตอน ครับ  ไม่มีคำใดในตัวบทเลยที่จะให้เอาขั้นใดมาก่อนหรือหลัง  การที่ผมแบ่งขั้น  เป็นเพียงวิธีการอธิบายเพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจกฎหมายได้ง่ายขึ้นเท่านั้นครับ ( ความจริงขั้นที่1 และ2 นี้เป็นทั้งขั้นตอนและเป็นทั้งองค์ประกอบ แต่ผมเลือกที่จะใช้คำว่าขั้นตอน  เพราะต้องการกระชับประเด็นหลักให้เข้าใจได้ง่ายครับ  การที่คุณอ้างว่า เวลาทำอะไรตามกฎหมาย มันก็ต้องเป็นไปตามขั้นตอน 1-->2--> 3 นั้น  เพราะคุณไม่ได้พิจารณามาตรา93ครับ )

กฎหมายส่วนใหญ่ตอนร่างมีการมองด้านต่างๆไว้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และหาทางลดช่องว่างให้มากที่สุดอยู่แล้วครับ  หากแต่คนต่างหากที่พยายามตีความหรือหาช่องว่าง  เพื่อประโยชน์ของตนเอง  ดังนั้นผู้ใช้หรือตีความกฎหมายจึงต้องยึดคุณธรรมนำหน้า  ด้วยเหตุนี้ผู้พิพากษาในอดีตจึงได้รับการยกย่องและยอมรับ

พูดตามตรงผมว่ากรณีนี้กกต.ทำดีที่สุดแล้วครับ  และยึดหลักที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้  สามารถตรวจสอบได้จากหลักฐานรวมทั้งคำให้สัมภาษณ์ของคุณสดศรี  ซึ่งเพื่อนๆในนี้ได้นำมาลงแล้ว  จึงขอไม่ลงซ้ำ

เพื่อนๆในนี้ส่วนใหญ่ยึดหลักการมากกว่าตัวบุคคลครับ  แต่มีบางท่านยึดบุคคลมากกว่า  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะพูดอย่างไร  ก็ถือว่าถูกไปหมด  กกต.จึงต้องเสียสละกลายเป็นผู้ผิด  เพื่อให้บุคคลนั้นเป็นผู้ถูก  ไงครับ  แต่ครั้งนี้ดูเหมือนกกต.ท่านคงจะไม่ยอมครับ

 

ตอบคุณthyrocyte

ที่คุณว่า “ขอบอกว่าไม่มีบทกฎหมายใดห้ามศาลเข้าไปยุ่งหรือให้ข้อวินิจฉัยครับ  มีแต่กฎหมายที่ให้อำนาจศาลเข้าไปตรวจวินิจฉัยได้หากเกี่ยวพันกับคดีที่พิจารณาอยู่”

ขอเรียนว่า กรณีนี้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญครับ  ไม่มีกฎหมายใดอนุญาตให้เข้าไปตรวจวินิจฉัยได้ หากเกี่ยวพันกับคดีที่พิจารณาอยู่ ตามที่คุณอ้าง   เว้นแต่เป็นกรณีที่ข้อขัดแย้งกับองค์กรอิสระอื่น  หรือมีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยครับ  การใช้กฎหมายต้องใช้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ครับ  ไม่ใช่ไม่มีบทกฎหมายห้าม ก็จะมีอำนาจ  ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีสิทธิก้าวล่วงไปพิจารณาในเรื่องขั้นตอนการทำงานภายในขององค์กรอิสระอื่นโดยพลการครับ 

อย่าลืมว่าโดยฐานะศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรอิสระหนึ่งเหมือนองค์กรอิสระอื่นครับ  จึงมีฐานะเท่าเทียมกัน  เพียงแต่ทำหน้าที่ต่างกัน  กรณีก็เหมือน รัฐบาล  สภานิติบัญญัติ  และศาล  ถามว่า ศาลจะวินิจฉัยว่า มติของสภาข้อใดข้อหนึ่งไม่ถูกต้อง เช่น ประธานสภาทำผิดข้อบังคับการประชุมสภา ได้ไหม  คำตอบคือ ไม่ได้  เพราะเรื่องนี้เป็นดุลยพินิจของประธานสภา กรณีกกต.ก็เช่นกันครับ  นายทะเบียนเห็นว่า “ความยังไม่ปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง”  มันเป็นดุลยพินิจของนายทะเบียนครับ

ส่วนที่คุณว่า “การวินิจฉัยของศาลนั้นเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยการกระทำที่ได้ทำไปแล้วขององค์กรนั้น ไม่ได้เข้าก้าวก่ายสั่งการองค์กรนั้นๆให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้”  ทำไมจะไม่ก้าวก่ายครับ  ในเมื่อกฎหมายให้เป็นดุลยพินิจของเขา 

กรณีกกต. นายอภิชาติมีดุลยพินิจว่า“ความยังไม่ปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง”  เนื่องจากมติในที่ประชุมยังมีความเห็นไม่ตรงกัน  นายอภิชาติในฐานะนายทะเบียนจึงตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา  จากนั้นจึงให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งมีมติให้ฟ้อง นายอภิชาติในฐานะนายทะเบียนจึงฟ้อง  ศาลกลับให้ถือเอามติครั้งแรกเป็นจุดเริ่มนับระยะเวลา  ทั้งที่ขณะนั้นนายทะเบียนมีดุลยพินิจว่า“ความยังไม่ปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง”  ส่งผลให้นายทะเบียนและกกต.เป็นผู้ผิด  และอาจต้องรับโทษฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ 

ในกรณีที่ดุลยพินิจของนายทะเบียนกับศาลไม่ตรงกัน  เราต้องดูว่ากฎหมายให้ใครเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจครับ  มิฉะนั้นองค์กรอิสระอื่นๆจะทำงานใดๆไม่ได้เลย  เนื่องจากไม่รู้ว่าในภายหลังศาลจะมีดุลยพินิจอย่างไร  ตรงกับที่องค์กรอิสระนั้นๆได้ใช้ดุลยพินิจตัดสินใจไปแล้วหรือไม่

 

แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 53 10:49:45

จากคุณ : เติ้ง1234
เขียนเมื่อ : 2 ธ.ค. 53 10:13:28 A:124.120.207.185 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com