Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ความเห็นเรื่องมติ 3 เสียง ขอตอบความเห็นคุณ POE เพิ่มเติม ติดต่อทีมงาน

ที่จริงวันนี้กำลังคิดว่าจะงดไม่ตั้งกระทู้ หรือหากจะตั้งก็จะขออภิปรายเรื่องที่ว่า กกต.จะสามารถฟ้องซ้ำได้หรือไม่ แต่เผอิญเห็นมีสมาชิกพาดพิงมาอีก และมีประเด็นเรื่องคำวินิจฉัยของตุลาการ 3 ท่านที่ว่านายทะเบียนยังไม่ได้ให้ความเห็น(ซึ่งเป็นคำพูดที่ผมเองคิดส่วนตัวว่า สำนวนเขียนแบบนี้ เป็นการทำให้เกิดความเข้าใจผิด เพราะมาตรา 93 ไม่ได้อาศัยความเห็นนายทะเบียนดังจะอภิปรายต่อไป) แต่ขอไล่มาจากประเด็นที่สมาชิกท่านหนึ่งคือคุณ POEพาดพิงไว้ในกระทู้ P9985143 ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ผมเห็นว่าควรตอบเพื่อให้เกิดความกระจ่าง

เรื่องที่ 1 เรื่องที่คุณ POEพาดพิงไว้เล็กๆในกระทู้ P9985143 ว่า “  ปล.ตอบคุณthyrocyte ครับ คดีของทั้ง 3 พรรค ที่กรุณาให้ผมไปอ่านเพิ่มเติม เหมือนกันอยู่อย่างนึงครับเรื่องอายุความ ทุกเรื่องศาลให้โอกาสนายทะเบียนพรรคการเมืองชี้แจงเพิ่มเติมซึ่งกรณีนี้ ไม่ให้โอกาสชี้แจง”

ตอบ-ในคดีทั้ง3นั้น หากอ่านให้ดีๆและมาเทียบเคียงกรณีพรรคประชาธิปัตย์นั้น จะพบว่าต่างกัน ในกรณีของ 3 พรรคที่อ้างถึง ทั้ง 3 พยายามต่อสู้โต้แย้งในระหว่างที่การไต่สวน ในประเด็นอายุความโดยแย้งว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งนั้นทราบ เหตุความผิดปกติตามมาตรา 93 มาหลายเดือน เช่น 6 เดือนในบางคดี และร้องแย้งในระหว่างที่มีการไต่สวน ทำให้ศาลต้องส่งเรื่องกลับไปให้กกต.แก้ข้อกล่าวโต้แย้งนี้ แต่สุดท้ายเป็นศาลรัฐธรรมนูญเอง ที่พิจารณษความจากคู่คดีทั้งสองฝ่ายแล้วชี้ขาดตามอำนาจบัญญัติของกฎหมายว่า สรุปว่า ขั้นตอนใด เวลาใด ที่ศสลจะถือว่าเป็นวันที่นายทะเบียนได้ทราบเหตุแห่งมาตรา 93  ซึ่งในทั้ง 3 คดีนั้น ล้วนเป็นวันที่สำนักงานคณะกรรมการเรื่องตั้งส่งเรื่องมาที่ประชุมกกต.และกกต.ซึ่งมีนายทะเบียนร่วมประชุมด้วยมีมติเห็นว่ารายงานนั้นถูกต้องมีมูล และจึงให้ดำเนินการต่อตามมาตรา 93 โดยส่งฟ้องศาลรธน.ใน15วัน

กรณีคดีปชป. ในระหว่างการไต่สวน ปชป.ไม่ได้ร้องแย้ง จึงไม่มีเหตุให้ศาลต้องส่งเรื่องให้กกต.ชี้แจงกลับมาในประเด็นนี้ แต่เมื่อการไต่สวนสิ้นสุดลง ศาลมีอำนาจตามแนวการพิจารณาระบบไต่สวน ที่จะพิจารณาสำนวนทั้งหมดเมื่อจบการไต่สวนแล้ว และชี้ประเด็นว่า ขั้นตอนใดที่ถือว่าเป็นไปตามมาตรา 93 และขั้นตอนใดไม่ใช่

ซึ่งในกรณีคดีปชป.เทียบเคียงได้กับการประชุมครั้งที่ 144/2552 วันที่ 17 ธค. 2552 ที่ที่ประชุมกกต.ที่มีนายทะเบียนนั่งอยู่ด้วย ที่ประชุมได้รับทราบผลการพิจารณาข้อกล่าวหาการกระทำผิดของพรรค ปชป. จากอนุกรรมการที่ส่งเรื่องเข้ามา และที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการต่อ นั้นเท่ากับว่าข้อกล่าวหาว่าปชป.มีความผิดได้ปรากฏอย่างเป็นทางการแล้ว ทั้งต่อกกต.และต่อนายทะเบียน โดยพฤติการณ์แล้ว ก็เท่ากับนายทะเบียนได้รับทราบเหตุการกระทำผิดตามมาตรา 93 แล้วในวันนี้ เพียงแต่การดำเนินการของนายทะเบียนในคดีปชป.นี้สับสน โลเล และซ้ำซ้อน ไม่ทำต่อไปอย่างที่เคยปฏิบัติในคดีของ 3 พรรคที่กล่าว

 

 


เรื่องที่ 2 ก็เกี่ยวพันกับความเห็นคุณ POE และเกี่ยวกับมติเสียงข้างมาก 3 เสียงที่กำลังมีการถกกันอยู่ ผมขออนุญาตให้ความเห็นบาง แต่เป็นการอนุมานและตีความจากที่อ่านจากคำวินิจที่ตีพิมพ์ในสื่อ (ที่จริงกำลังรออ่านเอกสารสำคัญคือ ร 13 แต่ไม่รู้ว่าจะได้อ่านหรือจะได้เห็นไหม ขืนรอไปอาจไม่ได้อภิปราย)

ความเห็นคุณ POE คำถามก็คือ ที่วินิจฉัยออกมา 3 เสียง "ผิดกฎหมายข้อไหน?"


ตอบ- ความเห็น 3 เสียงนั้นวินิจฉัยว่า "นายทะเบียน ดำเนินการไม่ถูกตามมาตรา 93 วรรคสอง " ซึ่งกฏหมายมาตรานี้บัญญัติว่า เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน...."


ตามคำวินิจฉัยที่ออกมานั้น ผมอ่านแล้วจับใจความได้ว่าตุลาการ 3 ท่านเห็นว่านายทะเบียนยังไม่เคยมีความเห็นเกี่ยวกับความผิดของปชป.ในมาตรา 93 วรรคหนึ่ง และในการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนยื่นศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ เมื่อวันที่ 21เมษายน 2553 ก็เป็นการเสนอพิจารณาในเรื่องการกระทำผิดในมาตรา 94 ซึ่งไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 93 ดังปรากกในเอกสาร ร 13

ตามหลักฐานนั้นดูเหมือนตุลาการจะวินิจฉัยว่าในการประชุมวันที่ 21เมษายน 2553 ก็เป็นการเสนอพิจารณาในเรื่องการกระทำผิดในมาตรา 94 และมีการลงมติในเรื่องนี้คือความผิดในมาตรา 94  แต่ตอนยื่นฟ้องนั้น กลับยื่นฟ้องทั้งความผิดในมาตรา 94 และ 93 ซึ่งความผิดในมาตรา 93 นั้นตุลาการ 3 ท่านนี้เห็นว่ากกต.ยังไม่เคยมีมติที่สามารถถือได้อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับความผิดตามาตรา 93 ของพรรคประชาธิปัตย์  ดังความที่ปรากฏในคำวินิจฉัยที่ออกมาคือ....


“....การเกษียณสั่งของนายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองตามที่ปรากฎในบันทึกข้อความเอกสารหมาย ร 13 ก็ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดหรือเป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าผู้ถูกร้องได้กระทำการอันเป็นเหตุให้ถูกยุบพรรคหรือไม่ แต่เป็นเพียงการเสนอเรื่องให้กกต.พิจารณาว่าอาจมีการกระทำตามมาตรา94 หรือไม่ก็ได้ ทั้งการกระทำตามมาตรา 94 ก็มิได้เกี่ยวกับการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองผิดกฎหมายหรือการรายงานไม่ตรงตามความเป็นจริงอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 82 ที่เป็นเหตุให้ยุบพรรคตามมาตรา 93 แต่อย่างใด


เมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา93 การให้ความเห็นชอบของกกต.เมื่อวันที่ 21เมษายน 2553 จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญ จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะมีผลให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องได้”

นั้นคือตุลาการ 3 ท่านเห็นว่า กกต.ยังไม่ได้มีมติให้ความเห็นชอบอย่างถูกเกี่ยวกับความผิดตามมาตรา 93  นั้นคือ ไม่ได้ดำเนินการให้ถูกตามมาตรา 93 วรรคสองที่บัญญัติไว้ว่า "เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง....." ในที่นี้ตุลาการ 3 ท่านถือว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบตามมาตรานี้

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อนุมานเอาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา ความจริงทั้งหมดจะอยู่ที่เอกสารรายงานการประชุม  ร 13 ว่าจริงๆแล้วในวันนั้น กกต.ประชุมอะไรกัน มีมติอะไรกันแน่ ซึ่งหากคุณ POE หรือสมาชิกท่านใดมีเอกสารตัวจริง และมีสาระสำคัญแตกต่างไปจากนี้ ผมเองก็ขอสงวนสิทธิที่จะให้ความเห็นเพิ่มเติมแตกต่างไปจากที่ให้ไว้ ณ ที่นี้

แต่ในเวลานี้ ผมอ่านแล้วตีความคำวินิจฉัยไว้ดังนี้แหละครับ

 

         

--------------------------------------------------------------------      ------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่จริงไม่อยากจะเอาเรื่องอื่นเข้ามาปะปนในกระทู้นี้ เพราะเป็นกระทู้เกี่ยวกับมติ 3 เสียงซึ่งผมอยากให้สมาชิกได้อ่านกันสบายๆ แต่เผอิญเห็นกระทู้ข้างบนของคุณเติ้ง1234 พาดพิงผมไวมาก และผมเห็นว่าในนั้นมีความคิดความเข้าใจผิดๆอยู่มากเหลือเกิน จึงจำต้องขอใช้พื้อนที่นี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และได้หลังไมค์ไปแจ้งคุณเติ้ง 1234 ให้ทราบแล้ว

ความมีดังนี้....

1.1 ที่คุณว่า “ในเรื่องกำหนดเวลา 15 วัน ในที่สุดคุณเติ้งก็ยอมรับว่าเป็น เพียงกำหนดกรอบเวลาการทำงานขององค์กร”  คุณเติ้ง1234 ตอบว่า “ตอบ...ขอโทษนะครับกรุณาอย่าพูดเอาดีใส่ตัวแบบนั้น  คุณได้ให้ความเห็นปิดช่องทางกฎหมายไว้หมดตรงไหนครับ  ผมต่างหากที่วางเงื่อนไขให้เห็นว่า  ถ้าจะว่าเป็นอายุความ  ทางแพ่ง ก็ ติดขัดที่ศาลรับเรื่องไปแล้ว  แต่ถ้าเอาทางอาญา ก็ไม่ใช่เรื่องทาง อาญา  ผมเป็นคนกล่าวเรื่อง “กรอบเวลาการทำงานขององค์กร” ก่อนนะครับ  ไม่ใช่คุณ

ตอบ-ผมยืนยันครับว่าผมได้ปิดช่องทางกฎหมายไว้หมด สมาชิกที่อาจจะพยายามจะโต้แย้งด้วยความคิดเลื่อนลอยๆของตนเองว่าศาลรธน.ไม่สามารถหยิบหยกเรื่องระยะเวลา 15 วันตามมาตรา 93 ที่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “อายุความคดี” นั้น สมาชิกเหล่านั้นไม่สามารถจะยกมาอวดอ้างลอยๆและชักจูงให้สมาชิกผู้อื่นเข้าใจผิดๆอย่างตนได้อีกต่อไป เพราะในกระทู้ที่ผมได้ตั้งไว้นั้น ผมได้บรรยายเป็นขั้นตอนแล้วว่า ระยะเวลา 15 วันตามมาตรา 93 นั้น ไม่ได้หมายถึงอายุความแพ่ง ที่มีสมาชิกบางท่านพยายามยกปพ.193/29 มาอ้าง มาตรานี้จึงนำมาอ้างไม่ได้  ในกระทู้นั้นผมได้ยกข้อกฎหมายมากำกับเป็นรายหัวข้อ และได้สรุปให้ว่า ระยะเวลา 15 วันตามมาตรา 93 ตามแนวฏีกาที่ 5033/2549 นั้นคือ “กำหนดเวลาให้ฟ้องคดี  มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิ”  อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลพิจารณาคดีกฏหมายมหาชน ต่อให้เป็นเรื่องอายุความจริงๆ ศาลก็มีอำนาจหยิบมาพิจารณาเองได้อยู่ดี

ส่วนเรื่อง“กรอบเวลาการทำงานขององค์กร”นั้น  ผมไม่ได้ให้ความสนใจ และกรุณากลับไปอ่านให้ดีๆเสียก่อนครับ ในกระทู้นั้น มีแต่คำพูดของคุณเองที่ผมยกมาอธิบาย สำหรับผมแล้ว “กรอบเวลาการทำงานขององค์กร”เป็นคำของคนทั่วไป ไม่ใช่คำทางกฎหมาย ในทางกฎหมายผมไม่เคยเจอคำนี้ คุณอาจคิดขึ้นมาเอง และที่คุณเติ้งว่าคุณเป็นคนกล่าวเรื่อง “กรอบเวลาการทำงานขององค์กร” ก่อน ก็ใช่นะสิครับ ผมก็ไม่เคยคิดจะเอามาใช้สักครั้ง ในกฏหมายที่ผมยกมาเปรียบเทียบก็ไม่มีใครเขาใช้คำนี้


1.2 ส่วนที่ผมสรุปว่า “ดังนั้นคุณเติ้งยอมรับแล้วใช่ไหมครับว่าศาลรัฐธรรมนูญสามารถหยิบยกเรื่องกำหนดเวลาพิจารณาคดีหรืออายุความหรือกรอบเวลาการทำงานขององค์กรมาพิจารณาได้เอง โดยไม่ขัดต่อกฎหมายใดๆอีกแล้วนะครับ”  คุณเติ้งว่า “อย่าพูดเอง เออเองแบบนั้นซิครับ  คุณเอากฎหมายฉบับใดมารองรับครับ  และผมยอมรับตรงไหนว่า ศาลรัฐธรรมนูญสามารถหยิบยกเรื่องกำหนดเวลาพิจารณาคดีหรืออายุความหรือกรอบเวลาการทำงานขององค์กรมาพิจารณาได้เอง  ในกระทู้ P9972927 ตอนท้ายผมยังยืนยันว่าเป็นขั้นตอนการทำงานภายในขององค์กร  และศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีสิทธิก้าวล่วงไปพิจารณา”

ตอบ- ผมไม่ได้พูดเองเออเองครับ กรุณาอ่านกระทู้นั้นให้ละเอียด ในกระทู้จะบรรยายความทั้งหมด ทั้งนิยามความหมายของระยะเวลา 15 วันตามมาตรา 93 ตามแนวฏีกาที่ 5033/2549 นั้นคือ “กำหนดเวลาให้ฟ้องคดี” และในอำนาจของศาลในการพิจารณาประเด็นเรื่องคดีพ้นอายุความหรือไม่ ก็ปรากฏชัดอยู่ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐะรรมนูญที่มีในคดียุบพรรคธัมมาธิปไตย พรรคพลังธรรม และพรรคธรรมชาติไทย ซึ่งฟ้องแย้งเรื่องกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีตามาตรา 93 ตามที่ปรากฏศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่าพ้นหรือไม่พ้นระยะเวลาการฟ้องคดี เพราะมันเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

อนึ่ง กรุณาอย่าใช้คำที่คุณประดิษฐ์ขึ้นมาเองเลยครับ คำว่า “กรอบเวลาการทำงานขององค์กร” ของคุณนะ แสดงว่าคุณไม่มีความรู้ทางกฎหมายหรือไม่เคยอ่านกฎหมาย จึงไม่รู้จักเลือกคำที่เขาใช้กันจริงในทางกฏหมาย

2. ที่ผมว่า “แต่นายทะเบียน กลับไม่ทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง กลับไปตั้งคณะกรรมการขึ้นมาใหม่ อันเป็นความผิดพลาดของนายทะเบียนเอง จะเอามาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้”  คุณเติ้ง1234 ตอบ....คุณไปอ่านมาตรา93ใหม่นะครับ  ไม่มีคำใดบังคับให้นายทะเบียนต้องทำตามมติของที่ประชุมกกต.นะครับ  กฎหมายใช้คำว่า “เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่า....ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง”ครับ


ตอบ- ผมยืนยันความเห็นผมครับ ตามาตรา 93 บัญญัติว่า เมื่อเหตุปรากฏแก่นายทะเบียนแล้ว นายทะเบียนจะต้องขอความเห็นชอบจากกกต.เพื่อยื่นฟ้องต่อศาลรัฐะรรมนูญ แต่หลังการประชุมวันนั้น นายทะเบียน กลับไม่ทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง กลับไปตั้งคณะกรรมการขึ้นมาใหม่ อันเป็นความผิดพลาดของนายทะเบียนเอง จะเอามาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้

3 ผมว่า “การปฏิบัติงานของนายทะเบียนตรงนี้ ถือว่าทำไปเองตามอำเภอใจ ไม่มีกฎหมายรองรับขั้นตอนตรงนี้ เพราะกกต.เองเมื่อ 17 ธค.นั้น ได้มีมติให้นายทะเบียน ดำเนินคดีและยื่นเรื่องต่อศาล”   ๕ณเติ้ง1234 แย้งว่า “คุณผิดครับ....กฎหมายรองรับขั้นตอนตรงนี้ คือ ตอนแรกของมาตรา93 วรรค2 ที่ว่า “เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่า...”  ตรงนี้ชัดเจนครับว่าเป็นการที่กฎหมายให้เป็นดุลยพินิจของนายทะเบียนที่จะตัดสินว่าเมื่อไร ที่จะถือว่าความปรากฏแก่เขา  เพราะถ้าอ้างว่าให้ศาลใช้ดุลยพินิจตรงนี้   สมมติศาลรู้เรื่องจากการดูทีวีช่องหนึ่งในวันที่2  แต่นายทะเบียนไม่ได้ดูทีวีช่องนั้น  ก็จะให้ถือว่านายทะเบียนต้องรู้เรื่องด้วยหรือ?

ตอบ-คุณคิดแบบชาวบ้านครับเป็นสิทธิของคุณ แต่กรณีอำนาจทางศาลนั้นนายทะเบียนจะใช้ดุลยพินิจอย่างไรก็ได้ แต่ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดว่า การใช้ดุลยพินิจของนายทะเบียนนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ขอยกตัวอย่างเดิมที่ พรรคการเมืองทั้ง 3 ฟ้องแย้งว่านายทะเบียนฟ้องเลยเวลากำหนดตามาตรา 93 หากนายทะเบียนมีอำนายดุลยพินิจเป็นเด็ดขาดอย่างที่คุณเข้าผิดๆ ทำไมสุดท้ายเป็นศาลรัฐธรรมมนูญเป็นคนวินิจฉัยว่าการใช้ดุลยพินิจของนายทะเบียนในแต่ละกรณีนั้น ล่วงเลยเวลาตามาตรา 93 หรือไม่  จึงเป็นที่ชัดเจนครับอำนาจการวินิจฉัยการกระทำใดๆที่ผ่านไปแล้วว่าถูกกฎหมายหรือไม่ เป็นอำนาจทางศาลครับ ไม่ใช่นายทะเบียนวินิจฉัยได้เอง ครับ ศาลเป็นผู้วินิจฉัย กรุณาดูคำวินิจฉัยที่ผมใส่ไว้ให้ก่อนดีกว่า

4 ที่ผมว่า “มาตรา 93 ระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อนายทะเบียนพบมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ปรากฏขึ้น” คุณเติ้งแย้งว่า “.แสดงว่าคุณยอมรับแล้วใช่ไหมว่า  ตรงนี้กฎหมายให้เป็นดุลยพินิจของนายทะเบียน  กฎหมายใช้คำว่า”นายทะเบียน” นะครับ  ไม่ใช่ ใช้คำว่า “ศาล”

ตอบ-ในการปฏิบัติงานเป็นหน้าที่การทำงานของนายทะเบียนครับถูกต้อง เพราะศาลไม่ใช่ผู้ปฏิบัติงาน แต่เมื่อนายทะเบียนปฏิบัติไปแล้ว จะถูกต้องตามบัญญํติของมาตรา 93 หรือกฎหมายอื่นๆหรือไม่เป็นหน้าที่ของศาลจะวินิจฉัยครับ กรุณาอย่าสับสน

ผมบอกหลายครั้งแล้วว่า ศาลมีหน้าที่วินิจฉัยการกระทำที่ผ่านไปแล้วของทุกฝ่ายว่าต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองก็ไม่มีขื่อมีแปสิครับ ใครนึกจะทำอะไรก็ไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะมีการฟ้องร้องตรวจสอบว่าที่ตนทำไปนะต้องตามกฎหมายหรือไม่ เขามีศาลไว้เป็นอำนาจอธิปไตยที่สามนี้แลหะครับ เพื่อให้ทุกคนระวังทำอะไรก็พยายามทำให้ถูก หากทำไมถูกอาจโดนร้องโดนฟ้อง และศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยครับว่าต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติเองวินิจฉัยตนเองได้

 

5 ผมว่า “เป็นเรื่องความผิดพลาดภายในขององค์กรกกต.” คุณเติ้งว่า “.ผมว่าไม่ใช่ครับ  เพราะในเมื่อกฎหมายให้เป็นดุลยพินิจของนายทะเบียน  เรื่องนี้จึงไม่ใช่ความผิดพลาดภายในขององค์กรกกต. ครับ  คนที่ก้าวล่วงกฎหมายส่วนนี้ต่างหากที่ผิด”

ตอบ- เหมือนเดิมครับ กกต.จะทำอะไรก็ทำไป แต่เมื่อมีการตรวจสอบว่าการกระทำนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ศาลจะมีอำนาจตรงนี้ ไม่เช่นนั้นวันหน้า กกต.หรือหน่วยงานใดๆคอรัปชั่นกัน ก็อ้างเอาอย่างคุณเต้ง1234ว่า มันเป็นเรื่องภายใน ศาลเข้ามาตรวจไมได้ แบบนี้ไม่มีบนโลกใบนี้หรอกครับ มีแต่ว่า เมื่อคดีเข้าศาลแล้ว ต่อให้เป็นเรื่องภายในองค์กร หรือเป็นความลับชั้นสุดยอดของประเทืศอย่างไร หากศาลเรียกให้มาดูก็ต้องมาครับ เป็นหลักของความยุติธรรม

6 ผมว่า “ศาลทั้งหลายไม่ใช่เฉพาะแต่ศาลรธน.นะครับ ศาลอื่นๆสามารถจะวินิจฉัยการทำงานภายในของกกต.หรือองค์กรใดๆก็ตาม ในส่วนที่เกี่ยวกับคดีที่ตนมีอำนาจพิจารณาครับ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีครับ กรุณาเข้าใจให้ถูกต้องครับ”  คุณเติ้ง1234 ว่า “..ผมว่าคุณต่างหากที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกครับ ศาลสามารถจะวินิจฉัยการทำงานภายในของกกต.หรือองค์กรใดๆก็ตาม ในส่วนที่เกี่ยวกับคดีที่ตนมีอำนาจพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี...จริงครับ  แต่ก็อยู่ภายใต้เงือ่นไขว่า  เรื่องนั้นๆต้องอยู่ในอำนาจของศาล ตัวอย่างเช่น  ถ้าเป็นคดีลักทรัพย์  คุณไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา  มันไม่อยู่ในอำนาจของศาล เป็นต้น   และอำนาจของศาลก็ต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด  เช่น กรณีกฎหมายระบุโทษสำหรับความผิดไว้แค่ปรับ  ศาลจะลงโทษประหารชีวิตไม่ได้  หรือกรณีเรื่องดุลยพินิจที่ผมได้กล่าวไว้แล้ว”

ตอบ-แน่นอนครับคดีลักทรัพย์ไม่อยู่ในอำนาจศาลรัฐะรรมนูญ ผมยกตัวอย่างไว้ตั้งแต่ในกระทู้ก่อนแล้วกรุณากลับไปอ่านให้ดีๆเสียก่อน ผมแจ้งไว้แล้ว หากกกต.ทำผิดกฎหมายแพ่ง สาลแพ่งจะพิจารณา หากทำผิดกฎหมายอาญาศาลอาญาจะมีอำนาจ ในกรณีนี้เป็นกรณีพรบ.ประกอบรัฐะรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เป็นเขตอำนาจศาลรัฐะรรมนูญครับ เหตุแห่งคดีทั้งปวงที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ศาลล้วนมีอำนาจ

7 ที่ผมว่า “แต่ผมต้องการจี้ให้คุณเติ้งแสดงออกมาให้ชัดๆว่าคิดอย่างไรกันแน่ถึงไปโพสต์เรื่อง ตามมาตรา93 วรรค2 ตอนท้าย คุณเต้อง1234 ตอบว่า “...ผมต้องการสื่อว่า  เจตนาของมาตรา93 วรรค2 ตอนท้าย คือ “ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า  มีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียน หรือไม่”  เท่านั้น  ไม่มีอำนาจพิจารณาในเรื่องอื่นเช่น  นายทะเบียนยื่นคำร้องว่า  พรรคนั้น ใช้เงินผิดประเภท  ก็ต้องพิจารณาว่า ใช้เงินผิดประเภท จริงหรือไม่  ไม่ใช่จากการสืบพยานพบว่าซื้อเสียง  ก็จะมาตัดสินยุบเพราะซื้อเสียง  เป็นต้น “

ตอบ- ในคำวินิจฉัยเขาก็ได้ไปทำอย่างที่คุณเติ้งว่ามาแม้แต่สักนิด ศาลเขาพิจาณาในเขตอำนาจของเขาคือรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับมาตรา 93 ซึ่งอยู่ในพรบ.ประกอบรัฐะรรมนูญ

8 ที่ผมว่า “และขอย้ำอีกทีครับ อำนาจของศาลนะ สามารถใช้ตีความ ไต่สวน เรียกดูพยาน ฯลฯ ในขั้นตอนการทำงานต่างๆภายในขององค์กรอิสระอื่นได้ทั้งสิ้นว่าถูกต้องตามกฏหมายหรือขั้นตอนกฏหมายหรือไม่ การพิจารณาคดีนะไม่เป็นการก้าวก่ายครับ หากศาลไม่สามารถวินิจฉัยการทำงานที่ได้ทำไปแล้วขององค์การต่างๆว่าถูกต้องหรือไม่ องค์กรนั้นก็อยู่เหนือกฎหมายสิครับ” คุณเติ้ง1234 ว่า “...กลับไปศึกษากฎหมายให้ดีครับ  ศาลไม่ใช่ “ไม่สามารถวินิจฉัยการทำงานที่ได้ทำไปแล้วขององค์การต่างๆว่าถูกต้องหรือไม่” ครับ  แต่ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆครับว่า  เรื่องนั้นกฎหมายได้ให้อำนาจไว้หรือไม่  ศาลก็ต้องทำตามกฎหมายครับ  ถ้ากฎหมายไม่ได้ให้อำนาจในเรื่องนั้นๆไว้  ศาลก็ไม่มีอำนาจครับ และองค์กรนั้นๆก็ไม่ได้อยู่เหนือกฎหมาย  ศาลไม่ใช่กฎหมาย  และกฎหมายก็ไม่ใช่ศาลครับ  ศาลเป็นแค่คนที่ทำหน้าที่ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและตีความกฎหมายเท่านั้น”

ตอบ-คุณเติ้งเองละครับ กลับไปอ่านกฎหมายให้ดีและศึกษาให้ดีเสียก่อนที่จะมาโพสต์ผิดพลาดแบบนี้ ทำให้สมาชิกเกิดความสับสน ครับ  ศาลสามารถวินิจฉัยการทำงานที่ได้ทำไปแล้วขององค์การต่างๆว่าถูกต้องหรือไม่ ตามเขตอำนาจของศาลนั้นครับ

ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาเรื่องที่กกต.ทำไปแล้ว และมีผู้ร้องว่าไปละเมิดทางแพ่ง ศาลอาญามีอำนาจพิจารณาสิ่งที่กกต.ทำไปแล้ว และผิดกฎหมายอาญาเช่นคอรัปชั่น ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาสิ่งทีกกต.ทำไปแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือไม่ เรื่องของกกต.ในคดียุบพรรคปชป.นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญครับ


สำหรับกระทู้P9980943

1 ที่ผมว่า “อ้างแบบนั้นไม่ได้ครับ เพราะศาลไม่ได้เข้าไปก้าวก่ายสั่งการอะไร และถ้าอ้างแบบนั้นเพื่อให้องค์กรนั้นพ้นการพิจารณาของคดี ก็เท่ากับว่าองค์กรนั้นอยู่เหนือกฎหมาย อยู่เหนือการพิจารณาคดีสิครับ” คุณเติ้ง1234 ว่า “...คุณใช้วิธีพูดตีขลุมรวมๆกับกฎหมายไม่ได้หรอกครับ  ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆครับว่าเรื่องใดกฎหมายให้อำนาจไว้แก่ใคร  หรือไม่”

ตอบ- ผมบอกไว้หลายครั้งแล้ว บอกอีกทีตรงนี้ ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาเรื่องที่กกต.ทำไปแล้ว และมีผู้ร้องว่าไปละเมิดทางแพ่ง ศาลอาญามีอำนาจพิจารณาสิ่งที่กกต.ทำไปแล้ว และผิดกฎหมายอาญาเช่นคอรัปชั่น ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาสิ่งทีกกต.ทำไปแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือไม่ เรื่องของกกต.ในคดียุบพรรคปชป.นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญครับ

2 ที่ผมว่า “ ไม่มีกฏหมายใดรองรับความคิดแบบนี้ที่ว่าศาลเข้าไปก้าวก่าย นะครับ มีแต่กฏหมายเขาบัญญัติว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะพิจารณาเรื่องได้ทั้งปวงที่เกี่ยวกับทางคดีที่เกี่ยวข้องได้ครับ ลองอ่านดูข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ครับ ส่วนรายละเอียดอื่นๆที่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม ก็ได้ตอบไว้ในกระทู้เดิมแล้วครับตั้งแต่เมื่อวานเย็น หากต้องการคำตอบของผมก็อ่านได้ในกระทู้เดิมที่http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9976588/P9976588.html” คุณเติ้งว่า “....อ่านรัฐธรรมนูญ มาตรา213 และ214 ที่ยกมาข้างบนนะครับ  นั่นแหละครับกฎหมายที่รับรองความคิดผม  นี่คือ ข้อจำกัดของศาลรัฐธรรมนูญครับ  ไม่มีกฎหมายในประเทศประชาธิปไตยใด  จะให้อำนาจศาลโดยไม่จำกัดแบบคุณว่าครับ”

ตอบ-ที่ผมยกมาตลอด ผมไม่เคยบอกว่าอำนาจศาลแต่ศาลมีไม่จำกัด ผมย้ำเสมอมาว่าเรื่องใดอยู่ในอำนาจศาลใด หากเรื่องนั้นอยู่ในอำนาจศาลนั้นแล้ว ศาลจะมีอำนาจเต็มเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่คู่คดี แม้แต่สิ่งที่รัฐบาลเก็บเป็นความลับที่สุด หากจำเป็นแก่ทางคดีศาลนั้นๆ ไม่ว่าศาลแพ่ง ศาลอาญา หรือศษลรัฐธรรมนูญล้วนมีอำนาจเรียกมาดู วินิจฉัยได้

3 ที่ผมว่า “พอดีเห็นคุณเติ้งเข้ามาถกไว้ในกระทู้ข้างบนที่ P9981294 และมีข้อความโดยรวมแล้วสรุปในตอนท้ายว่า "ในกรณีที่ดุลยพินิจของนายทะเบียนกับศาลไม่ตรงกัน  เราต้องดูว่ากฎหมายให้ใครเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจครับ  มิฉะนั้นองค์กรอิสระอื่นๆจะทำงานใดๆไม่ได้เลย  เนื่องจากไม่รู้ว่าในภายหลังศาลจะมีดุลยพินิจอย่างไร  ตรงกับที่องค์กรอิสระนั้นๆได้ใช้ดุลยพินิจตัดสินใจไปแล้วหรือไม่" คุณเติ้งว่า “ผมตอบได้เลยครับว่า หากดุลยพินิจของนายทะเบียนนั้นเกี่ยวข้องกับกฏหมายรัฐธรรมนูญ หรือพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เช่น พรบ.พรรคการเมืองนี้เป็นต้น เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยครับ ไม่ใช่ตัวนายทะเบียน” ตอบ- อันนี้คุณเติ้งยอมรับแล้วนะครับ ซึ่งคนปกติเขาก็ยอมรับกันแบบนี้มานานแล้วครับ คุณเติ้งว่า “...คุณผิดครับ  คุณสับสน เพราะคุณแยกไม่ออกระหว่างดุลยพินิจตามที่กฎหมายมอบให้แต่ละองค์กรหรือแต่ละหน่วยงาน กับดุลยพินิจในการพิจารณาฟังพยานหลักฐานของศาล”

ตอบ-คุณเติ้ง1234 เองละครับที่สับสนระหว่างดุลยพินิจในขณะปฏิบัติงาน อันนั้นนะเป็นของนายทะเบียน แต่เมื่อทำไปแล้ว และเป็นคดีความ นายทะเบียนไม่สามารถใช้ดุลยพินิจของตนเองบอกผู้อื่นได้หรอกครับว่าตนทำถูก ต้องให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยครับ คุณกำลังสับสนอย่างแรงครับ ระหว่างดุลยพินิจระหว่างการทำงาน กับดุลยพินิจทางศาล

หากเจ้าพนักงานเช่นนายทะเบียนสามารถมีดุลยพินิจชี้ว่าสิ่งที่ตัวเองทำไปถูกหรือผิดได้ด้วยตัวเอง แบบนี้สังคมก็ปั่นป่วนสิครับ ไม่มีที่ใดในโลกเขาปล่อยให้คนทำเป็นคนชี้ผิดถูกด้วยตัวเอง เขาต้องให้คนกลางคือศาลเป็นผู้ชี้ครับ

อย่าสับสนระหว่างดุลยพินิจที่ใช้ในการปฏิบัติงานซึ่งเป็นของนายทะเบียน กับดุลยพินิจว่าการกระทำของนายทะเบียนถูกกฆมายหรือไม่ อันหลังนี้นายทะเบียนใช้เองไม่ได้ สังคมมันจะเสื่อมครับ และหากเป็นแบบันั้นทุกองค์กรทุกหน่วยงานก็อ้างแบบเดียวกัน ไม่ต้องมีศาล เวลาเกิดเรื่องก็ว่ากันเอง ฝ่ายผู้กระทำคือเจ้าหน้าก็บอกตัวเองถูกตลอด ไม่มีที่ใดในโลกใบนี้เขาปล่อยให้เป็นแบบนี้ครับ เขาถึงมีระบบศาลขึ้นมาเพื่อเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจครับผม

-คุณเติ้งว่า “ดังที่ผมเรียนแล้วว่า มาตรา 93 วรรค2 ระบุว่า “เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่า....”  ไม่ได้ระบุว่าว่า “เมื่อปรากฏต่อศาลว่า...” ดังนั้นดุลพินิจที่ว่า  “มีพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ปรากฏต่อนายทะเบียนเมื่อใด” จึงเป็นดุลยพินิจของนายทะเบียนครับ

ตอบ-ก็ใช่สิครับ ตอนปฏิบัติงานนะเป็นดุลยพินิจของนายทะเบียน แต่เมื่อเวลาล่วงไป เช่น 3 ปี 5 ปี มีคนมาทักท้วงว่าสิ่งที่นายทะเบียนทำไปนะไม่ถูก ตรงนี้ไม่ใช่อำนาจของนายทะเบียนอีกต่อไปแล้วที่จะมาชี้ว่าสิ่งที่ตนได้ทำไปเมื่อ 3ปี 5ปีก่อนนะถูก มันเป็นดุลยพินิจของศาลครับผม


4 ที่ผมว่า “ดังคดีอื่นๆที่ปรากฏในเรื่องนี้มาแล้ว ลองเข้าไปอ่านดูครับ คดีพรรคธัมมาธิปไตย พลังธรรม และพรรคธรรมชาติ ทั้ง 3 พรรคต่างฟ้องแย้งเรื่องอายุความ เรื่องเวลาที่นายทะเบียนพบเหตุตามาตรา 93 ซึ่งทั้ง 3 กรณี เป็นศาลรัฐธรรมนูญครับ ที่เป็นผู้ชี้ขาดว่า วันใดเวลาใด เป็นวันที่ตามกฎหมายถือว่าเป็นวันที่นายทะเบียนได้รับทราบเหตุตามมาตรา 93”  คุณเติ้งว่า “..คุณเองก็ระบุว่า 3 พรรคต่างฟ้องแย้งเรื่องอายุความ เรื่องเวลาที่นายทะเบียนพบเหตุตามมาตรา 93” นั่นแสดงชัดว่า  ศาลจะเข้าไปพิจารณาได้เมื่อมีการยกมาอ้างในคดี  โดยอ้างว่าเป็นเรื่องอายุความด้วย  แต่กรณีที่เราคุยกัน  ไม่มีใครยกเรื่องนี้เข้ามานี่ครับ  ทั้งคุณเองก็รับแล้วว่าไม่ใช่เรื่องอายุความ

ตอบ-ศาลรัฐะรรมนูญเป็นศาลระบบไต่สวนครับ ผมได้อธิบายโดยละเอียดไว้ในกระทู้ก่อนแล้ว ศาลในระบบนี้สามารถยกประเด็นอายุความขึ้นมาพิจารณาได้ด้วยตัวเอง คุณฟังอ.ปริญญา ก็ได้อจ.เขาพูดในรายการสรรยุทธืไว้3วันแล้วว่า ศาลพิจารณาคดีมหาชน(หวังว่าคุณคงเข้าใจนะว่าอะไรคือคดีมหาชน) ซึ่งก็คือศาลรัฐะรรมนูญเป็นต้น สามารถหยิบยกอายุความมาพิจารณษได้เอง ต่างไปจากศาลที่พิจารณาคดีเอกชน เช่น ศาลแพ่ง ศาลกรณีหลังจะไม่ยกอายุความขึ้นหากคู่ความไม่ยกขึ้น ผมอธิบายไว้โดยละเอียดแล้วกรุณาไปอ่านดู
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9976588/P9976588.html

5 ที่ผมว่า “เรื่องนี้ไม่มีกฏหมายใดรับรองให้ตัวนายทะเบียนเองใช้ดุลยพินิจตัดสินเรื่องนี้แทนศาลได้ครับ คุณเติ้ง1234 กลับไปอ่านกฏหมายรัฐธรรมนูญและคดีอื่นๆก่อนหน้านี้ให้ดีเสียก่อนเถอะครับ” คุณเติ้ง1234 ว่า .“เรื่องนี้” ที่คุณว่า คือ อะไรครับ?  ถ้าเป็นเรื่องที่ว่า  “มีพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ปรากฏต่อนายทะเบียนเมื่อใด” ผมยืนยันว่า เป็นดุลยพินิจของนายทะเบียนครับ  ตามที่กล่าวมาแล้ว  แต่เรื่องนับเวลา 15 วัน ศาลมีอำนาจพิจารณาครับ  ผมไม่เคยคัดค้านเรื่องนี้  คุณควรไปอ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญและคดีอื่นๆก่อนหน้านี้  รวมทั้งศึกษาวิธีการตีความกฎหมายให้ดีเสียก่อนเถอะครับ

ตอบ-วนมาเรื่องเดิมครับ นายทะเบียนมีดุลยพินิจเฉพาะแต่ในขณะปฏิบัตหน้าที่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป การกระทำนั้นถูกหรือผิดต่อกฎหมาย ผู้ที่จะใช้ดุลยพินิจพิพากษาก็คือศาลครับ ไมใช่ตัวนายทะเบียน

6 ที่ผมว่า “ไม่มีใครอยู่เหนือกฏหมายครับ องค์กรอิสระก็ไม่มีองค์กรใดอยู่หนือกฏหมาย กระบวนการทั้งหลายทั้งปวงต้องอยู่ภายใต้กฏหมาย หากกระทำการเกี่ยวกับกฏหมายแพ่งไม่ถูกต้อง เช่นไปละเมิดผู้ใด ศาลแพ่งมีอำนาจวินิจฉัย หรือหากกระทำพลาดไป ไปผิดกฏหมายอาญา เช่นประมาทเลินเล่อ กกต.ก็ต้องถูกศาลอาญาพิจารณาคดี ในกรณีนี้เป็นกรณีคดีตามพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเต็มที่จะวินิจฉัยเหตุแห่งคดีทั้งปวงที่เกี่ยวกับคดี ไม่มีองค์กรใดอยู่เหนือกฏหมาย พ้นอำนาจศาลไปได้ครับ” คุณเติ้ง 1234 ว่า “...ถูกต้องครับ  รวมทั้งศาลเองด้วยครับ  ถ้ากฎหมายไม่ให้อำนาจไว้  ศาลก็ไม่มีสิทธิครับ  ทั้งหมดที่เราคุยกันมา  คุณเอาศาลไปปนกับกฎหมาย  ทั้งที่เป็นคนละเรื่องกัน  ผมพยายามชี้ให้เห็นว่า  ศาลไม่ใช่กฎหมาย  บางเรื่องกฎหมายให้เป็นดุลยพินิจของหน่วยงานใด หรือ องค์กรใด  ศาลไม่มีสิทธิไปใช้ดุลยพินิจแทนครับ  บางเรื่องกฎหมายจำกัดขอบเขตอำนาจศาลไว้  เช่น บางเรื่องศาลยกอ้างเองไม่ได้  บางเรื่องห้ามพิพากษาเกินคำขอ หรืออย่างเรื่ององค์กรอิสระ ที่รัฐธรรมนูญมาตรา214 จำกัดอำนาจไว้ ฯลฯ”

ตอบ- ในเขตอำนาจศาลใด ศาลนั้นมีอำนาจครับ กรณีคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลรัฐะรรมนูญครับ

7 ที่ผมว่า “ ไม่เช่นนั้น บ้านเมืองก็ไม่มีขื่อไม่มีแปสิครับ ขืนให้องค์กรอิสสระอยู่เหนือกฏหมายอย่างคุณเติ้ง 1234 คิดเอาเองแบบนั้น” คุณเติ้ง1234 ว่า “....การที่องค์กรอิสระหรือหน่วยงานใด มีอำนาจหรือใช้ดุลยพินิจตามที่กฎหมายกำหนดให้  ไม่ได้ทำให้องค์กรอิสระหรือหน่วยงานนั้นกลายเป็นอยู่เหนือกฏหมายครับ  เพราะเป็นอำนาจที่ได้มาตามที่กฎหมายกำหนดให้  แต่การที่องค์กรอื่นก้าวล่วงไปใช้ดุลยพินิจแทนทั้งที่ไม่มีกฎหมายรองรับต่างหากครับ  ที่แสดงว่าองค์กรนั้นอยู่เหนือกฎหมาย  คุณคิดเอาเองโดยไม่เคยศึกษา  จึงเข้าใจว่า ศาล คือ กฎหมาย  คิดผิดนะครับ  ศาลก็อยู่ใต้กฎหมาย  ถ้ากฎหมายไม่ให้อำนาจไว้  ศาลก็ไม่มีสิทธิครับ”
ตอบ- คุณเติ้งสับสนอยู่ตลอดเวลาระหว่างดุลยพินิจขณะปฏิบัติงานที่กฎหมายมอบอำนาจให้ กับดุลยพินิจที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำที่ได้กระทำลงไปแล้วนั้นถูกหรือผิดต่อกฎหมาย

ตอบ-ขณะทำงานดุลยพินิจเป็นของเจ้าหน้าที่เช่นนายทะเบียนตามที่กฏฆมายกำหนด แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีคดีความเข้าศาล ไม่ใช่ตัวเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ที่จะบอกว่าตัวเองถูกหรือผิด แต่เป็นศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลแพ่ง ศาลอาญา หรือศาลรัฐธรรมนูญ ดุลยพินิจที่จะพิจารณาการกระทำทั้งปวงว่าถูกกฏหมายหรือไม่เป็นดุลยพินิจของศาลครับ ไม่ใช่ของเจ้าหน้าที่

แก้ไขเมื่อ 03 ธ.ค. 53 17:08:37

จากคุณ : thyrocyte
เขียนเมื่อ : 3 ธ.ค. 53 12:28:39 A:58.136.4.252 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com