วันนี้เป็นวันหยุดวันเสาร์และเป็นวันหยุดวันแรกของหยุดยาวสามวัน หวังว่าเพื่อนสมาชิกทุกท่านทุกสีคงมีความสุขกันดี วันนี้ขอใช้สิทธิตั้งกระทู้ควบสองเรื่อง และกระทู้ยาวอีกแล้ว
เรื่องแรกถือเป็นเรื่องแซวกันก็ได้ครับ คือคุณเติ้ง1234 กับผมมีความเห็นในเรื่องข้อกฏหมายไม่ตรงกันเกี่ยวกับดุลยพินิจของนายทะเบียนพรรคการเมืองตาม พรบ.พรรคการเมือง ในมาตรา 93 บัญญัติว่า"เมื่อปรากฎต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของกกต.ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ความปรากฎต่อนายทะเบียน"
ซึ่งตรงนี้คุณเติ้ง1234 ยืนยันว่าดุลยพินิจเรื่องนี้อยู่ที่นายทะเบียนพรรคการเมืองเท่านั้น ศาลเข้าไปยุ่งเกี่ยววินิจฉัยไม่ได้ ส่วนผมเองนั้นมีความเห็นว่า ในการปฏิบัติหน้าที่นั้นนายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจดำเนินการให้เป็นไปตามบัญญัติของมาตรา 93 วรคสอง แต่เมื่อดำเนินการไปแล้ว เมื่อมีปัญหามีคดีหรือมีการฟ้องร้อง ศาลจะเป็นผู้ที่ต้องเข้ามาวินิจฉัยว่านายทะเบียนได้กระทำการถูกต้องตามบัญญัติของมาตรา 93 วรรคสองหรือไม่ เช่นกรณีคดีพรรคประชาธิปัตย์นั้นเอง
รู้สึกว่าจะเห็นไม่ตรงกัน และผมคิดว่าป่วยการที่จะใช้เวลาเถียงเรื่องนี้มากไปกว่านี้ เอาเป็นว่าใครจะเห็นเช่นไรก็เห็นไปตามนั้น ตามเสรีภาพที่มีก็แล้วกันครับ เพียงแต่ผมนึกสงสัยว่าตรรกและหลักคิดของคุณเติ้ง1234 ที่ว่าดุลยพินิจเป็นของนายทะเบียนทั้งขณะที่กระทำการ และเมื่อกระทำการเสร็จไปแล้วโดยไม่ให้ศาลเข้ามาวินิจฉัยการกระทที่ทำไปแล้วได้นี้ คงก่อความวุ่นวายทีเดียว

นั้นคือในภายหลังสมมุติเช่น 2 ปีผ่านไปหากมีคนทักท้วง มีคดีความ มีการฟ้องร้อง ตามความเห็นคุณเติ้ง1234 นั้น คนอื่นหรือศาลไม่สามารถให้ดุลยพินิจวินิจฉัยการกระทำตรงนี้ว่าผิดหรือถูกต้องตามบัญญัติกฏหมายได้ นอกจากนายทะเบียนคนเดียว ตามหลักคิดของคุณเติ้ง1234 ที่มีหลักคิดว่า เจ้าหน้าที่ผู้กระทำการตามที่กฏหมายบัญญัติเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจตามกฏหมายและเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว ก็ยังเป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ท่านนี้ที่จะบอกผู้อื่นว่าสิ่งที่ตนทำถูกต้องตามบัญญัติกฏหมายหรือไม่ มันจะไม่แปลกไปหน่อยหรือครับ ที่ให้คนที่ปฏิบัติ เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจชี้ขาดว่าสิ่งที่ตนทำไปแล้วนั้นต้องตามบัญญัติของกฏหมายหรือไม่ หากเป็นเช่นนี้ แม้ตนเองปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบัญญัติกฏหมาย คงจะมีบ้างหรอกครับที่เขาจะใช้ดุลยพินิจของเขาแล้วบอกว่าเขาผิด แต่ไม่ทุกคนหรอก ผมว่าคนส่วนใหญ่นะจะใช้ดุลยพินิจแล้วบอกว่าตนไม่ผิดเสียเป็นส่วนใหญ่
และคำถามคือ หากหลักคิดนี้เป็นจริง ในขณะนี้มีการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และบางจังหวัดตามกฏหมายนี้มาตรา 17 นั้นระบุว่า พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิ บัติหน้าที่ ในการระงั บหรือป้องกันการกระทําผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทําที่สุจริต (การปฏิบัติหน้าที่ตามพรก.ฉุกเฉินไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองนะครับ แต่หากมีคดีจะอยู่เขตอำนาจศาลแพ่ง หรือศาลอาญาแล้วแต่กรณี)
เหตุมีอยู่ว่า นายพัน งง ขณะปฏิบัติหน้าที่ตามพรก.นี้ได้รับคำสั่งที่สั่งตามกฏหมายให้ดูแลและป้องกันภัยศาลากลางจังหวัดแห่งหนึ่ง นายพัน งง เห็นนส.ซเดินมา จึงใช้ดุลยพินิจของตนในขณะนั้นว่านส. ซ กำลังจะเข้ามาวางระเบิดที่อาจก่อความเสียหายแก่ชีวิตประชาชนได้ จึงยิงนส. ซ จนถึงแก่ชีวิต เช่นนี้ นายพัน งง ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายที่ได้มาเฉกเช่นเดียวกับนายทะเบียนพรรคการเมืองและได้ดุลยพินิจของตนยิงนส.ซ จนตาย ดังนี้คนที่สามารถวินิจฉัยว่า นายพัน งง กระทำการถูกต้องตามบัญญัติของกฏหมายหรือไม่ ก็คือนายพัน งง คนเดียวตามตรรกของคุณเติ้งซึ่งผมว่าตรรกนี้คงก่อความวุ่นวาย และไม่น่าจะมีอยู่จริงบนโลกใบนี้นะครับ
หรือเอาง่ายๆ นายตำรวจที่กำลังเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่ในโรงพัก ได้รับมอบหมายตามกฏหมายให้ดูแลรักษาความเรียบร้อบปลอดภัยบนโรงพัก นายตำรวจท่านนี้เห็นคนเมาเดินเข้ามา ใช้ดุลยพินิจแล้วเห็นว่าคนเมานี้จะมาเผาโรงพักจึงยิงให้ถึงแก่ความตาย ดังนั้นตามตรรกของคุณเติ้งไม่มีผู้ใดสามารถใช้ดุลยพินิจว่าสิ่งที่นายตำรวจท่านนี้ทำไปนั้นถูกต้องตามบทบัญญัติของกฏหมายได้ นอกจานายตำรวจท่านนั้นเอง เฉกเช่นเดียวกัยนายทะเบียนพรรคการเมืองที่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 93 วรรสองแล้ว ไม่มีใครสามารถจะวินิจฉัยได้ว่าเขาทำถูกหรือผิดเพราะคุณเต้ง1234 บอกว่านั้นเป็นดุลยพินิจของนายทะเบียนแต่เพียงผู้เดียว ศาลไม่สามารถเข้าใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยการกระทำของนายทะเบียนพรรคการเมืองนี้ได้
หรือคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเองได้ใช้ดุลยพินิจแล้วเห็นว่าคนเสื้อแดงทั้งหลายกำลังก่อความเป็นภัยแก่สังคมอย่างรุนแรง จึงออกคำสั่งตามพรก.ให้กวาดจับคนเสื้อแดงทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยของสังคม กรณีแบบนี้ คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินก็ได้ใช้ดุลยพินิจของตนสั่งการตามอำนาจกฏหมาย และในภายหลังก็จะไม่มีผู้ใดสามารถร้องต่อใครๆได้ว่าการสั่งการนั้นละเมิดหรือผิดกฏหมายอาญาหรือไม่ เพราะตามตรรกของคุณเติ้ง เฉพาะแต่คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้นที่สามารถมีดุลยพินิจชี้ขาดตัวเองได้ว่าที่สั่งการไปนั้นชอบด้วยบทบัญญัติของกฏหมายหรือไม่ ศาลแงหรือศาลอาญา หรือใครๆก็ไม่สามารถมาใช้ดุลยพินิจแทนคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามตรรกของคุณเติ้ง
ขอจบเรื่องเศร้าทั้งสามไว้ดีกว่า จึงขอความเห็นคุณเติ้ง และรอคุณเติ้ง1234 มาให้ดุลยพินิจในเรื่องน่าเศร้าทั้งสามเรื่องนี้ แต่เรื่องนี้ ถ้าเอาหลักคิดแบบผมซึ่งผมเชื่อว่าตนทั่วๆไปเขาก็คิดกันแบบนี้นะ หลักนั้นมีอยู่ว่า "ตอนกระทำการนะเป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นนายทะเบียน หรือนายพัน งง หรือนายตำรวจบนโรงพัก แต่ตอนเกิดเรื่องขึ้นมานี้นะ ไม่ใช่นายทะเบียน หรือนายพัน งง หรือนายตำรวจบนโรงพักที่จะเป็นคนใช้ดุลยพินิจสรุปว่าที่ตนได้ทำไปนั้นต้องตามบทบัญญัติของกฏหมาย แต่เป็นศาลที่จะต้องเข้ามาวินิจฉัยใช้ดุลยพินิจตัดสิน"

เอาเข้าเรื่องที่มีสาระและน่าจะสนุกดีกว่าครับ เรื่อง ย้อนเวลาหาอดีตเกี่ยวกับการนับเวลา 15 วันตามบัญญัติ เมื่อปรากฎต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของกกต.ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ความปรากฎต่อนายทะเบียน ตามาตรา 93 ของพรบ.พรรคการเมือง ซึ่งจะเทียบเคียงได้เท่ากับมาตรา ๖๕วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งเป็นกฏหมายเดิม
ในคำวินิจฉัยคดีพรรคประชาธิปัตย์ล่สุด มีบรรยายเกี่ยวกับการนับอายุความ 15 วันไว้ดังนี้
การยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมืองตามมาตรา 93 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในวรรคสองว่า "เมื่อปรากฎต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของกกต.ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ความปรากฎต่อนายทะเบียน"
จากบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเมื่อนายทะเบียนทราบว่ามีพรรคการเมืองใดกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 82 อันเป็นเหตุให้พรรคการเมืองนั้นจะต้องถูกยุบตามมาตรา93 วรรคหนึ่ง เมื่อความปรากฏต่อนายทะเบียนไม่ว่านายทะเบียนจะทราบเองหรือบุคคลใดแจ้งให้ทราบนายทะเบียนเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเบื้องต้นก่อนว่าการกระทำตามที่ทราบมานั้นเป็นเหตุให้พรรคการเมืองถูกยุบหรือไม่
อำนาจในการพิจารณาในเบื้องต้นว่าพรรคการเมืองใดกระทำการอันฝ่าฝืนมาตรา 82 หรือไม่นั้นเป็นอำนาจเฉพาะตัวของนายทะเบียน หากนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่าพรรคการเมืองใดกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 82 ย่อมเป็นกรณีที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของนายทะเบียนที่จะต้องขอความเห็นชอบที่จะขอความเห็นชอบจากกกต.เพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมืองนั้นต่อไป การที่กฎหมายบัญญัติให้ขอความเห็นชอบจาก กกต.ก่อนก็เพื่อดำเนินการสำคัญเช่นนี้เป็นไปโดยความรอบคอบ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20101201/365656/เปิดคำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องคดียุบปชป..html
ในอดีตนั้นเคยมีคดีพรรคการเมืองโต้แย้งการนับวัน โดยอ้างว่า นายทะเบียนล่วงรู้เหตุเกิน 15 วัน และมีคำวินิจฉัยกลางบรรยายว่า ให้เริ่มนับแต่วันที่มีการประชุมคณะกรรมการเลือกตั้งและมีมติให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้ง 3 คดีนั้น วันที่มีการประชุมคณะกรรมการเลือกตั้งและมีมติให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งทั้งสามคดีนั้น ล้วนแต่เป็นวันที่เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งส่งเรื่องให้ที่ประชุมกกต.ที่มีนายทะเบียนพรรคการเมืองนั่งอยู่ด้วย และมีมติเห็นชอบตามที่เจ้าหน้าที่สรุปสำนวนมาว่ามีความผิดจริงและให้ดำเนินการต่อ ซึ่งในความรู้สึกของคนทั่วไป คำว่า นับแต่วันที่ความปรากฎต่อนายทะเบียน ก็น่าจะหมายถึงวันที่มีการสรุปสำนวนในที่ประชุมกกต.ว่าพรรคนั้นผิดจริง ส่วนจะมีการดำเนินให้ร้องต่อไปยังศาลรัฐะรรมนูญนั้นเป็นเพียงข้อบังคับให้กระทำ แต่ไม่ใช่องค์ประกอบของกิริยา ความปรากฎต่อนายทะเบียน
จึงขอยกกรณีตัวอย่างจากคำวินิจฉัยของตุลาการาลรัฐะรรมนูญในอดีตไว้ดังเช่นต่อไปนี้
พรรคธัมมาธิปไตย
คำวินิจฉัยของ นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงยกข้อต่อสู้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๕ วรรคสอง ว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง เกินกำหนดสิบห้าวัน นับแต่ความปรากฏต่อนายทะเบียนนั้น ได้ความตามคำร้องและเอกสารประกอบหมายเลข ๔ ซึ่งเป็นมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๑๔/๒๕๔๙ ว่าประธานกรรมการการเลือกตั้งในฐานะนายทะเบียนได้รับทราบกรณีพรรคผู้ถูกร้องมิได้แจ้งรายงานการดำเนินกิจการของพรรคผู้ถูกร้องในรอบปีปฏิทิน ๒๕๔๘ ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ดังนั้นการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จึงเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลาสิบห้าวัน นับแต่ความปรากฏต่อนายทะเบียนถูกต้องตามนัยมาตรา ๖๕วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ แล้ว
หน้า ๕๘ เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑
*************
พรรคธรรมชาติ
คำวินิจฉัยของ ศาสตราจารย์ ดร. อักขราทร จุฬารัตน รองประธานศาลรัฐธรรมนูญ
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงได้สรุปข้อเท็จจริงเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ในคราวประชุม ครั้งที่ ๑๑๒/๒๕๔๙ (๒๖) เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ที่ประชุมเห็นว่า ผู้ถูกร้องไม่ได้ยื่นรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนฯ ในรอบปี ๒๕๔๘ ตามนัยมาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ จึงเป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมืองตามมาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง (๕) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑
ประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องเกินกว่าระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดนั้นพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคภายใน ๑๕ วันนับจากวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ จึงถือว่าเป็นวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง การที่ผู้ถูกร้องยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จึงเป็นยื่นคำร้องภายในระยะเวลาตามมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ แล้ว
หน้า ๑๖ และหน้า ๓๑เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๕๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ เมษายน ๒๕๕๑
*************
คำวินิจฉัยของนายธานิศ เกศวพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
คดีนี้ปรากฏหลักฐานว่า ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ ๑๑๒/๒๕๔๙ (๒๖) เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณากรณีของผู้ถูกร้องที่ไม่จัดส่งรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองในรอบปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ภายในเดือนมีนาคม๒๕๔๙ แล้ว มีมติเห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องในวันดังกล่าวจึงต้องถือว่าวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน คือ วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙
หน้า ๗๒ เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๕๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ เมษายน ๒๕๕๑
*************
คำวินิจฉัยของ นายวิชัย ชื่นชมพูนุท ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
แม้เหตุแห่งการยุบพรรคคดีนี้จะเกิดช่วงเดือนเมษายน ๒๕๔๙ แต่จากเอกสารหลักฐานความเพิ่งปรากฏต่อนายทะเบียนในวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ การยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามคำร้องลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จึงเป็นการยื่นคำร้องภายในระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่นายทะเบียนทราบถึงเหตุแห่งการยุบพรรคธรรมชาติไทย
หน้า ๘๘ เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๕๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ เมษายน ๒๕๕๑
*************
คำวินิจฉัยของ นายสมชาย พงษธา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานกกต-เป็นนายทะเบียนในขณะประชุมกต.คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงได้พิจารณากรณี ผู้ถูกร้องในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ ๑๑๒/๒๕๔๙ (๒๖) เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ แล้วเห็นว่าผู้ร้องควรยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง เนื่องจากผู้ถูกร้องไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองในรอบปี ๒๕๔๘ ตามมาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ อันถือได้ว่า
เป็นวันที่ความปรากฏต่อประธานกรรมการการเลือกตั้งและในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง
หน้า ๙๗ เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๕๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ เมษายน ๒๕๕๑
*************
พรรคพลังธรรม
ศาสตราจารย์ ดร.อักขราทร จุฬารัตน รองประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประเด็นที่ผู้ถูกร้องให้การต่อสู้ว่าคำร้องของผู้ร้องยื่นเกินกำหนดเวลาสิบห้าวันตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๕ วรรคสอง นั้น พิจารณาแล้วเห็นว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีการประชุมครั้งที่ ๑๑๖/๒๕๔๙ (๓๐) เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ เพื่อพิจารณาเรื่องที่พรรคผู้ถูกร้องไม่ได้จัดส่งเอกสารหลักฐานประกอบการใช้เงินสนับสนุนของพรรคการเมืองต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติให้นายทะเบียนพรรคการเมือง ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง และนายทะเบียน ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องลงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ วันที่ผู้ร้องทราบถึงเหตุแห่งการยุบพรรคผู้ถูกร้องจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ผู้ร้องทราบมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ กรณีจึงอยู่ภายในระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงเหตุแห่งการยุบพรรคผู้ถูกร้อง
หน้า ๔๔ เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๑
*************
คำวินิจฉัย นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงได้เสนอเรื่องที่ผู้ถูกร้องไม่จัดส่งเอกสารหลักฐานประกอบการใช้จ่ายเงินสนับสนุนเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ ๑๑๖/๒๕๔๙ (๓๐) เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ โดยที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติว่าเมื่อประธานกรรมการการเลือกตั้งในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองรับทราบกรณีที่ผู้ถูกร้องได้รายงานการใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยส่งเฉพาะแบบรายงานการใช้จ่ายเงิน แต่ไม่ส่งเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินมาด้วย จึงไม่สามารถ ตรวจสอบได้ว่าผู้ถูกร้องใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จำนวน ๖๖๔,๘๐๐ บาท ถูกต้องตามความเป็นจริง ตามนัยมาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ คณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ตามมาตรา ๖๕ (๕) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ประกอบมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ และประธานกรรมการ การเลือกตั้งในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ก็ได้ยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อให้มี คำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ซึ่งอยู่ภายในกำหนดระยะเวลา ๑๕ วันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อผู้ร้อง
หน้า ๑๐๐ เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๑
คงเท่านี้แหละครับ ยาวทุกที และอาจจะยาวอีกหากต้องตอบคำถามพาดพิง ชิวๆครับอย่าถือสากัน เพราะเราต่างก็เข้ามาใช้สิทธิแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ แม้แต่คุณเติ้ง1234 ที่อาจจะเห็นต่างไปจากผม ผมก็ขอให้ความเคารพความเห็นคุณเติ้งไว้ตรงนี้ แต่ผมก็ยังเห็นแบบของปมละครับว่า
"ตอนกระทำการนะเป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นนายทะเบียน หรือนายพัน งง หรือนายตำรวจบนโรงพัก แต่ตอนเกิดเรื่องขึ้นมานี้นะ ไม่ใช่นายทะเบียน หรือนายพัน งง หรือนายตำรวจบนโรงพักที่จะเป็นคนใช้ดุลยพินิจสรุปว่าที่ตนได้ทำไปนั้นต้องตามบทบัญญัติของกฏหมาย แต่เป็นศาลที่จะต้องเข้ามาวินิจฉัยใช้ดุลยพินิจตัดสิน"

ขออนุญาตเข้ามาแก้คำผิดบางคำ และแจ้งว่า การตอบความเห็นกันไปมานั้น จะอยู่ในกระทู้เดิม ซึ่งในความเห็นของผมนั้น มาต่อกันไปมาจนยาวยืดมาก น่าเวียนหัวแทนสมาชิกที่จะเข้าไปอ่าน แต่จำเป็นต้องแจ้งไว่ เพราะมีวันก่อนมีสมาชิกโพสต์ต่อว่าผมว่า ไม่ตอบความเห็นไม่ตอบกระทู้ ซึ่งผมได้แจ้งไปแล้วว่า WM ให้ตั้งวันละหนึ่งกระทู้ กระทู้ที่ตั้งขึ้นหลังจากผมตั้งกระทู้ไปแล้ว ผมย่อมไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ตอบได้ จึงได้ตอบไว้ในกระทู้เดิมทุกครั้งที่เห็น (ท่านนั้นถึงกับกล่าวหาว่าผมหนีกระทู้ เอาเข้าไปนั้นแนะ) จึงจำเป็นต้องโพสต์ตรงนี้ว่า ตอบความเห็นทุกความเห็นที่เห็นในกระทู้เดิมแล้วนะครับ แต่ระวังจะอ่านลำบาก มันยาวววว มากครับ
ขอเข้ามาเพิ่มเติมอีกครั้งเนื่องจากเห็นคุณ masatha กรุณาให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมไว้ในกระทู้ข้างบน แต่เฉพาะเกี่ยวกับจุดยืนความเห็นผมนั้น ผมขอสรุปสั้นๆว่า ในคดีปชป.นี้ ผมเห็นว่าศาลมีอำนาจเต็มในการที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทะเบียนนั้น ถูกต้องตามบัญญัติของมาตรา 93 วรรคสองหรือไม่ ทั้งตุลาการที่วินิจฉัย ว่าคดีตกไปเพราะเลยระยะเวลาการฟ้องคดีก็ดี และการที่การยื่นฟ้องของนายทะเบียน ไม่ครบองค์ประกอบของวรรคสอง ในมาตรา 93 ก็ดี อันนี้คือความเห็นผมครับ
รายะลเอียดตรงนี้ รวมทั้งที่ว่าศาล"รู้" ว่านายทะเบียนรู้เมื่อไร ผมได้ถกไว้กับท่านหนึ่งในอีกห้องคิดว่าน่าจะให้ความกระจ่างได้ดี ขอความกรุณาเข้าไปดู กระทู้นั้นกกระชับ อ่านง่าย และสท้อนความคิดของผมเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ ที่
http://www.pantip.com/cafe/social/topic/U9984550/U9984550.html
เข้ามาเพิ่มเติมอีกครั้งครับ โดยผมขอสรุปความคิดเห็นที่ผมมีต่อคดีนี้ ตามที่ได้โพสต์ไว้ทั้งหมด โดวสรุปเพื่อง่ายแก่การเข้าใจดังนี้
๑. ผมเห็นว่าศาลรธน.มีอำนาจพิจารณา ระยะเวลาในการฟ้องคดี ๑๕ วัน ตามมาตรา ๙๓ ได้เองโดยคู่คดีไม่จำเป็นต้องยกขึ้นมา เพราะคดีนี้เป็นคดีกฏหมายมหาชน ปกติระยะเวลาการฟ้องคดีตามกฏหมายมหาชน มีฏีกาวินิจฉัยว่า ไม่ใช่อายุความ หรือหากจะมีเรื่องเกี่ยวกับอายุความในคดีขึ้นมาก็ตาม ศาลที่พิจารณาคดีโดยระบบไต่สวนสามารถยกเรื่องอายุความขึ้นได้เองโดยไม่ต้องให้คู่กรณียกขึ้นก่อน ดูรายละเอียดในกระทู้http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9976588/P9976588.html
๒. ผมเห็นว่าศาลรธน.มีอำนาจในการชี้ขาดพฤติการณ์ของกกต.และนายทะเบียนว่า วันเมือใด ที่ตามพฤติการณ์ของกกต.และนายทะเบียนนั้น ต้องด้วยมาตรา ๙๓ วรรคสอง ที่ว่า"เหตุได้ปรากฏแก่นายทะเบียน" อำนาจชี้ขาดในพฤติการณ์นี้้เป็นอำนาจของศาล รายะละเอียดมีในแทบทุกกระทู้ที่ผมให้ความเห้นเรื่องนี้
๓. ในกรณีการเริ่มนับระยะเวลาในการฟ้องคดี ๑๕ วัน ตามมาตรา ๙๓ ผมเห็นสอดคล้องกับตุลาการท่านที่ ๑ ที่เห็นว่าควรเริ่มนับในวันที ๑๗ ธค. ที่ที่ประชุมกกต.และนายทะเบียนรับทราบรายงานอนุกรรมการพิจารณาคดีปชป ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการต่อตามาตรา ๙๕ แม้ว่าต่อมานายทะเบียนจะกลับไปทำเรื่องอื่นแทน แต่วันนั้นเป็นวันที่เหตุได้ปรากฏแก่นายทะเบียน กรณ๊คดีปชป.มีความซับซ้อนของพฤติการณ์คดี ต่างไปจากคดี 3 พรรคที่แย้งเรื่องระยะเวลการฟ้องคดี การวินิจฉัยจึงไม่สามารถจะเหมือนกันทีเดียว ต้องดูในข้อเท็จจริงซึ่งเป็นอำนาจศาล รายละเอียดตรงนี้ ดูในกระทู้
http://www.pantip.com/cafe/social/topic/U9984550/U9984550.html
๔. กรณีที่ตุลาการอีก ๓ ท่านเห็นว่านายทะเบียนยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบและมีผลให้มติกกกต. ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ไม่สมบูรณ์และการฟ้องเป็นโมฆะ ผมมีความเห็นตามกระทู้ที่ตั้งเมื่อวานว่าอาจเป็นไปได้ แต่ขอดูเอกสาร ร.๖ ที่เป็นเอกสารรายงานการประชุมวันนั้นว่า ตกลงที่ประชุมประชุมกันเรื่องอะไรและมีมติอะไรกันแน่ ดังในกระทู้http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9980943/P9980943.html
นี้แหละครับคือความเห็นของผม เข้ามาเพิ่มลิงค์ครับ

.
แก้ไขเมื่อ 04 ธ.ค. 53 17:00:46
แก้ไขเมื่อ 04 ธ.ค. 53 16:25:22
แก้ไขเมื่อ 04 ธ.ค. 53 15:20:52
แก้ไขเมื่อ 04 ธ.ค. 53 11:21:47
แก้ไขเมื่อ 04 ธ.ค. 53 02:01:09
แก้ไขเมื่อ 04 ธ.ค. 53 01:41:39
แก้ไขเมื่อ 04 ธ.ค. 53 01:37:58
แก้ไขเมื่อ 04 ธ.ค. 53 01:30:48