เรียนคุณ คุณfeathers_rose ได้อ่านกระทู้แล้วครับเช้านี้ และตามไปอ่านบทความแล้วก่อนจะเริ่มทำงานประจำ ตามที่อ่านดู แม้จะด้วยเวลาที่จำกัด ก็บอกได้เลยว่าเป็นบทความที่ดีมาก ผมคิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจที่อาจจะถกกันในห้องนี้ได้ด้วยซ้ำครับ แต่เนื่องจากต้องใช้เวลา การถกกันในเนื้อหาบทความบางประเด็นคงไม่ใช่วันนี้นะครับ
เรียนคุณเติ้ง1234 และคุณ POE ได้อ่านกระทู้ของทั้งสองท่านแล้วครับ ของคุณเติ้งเอาเป็นว่าผมเข้าใจมากขึ้นอีกนิดครับ เพราะเมื่อก่อนไม่ชัดเจนนักว่าสรุปแล้วคุณเติ้ง1234 คิดอย่างไรกันแน่ แต่เนื่องจากเราถกกันมายาวหลายกระทู้แล้ว ผมจึงขอตอบคุณ POE ก่อนเถอะครับ หากยังมีโอกาส จะตอบความเห็นของผมอีกนิดหน่อยต่อความเห็นคุณเติ้ง
คุณ POEครับ ผมคงใช้วิธีตอบไปที่ละส่วน และนำลงมาโพสต์ที่ละส่วนเป็นระยะๆ เพราะหากรอให้เสร็จทั้งหมด อาจจะถึงเย็นถึงค่ำ เพราะผมยังต้องทำงานประจำไปด้วย อ่านกระทู้ให้เข้าใจและทำความเห็นตอบไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมต้องใช้เฉพาะเวลาที่ผมปลีกมาได้จากงานประจำของผมเท่านั้น ผมจึงขอโพสต์ตอบเป็นท่อนๆเป็นช่วงๆดังต่อไปนี้
โพสต์ตอบครั้ง 1 เรื่องเรื่องอำนาจศาลเกิดขึ้นเมื่อใด
ของคุณ POE ผมได้มีเวลานั่งอ่านกระทู้แล้วเช้านี้ รู้สึกมีหลายประเด็นทีเดียว บางประเด็นผมยังไม่เข้าใจในความหมายที่ตั้งถามไว้ในกระทู้ที่คุณได้ให้ไว้นัก คงต้องขอเวลาอ่านทวนและตอบเพิ่มเติมอีกครั้ง แต่เฉพาะตอนนี้ประเด็นที่ผมอ่านแล้วเชื่อว่าเข้าใจความหมายที่ถามมีดังนี้
1. เรื่องอำนาจศาลเกิดขึ้นเมื่อใดต่างหาก ความคิดคุณPOE คือ อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นเมื่อมีการร้องขอและมีผู้ร้องขอเท่านั้น
ความเห็นผม อำนาจศาลเกิดเมื่อมีการขอฟ้องร้องจากคู่คดี ตามกฎมายที่อ้างถึง ในขอบเขตอำนาจศาลนั้นๆ เช่นกรณีฟ้องกันในคดีแพ่ง หรือคดีอาญา ฟ้องโดยอ้างกฏหมายมาตราหนึ่งๆ ศาลจะพิจารณาคดีตามมาตรานั้นก็จริง แต่ศาลสามารถวินิจฉัยพฤติการณ์ของคู่คดีในขอบเขตของอำนาจศาลนั้นๆ เช่นศาลแพ่ง ศาลอาญา สามารถอ้างอิงบทบัญญัติกกหมายอื่นๆ ที่ไม่ใช่บทกฎหมายที่คู่คดียื่นฟ้อง มาใช้ประกอบการตัดสินคดี ดังนั้นหากมีการร้องว่ามีการกระทำผิดกฏหมายมาตราใดมาตราเดียว ในคำพิพากษา ก็จะมีการยกมาตรากฎหมายอื่นๆที่คู่คดีไม่ได้ยก มาประกอบคำวินิจฉัยได้เสมอตามพฤติการณ์แห่งคดีนั้นๆ ลองไปอ่านคำพิพากษาของศาลดูครับ ตัวอยางที่หาอ่านได้ง่ายคือในฏีกา แทบทุกฏีกาจะเป็นแบบนี้ทั้งนั้น บางฏีกาฟ้องความผิดกันแค่ 1หรือ2 มาตรา แต่ในฏีกาอ้างประมวลกฎหมายไว้รวม 7-8 มาตรามาประกอบ เช่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2549 คดีมีการฟ้องร้องกันตามตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง, 37 วรรคหนึ่งรวมแล้วฟ้องกัน 2 มาตรา แต่ในฏีกาสุดท้าย เมื่อพิจารณาคดีเสร็จศาลจำต้องยกมาตรากฎหมายอื่นๆมาประกอบการตัดสิน คือ ป.วิ.พ. มาตรา 271, 272, 275 ป.วิ.อ. มาตรา 43, 44, 50 พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 รวมแล้ว 7 มาตรา เป็นต้น
ศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีอำนาจในการตีความรัฐะรรมนูญและกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ดังความที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ความว่า
มาตรา ๒๑๑ ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา ๖ และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย ในระหว่างนั้นให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้นันคือรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าผู้ที่จะตีความกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญได้นั้นคือ ศาลรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นจะเห็นว่าผู้ที่มีอำนาจในการตีความกฆมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐะรรมนูญมีแต่ศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น และนี้เป็นเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น ตามความเห็นของผม อำนาจศาลเกิดเมื่อมีการยื่นร้องฟ้องกันในเขตอำนาจศาลนั้น หากเป็นคดีแพ่ง คดีอาญาศาล ก็ใช้ประมวลกฎหมายทั้งปวงในเขตอำนาจศาลแห่งตน ได้หมดยกเว้นกฎหมายการปกครอง และกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากมีกรณีพาดพิงกฏหมายเกี่ยวกับพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญหรือรัฐธรรมนูญ ศาลแพ่ง ศาลอาญาก็ต้องส่งเรื่องมาให้ศาลรัฐธรรมนูญก่อน ในกรณีเดียวกันหากมีการฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาคดีได้โดยอาศัยกฎหมายทั้งหมดที่มีที่เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ และพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ สิ่งที่ศาลรน.ไม่มีอำนาจคือ การวินิจฉัยทางแพ่งในคดีนั้น การวินิจฉัยความผิดอาญาในคดีนั้น
ความผิดที่ร้องในคดีปชป.เป็นความผิดตามพรบ.พรรคการเมืองมาตรา 93 และ 94 อยุ่ในเขตอำนาจศาลรัฐธรามนูญ กฎหมายใดที่เกี่ยวกับพฤติกาณ์คดี หรือการตีความกฏหมายที่กี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือมาตราต่างๆ ใน พรบ.ประกกอบรัฐธรรมนูญทั้งหลายนั้น ล้วนเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญครับ คดีคุณสมัคร คดีบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา ฯลฯ ล้วนยืนยันว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีอำนาจในการตีความกฎหมายทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่มีศาลใดมีอำนาจนี้ ไม่ว่าจะเป็น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลปกครอง หรือศาลแรงงาน
ส่วนประเด็นที่อ้างว่าศาลไม่สามารถจะก้าวล่วงไปในเรื่องที่คู่ความไม่ยกขึ้นมานั้น ไม่เคยปรากฏมาก่อน ปกติแล้วเพื่อประดยชน์แห่งการวินิจฉัยคดี ศาลทุกศาลย่อมมีอำนาจที่จะก้าวล่วงเข้าไปจุดใดก็ได้ในเขตอำนาจศาบนั้น หากเลยเขตอำนาจศาลนั้น ก็จะหยุดคดีและส่งเรื่องต่อไปยังศาลที่ประเด็นนั้นอยู่ในเขตอำนาจศาลนั้น เมื่อศาลนั้นได้วินิจฉัยเสร็จ ก็ส่งคำวินิจฉัยคืนมายังศาลต้นเรื่อง และดำเนินการพิจารณาคดีต่อ
ดังนั้นประเพณีที่ว่าศาลไม่อาจก้าวล่วงไปในเรื่องที่คู่คดีไม่ยกขึ้นมานั้นไม่เป็นความจริง มีเฉพาะแต่ในบางเรื่องที่เป็นคดีเอกชน และระบบกล่าวหา ที่ศาลจะวางตัวเป็นกลางอย่างเต็มที่ ไม่ไต่สวนหาความจริงด้วยตัวเอง แต่ให้คู่คดีต่อสู้กันนำความจริงมาเสนอศาล เช่นศาลแพ่ง ศาลคดีอาญา ที่จะวางตัวอย่างเคร่งครัดไม่ยกบางเรื่องที่คู่ความไม่ยกขึ้นมาขึ้นมาเองเช่นอายุความ แต่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลพิจาณาคดีมหาชน ใช้ระบบการไต่สวน มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยประเด็นต่างๆได้ รวมทั้งกฏหมายต่างๆที่จำเป็นเพื่อให้ได้คำวินิจฉัยที่ถูกต้องสำหรับคดีที่ไต่สวนอยู่นั้น
อนึ่ง ในคดีนี้ ศาลเองได้แจงประเด็นที่จะวินิจฉัยให้คู่คดีทราบแต้งแต่แรกแล้วว่าในการพิจารณานั้นจะมีประเด็นพิจารณาต่อไปนี้ คือ
ประเด็นที่ 1.กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ประเด็นที่ 2.การกระทำของผู้ถูกร้องตามคำร้องอยู่ในบังคับพ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 หรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2550
ประเด็นที่ 3.ผู้ถูกร้องใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองในปี 2548 เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือไม่
ประเด็นที่ 4.พรรคผู้ถูกร้องจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองปี 2548 ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่
ประเด็นที่ 5.กรณีมีเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคจะต้องถูกตัดสิทธิ หรือถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ตามพ.ร.บ......
ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจทั้งปวงในเขตอำนาจศาล ที่จะยกข้อกฏหมายหรือตีความกฏหมายในเขตอำนาจศาล เพื่อให้ได้ข้อสรุปแก่ประเด็นทั้งหลาย ในกรณีนี้คือประเด็นที่ 1.กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลมีอำนาจจะตีความบทบญญัติในพรบ.พรรคการเมือง เหมือนดังที่เคยได้ใช้อำนาจแบบนี้ในการตีความกฏหมายอื่นๆ พรบ.อื่นๆ หรือรัฐธรรมนูญ มาแล้วในคดีต่างๆในอดีต
ดังนั้นในคดีนี้ที่คุณว่าศาลไม่มีอำนาจ ผมจึงไม่สามารถจะเห็นด้วยได้ครับ
จบการโพสต์ส่วนที่ 1 ครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * *
โพสต์ตอบครั้ง 2 เรื่องรายละเอียดการวินิจฉัยในคดีนี้
คดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 4 ต่อ 2ให้ยกคำร้อง มติ 1 เสียงให้ยกเพราะการฟ้องล่วงพ้นระยะเวลา กำหนดการฟ้องของคดีคือ 15 วัน อีก 3 เสียงให้ยกเพราะเห็นว่านายทะเบียนยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง
ความเห็นส่วนตัวของผมนั้น ผมได้ลงไว้ในหลายกระทู้แล้วในกระทู้แล้วว่า
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9988104/P9988104.html
๑. ผมเห็นว่าศาลรธน.มีอำนาจพิจารณา ระยะเวลาในการฟ้องคดี ๑๕ วัน ตามมาตรา ๙๓ ได้เองโดยคู่คดีไม่จำเป็นต้องยกขึ้นมา เพราะคดีนี้เป็นคดีกฏหมายมหาชน ปกติระยะเวลาการฟ้องคดีตามกฏหมายมหาชน มีฏีกาวินิจฉัยว่า ไม่ใช่อายุความ หรือหากจะมีเรื่องเกี่ยวกับอายุความในคดีขึ้นมาก็ตาม ศาลที่พิจารณาคดีโดยระบบไต่สวนสามารถยกเรื่องอายุความขึ้นได้เองโดยไม่ต้องให้คู่กรณียกขึ้นก่อน ดูรายละเอียดในกระทู้ ( http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9976588/P9976588.html )
๒. ผมเห็นว่าศาลรธน.มีอำนาจในการชี้ขาดพฤติการณ์ของกกต.และนายทะเบียนว่า วันเมือใด ที่ตามพฤติการณ์ของกกต.และนายทะเบียนนั้น ต้องด้วยมาตรา ๙๓ วรรคสอง ที่ว่า"เหตุได้ปรากฏแก่นายทะเบียน" อำนาจชี้ขาดในพฤติการณ์นี้้เป็นอำนาจของศาล รายะละเอียดมีในแทบทุกกระทู้ที่ผมให้ความเห้นเรื่องนี้
๓. ในกรณีการเริ่มนับระยะเวลาในการฟ้องคดี ๑๕ วัน ตามมาตรา ๙๓ ผมเห็นสอดคล้องกับตุลาการท่านที่ ๑ ที่เห็นว่าควรเริ่มนับในวันที ๑๗ ธค. ที่ที่ประชุมกกต.และนายทะเบียนรับทราบรายงานอนุกรรมการพิจารณาคดีปชป ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการต่อตามาตรา ๙๕ แม้ว่าต่อมานายทะเบียนจะกลับไปทำเรื่องอื่นแทน แต่วันนั้นเป็นวันที่เหตุได้ปรากฏแก่นายทะเบียน กรณ๊คดีปชป.มีความซับซ้อนของพฤติการณ์คดี ต่างไปจากคดี 3 พรรคที่แย้งเรื่องระยะเวลการฟ้องคดี การวินิจฉัยจึงไม่สามารถจะเหมือนกันทีเดียว ต้องดูในข้อเท็จจริงซึ่งเป็นอำนาจศาล รายละเอียดตรงนี้ ดูในกระทู้
http://www.pantip.com/cafe/social/topic/U9984550/U9984550.html
๔. กรณีที่ตุลาการอีก ๓ ท่านเห็นว่านายทะเบียนยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบและมีผลให้มติกกกต. ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ไม่สมบูรณ์และการฟ้องเป็นโมฆะ ผมมีความเห็นตามกระทู้ที่ตั้งเมื่อวานว่าอาจเป็นไปได้ แต่ขอดูเอกสาร ร.๑๓ และ ๑๔ (ในกระทู้เดิมผมลงเลขผิดเป็น ร ๖) ที่เป็นเอกสารรายงานการประชุมวันนั้นว่า ตกลงที่ประชุมประชุมกันเรื่องอะไรและมีมติอะไรกันแน่ ดังในกระทู้http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9980943/P9980943.html
โดยในกระทู้ล่างสุดที่อ้างถึงนั้นผมขอสงวนสิทธิไว้ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อนุมานเอาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา ความจริงทั้งหมดจะอยู่ที่เอกสารรายงานการประชุม ร 13 ว่าจริงๆแล้วในวันนั้น กกต.ประชุมอะไรกัน มีมติอะไรกันแน่ ซึ่งหากคุณ POE หรือสมาชิกท่านใดมีเอกสารตัวจริง และมีสาระสำคัญแตกต่างไปจากนี้ ผมเองก็ขอสงวนสิทธิที่จะให้ความเห็นเพิ่มเติมแตกต่างไปจากที่ให้ไว้ ณ ที่นี้.."
ที่คุณ POE สอบถามไว้ตอนล่างของกระทู้ของคุณ POE ว่า ส่วนนี้น่าจะอธิบายเรื่อง "เหตุปรากฏต่อนายทะเบียน"ได้ แต่ไม่เข้าใจครับว่า .... สอง ให้นายทะเบียนดำเนินการต่อตามาตรา 93 วรรคสอง ...ทำไมถึงสรุปว่า นายทะเบียนขอความเห็นชอบกกต.ส่งเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัยยุบพรรค มีขั้นตอนไหนที่นายทะเบียนขอความเห็นครับ มีแต่ที่ประชุมกกต.ให้ความเห็นชอบเท่านั้น ไม่มีขั้นตอนที่นายทะเบียนขอความเห็นชอบ
.
ถ้าดูตามบัญญัติของมาตรา 93 นั้น จะเขียนว่า ....เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน อย่างที่ผมให้ความเห็นส่วนตัวไว้ ผมไม่ทราบชัดว่าวันนั้นตกลงประชุมอะไรกัน มีการประชุม 2 วัน วันที่ 12 เมษายนที่คุณอภิชาตเข้า และ 20 เมษายนที่ที่กกต.มีมติ ซึ่งคุณอภิชาตไม่ได้เข้า หากดูตามตัวอักษรแล้ว ดูเหมือนนายทะเบียนจะไม่ต้องขอความเห็นชอบ
แต่ตรงนี้แต่คำวินิจฉัยจาก กกต.3 ท่านมีออกมาว่า อนึ่งการที่กฎหมายบัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมหมายความว่าประธานกกต.ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในคดีนี้ฉันใด การทำความเห็นส่วนตนของนายอภิชาตในการประชุมกกต.ในฐานะประธานกกต.เมื่อวันที่12 เมษายน 2553 จึงมิใช่การทำความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองฉันนั้น
นอกจากนี้การเกษียณสั่งของนายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองตามที่ปรากฎในบันทึกข้อความเอกสารหมาย ร 13 ก็ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดหรือเป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าผู้ถูกร้องได้กระทำการอันเป็นเหตุให้ถูกยุบพรรคหรือไม่ แต่เป็นเพียงการเสนอเรื่องให้กกต.พิจารณาว่าอาจมีการกระทำตามมาตรา94 หรือไม่ก็ได้ ทั้งการกระทำตามมาตรา 94 ก็มิได้เกี่ยวกับการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองผิดกฎหมายหรือการรายงานไม่ตรงตามความเป็นจริงอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 82 ที่เป็นเหตุให้ยุบพรรคตามมาตรา 93 แต่อย่างใด
เมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา93 การให้ความเห็นชอบของกกต.เมื่อวันที่ 21เมษายน 2553 จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญ จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะมีผลให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องได้
ผมให้ความเห็นไว้แต่เดิมแล้วว่าผมไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนนักในการประชุมวันที่ 12 และ 20 เมษายน แต่เอาเป็นว่าหากกรณีเป็นไปตามที่คุณว่า ก็เป็นการแสดงว่า ตุลาการใช้อำนาจวินิจฉัยตีความบทบัญญัติของมาตรา 93 วรรคสองไปตามอำนาจที่เขามี อาจจะเป็นการตีความจากพฤติการณ์ในอดีตในคดีอื่นๆที่มีการขอยุบพรรค ซึ่งที่ผ่านมามีมากมายเหลือเกิน ที่นายทะเบียนทำความเห็นยุบพรรคเสนอกกต.ก่อนเสมอ แต่การใช้คำวินิจฉัยนี้ในคดีนี้จะถูกต้องเหมาะสมหรือไม่อย่างไร สังคมย่อมเป็นผู้พิจารณาครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
โพสต์ตอบครั้ง 3
คุณPOE ถามไว้หัวกระทู้บนสุดว่า ตามที่คุณthyrocyte ยก 3 คดีขึ้นมาประกอบคำอภิปรายจะเห็นว่า
1. ทั้ง 3 คดีในประเด็นนี้ มีผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทั้ง 3 คดี
2. ศาลให้โอกาสนายทะเบียนชี้แจงทั้ง 3 คดี
3. ศาลรัฐธรรมนูญ "มีอำนาจ" ในการวินิจฉัยหลังจากมี "ผู้ร้องขอ" ทั้ง 3 คดี
4. คดียุบพรรคปชป. ศาลไม่ให้โอกาสนายทะเบียนชี้แจง และไม่มีผู้ร้องขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยในประเด็นนี้
5. อำนาจศาลเกิดขึ้นเมื่อใด?
ตอบ 1ถึง 4 ตามนี้ครับ- ผมเข้าใจว่าจะหมายถึงคดียุบพรรคพลังธรรม ธัมมาธิปไตย และพลังธรรมชาติไทย ในคดีทั้ง 3 นั้นในระหว่างการไต่สวน แต่ละพรรคพยายามแย้งนายทะเบียนว่ายื่นร้องเลย 15 วันไปแล้ว ทางศาลจึงส่งคำแย้งให้ผู้ร้องแก้ ในกรณีคดีพรรคประชาธิปัตย์ ปชป.เองไม่ได้แย้งเรื่องระยะเวลาการฟ้องล่วงเลย 15 วันในระหว่างที่มีการไต่สวนคดี ดังนั้นศาลไม่มีเหตุจะเรียกให้นายทะเบียนชี้แจงแก้เพิ่มเติมประเด็นนี้ในระหว่างที่มีการไต่สวนคดี
อย่างไรก็ดีเมื่อจบการไต่สวนแล้ว ศาลซึ่งพิจารณาในระบบไต่สวน มีอำนาจจะหยิบยกข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง ที่แม้คู่ความจะไม่ได้ยกขึ้นมา แต่เป็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฏหมายที่มีอยู่และมีผลต่อประเด็นการตัดสินคดี ซึ่งในกรณีนี้ศาลได้พิจารณาเรื่องระยะเวลาการฟ้องร้องเป็นต้นมาวินิจฉัย ซึ่งในกรณีนี้หยิบเรื่องระยะเวลาการฟ้องคดีมาพิจารณาเพราะศาลเห็นว่าได้เลยระยะเวลาการฟ้องคดีที่กฏหมายบังคับไปแล้ว
ตอบ 5 ดังที่อธิบายข้างบนครับ อำนาจศาลเกิดเมื่อศาลรับฟ้องในคดีนั้นๆ และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะมาตราที่ฟ้อง แต่จำกัดตามเขตอำนาจศาลนั้นๆซึ่งจะกว้างขวางครอบคลุมไปแต่ละศาล ในกรณีนี้คือเขตอำนาจของกฏกหมายรัฐธรรมนูญและพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการพิจารณาคดีและชี้ขาดเมื่อมีข้อสงสัย และดังกล่าวแล้ว ในเขตอำนาจศาลใดนั้น ศาลมีอำนาจหยิบหยกกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาประกอบตามพฤติการณ์ของแต่ละคดีได้ มิได้จำกัดอยู่พาะมาตราที่ฟ้องกัน กรุณาอ่านรายละเอียดข้างบนอีกครั้งนะครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
โพสต์ตอบครั้ง 4 ขอบคุณคุณเติ้ง1234
ผมเข้าใจว่าผมตอบคุณ POE หมดประเด็นไปพอสมควรแล้ว ขอใช้เวลาที่มีต่อความเห็นคุณเติ้งจากกระทู้ที่กรุณาให้เกียรติตอบผมโดยไม่ถือสาผมที่
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9992933/P9992933.html
ก่อนอื่นผมต้องขอบคุณมากครับที่ได้ให้ความห็นกลับมา ผมได้อ่านดดยละเอียดแล้ว และพยายามทำความเข้าใจคิดว่ากระจ่างไปเกือบหมดแล้ว อาจจะมีที่ยังไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือไม่ก็เพียงเล็กน้อย แต่ไม่เรียกร้องให้ตอบ หากคุณเติ้งอยากตอบก็ตอบ หากรำคาญไม่อยากตอบก็ข้ามไปเสียเลยครับ เพราะผมเองก็รบกวนถามคุณเติ้ง1234 นับว่ามากไปหน่อยแล้ว
แต่หากสนใจจะตอบหรือถก ก็มีเรื่องที่ไม่มั่นใจว่าเข้าใจถูกหรือไม่ตรงข้อ 6 และ 7 อกีนิดหน่อยว่า
ที่คุณเติ้ง1234 ว่า 6. กรณี นายพัน งง นายตำรวจประจำโรงพัก และคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่คุณยกมา เป็นดุลยพินิจที่เกี่ยวกับผู้อื่นทั้งสิ้น อำนาจในการพิจารณาคดีของศาลนั้น คือ การชั่งน้ำหนักพยานทั้ง 2 ฝ่าย แล้วตัดสินว่าควรเชื่อพยานของฝ่ายใด อันนี้กฎหมายให้เป็นดุลยพินิจของศาลครับ ผมไม่เคยคัดค้านเรื่องนี้เลย อย่าเอาไปปนกับมาตรา93ที่เราถกเถียงกัน เพราะตามมาตรานั้นเป็นดุลยพินิจที่เกี่ยวกับตนเองของนายทะเบียน
- ที่ว่าเป็นดุลยพินิจที่เกี่ยวกับผู้อื่นก็จริงอยู่ครับ แต่ก็เป็นดุลยพินิจที่กฎหมายให้เขามี เฉกเช่นเดียวกับที่กฎหมายให้นายทะเบียน จึงอยากทราบว่า ในเมื่อต่างก็เป็นดุลยพินิจที่กฏหมายให้มาเช่นเดียวกันทำไมจึงต่างกัน มีกฏหมายข้อใดแยกทั้งสองเรื่องนี้ไว้หรือไม่ครับ
ที่คุณเติ้ง1234 ว่า 7. ผมให้เกียรติตอบตามที่ต้องการแล้ว หวังว่าคงไม่กล่าวหาว่าผม มีหลักคิดว่า เจ้าหน้าที่ผู้กระทำการตามที่กฏหมายบัญญัติเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจตามกฏหมายและเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว ก็ยังเป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ท่านนี้ที่จะบอกผู้อื่นว่าสิ่งที่ตนทำถูกต้องตามบัญญัติกฏหมายหรือไม่ อีก นะครับ เพราะหลักการที่คุณว่าไม่มีในหลักกฎหมายครับ เวลาจะผ่านไปเท่าไรหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับดุลยพินิจครับ
- ครับขอบพระคุณมากที่ตอบ ผมบอกจากใจเช่นกันว่ายินดีที่คุณเติ้งเข้ามาตอบ และที่จริงแล้ว หากอ่านให้ดีๆ ในกระทู้ล่าสุดของผมนั้น จะเห็นชัดว่าผมไม่ได้กล่าวหาคุณเติ้งเลบ เพียงแต่ผมไม่เข้าใจหลักคิดคุณเติ้ง ว่าคิดยังไงกันแน่ ผมจึงจำเป็นต้องบอกกับคุณเติ้งในกระทู้นั้นว่า ผมอาจจะต้องเข้าใจไปเช่นนั้นหากคุณเติ้งไม่อิบายหลักคิดที่มีให้ชัดเจน
แต่จากนี้ไป จากข้อ 7 ที่คุณเติ้ง1234ลงไว้ให้นี้ ก็เท่ากับว่าคุณเติ้ง1234 ถือหลักเดียวกับผมและผมเชื่อว่าคนทั่วๆไปก็ยึดหลักนี้คือ คุณเติ้ง1234 ย้ำว่าไม่มีหลักคิดว่า เจ้าหน้าที่ผู้กระทำการตามที่กฏหมายบัญญัติเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจตามกฏหมายและเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว ก็ยังเป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ท่านนี้ที่จะบอกผู้อื่นว่าสิ่งที่ตนทำถูกต้องตามบัญญัติกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหากเทียบกรณีนายทะเบียนนั้นก็เท่ากับว่า คุณเติ้ง1234 ไม่มีหลักคิดว่า นายทะเบียนผู้กระทำการตามที่กฏหมายบัญญัติเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจตามกฏหมายและเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว ก็ยังเป็นดุลยพินิจของนายทะเบียนท่านนี้ที่จะบอกผู้อื่นว่าสิ่งที่ตนทำถูกต้องตามบัญญัติกฎหมายหรือไม่
หวังว่าผมคงสรุปได้ถูกนะครับเพราะคัดตัวอักษรมาเปะๆ ไม่ให้เคลื่อนจะได้ไม่เข้าใจกันผิดๆ ในที่สุดนี้ก็ขอขอบคุณคุณเติ้ง1234 ที่ร่วมถกประเด็นนี้มาอย่างยาวนานหลายวันครับ และหวังว่าคงจะได้ถกกันในประเด็นอื่นๆอีกต่อไป อย่างผู้เจริญแล้วอภิปรายถกเถียงกันครับ ขอขอบคุณ
10.45 แก้คำผิดและสาระสำคัญในการโพสต์ครั้งที่ 1
12.15 โพสต์ความเห็นส่วนที่ 2
14.24 โพสต์ความเห็นส่วนที่ 3
15.38 โพสต์ความเห็นส่วนที่ 4
18.05 ขอแก้คำผิดและปรับข้อความบางตอนในส่วนที่หนึ่งเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ
แก้ไขเมื่อ 06 ธ.ค. 53 18:03:59
แก้ไขเมื่อ 06 ธ.ค. 53 15:36:16
แก้ไขเมื่อ 06 ธ.ค. 53 14:19:59
แก้ไขเมื่อ 06 ธ.ค. 53 12:12:46
แก้ไขเมื่อ 06 ธ.ค. 53 10:43:00