 |
บทคัดย่อ จัดทำโดยสำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ
เป็นเวลากว่า 4 ปี ที่ประชาชนชาวไทยตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ สิทธิดังกล่าวคือสิทธิในการกำหนดทางเลือกของตนผ่านการเลือกตั้งอย่างแท้จริงที่ดำรงอยู่บนฐานของเจตจำนงของประชาชน การโจมตีระบอบประชาธิปไตยเริ่มขึ้นด้วยการวางแผนและการลงมือทำรัฐประหาร เมื่อปี 2549 ด้วยความร่วทมมือของสมาชิกในคณะองคมนตรี ผู้บัญชาการทหารของไทยทำการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งชนะการเลือกตั้งมาถึง 3 สมัยติดต่อกัน ทั้งในปี 2544, 2548 และ 2549 การรัฐประหารในปี 2549 ถือเป็นการเริ่มต้นในการพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจของชนชั้นสูงที่เป็นกลุ่มทุนเก่า นายทหารระดับสูง ข้าราชการระดับสูง และกลุ่มองคมนตรี (”กลุ่มอำนาจเก่า”) โดยทำลายล้างพลังจากการเลือกตั้งซึ่งได้กลายเป็นสิ่งท้าทายอำนาจของพวกเขาอย่างสำคัญและเป็นประวัติการณ์ ระบอบที่การรัฐประหารตั้งขึ้นได้เข้าควบคุมหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา 5 ปี
เมื่อพรรคที่สืบทอดจากพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ก็กลับถูกศาลเฉพาะกิจ (ad hoc court) อันประกอบไปด้วยผู้พิพากษาที่แต่งตั้งโดยผู้ทำการรัฐประหารตัดสินให้ยุบพรรคนั้นอีก และเปิดทางให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ถูกกดดันให้ต้องใช้มาตราการกดขี่ลิดรอนต่างๆ เพื่อรักษาอำนาจอันไม่ชอบธรรมและปราบปรามการเคชลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ก่อตัวขึ้นเพื่อตอบโต้การรัฐประหารเมื่อปี 2549 และการ “รัฐประหารโดยศาล (ตุลาการภิวัฒน์)” ในปี 2551 หนึ่งในวิธีการกดขี่ลิดรอนก็คือการที่รัฐบาลได้ปิดกั้นเว็บไซต์ประมาณ 50, 000 เว็บ ปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และจับกุมขังคนจำนวนมากภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ***********และภายใต้ พ.ร.บ. การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ที่โหดร้ายพอๆ กัน เมื่อเผชิญกับการชุมนุมประท้วงของมวลชนที่ท้าทายอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลก็ได้เชื้อเชิญให้กองทัพเข้ามาจัดการและได้ระงับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรนูญโดยการนำ พ.ร.บ. ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งหนักหน่วงยิ่งกว่ามาใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 เป็นต้นมารัฐบาลทหารชุดใหม่ของประเทศในนามของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เข้ามาปกครองประเทศโดยปราศจากการตรวจสอบความรับผิดใดๆ ภายใต้ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่ถูกประกาศอย่างไม่เหมาะสม ถูกนำมาบังคับใช้อย่างไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ และยืดเวลาต่อไปอย่างไม่มีกำหนด เพื่อปิดปากการคัดค้านใดๆ ที่มีต่อรัฐบาลที่ไทม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นี่เป็นอีกครั้งที่กลุ่มอำนาจเก่าไม่อาจปฏิเสธข้อเรียกร้องเพื่อการปกครองตนเองของประชาชนชาวไทมยได้โดยไม่ต้องหันไปหาระบอบเผด็จการทหาร
ในเดือนมีนาคม 2553 เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ โดยกลุ่มคนเสื้อแดง หรือที่เรียกว่า “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) การชุมนุมของคนเสื้อแดงดำเนินมาจนถึงวันที่ 66 ในวันที่ 19 พฤษภาคม เมื่อรถหุ้มเกราะบดขยี้แนวกั้นที่ทำขึ้นชั่วคราวรอบสี่แยกราชประสงค์ในกรุงเทพฯและทะลวงค่ายชุมนุมของคนเสื้อแดง หลายสับปดาห์ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน กองกำลังทหารพยายามสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าฯ แต่ล้มเหลว แลยังให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย และในการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย นับถึงเวลาที่บริเวณชุมนุมได้ถูกกวาดล้างเรียบร้อย อาคารพาณิชย์สำคัญๆ หลายแห่งถูกวางเพลิง มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 80 คน และผู้ที่ถูกกว่าหาว่าเป็นแกนนำการชุมนุมมากกว่า 50 คน เผชิญโทษที่อาจถึงขี้นประหารชีวิตจากข้อหา “ก่อการร้าย” ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนยังถูกควบคุมตัวข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและ พ.ร.ก. การบริหารราชการนสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐบาลไทยนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้การชุมนุมทางเมืองที่ชอบธรรมกลับกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
ประเทศไทยมีพันธกรณีตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ที่จะต้องสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการการชุมนุมของคนเสื้อแดง รวมถึงต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนสายบังคับบัญชาสำหรับอาชญากรรมอย่างการสังหารพลเรือนกว่า 80 รายโดยพลการและตามอำเภอใจในกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ด้วย
ข้อเท็จจริงต่างๆ ปรากฎอย่างชัดเจนว่ามีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้กองกำลังทหารอย่างเกินความจำเป็น มีการกักขังโดยพลการต่อเนื่องเป็นเวลานานละการทำให้หายสาปสูญ และยังมีระบบการไล่ล่าประหัตประหารทางการเมืองที่ปฏิเสธเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและในการแดวงออกของพลเมืองที่รวมถึงกลุ่มคนเสื้อแดง มีหลักฐานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง เพื่อที่ผู้กระทำความผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
นอกจากนี้ การใช้กองกำลังทหารในการปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ยังจัดเป็นการประทุษร้ายประชาชนพลเรือนอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศซึ่งกำหนดให้จัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮกอีกด้วย แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ให้สัตยาบรรณต่อธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่การโจมตีเช่นนี้ก็อาจจะเป็นเหตุเพียงพอให้ได้รับการพิจารณาให้เข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หากเป็นการดำเนินการโดยรู้ถึงการกระทำนั้นภายใต้นโยบายที่ยอมให้เกิดหรือสนับสนุนให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตโดยไม่จำเป็น หรือเป็นนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อโจตีกลุ่มทางการเมืองที่เฉพาะเจาะจงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่าแผนต่อต้านคนเสื้อแดงที่ดำเนินมาเป็นระบะเวลา 4 ปี นั้น กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันภายใต้นโยบายที่ได้รับความเห็นชอบจารัฐบาลอภิสิทธิ์ และการสังหารหมู่คนเสื้อแดงที่เพิ่งผ่านมาก็เป็นเพียงการยืนยันถึงนโยบายดังกล่าวครั้งล่าสุดเท่านั้น
ท้ายที่สุด การสืบสวนเหตุการณ์สังหารหมู่คนเสื้อแดงในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ที่รัฐบาลตั้งใจจะทำนั้นปรากฎแล้วว่าทั้งไม่เป็นอิสระและไม่เป็นกลางตามที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ ในขณะที่ประเทศไทยอาจมีความผิดเพิ่มเติมกรณีการละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง (ICCPR) และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ จากที่ไม่ดูแลให้มีการสืบสวนการสังหารหมู่อย่างเป็นธรรมและสมบูรณ์
การกดดันจากนานาชาติจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเพื่อป้องกันความพยายามที่กำลังดำเนินอยู่ของรัฐบาลในการฟอกตัวเองจากเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่มีใครโต้แย้งได้เลยว่าประเทศไทยควรจะก้าวให้พ้นความรุนแรง และจะต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความปรองดอง แต่ทวึ่วามปรองดองนั้นจำเป็นต้องเริ่มด้วยการคืนสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการปกครองตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นจะต้องมีการดำเนินการเอาผิดสำหรับการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง สำหรับการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงที่กระทำไปเพื่อยับยั้งสิทธิในการปกครองตนเองนั้น กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่าไม่อาจยอมรับสิ่งที่น้อยกว่านี้ได้เลย
===========================
ไม่รู้จะโพสต์ผ่านไหม แต่อ่านแ้ล้ว เห็นว่าเป็นอีกมุมหนึ่งที่น่าคิดเลยเอามาแชร์กัน หรือนี่คือส่วนหนึ่งของสำนวนฟ้อง??? หรือนี่คือหนึ่งในสาเหตุที่ต้องเดินทางไปอเมริกา????
บางท่านอาจได้อ่านแ้ล้ว น่าสนใจเหมือนกัน
===== เข้ามาเพิ่มเติม "หรือนี่คือ 1 ในสาเหตุที่ต้องยกเลิก พรก. ฉุกเฉิน??
แก้ไขเมื่อ 03 ม.ค. 54 09:58:07
จากคุณ |
:
SassyKate
|
เขียนเมื่อ |
:
3 ม.ค. 54 09:48:08
A:110.77.134.216 X:
|
|
|
|  |