 |
DSI ยอมรับต่อวุฒิสภา หลังปกป้องมานาน จนมุนต่อหลักฐาน ยอมรับ 13 ศพทหารยิง
|
 |
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?n...B4TkE9PQ== ดีเอสไอแจงวุฒิสภา-จนท.รัฐฆ่า13ศพ
สอบทหาร-รับ ยิงเข้าวัดปทุม
'ดีเอสไอ' ชี้แจงคณะกรรม การวุฒิสภา คดี 91 ศพ ยอม รับพบหลักฐาน 13 ศพ พอเชื่อได้ว่าเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งในวัดปทุมฯ ที่เขาดิน นักข่าวญี่ปุ่น เหตุการณ์ยิงทหารที่อนุสรณ์สถาน อ้างมีปัญหาข้อกฎหมาย ต้องส่งคดีให้ตำรวจชันสูตรพลิกศพ สอบหาหลักฐานเพิ่ม ก่อนส่งให้อัยการสั่งคดี เผยสอบทหาร 5 นาย รับยิงเข้าไปในวัดปทุมฯ จริง ด้าน 'บ.ก.ลายจุด-นที' วอนกลุ่มผู้ค้าราชประสงค์เห็นใจเสื้อแดง แนะเปิดใจกว้าง เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ทำไมร้านแมคโดนัลด์ จุดนัดพบเสื้อแดงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เวลาชุมนุมแต่ละครั้ง ควรช่วยกันกดดันให้ 'มาร์ค' ขอโทษจะดีกว่า
เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา โดยมีนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรี สะเกษ ในฐานะประธานคณะกรรมการ เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณารับฟังข้อเท็จจริง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการดำเนินคดีอาญา ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง ช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค.2553 ที่ประชุมเชิญนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กระทรวงยุติธรรม และ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. มาชี้แจง แต่ดีเอสไอให้ พ.ต.ท.พเยาว์ ทองเสน พนักงานสอบสวนดีเอสไอ มาชี้แจงแทน ส่วนผบ.ตร.ให้ พล.ต.ต.วิชัย รัตนยศ ผบก.กองคดีอาญา สำนักกฎหมาย มาชี้แจงแทน
พ.ต.ท.พเยาว์ชี้แจงว่า ดีเอสไอรับโอนคดีมาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 258 คดี และได้ทีมสอบสวนคดีพิเศษ 4 ชุด คือ 1.การก่อเหตุร้าย 147 คดี 2.การขู่บังคับให้รัฐบาลกระทำการใดๆ 22 คดี 3.การทำร้ายประชาชน และเจ้าหน้าที่รัฐ 69 คดี และ 4.การกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ 20 คดี ในจำนวนนี้เป็นคดีผู้เสียชีวิต 89 ศพ เสียชีวิตในกทม. และอีก 2 ศพ ที่ จ.อุดรธานี จึงไม่รวมเข้าเป็นคดีพิเศษ ในการชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต 89 ราย ทางพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบศพ คือสถานีตำรวจนครบาล เมื่อชันสูตรพลิกศพแล้วจะส่งข้อมูลให้ดีเอสไอ และรับรองเป็นคดีอาญาทั้งหมด 30 คดี ในสำนวนชันสูตร 89 ศพ แต่ละคดีจะแยกตามวันที่เกิดเหตุ เวลาที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ และสาเหตุที่เสียชีวิต เช่น ที่วัดปทุมวนาราม มีผู้เสียชีวิต 6 ศพ จะแยกเป็น 1 คดี
พนักงานสอบสวนดีเอสไอ กล่าวว่า การทำงานของทีมพนักงานสอบสวนมีทั้งหมด 70-80 คน ช่วยกันทำ 30 คดี ในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. รวม 2 เดือน พบหลักฐานการตายของ 13 ราย ที่พอเชื่อได้ว่าเป็นการทำโดยเจ้าพนักงานของรัฐ แต่ที่ผ่านมามีการชันสูตรเพียงพนักงานท้องที่เท่านั้น จึงถือเป็นการชันสูตรที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงต้องทำตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 150 วรรค 3 ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการ เข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนทำสำนวนชันสูตรพลิกศพให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้ามีความจำเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่ เกิน 30 วัน แต่ต้องบันทึกเหตุผล และความจำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้ง ไว้ในสำนวนชันสูตรพลิกศพ จึงเห็นพ้องว่าควรแยกสำนวนหลักฐานของ 13 รายออก ให้พนักงานสอบสวนที่ชันสูตรศพ ต้องทำให้ถูกต้อง
พ.ต.ท.พเยาว์กล่าวว่า ในจำนวนการตาย 13 ราย ที่พอเชื่อได้ว่าเป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐนั้น ที่พอจำได้มีดังนี้ คือ 3 ศพ ในวัดปทุมฯ คือ นายรพ สุขสถิต, นายมงคล เข็มทอง, และนายสุวัน ศรีรักษา มีหลักฐานว่า กระสุนเจาะเข้าร่างกาย, ผู้เสียชีวิตที่เขาดิน 1 ศพ, ร.ต.ณรงค์ฤทธิ์ สาละ และนักข่าวญี่ปุ่น นอกนั้นเสียชีวิตจากเหตุการณ์ปะทะกันวันที่ 14-19 พ.ค.2553
ด้าน พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี ส.ว.สรรหา ในฐานะคณะกรรมการ กล่าวว่า ในคดี 89 ศพ เมื่อให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่ทำโดยฝ่ายเดียว อาจจะทำให้คดีไม่ชอบ นอกจากนี้ ยังมีคดีที่ทำร้ายร่างกายเป็น 1,000 คดี ขอถามว่าในจำนวนนี้มีคดีพยายามฆ่า หรือทำร้ายร่างกายหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องมีมาตรการพิเศษในการทำคดีนี้ เพราะถ้าดีเอสไอตอบว่าไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำ และไม่รู้ว่าจะหาคำตอบได้เมื่อไหร่ สังคมจะประณามการทำงานของเจ้าหน้าที่ ตรงนี้เป็นห่วงว่าการสอบสวนโดยมิชอบ อาจทำให้ชอบได้ ตรงนี้ดีเอสไอจะรับผิดชอบ หรือแก้ไขอย่างไร
พ.ต.ท.พเยาว์ ชี้แจงว่า กรณี 13 ราย เมื่อรับสำนวนมา และระบุว่า เชื่อว่าเป็นการกระทำของเจ้าพนักงาน ต้องมาดูว่า พนักงานสอบสวนชันสูตรพลิกศพในท้องที่ทำงานชอบหรือไม่ และส่งสำนวนไปสู่อัยการ แม้จะพ้นวาระการทำงานในเวลาที่กำหนด 30 วันไปแล้ว ก็ควรคืนเรื่องนี้ให้ชันสูตรพลิกศพให้ชอบ แต่ก็มีความเห็นว่า เวลาที่จำกัดจะต้องเร่งรัดพนักงานสอบ สวนทำให้เร็ว ไม่ให้ช้า สิ่งสำคัญคือจะต้องส่งสำนวนไปสู่อัยการ เพื่อให้ศาลไต่สวนการตาย และนำคดีมารวมเป็นคดีอาญาจึงตัดสินใจส่งไป ถามว่าทำไมไม่เป็นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 150 วรรค 3 มาแต่ต้น เพราะมีปัญหาในข้อกฎหมาย ซึ่งตามกฎหมายไม่ให้อัยการสั่งฟ้องคดีอาญา หากการชันสูตรพลิกศพไม่เสร็จ ดังนั้น จึงต้องย้ายเรื่องส่งไปให้ตำรวจชันสูตรพลิกศพ หรือสอบสวนหาหลักฐานเพิ่ม เพื่อให้ส่งอัยการสามารถที่จะฟ้องได้
จากนั้นนายจิตติพจน์ ถามว่าในจำนวน 91 ศพ เสียชีวิตจากอาวุธชนิดใดบ้าง พ.ต.ท.พเยาว์ ชี้แจงว่า ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากอาวุธสงคาม โดยเอ็ม 79 และกระสุนความเร็วสูง นายจิตติพจน์ถามต่อว่า เป็นปลอกกระสุนปืนชนิดใด พ.ต.ท. พเยาว์ ตอบว่า พบว่ามีปลอกกระสุนเอ็ม 79 ตกในที่เกิดเหตุ เช่น ที่เขาดิน และวัดปทุมฯ โดยหลังเกิดเหตุผ่านมาหลายเดือน ได้ขึ้นไปตรวจสอบที่สกายวอล์ก ส่วนการเสียชีวิตนอก จาก 13 ราย ไม่พบปลอกกระสุนตกอยู่ จึงสรุปว่าเป็นการเสียชีวิด้วยถูกกระสุนความเร็วสูงเจาะเข้าที่ร่างกาย
"ส่วนการตายของชาวญี่ปุ่น แม้จะระบุว่า น่าเชื่อว่าเป็นการกระทำจากทหาร แต่ก็ยังไม่ทราบว่าใครเป็นคนยิง ส่วนที่พบปลอกกระสุนหัวเขียวตกอยู่ในวัดปทุมฯ จากการสอบสวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานบนสกายวอล์กมีทหาร 5 นาย ยอมรับว่ายิงเข้ามาในวัดปทุมฯ จริง แต่ยังหาไม่ได้ว่า 1 ใน 5 ใครเป็นคนยิง ขณะนี้อยู่ในขั้นการพิสูจน์และสอบสวนอยู่" พนักงานสอบสวนดีเอสไอ กล่าว
นายจิตติพจน์ถามต่อว่า เป็นห่วงว่ากระสุน และลำกล้องจะถูกเปลี่ยนหรือไม่ ตรงนี้จะป้อง กันอย่างไร พ.ต.ท.พเยาว์กล่าวตอบว่า คงยากที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะในการปฏิบัติงาน ต้องมีการระบุอยู่แล้วว่าหน่วยไหนใช้อาวุธแบบไหน ที่ผ่านมาได้ทำหนังสือตรวจสอบการทำงานไปที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แล้ว
ด้าน พล.ต.ต.วิชัย ตัวแทนผบ.ตร.ชี้แจงว่า หลังส่งสำนวนให้ดีเอสไอในเดือนพ.ย. ก็ส่งเรื่องให้ดำเนินการ 13 ศพ และตรวจปืนว่าเป็นของใคร แต่ขณะนี้ยังเปิดรายงานตรงนี้ไม่ได้ เพราะยังไม่มั่นใจว่าถูกต้องหรือยัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมมีคณะกรรมาการหลายคน รวมถึงประธานคณะกรรมการ ต่างเป็นห่วงคดีที่อาจล่าช้า พ.ต.ท.พเยาว์ชี้แจงว่า จะนำเรื่องไปเรียนต่ออธิบดีดีเอสไอ ให้เร่งรัดคดี เมื่อสามารถสรุปได้ว่า 13 ศพ เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ อาจจะเรียกเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน 5 นาย มาสอบสวนให้ละเอียด
ขณะที่ นางกีระณา สุมาวงศ์ หนึ่งในคณะกรรมการ กล่าวว่า ความล่าช้าอาจจะทำให้เกิดความไม่ยุติธรรม คดีนี้เป็นความสนใจของประ ชาชน ญาติผู้เสียหายจ้องมองอยู่ ใครที่มีสิทธิฟ้อง เขาจะฟ้อง จึงขอให้ทำทุกอย่างให้เรียบร้อย ก่อนที่นายจิตติพจน์กล่าวว่า การวินิจฉัยครั้งนี้จะอยู่ที่ศาลว่าใครผิด ใครถูก ขอให้การดำเนินคดีครั้งนี้ ทำความจริงให้ปรากฏ และอยู่บนความถูกต้องยุติธรรม
ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิฯ ในฐานะประธานคณะอนุ กรรมการเฉพาะกิจ เพื่อพิจารณาตรวจสอบกรณีเหตุความรุนแรงจากการขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 กล่าวถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า แบ่งเป็น 10 ประเด็น ในการพิจารณาตรวจสอบกรณีเหตุ การณ์การชุมนุมของกลุ่มนปช. ได้แก่ 1.การชุมนุมและเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม วันที่ 12 มี.ค. ถึงวันที่ 20 พ.ค.2553 ทั่วกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด รวมทั้งการปิดล้อมสถานที่ราชการต่างๆ 2.กรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความรุนแรง เมื่อวันที่ 7 เม.ย.2553 และการที่รัฐบาลสั่งตัดสัญญาณผ่านดาวเทียมสถานีพีเพิล ชาแนล และระงับการเผยแพร่ข่าวสารของสถานีวิทยุชุมนุม สื่อสิ่งพิมพ์ และอินเตอร์เน็ต
นางอมรากล่าวต่อว่า 3.การสั่งการของรัฐบาล รวมถึงการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมในวันที่ 10 เม.ย. 4.เหตุการณ์ยิงระเบิดบริเวณแยกศาลาแดงในวันที่ 22 เม.ย. และกรณีมีผู้ใช้อาวุธปืนยิงเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ศาลาแดง และถนนพระราม 4 ในวันที่ 7 พ.ค. 5.เหตุการณ์ปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ วันที่ 28 เม.ย. 6.การชุมนุมบริเวณร.พ.ตำรวจ รวมถึงการเข้าไปตรวจค้นภายในร.พ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ของผู้ชุมนุม 7.การสั่งการของรัฐบาล การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ และผู้ชุมนุมระหว่างวันที่ 13-19 พ.ค. รวมทั้งเหตุการณ์จลาจล วางเพลิง และทำลายทรัพย์สิน อาคาร สถานที่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 8.กรณีมีผู้เสียชีวิต 6 รายที่วัดปทุมวนาราม วันที่ 19-20 พ.ค. 9.กรณีการเสียชีวิตและบาดเจ็บ ตลอดจนความรุนแรงต่อสื่อมวลชนในรูปแบบต่างๆ และ 10.กรณีการเสียชีวิต บาดเจ็บ สูญหาย และถูกควบคุมตัว ระหว่างวันที่ 12 มี.ค. ถึงวันที่ 20 พ.ค.
นางอมรากล่าวอีกว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ได้ดำเนินการทั้ง 10 ประเด็นไปพร้อมกัน บางประเด็นดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างขั้นตอนการเขียนรายงานชี้แจงข้อเท็จจริง ส่วนประเด็นที่ยังตรวจสอบไม่เสร็จ ได้เร่งรัดไปแล้ว แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า เขียนรายงานยากมาก เนื่อง จากมีรายละเอียดจำนวนมาก ทำให้ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบ เพราะเกรงว่าจะเกิดความคลาดเคลื่อน หรือข้อผิดพลาดได้ ส่วนที่มีผู้ชุมุนุมเสื้อแดงถูกจับกุมและคุมขังอยู่นั้น ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และสภาทนายความ กำลังจัดหาทนายความ เพื่อขอประ กันตัวอยู่ ส่วนคณะกรรมการสิทธิฯ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนี้
ด้านนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวว่า จากกรณีที่กลุ่มผู้ประกอบการค้าราชประสงค์ ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ นายอภิสิทธิ์ เพื่อให้ดำเนินการกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ เพราะทำให้เดือดร้อนว่า ผู้ประกอบการมีสิทธิแสดงออก หากคิดว่าตัวเองได้รับความเดือนร้อนจากการชุมนุม แต่การห้ามคนเสื้อแดงชุมนุมกันที่ราชประสงค์คงยาก เนื่องจากบริเวณนี้ไม่ใช่เป็นพื้นที่การค้าอย่างเดียว แต่เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยไปแล้ว ผู้ประกอบการควรเปิดใจกว้าง และรอมชอม เนื่องจากการชุมนุมในแต่ละครั้ง ชุมนุมเพียงระยะเวลาสั้นๆ แล้วก็สลายตัวไป
แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวว่า ปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มผู้ประกอบการครั้งนี้ ขอรับไว้พิจารณา และจะพยายามหาทางพูดคุย เพื่อให้เข้าใจในการชุมนุมของคนเสื้อแดง และคนเสื้อแดงที่มาร่วมชุมนุมในแต่ละครั้งนั้น ก็เป็นคนฐานะระดับกลาง ทางกลุ่มผู้ประกอบการควรจะเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยนำสินค้าที่มีอยู่ออกมาวางจำหน่าย ไม่ใช่ปิดร้านหนี ยกตัวอย่างกรณีร้านแมคโดนัลด์ แยกราชประสงค์ ช่วงที่คนเสื้อแดงไปชุมนุมในแต่ละครั้ง ปรากฏว่าขายดีเป็นเทน้ำเทท่าไม่เห็นต้องกลัวอะไร เพราะคนเสื้อแดงเป็นมิตรกับประชาชนทุกคน ส่วนกิจกรรมทางการเมืองในวันเสาร์ที่ 15 ม.ค. นั้น ช่วงเช้าจะเดินทางไปร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มแดงปากช่อง จ.นครราชสีมา ร่วมปั่นรถจักรยานรอบตัวเมืองปากช่อง และปั่นขึ้นเขายายเที่ยงในช่วงบ่าย ขึ้นไปปลูกต้นไม้
ส่วนนายนที สรวารี นายกสมาคมสร้าง สรรค์อิสรชน กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่า ขอตั้งข้อสงสัยว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่ออกมาเคลื่อนไหว เป็นผู้ค้าตัวจริงหรือไม่ หรือเป็นตัวแทนของใคร อยากให้คนกลุ่มนี้ไปดูข้อเท็จจริงว่า ช่วงที่คนเสื้อแดงมาชุมนุมที่ราชประสงค์นั้น ได้ทำให้กลุ่มผู้ค้าในพื้นที่ราชประสงค์ทั่วไปมีรายได้เพิ่มหรือลด และที่รายได้ลดก็เนื่องจากร้านค้าบางรายปิดร้านหนีไปเอง อย่างร้านแมคโดนัลด์ ราชประสงค์ ก็ไม่เห็นเขาจะได้รับผลกระทบอะไร
"ขอถามว่าพวกคุณหลงประเด็นอะไรกันหรือเปล่า แทนที่จะออกมาเคลื่อนไหวกดดันให้นายอภิสิทธิ์ ยอมออกมาขอโทษประชาชนที่ใช้ความรุนแรงจนมีคนตาย 91 ศพ และบาดเจ็บกว่า 2,000 คน น่าจะดีกว่า เพราะผ่านมาเกือบปี ยังไม่เคยได้ยินคำขอโทษออกมาจากปากนายอภิสิทธิ์ ขอให้คนบางกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ราชประสงค์ สำนึกตัวเอง และอย่าเห็นแก่ตัวมากเกินไป อย่าเห็นแก่ปากท้องของตัวเองเพียงอย่างเดียว หากยังเป็นแบบนี้อยู่คิดว่าคงคุยกันยาก" นายนทีกล่าว
วันเดียวกัน เวลา 14.00 น. ที่หน้ามหาวิทยา ลัยราชภัฏรำไพพรรณี จ.จันทบุรี กลุ่มเสื้อแดง "ชุดแดงจันทบูร" จากพื้นที่ตลาดพลอย อ.เมืองจันทบุรี, อ.มะขาม, อ.โป่งน้ำร้อน, และ อ.สอย ดาว จ.จันทบุรี ประมาณ 200 คน ตั้งขบวนรรับคณะเสื้อแดงจักรยานออนทัวร์ ที่เดินทางมาจากเกาะเสม็ด อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีขบวนรถจักรยาน และรถยนต์กว่า 100 คัน มาถึงเมืองจันท์แล้ว และแห่ไปรอบเมือง ก่อนไปสิ้นสุดที่สนามสามเหลี่ยมทุ่งนาเชย และจัดงานเลี้ยงต้อนรับ
หน้า 1
--------------------------------------------------------------------------------
ถ้าเข้าไปดูในเวลานี้จะพบว่าเนื้อข่าวถูกลบออกไปแล้ว (มีคนอ่านไปแล้วแสนกว่าคน)
มีคำถามว่า "ใครอุ้มข่าวนี้ไป" ครับ?
อย่าบอกนะว่ารัฐบาลกลัวประชาชนรู้ความจริง เพราะมีนายกเลว ๆ คนหนึ่งเคยลั่นปากไว้ว่าจะลาออกทันที หากพิสูจน์ได้ว่ามีคนบริสุทธิ์แม้แต่เพียงคนเดียวที่เสียชีวิตเพราะฝีมือทหารหรือรัฐบาล
ผมรู้สึกว่าประเทศนี้มันวังเวงเกินไปแล้วครับ
จากคุณ |
:
macenjoy
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ม.ค. 54 14:13:03
A:203.146.150.36 X:
|
|
|
|  |