 |
การหลีกเลี่ยงความรับผิดของรัฐไทยไม่ใช่สิ่งที่น่ายินดี{แตกประเด็นจาก P10089567}
|
 |
Post from the "โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม"
ผมอยากจะหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจในบท ความล่าสุดของหนังสือพิมพ์ The Nation ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ทีมงานของเราที่เตรียมยื่นรายงานต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ในนามของคนเสื้อแดง และเหยื่อความรุนแรงทางการเมืองในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 ประเด็นแรกที่สังเกตเห็นได้ชัดคือผู้เขียนไม่ได้อ่านรายงานเบื้องต้นที่ ยื่นต่อศาลอาญาระหว่งประเทศของเรา ที่ตีพิมพ์ทั้งในภาษา อังกฤษและภาษา ไทยเลย เพราะคำถามที่ผู้เขียนหยิบยกขึ้นมานั้น ล้วนมีคำตอบอยู่ในรายงานดังกล่าว ประเด็นที่สองคือ
เป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง แต่ไม่น่าแปลกใจ คือ ผู้เขียนดูเหมือนจะ “ยินดี” กับรัฐไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำของตนของครั้งแล้วครั้งเล่าแทนที่จะประณาม
วิกฤตทางการเมืองของประเทศไทยถูกบิดเบือนอย่างมาก แม้แต่ผู้สังเกตการณ์ก็ต้องสูญเสียความเข้าใจอย่างง่ายๆว่าอะไรคืออาชญากรรม และที่แย่ที่สุดคือ คุณค่าของชีวิตมนุษย์
นอกจากบทความของ The Nation จะพยายามปฏิเสธความรับผิดของรัฐในการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ยังกล่าวอย่างเป็นนัยว่าการที่กองทัพไทยฆ่าพลเรือนโดยไม่ต้องรับผิดนั้นเป็น เรื่องที่ยอมรับได้เพราะเคยเกิดขึ้นมาแล้ว อาทิเช่น พฤติกรรมที่รัฐปฏิบัติต่อการเสียชีวิตของนักข่าวที่ไม่ฝักฝ่ายกับกลุ่มการ เมืองใด ภาพการเสียชีวิตของนายฮิโร มูรามูโต ซึ่งถูกถ่ายไว้โดยกล้องวงจรปิด แต่รัฐบาล กลับไม่ยอมนำ มาเปิดเผย หรือครอบครัวของนายฟาปิโอ โปเลงกีก็ยังถูกรัฐบาลหัวรั้นดูหมิ่นและถากถาง พร้อมทั้งยังไม่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายฟาปิโอ
เป็นเรื่องยากที่จะยกตัวอย่างของประเทศอื่นในโลกปัจจุบันที่ประชาชนราว 90 รายถูกสังหารอย่างเลือดเย็นใจกลางเมืองหลวง ในขณะที่รัฐบาลไม่กล่าวถึงหรือนำเสนอรายงานเพื่อหาคนรับผิดเลยแม้แต่คนเดียว ซ้ำสื่อมวลชนหัวอ่อนยังชื่นชมกับการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล เหตุการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกันที่สุดในตอนนี้คือเหตุการณ์ ล่าสุดในประเทศตูนีเซีย ซึ่งรัฐได้ใช้ทหารสังหารผู้ประท้วงราว 78 ราย ส่งผลทำให้ประธานาบดีเบน อาลีต้องลาออก และหนีออกนอกประเทศเพื่อไปลี้ภัยในประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นต่างกัน เพราะนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์กำลังเตรียมตัวที่จะขโมยการเลือกตั้ง ที่ไม่เป็นอิสระและไม่ยุติธรรมครั้งต่อไป
สิ่งที่แยกคำร้องของเราต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ และรายการตัวอย่างเหตุการณ์รุนแรงอย่างคร่าวๆ ของบทความ The Nation คือเราจัดหมวดหมู่และนำเสนอหลักฐานอย่างระมัดระวังซึ่งไม่เคยมีมาก่อนใน ประวัติศาสตร์
เหตุการณ์ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 นั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2514, 6 ตุลาคม 2519 และพฤษภาทมิฬ ปี 2535 ไม่มีบุคคลใดรับผิดในการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมหลายราย ไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการร์สังหารหมู่ในปี 2514 ถูกสอบสวนหรือดำเนินคดี ในขณะที่อาชญากรรมในเหตุการณ์ในปี 2519 และ 2535 ถูกเปลี่ยนจากดำให้เป็นขาว และมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์เหล่านี้ คงไม่มีผู้ที่สติดีคนใดจะคาดหวังการสอบสวนที่เป็นธรรมและสมบูรณ์จาก เหตุการณ์สังหารประชาชนครั้งล่าสุดในประเทศไทย เป็นเรื่องโชคร้ายที่มีบุคคลบางคนในประเทศไทยอยากให้ระบบการหลีกเลี่ยงความ รับผิดของรัฐคงอยู่ โดยที่พวกเขาไม่คิดว่าจะเป็นสิ่งที่ทำลายระบบกฎหมายและสังคมอย่างมาก เราไม่คาดหวังจะลบล้างระบบดังกล่าวและหาผู้รับผิดชอบเพียงชั่วคืนห แต่เราเลือกที่จะเริ่มกระบวนการที่ยาวนานนี้ขึ้น
บทความ The Nation ได้เปิดหัวข้ออภิปรายว่าคนเสื้อแดงจะได้รับ “ชัยชนะ” ในศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไม่ แต่สิ่งง่ายๆที่พวกเขาไม่นึกถึงคือ การยื่นฟ้องในครั้งนี้เป็นการแสดงข้อเท็จและหลักฐานการสังหารต่อประชาชนและ ต่อประชาคมโลกเป็นครั้งแรก และนั้นคือชัยชนะ การนำเสนอบทคัดย่อทางกฎหมายที่ครอบคลุม และการทำงานหลายพันชั่วโมงเพื่อร่างคำร้องนี้ คนเสื้อแดงได้แสดงความรับผิดชอบที่มีต่อคนไทยทั้งหมด มากกว่ารัฐบาลทหารที่พยายามปกปิดอาชญากรรม
ชอบย่อหน้าสุดท้ายมากค่ะ และหัวข้อบทความโดนใจมาก คนบางกลุ่มที่ยัง “ยินดี” หรือ “เข้าอกเข้าใจ” รัฐบาล ที่ต้องจำยอมปราบปรามประชาชน (คนเสื้อแดง) ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่พึงรู้ไว้ว่าในอีกมุมหนึ่งของทนายนักสู้เพื่อ "คุณค่าของชีวิตมนุษย์" อย่างนายโรเบิรต์ อัมสเตอร์ดัม กลับมองว่า ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีหรือเรื่องที่จะเข้าอกเข้าใจและยอมรับได้ นายโรเบิรต์ไม่ได้มาเพื่อเป็นทนายความของทักษิณแต่ทักษิณจ้างมาเพื่อเป็นทนายความของคนเสื้อแดงและผู้บริสุทธิ์อื่นๆ ที่ถูกฆ่าตายไปอย่างไร้มนุษยธรรมในเหตุการณ์ “การกระชับพื้นที่ ปี 2553”
“ในเมื่อประเทศไทยหาความยุติธรรมไม่ได้ ก็ต้องพึ่งศาลระหว่างประเทศ”
นั่นคือคำพูดสั้นๆ ที่ท่านบอกกับพวกเรา
อ่านกระทู้นี้ประกอบนะคะ http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P10089567/P10089567.html
แล้วจะรู้ว่า ในอีกภาคส่วนหนึ่งของการเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่คนเสื้อแดงที่ตายไป พวกเรามีความคืบหน้าแน่นอนค่ะ สังเกตได้จากหลายๆ อย่าง ที่รัฐบาลเริ่มเปลี่ยนแปลง ท่าทีที่อ่อนลง เจ้าหน้าที่หรือสถาบันทีไม่มีจุดยืน เริ่มอยากจะกลับลำบ้างแล้วก็มี
คนเสื้อแดงไม่ทิ้งกันค่ะ
   
ลิงค์ข่าวของ The Nation ที่ นายโรเบิร์ต โต้กลับ คลิกที่นี่
จากคุณ |
:
SassyKate
|
เขียนเมื่อ |
:
22 ม.ค. 54 08:09:22
A:115.87.36.173 X:
|
|
|
|  |