อยากให้มีการจัดเก็บ ภาษีมรดก-ที่ดิน ครับ
|
 |
นักวิชาการแนะเก็บภาษีมรดก ที่ดิน ลดความเหลื่อมล้ำ
ดร.ผาสุกชี้ประชาธิปไตยสามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคมได้ ชี้ความมั่งคั่งกระจุกตัว แถมระบบภาษีเอื้อคนรวย แนะจัดระบบเก็บภาษีมรดก ที่ดิน สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 11 ประจำปี 2552 เรื่อง ความขัดแย้ง ความชอบธรรมและการปฏิรูประบบรัฐ : การจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรมในสังคมไทย โดยในช่วงเช้าเป็นการ ปาฐกา เรื่อง สังคมที่คนยอมรับกนว่า Fair โดย ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.ผาสุก กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำของสังคมปรากฏหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสังคมวัฒนธรรม หากดูจากรายได้จะเห็นความแตกต่าง จากการสำรวจของทีดีอาร์ไอที่สำรวจความมั่งคั่ง ซึ่งแบ่งเป็นห้ากลุ่ม กลุ่มละ 20 % จะพบว่าครอบครัวรวยสุด 20 % แรก มีทรัพย์สินถึง 70 % ของทั้ง ประเทศ
ขณะที่กลุ่มสุดท้ายมีร้อยละหนึ่งเท่านั้น หากแบ่งเป็นสิบกลุ่มรวยสุดสิบกลุ่ม 10 % แรกจะมีทรัพย์สิน มากกว่ากลุ่มรองลงมาถึงสามเท่า ดังนั้นจะพบว่าความมั่งคั่งจะกระจุกอยู่แค่คนร้อยละสิบของประเทศเท่านั้นเอง ขณะที่เงินออมในธนาคาร ตามข้อมูลวันที่ 11 มิ.ย. 2552 พบว่ามีบัญชีที่มีเงินมากกว่า 10 ล้านบาทจำนวน มีเจ็ดหมื่นบัญชีเท่านั้นคิดเป็น 0.1 ของปัญชีทั้งหมด แต่ทั้งหมดนี้กลับมีเงินฝากเป็นร้อยละ 42 ของเงินฝากในประเทศ
ดร.ผาสุก กล่าวว่า รัฐบาลสมัยใหม่ของเราไม่เคยลดความเหลื่อมล้ำได้ เพราะไม่มีมีมาตรการการคลังหรือมีกระบวนการภาคประชาสัมคมอื่นๆที่จะลดความเข้มแข็ง อีกทั้งเรายังมีการรัฐประหารที่เป็นการขัดขวางประชาธิปไตย มาตรการการที่จะทำให้สังคมแฟร์ คือ ระบบภาษี โดยระบบภาษีมีภาษีทั้งทางตรงเช่นภาษีเงินได้ และภาษีทางอ้อมเช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม หากขึ้นภาษีทางอ้อมภาระจะตกกับคนจนมากขึ้น และกลายเป็นคนจนอุดหนุนคนรวยเรื่องการจ่ายภาษี ภาษีทางตรงที่ต่างประเทศใช้คือ ภาษีทรัพย์สินมรดก ภาษีที่ดิน ภาษีตลาดหุ้น อาจจะถึงเวลาที่เราต้องคิด ประเทศที่พัฒนาแล้วสัดส่วนภาษีทางอ้อมและทางตรงมีสัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง แต่บ้านเรา ภาษีทางอ้อมมีถึงร้อยละ 60 ระบบภาษีเราเป็นภาระกับคนจนมากกว่าคนรวย นอกจากนี้บ้านเรายังมีการเลี่ยงภาษีกันอย่างมโหฬาร ดังนั้นรัฐควรจัดให้มีระบบการจัดเก็ภาษีเงินได้ให้ดีกว่านี้ และมีกฎหมายที่เคร่งครัด
ดร.ผาสุก กล่าวว่า เรายังไม่มีนโยบายหรือผลักดันวาระของสังคมให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งระบบที่เอื้อต่อการผลัดดันวาระของสังคมก็คือระบอบประชาธิปไตย แต่ก็มีคนพยายามบอกว่าประชาธิปไตยไม่เหมาะกับสังคมไทย ซึ่งเป็นเพียงข้ออ้างที่ธำรงสภาพความเหลื่อมล้ำแบบเดิมๆเพื่อคงอำนาจของคณะบุคคลเดิมๆไว้ การซื้อเสียงที่ถูกยกเป็นข้อเสียของระบอบปรชาธิปไตย เราก็จะพบว่า เมื่อสังคมมีรายได้เพิ่มสูงจนความแตกต่างของประชาชนลดลงการซื้อเสียงก็จะไม่มีความหมายในที่สุด นอกจากนี้ประชาธิปไตยสามารถสร้างระบบการตรวจสอบการคอร์รับชั่นได้ อาทิ กรณีนาย รักเกียรติ สุขธนะ นาย วัฒนา อัศวเหม ทั้งนี้เราต้องรู้ว่า เราไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยชั่วข้ามคืนได้แต่ต้องทำไปเรียนไปและ เราต้องป้องกันการรัฐประหารอย่างเต็มกำลัง
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20091106/85119/นักวิชาการแนะเก็บภาษีมรดก-ที่ดิน-ลดความเหลื่อมล้ำ.html
จากคุณ |
:
ไผทพิเชษฐ์
|
เขียนเมื่อ |
:
2 ก.พ. 54 17:17:39
A:110.164.166.70 X:
|
|
|
|