ทำไม จึงสรุปว่ามาร์คไม่ได้มีหรือถือสัญชาติอังกฤษ
|
 |
ที่จริงเคยอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ในกระทู้ P10197215 เมื่อ 2 ก.พ. 54 ว่าสัญชาติอังกฤษของมาร์ค จะมีติดตัวอยู่ตามกฎหมายอังกฤษหรือไม่นั้น ทางมาร์คเองควรจะทำให้กระจ่าง น่าจะทำโดยการทำหนังสือส่วนตัวอย่างเป็นทางการไปสอบถาม ซึ่งสามารถทำได้โดยผ่านสถานทูตอังกฤษ
แต่ก็เห็นมาร์คเพียงแต่ออกมาปฏิเสธเวลานักข่าวสัมภาษณ์เท่านั้น และไม่ได้ดำเนินการอะไร ดูเหมือนไม่เดือดเนื้อร้อนใจอะไรกับคำกล่าวหานี้ ทั้งๆที่เรื่องนี้ แน่นอนว่าทีมคณะกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์หรือคนที่มาร์ครู้จักใกล้ชิด คงได้มีการทวนสอบเช็คข้อกฎหมายกันแล้ว และคงได้ข้อสรุปว่าในเวลานี้ ตามกฎหมายมาร์คไม่ได้ถือหรือมีสัญชาติอังกฤษ ดังนั้นจึงไม่ต้องไปเดือดร้อนและเนื่องจากมีสมาชิกตั้งกระทู้พาดพิงเกี่ยวกับเรื่องนี้บ่อยเป็นระยะๆ วันนี้จึงขออภิปรายเรื่องนี้ ในมุมมองที่น่าจะเป็นไปได้ว่าทำไม จึงสรุปว่ามาร์คไม่ได้มีหรือถือสัญชาติอังกฤษ
ความเป็นพลเมือง (citizenship) กับ สัญชาติ (National) ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
กฎหมายอังกฤษนั้นกำหนดให้มาร์คมีความเป็นพลเมืองอังกฤษเมื่อแรกเกิดบนแผ่นดินอังกฤษ แต่ไม่ได้กำหนดว่ามาร์คจะต้องถือสัญชาติอังกฤษ โดยกฎหมายอังกฤษแยกสถานะกันระหว่าง ความเป็นพลเมือง (citizenship) กับ สัญชาติ (National) มีคำกล่าวในกฎหมายเดิมของอังกฤษสะท้อนให้เห็นชัดว่า citizenship กับ nationality นั้นแม้จะมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกันจนแยกกันเกือบไม่ออก แต่กฎหมายอังกฤษถือว่าเป็นคนละส่วนกัน เช่นในกฎหมาย British Nationality Act, 1948 อันเป็นกฎหมายสมัยที่มาร์คเกิดระบุว่าความเป็นพลเมืองอังกฤษทำให้ขอสัญชาติอังกฤษได้ แต่สัญชาติอังกฤษยังอาจได้มาวิธีอื่น ดังนั้น ความเป็นพลเมืองและสัญชาติจึงเป็นคนละส่วนก้น หรือในกฎหมายปี 1981 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน ก็แยกระหว่าง citizenship กับ nationality ไว้ตั้งแต่ในคำอารัมภบทว่าเป็นกฎหมายที่จะให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับ ความเป็นพลเมือง และ สัญชาติ ซึ่งหากทั้งสองเป็นสิ่งๆเดียวกันแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องมากล่าวแยกกันไว้ในกฎหมายแบบนี้
British Nationality Act 1981 1981 CHAPTER 61 An Act to make fresh provision about citizenship and nationality, and to amend the Immigration Act 1971 as regards the right of abode in the United Kingdom. | คลิกอ่านรายละเอียด ดังนั้น ความเป็นพลเมือง(citizenship) กับ สัญชาติ (National) ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และอยู่แยกจากกัน |

ความสัมพันธ์แบบไม่บังคับระหว่าง citizenship กับ National ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของทั้งสองสิ่งนี้อยู่ที่บทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้ตอนมาร์คเกิดคือกฎหมายปี 1948 ที่กล่าวไว้ว่า British nationality by virtue of citizenship หรือการได้มาซึ่งสัญชาติอังกฤษจากพลของความเป็นพลเมืองอังกฤษนั้นมีลักษณะที่ไม่บังคับ ดังนี้ 1.(1) Every person who under this Act is a citizen of the United Kingdom and Colonies or who under any enactment for the time being in force in any country mentioned in subsection (3) of this section is a citizen of that country shall by virtue of that citizenship have the status of a British subject.(=national ตามกฏหมายสมัยนั้น) |
นั้นคือหากมีความเป็นพลเมืองอังกฤษแล้วก็จะสามารถมีสัญชาติอังกฤษได้โดยภาษากฎหมายใช้คำว่า shall
..have โดยตรงนี้กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องเข้าถือสัญชาติอังกฤษ แต่บัญญัติว่าเมื่อมีความเป็นพลเมืองอังกฤษแล้ว ก็จะมีสัญชาติอังกฤษ คำว่า"จะมี"บ่งถึงเหตุที่จะเกิดในภายหน้าในวาระต่อไปเมื่อใดก็ได้ แต่เป็นคนละขั้นที่ถัดไปจากการมีสภาพพลเมืองอังกฤษ หรืออาจจะไม่เกิดมีก็ได้หากคนคนนั้น ขอพ้นสภาพพลเมืองอังกฤษไปเสียก่อนจะได้สัญชาติ
โดยกฎหมายยอมรับว่าแม้เป็นพลเมืองอังกฤษก็ยังสามารถที่จะไปมีสัญชาติอื่นได้ ดังความของกฎหมายอังกฤษปี 1948 ที่ใช้ขณะมาร์คเกิดและอยู่ในอังกฤษกล่าวไว้ว่า พลเมืองอังกฤษสามารถจะมีสัญชาติอื่นอยู่ได้ และสามารถเลือกที่จะที่จะครองความเป็นพลเมืองอังกฤษต่อไปหรือจะประกาศสละความเป็นพลเมืองอังกฤษเสียก็ได้ 19.(1) If any citizen of the United Kingdom and Colonies of full age and capacity who is also ........makes a declaration in the prescribed manner of renunciation of citizenship of the United Kingdom and Colonies, the Secretary of State shall cause the declaration to be registered; and, upon the registration, that person shall cease to be a citizen of the United Kingdom and Colonies: | จะเห็นว่ากฏหมายบัญญัติให้สละนี้ไม่ใช่ "สละสัญชาติ" แต่เป็นการ "สละสิทธิในการเป็นพลเมืองอังกฤษ"
เรื่อง Citizenship by birth ไม่ใช่ National by birth
กฎหมายช่วงมาร์คเกิดปี 1948 ที่อัมสเตอร์ดัมนำมาอ้างนั้น บัญญัติไว้ชัดเจนว่าหากเกิดบนแผ่นดินอังกฤษ จะได้สิทธิความเป็นพลเมืองอังกฤษ ไม่ใช่ได้สัญชาติอังกฤษ โดยความท่อนนั้นบัญญัติไว้ดังนี้ 4. Subject to the provisions of this section, every person born within the United Kingdom and Colonies after the commencement of this Act shall be a citizen of the United Kingdom and Colonies by birth: | จะเห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้ใช้คำว่า National by birth หรือ shall be a national of United Kingdom แต่ใช้คำว่า shall be a citizen of the United Kingdom. นั้นคือ เกิดบนแผ่นดินอังกฤษจะได้ความเป็นพลเมืองอังกฤษ แต่ไม่ได้ผูกมัดว่าจะมีสัญชาติอังกฤษโดยอัตโนมัติทันที ความตรงนี้อัมสเตอร์ดัมไปตีคลุมเอาเองว่ามาร์คได้ถือสัญชาติอังกฤษแล้ว ซึ่งในข้อเท็จจริงที่ทราบแม้มาร์คจะได้สิทธิความเป็นพลเมืองอังกฤษตามกฏมหมายอังกฤษ แต่มาร์คไม่ได้เลือกที่จะถือสัญชาติอังกฤษ
 สรุป ดังนั้น โดยสรุปแล้วตามกฎหมายอังกฤษทั้งฉบับปี 1948 ช่วงมาร์คเกิดและฉบับปัจจุบันปี 1981 ถือว่าความเป็นพลเมือง (citizenship) และ สัญชาติ (National)เป็นคนละสิ่ง และความเป็นพลเมืองก่อให้เกิดสิทธิในการที่จะถือสัญชาติอังกฤษ แต่บุคคลนั้นจะไม่เข้าถือสัญชาติอังกฤษโดยจะไปถือสัญชาติอื่นก็ได้ แต่ก็ไม่ทำให้ความเป็นพลเมืองอังกฤษหมดไป จนกว่าจะได้มีการแถลงขอยกเลิกความเป็นพลเมืองอย่างเป็นทางการ
( ตามที่เคยอ่านบทวิเคราะห์ของนักกฏหมายมานั้น การเข้าถือสัญชาติอังกฤษนั้น สามารถพิสูจน์ได้จากการกระทำที่แสดงเจตนาตามกฎหมาย อาทิเช่น การกรอกในแบบฟอร์มใดๆที่เป็นทางการเพื่อแถลงแก่ผู้อื่นว่าเป็นสัญชาติอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นแบบฟอร์มของโรงพยาบาล โรงเรียนอนุบาล การเดินทาง หรือเข้าไปใช้สิทธิซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะของพลเมืองอังกฤษใดๆ ก็ย่อมถือว่าคนผู้นั้นได้แสดงเจตนาตามกฎหมายและตกเป็นคนสัญชาติอังกฤษจริงๆไปตามกฎหมาย )
ดังนั้น ทั้งหมดจึงตกอยู่ที่ข้อเท็จจริงว่า มาร์คได้เคยแสดงเจตนาตามกฎหมายไว้เพื่อผูกมัดตนเองเข้ากับประเทศอังกฤษหรือไม่ จนถือได้ว่าเป็นคนสัญชาติอังกฤษหรือไม่ หากยังไม่เคย ลำพังการเกิดบนแผ่นดินอังกฤษโดยลำพัง ยังไม่ก่อความผูกพันบังคับให้เป็นสัญชาติอังกฤษ เพราะปกติหลักการถือสัญชาตินั้น เอาความสมัครใจของผู้คน ไม่มีการบังคับขืนใจ อันเป็นหลักของอารยประเทศเช่นนั้น
และศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น เขาเอาข้อผูกมัดด้านการถือสัญชาติ ไม่ใช่สิทธิความเป็นพลเมือง เพราะความข้อนั้นเขียนไว้ว่า Article 12 Preconditions to the exercise of jurisdiction 2. (b) The State of which the person accused of the crime is a national.
นั้นคือไม่ได้เขียนว่า The State of which the person accused of the crime is a citizen. และมาร์คอย่างมากตามกฏหมายอังกฤษก็เป็นcitizen ไม่ใช่ British national ดังนั้น จึงไม่เข้าข้อบังคับศาลอาญาระหว่างประเทศตามที่มีการพยายามอ้างกันผิดๆแต่อย่างใด

ขออนุญาตมาแก้คำผิดและแก้ข้อความ และใส่กรอบ เพื่อให้อ่านง่ายขึ้นเพราะกลับมาอ่านทวนดูเองก็รู้สึกอภิปรายแบบฟังยาก จึงขอแก้เป็นระยะ ตามที่เห็นว่าจะฟังอ่านได้ง่ายขึ้นสักหน่อย .
แก้ไขเมื่อ 15 ก.พ. 54 18:41:32
แก้ไขเมื่อ 15 ก.พ. 54 17:58:22
แก้ไขเมื่อ 15 ก.พ. 54 16:14:25
แก้ไขเมื่อ 15 ก.พ. 54 16:08:37
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
15 ก.พ. 54 16:04:48
A:58.137.0.146 X:
|
|
|
|