 |
[รักคนเสื้อแดง] มาดูคำเตือนของคุณ thyrocyte เปรียบเทียบกับคำร้องของโรเบิร์ต อัมเตอร์ดัมส์{แตกประเด็นจาก P10260004}
|
 |
คำเตือน อนึ่ง อยากจะขอเตือนเสื้อแดงไว้สักนิดนะครับ เรื่องโรเบิร์ตอัมสเตอร์ดัมนี้นะ ขนาดคนที่เป็นรองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ ( ICC International Criminal Court ) คือ Hans-Peter Kaul เขายังให้ความเห็นไว้เลยครับว่า อย่าไปให้ความสำคัญมากนัก และอัมสเตอร์ดัมกำลังทำให้คนไทยไขว้เขว
“ I do not give any importance to him(Robert Amsterdam), no importance should be given to him by Thai people to what he(Robert Amsterdam) is saying and the way he is proposing because it does not work, he is misleading the Thai people.” (คลิกอ่านต้นฉบับที่นี้ และขอให้เครดิตคุณโพ้นฟ้าครับ ที่กรุณาให้ลิงค์ต้นฉบับนี้มา ขอขอบคุณคุณโพ้นฟ้าไว้ ตรงนี้อีกทีครับ) | ข้างบนนี้เป็นข้อเขียนของคุณ thyrocyte ส่วนข้างล่างนี้เป็นคำร้องของโรเบิร์ต อัมเตอร์ดัมส์ ผมขอให้เพื่อนสมาชิกอ่านแล้วใช้วิจารณญาณตัดสินใจกันเอาเองครับ ผมแค่นำข้อมูลมาเสริมให้ครบถ้วนทั้งสองด้าน
16 กุมภาพันธ์ 2554
ฯพณฯ ลูอิส โมเรโน-โอแคมโป อัยการ
ศาลอาญาระหว่างประเทศ ตู้ไปรษณีย์ 19519 2500 ซีเอ็ม กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
เรื่อง คดี ระหว่างแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและคำร้องต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้ทำการสอบสวนสถานการณ์ในราชอาณาจักรไทย กรณีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554
เรียน ท่านอัยการ
เราขอยื่นบันทึกฉบับนี้ต่อท่านเพื่อขอให้ท่านใช้อำนาจตามกฎหมายในการขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีคำสั่งห้ามผู้พิพากษาฮันส์-ปีเตอร์ คาอูล (Hans-Peter Kaul) มิให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีที่ระบุข้างต้น เนื่องจากมีพฤติการณ์ที่อาจทำให้มีข้อสงสัยในความเป็นกลางของผู้พิพากษาท่าน ดังกล่าว (มาตรา 41.2 (60) ของสนธิสัญญากรุงโรม) ด้วยเหตุผลที่ว่า “มีการแสดงความเห็นผ่านทางสื่อมวลชน หรือโดยการเขียนบทความใดๆ หรือโดยการแสดงออกในที่สาธารณะ ซึ่งหากพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการแสดงออกดังกล่าวแล้วอาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อหน้าที่ในการวางตนเป็นกลางในการพิจารณาพิพากษาคดีของบุคคลดังกล่าว” (กฎข้อ 34.1 (ดี))
เราขอยื่นคำร้องก่อนที่ท่านอัยการจะเริ่มการสอบสวนกรณีการกระทำความผิดตามที่ร้องขอด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก ตามกฎข้อ 34.2 กำหนดว่า “การร้องคัดค้านคุณสมบัติผู้พิพากษาในกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีที่ทราบเหตุแห่งการกระทำนั้น” ประการที่สอง ในฐานะที่เป็นองค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีเบื้องต้น ผู้พิพากษาคาอูล อาจเข้ามีส่วนร่วมในการวินิจฉัยเบื้องต้นในเรื่องที่เกี่ยวกับการอนุมัติการสอบสวนตามมาตรา 15.4 ของสนธิสัญญากรุงโรม และการพิจารณาเรื่องเขตอำนาจของศาลในคดีนี้ตามมาตรา 19 ของสนธิสัญญากรุงโรม
คำร้องเรียนของเรามาจากพื้นฐานของข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
เมื่อเดือนมกราคม 2554 ไม่นานก่อนที่เราจะยื่นคำร้องขอต่ออัยการในศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นที่รับรู้กันทั่วไปในประเทศไทยว่า กำลังจะมีการยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ผู้พิพากษาคาอูลได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมในการสัมมนาเรื่อง “สิทธิมนุษยชนและศาลอาญาระหว่างประเทศ” ซึ่งจัดร่วมกันโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถานทูตเยอรมัน
ในวันที่ 21 มกราคม 2554 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ผู้พิพากษาคาอูล (ตามเอกสารแนบหมายเลข A) เมื่อมีการสอบถามผู้พิพากษาคาอูลถึงคำร้องของ นปช. ที่จะยื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ปรากฏข้อมูลว่าผู้พิพากษาคาอูลได้ตอบว่า “อัยการทราบดีอยู่ว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นรัฐภาคีของสนธิสัญญากรุงโรม . . . ดังนั้นศาลไอซีซีไม่สามารถมีอำนาจในการพิจารณาคดีที่มีการฟ้องว่ามีการกระทำผิดกฎหมายในประเทศไทยได้ จนกว่าประเทศไทยจะให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญากรุงโรม”
“ผมขอชี้แจงให้ชัดเจนว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีทำผิดกฎหมายอาญาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แม้ว่าการกระทำผิดดังกล่าวจะถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษย์ชาติตามมาตรา 7 ของสนธิสัญญาดังกล่าวก็ตาม”
ในทำนองเดียวกัน เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2554 ผู้พิพากษาคาอูลได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (ตามเอกสารแนบหมายเลข B) ซึ่งในระหว่างการให้สัมภาษณ์ดังกล่าว ปรากฏว่าผู้พิพากษาคาอูลได้ให้สัมภาษณ์ดังนี้
“ . . . เป็นเรื่องที่ไร้สาระ ทำไมถึงเป็นเรื่องที่ไร้สาระ เพราะ[ทนายของ นปช.] ต้องรู้ดีว่าตราบเท่าที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีของสนธิสัญญากรุงโรม ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีทางที่จะเข้าแทรกแซงนโยบายภายในประเทศของไทย ข้าพเจ้ายินดีที่ได้ชี้แจงข่าวสารที่มีความสำคัญเช่นนี้ เพราะมีคนจำนวนมากในประเทศนี้ที่ไม่เข้าใจระบบของสนธิสัญญา ดังนั้นความเข้าใจของมหาชนจะต้องไม่ถูกนำไปในทางที่ผิด เพราะความเชื่อผิดๆ ซึ่งกำลังมีผู้ชี้นำความคิดเห็นของมหาชนไปในทางที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่สามารถทำได้”
“อย่างที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว และจะขอย้ำเป็นครั้งที่สาม ศาลไอซีซีจะมีความเกี่ยวข้องกับประเทศไทยได้ ถ้าคนไทยและรัฐบาลไทยทำการตัดสินใจที่จะเข้าเป็นภาคีของไอซีซี”
คำพูดของผู้พิพากษาคาอูลได้ก่อให้เกิดอคติต่อความเข้าใจของสาธารณชนในการยื่นคำร้องเรียนนี้แล้ว รัฐบาลและสื่อที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลได้อ้างอิงถึงคำพูดของผู้พิพากษาคาอูลมากมายหลายครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดิสเครดิตกระบวนการของ นปช. ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลไอซีซี ยกตัวอย่างเช่น ในวันที่ 31 มกราคม 2554 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (ตามเอกสารแนบท้ายหมายเลข ซี) รายงานว่า:
“เมื่อวันจันทร์ ทนายความของ นปช. ได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงเฮก โดยขอให้มีการสอบสวนการกระทำผิดอาญาต่อมนุษยชาติในช่วงการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปีที่แล้ว”
โดยก่อนหน้านี้ ผู้แทนของศาลไอซีซีได้แจ้งต่อขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงว่า ศาลไอซีซีไม่มีอำนาจพิจารณาความผิดที่ถือเป็นเรื่องทางการเมืองในประเทศไทย เพราะประเทศไทยยังไม่ได้ไห้สัตยาบันในสนธิสัญญาที่ลงนามไว้ตั้งแต่ปี 2548”
ต่อมาใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 บทบรรณาธิการของบางกอกโพสต์ (ตามเอกสารแนบท้ายหมายเลข ดี) ได้กล่าวหาคำฟ้องของ นปช. ว่า “ราคาถูกและไร้ยางอาย” โดยอ้างว่าทนายความที่ยื่นคำร้องต่อศาลไอซีซีนั้น “รู้ดีอยู่ว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของศาลไอซีซีได้บอกแล้วว่า ศาลไม่มีอำนาจพิพากษาคดีและไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ และไม่มีทางที่จะยินยอมที่จะรับพิจารณาคดี” บทบรรณาธิการดังกล่าวยังระบุด้วยว่า แม้จะมีการยื่นคำขอแล้ว “เพราะไอซีซีได้แถลงออกมาเองว่า จะไม่รับพิจารณาคดีดังกล่าว”
ไม่เคยมีการแถลงการณ์ใดๆ จากผู้พิพากษาท่านอื่นหรือบุคคลากรท่านอื่นๆ ของศาลไอซีซีเกี่ยวกับคำฟ้องของ นปช. การที่สื่ออ้างอิงดังกล่าวจึงอ้างอิงจากคำสัมภาษณ์ของผู้พิพากษาคาอูลเท่านั้น
ถ้าคำให้สัมภาษณ์ของผู้พิพากษาคาอูลถูกต้องตามความเป็นจริง หมายความว่าเขาได้แสดงความเห็นต่อสาธารณะโดยเป็นการพิพากษาตัดสินคดีแทนศาล ไอซีซีแล้วในประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาล การแสดงความเห็นก่อนการพิจารณาคดีจึงทำให้ผู้พิพากษาคาอูลไม่มีคุณสมบัติที่ จะเป็นผู้พิพากษาในคดีนี้
มาตรา 41.2 (60) ของสนธิสัญญากรุงโรมระบุว่า “ผู้พิพากษาจะต้องไม่พิจารณาคดีที่อาจมีข้อสงสัยในเรื่องความเป็นกลางของ บุคคลดังกล่าว” กฎข้อ 34 (1) (ดี) ของกฎการพิจารณาคดีและพยานหลักฐานกำหนดเรื่องคุณสมบัติของผู้พิพากษาโดยผู้ พิพากษาที่มีพฤติกรรม “แสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางสื่อมวลชน โดยการเขียนหรือโดยการแสดงออกในที่สาธารณะในลักษณะที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกลาง”
ในคดีนี้มีข้อสงสัยอย่างสมควรเกี่ยวกับความเป็นกลางของผู้พิพากษาคาอูล เพราะได้มีการแสดงความคิดเห็นผ่านทางสื่อมวลชน โดยแสดงจุดยืนว่าศาลไอซีซี “ไม่สามารถมีอำนาจในการพิจารณาคดี” กรณีของการกระทำความผิดต่อมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเพียงเพราะไทยไม่ได้เป็นภาคีต่อสนธิสัญญากรุงโรม
คำแถลงดังกล่าวของผู้พิพากษาคาอูลไม่เพียงแต่เป็นการด่วนสรุป ซึ่งสร้างความเสียหายต่อผู้เสียหายและต่อกระบวนการยุติธรรม แต่ยังเป็นคำแถลงที่ไม่ถูกต้องในสาระสำคัญ ทั้งนี้เพราะปรากฏชัดเจนว่าผู้พิพากษาท่านนี้ไม่ทราบถึงพยานหลักฐานชิ้นสำคัญที่ระบุในคำฟ้องของ นปช. ว่า นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด เป็นบุคคลสัญชาติอังกฤษ ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่เป็นภาคีของสนธิสัญญากรุงโรม ดังนั้นคำฟ้องของ นปช. จึงเข้าเงื่อนไขเรื่องเขตอำนาจศาลในกรณีของสัญชาติตามมาตรา 12.2 (บี) ของสนธิสัญญา นอกจากนี้ผู้พิพากษาคาอูลยังไม่ได้คำนึงถึงประเด็นที่รัฐบาลไทยในอนาคตอาจยอมรับเขตอำนาจของศาลไอซีซีตามมาตรา 12.3 ของสนธิสัญญาดังกล่าว และยังไม่ได้พิจารณาถึงประเด็นเรื่องสิทธิของคณะมนตรีความมั่นคงในการเข้าพิจารณาคดีนี้ตามมาตรา 13 (บี) ของสนธิสัญญา
ตามมาตรา 36 (3) ของสนธิสัญญากรุงโรม ผู้พิพากษาจะได้รับเลือกจากบรรดาบุคคลที่มีจริยธรรมสูง มีความเป็นกลาง และมีศักดิ์ศรี โดยมีคุณสมบัติตามที่ระบุในกฎหมายของแต่ละประเทศที่เขามีสัญชาติในการที่จะเป็นผู้พิพากษาในศาลสูงสุดของประเทศนั้นๆ”
นอกจากนี้ มาตรา 40 (2) ของสนธิสัญญากรุงโรมได้ระบุไว้ว่า “ผู้พิพากษาจะต้องไม่มีส่วนในกิจกรรมซึ่งอาจจะเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรืออาจกระทบต่อความเชื่อมั่นในความเป็นอิสระ”
กฎข้อ 34 (1) (ดี) ของกฎของไอซีซีว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณาและพยานหลักฐานได้ระบุสาเหตุของการคัดค้านคุณสมบัติผู้พิพากษาไว้ดังนี้ “ห้ามผู้พิพากษาแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางสื่อมวลชนโดยการเขียนหรือการแสดงออกในที่สาธารณะในลักษณะที่อาจกระทบต่อความเป็นกลาง”
ประเด็นนี้สอดคล้องกับมาตรา 41 (2) ของสนธิสัญญาซึ่งกำหนดว่า “ผู้พิพากษา” จะต้องไม่มีส่วนร่วมในคดีที่มีข้อสงสัยในเรื่องความเป็นกลาง”
ความเป็นกลางและความเป็นอิสระของตุลาการเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามมาตรา 6 ของสนธิสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีผลต่อกระบวนการพิจารณาคดีของศาลไอซีซี ในคดีที่เป็นบรรทัดฐานระหว่าง Hauschildt V. Denmark ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหภาพยุโรป (ECHR) ได้วินิจฉัยว่า
“การพิจารณาเรื่องความเป็นกลางตามวัตถุประสงค์ของมาตรา 6 วรรค 1 จะต้องคำนึงถึงการตรวจสอบทางความคิดเห็น (Subjective Test) ซึ่งหมายถึง พื้นฐานความเชื่อของบุคคลที่มีต่อผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในคดีใดคดีหนึ่งและ ยังต้องคำนึงถึงการตรวจสอบทางภาวะวิสัยด้วยว่า ผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดได้ดำเนินการใดที่จะเป็นหลักประกันที่เพียงพอในเรื่องของความเป็นกลาง”
“สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ คือ ความเชื่อมั่นซึ่งศาลในสังคมประชาธิปไตยจะต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่สาธารณชน…..ด้วยเหตุนี้ในกรณีที่มีเหตุผลที่ควรเชื่อที่ทำให้มีความวิตกว่าผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดขาดความเป็นกลาง สิ่งที่ต้องใช้ในการตัดสินคือ เหตุแห่งความวิตกนั้นสามารถมีหลักฐานยืนยันได้หรือไม่”
ด้วยเหตุนี้ ในรัฐที่เป็นประชาธิปไตย หน้าที่ของศาลไม่เพียงแต่ต้องจัดให้มีความยุติธรรม แต่ต้องดำเนินการให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ได้มีการให้ความยุติธรรมแล้วด้วย เมื่อคำนึงถึงคำให้สัมภาษณ์ของผู้พิพากษาคาอูล ซึ่งเป็นการด่วนสรุปความเห็นทางกฎหมายหรือด่วนให้คำวินิจฉัยก่อนการสืบพยาน ในประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลนี้ จึงมีเหตุอันสมควรที่อาจจะทำให้เกิดข้อสงสัยในเรื่องความเป็นกลางของผู้ พิพากษารายนี้ได้
ดังนั้นก่อนที่ผู้พิพากษาคาอูลจะมีโอกาสที่จะวินิจฉัยประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการให้เขา “ไม่มีคุณสมบัติ” [ในการเป็นผู้พิพากษาในคดีนี้] ตามเงื่อนไขแห่งสนธิสัญญากรุงโรม
อัยการของศาลไอซีซี มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการร้องขอให้มีการกำหนดว่าเขาไม่มีคุณสมบัติ ที่จะนั่งพิจารณาคดีนี้เมื่อมีพฤติกรรมต่างๆ ที่เข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา เราจึงขอเรียกร้องให้ท่านอัยการใช้อำนาจในการร้องขอต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ในการกำหนดให้ผู้พิพากษาคาอูลไม่มีคุณสมบัติที่จะนั่งพิจารณาพิพากษาในคดี นี้
นอกจากนี้ ตามกฎข้อ 34 (2) ของกฎว่าด้วยการพิจารณาคดีและพยานหลักฐานของไอซีซี เราขอร้องให้มีการส่งสำเนาคำร้องนี้ให้แก่ผู้พิพากษาคาอูลด้วย
ขอแสดงความนับถือ
โรเบิร์ต อาร์. อัมสเตอร์ดัม
สำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เพรอฟ ศาสตราจารย์ ดัก แคสเซล จี. เจ. อเลกซานเดอร์ คนูป สำนักกฎหมายคนูป แอนด์ พาร์ทเนอร์ ทนายความของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
| ปล. สำหรับกระทู้คำถามที่ผมถามคุณม่วงคันและเพื่อนสมาชิกที่ให้ give ในกระทู้นั้น ผมคงต้องขอใช้เวลาในการรอคอยอีกสักหน่อย เผื่อมีเพื่อนสมาชิกที่ให้giveคุณม่วงคันมาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบคำถาม และผมต้องขอขอบคุณคุณเฒ่าเฝ้าเรือนกับคุณมูลมังที่ชิงตัดหน้าร่วมแสดงความคิดเห็นกับคุณม่วงคันไปก่อนแล้วครับ
จากคุณ |
:
สิงห์สนามหลวง
|
เขียนเมื่อ |
:
20 ก.พ. 54 15:55:26
A:65.49.14.12 X:
|
|
|
|  |