เพราะเป็นเรื่องของข้อกฎหมาย ซึ่งตรงนี้เป็นผลของการเกิดในอังกฤษ ที่นักกฎหมายยังเห็นไม่ตรงกัน แต่ตามข้อเท็จจริง ตนไม่ได้ใช้สัญชาติอังกฤษ
จากกรุงเทพธุรกิจ คลิกอ่านรายละเอียด หรืออ่านของมติชน คลิกที่นี้
".......เมื่อถามต่อว่า แสดงว่านายกฯยังจะคงสถานะ 2 สัญชาติ เช่นนี้อีกต่อไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าตนมี 2 สัญชาติหรือไม่ ประเด็นนี้เป็นเรื่องของนักกฎหมาย ตนพยายามตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าแม้กระทั่งนักกฎหมายยังให้ความเห็นไม่ตรงกัน เนื่องจากเป็นกฎหมายของแต่ละประเทศ และโดยปกติมันก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าใครทำตัวเป็นสัญชาติอะไร ผมคงไปเปลี่ยนที่เกิดไม่ได้
"
ความเห็น- ที่จริงมาร์คจะมีสัญชาติอังกฤษมาตั้งแต่วัยเด็กหรือไม่ ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดินในฐานะนายกฯหรือในฐานะผู้นำฝ่ายค้านหรือในฐานะนักการเมืองไทย เพราะตามกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายไทยทั้งปวง ไม่มีการบัญญัติห้ามเกี่ยวกับเรื่องการถือสัญชาติอื่นๆมีแต่บอกว่าต้องถือสัญชาติไทย จึงไม่มีผลต่อการปฏิบัติงาน หรือสถานะการเป็นข้าราชการการเมือง หรือตำแหน่งใดๆในสภาหรือรัฐบาลเลย
ผมลองย้อนไปอ่านดูรายละเอียดการอภิปรายในสภาในวันนั้น ตามที่มีสมาชิกบางท่านทักท้วง เพราะเมื่อเย็นวันพฤหัสจำต้องรีบตั้งกระทู้ เพราะจะมีเหตุให้ตั้งกระทู้ไม่ได้ในช่วงวันศุกร์ เสาร์ อารามรีบไปหน่อยเลยไม่ได้ตรวจทานข่าวที่ลงกันหลายเวบว่า "มาร์คบอกยังไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษ" ว่าถูกต้องหรือไม่ และได้สรุปไปในกระทู้ที่ตั้งในวันนั้นตามข่าวที่อ่าน แต่เมื่อไปทวนดูรายละเอียดการอภิปรายแล้ว ประกอบกับการให้สัมภาษณ์ของมาร์คในวันนี้ ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า วันนั้น สื่อมวลชนชิงสรุปและตีข่าวกันออกมาแบบคลาดเคลื่อน เพราะจริงๆแล้ว ....
มาร์คเองก็ไม่ทราบชัดว่าตกลงตนมีสัญชาติอังกฤษหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับการตีความกฎหมาย
ดังนั้น ตามความหมายของมาร์คนั้น ตามข้อกฎหมายอาจเป็นไปได้ว่าตนมีสัญชาติอังกฤษจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่ในการอภิปรายนั้นเป็นการติดพันตอบข้อถามของจตุพร และบอกกับประธานสภาไปว่า ตนยังไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษ (...หากข้อกฎหมายตีความไปว่าตนมีสัญชาติอังกฤษเช่นนั้น...) แต่ไม่ใช่ว่ามาร์คยังไม่สละ ทั้งๆที่รู้แน่ชัดโดยปราศจากข้อสงสัยว่าตนมีสัญชาติอังกฤษ
เรื่องมาร์คจะรู้อยู่แก่ใจว่าตนมีสัญชาติอังกฤษหรือไม่ เป็นเรื่องที่ตัวมาร์คและครอบครัวจะทราบได้ ซึ่งอาจจะทราบหรือไม่ทราบก็ไม่เป็นประเด็น และอาจเป็นการยากที่คนนอกจะทราบข้อมูลตรงนี้ แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว เรื่องสัญชาติอังกฤษของมาร์คจะมีหรือไม่ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินไม่ว่าในฐานะใดๆสักนิด และยังไม่มีกฎหมายที่ห้ามหรือบังคับให้มาร์คต้องสละสัญชาติ มีแต่กฎหมายที่ระบุว่า เมื่อไปได้สัญชาติอื่นมาใหม่ จะต้องสละสัญชาติไทย พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ มาตรา ๒๒ บัญญัติว่า
"ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและได้แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าว หรือสละสัญชาติไทย หรือถูกถอนสัญชาติไทย ย่อมเสียสัญชาติไทย "
ดังนั้น ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและได้แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าว ย่อมเสียสัญชาติไทย ซึ่งกฎหมายข้อนี้หากจะบังคับใช้ คงไม่ได้บังคับใช้กับมาร์ค เพราะมาร์คได้สัญชาติไทยและอังกฤษพร้อมกัน มาโดยการเกิด ไม่ใช่มาแปลงสัญชาติอังกฤษภายหลังมีสัญชาติไทยไปแล้ว กฎหมายข้อนี้หากจะบังคับใช้ คงใช้กับคุณทักษิณมากกว่า ที่ไปแปลงสัญชาติมอนเตรนิโกรมา หลังจากที่ตนถือสัญชาติไทยอยู่เดิม
ก็เป็นข้อสังเกตุที่มีตามข้อกฎหมายนะครับ

เข้ามาเพิ่มลิงค์ไปมติชนและขอตอบคุณน้ำมิตรในกระทู้ข้างบน P10285825 ว่า เรื่องการจะฟ้องต่อศาลอังกฤษก็ว่ากันไปครับ แต่อย่างที่เคยเอามาเล่าให้ฟังแล้ว อังกฤษเข้ามีกฎอยู่ว่า หากคนที่มีสัญชาติเขาและสัญชาติประเทศอื่น ไปอยู่ในประเทศอื่นนั้น เขาถือว่าคนคนนั้นไม่ใช่คนในสัญชาติเขา อ่านรายละเอียดได้จาก กระทู้ P10268469 ( คลิก ) ครับ
Master Nationality Rule (คลิก) ข้อ 3 กำหนดว่า .. a person is a national of, for example, two States (A and B), and is in the territory of State A , then State B has no right to claim that person as its national.... ซึ่งหลักการนี้จะตรงกับความใน Article 5 ของ Convention on Certain Questions Relating to the Conflict of Nationality Law ( คลิก ) ที่กำหนดให้การยึดถือสัญชาติของบุคคลหลายสัญชาตินั้น ให้ยึดตามภูมิลำเนาที่เขาอยู่ เรียกว่า Efeective nationality.

- เข้ามาเพิ่มลิงค์ของมติชนในข่าวเดียวกัน และขอตอบคุณน้ำมิตร ในกระทู้ข้างบนไว้ในกระทู้นี้
แก้ไขเมื่อ 27 ก.พ. 54 20:45:38
แก้ไขเมื่อ 27 ก.พ. 54 20:38:42