ผลชันสูตรบาดแผลนักข่าวญี่ปุ่น น่าจะเกิดจากชายชุดดำ | | ปกติเมื่อพิจารณาคดี หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ จะถือว่าน่าหลักฐานจากพยาน ที่พบเห็น หลักฐานทางวิทยาศาสตร์จะผิดพลาดได้น้อยกว่า ผลการชันสูตรทางวิทยาศาสตร์ปกติจะตรวจสอบซ้ำได้ ทาง DSI ย่อมไม่กล้าบิดเบือนแน่นอน เพราะทางญี่ปุ่นเองก็สามารถตรวจสอบซ้ำได้เช่นกัน แล้วบาดแผล M16 และปืน อาก้า (AK-47) ต่างกันหรือไม่ ปืนสองอันนี้ผลิตคนคะที่ AK-47 ผลิตที่รัสเซีย ส่วน M-16 ผลิตที่ อเมริกา ปืน M-16 จะยิงได้ไกลกว่า และแม่นกว่า บาดแผลอาวุธสองอันนี้แยกกันได้ยากหรือไม่ ถ้าค้นข้อมูลมักตอบว่าแยกได้ไม่ยาก M-16 จะเกิดการทำลายเป็นโพลง (hole) ที่เนื้อเยื่อค่อนข้างมาก ส่วน AK-47 จะไม่เกิด ภาพการปะทะกัน ทหารจะใช้อาวุธคือ M-16 ศูนย์เล็งจะอยู่ก่อนถึงปลายกระบอกปืน ต่างกับ AK-47 ที่มีศูนย์เล็งที่ปลายกระบอกปืน ภาพการถืออาวุธชายชุดดำที่จับภาพโดย อัล-จาซีรา จะเห็นชายชุดดำ ถือปืน AK-47 และชายผู้นี้ก็ปรากฏตัวในเวทีเสื้อแดง ปัจจุบันถูกจับกุม น่าจะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีค่อนข้างมาก ส่วนผู้โต้แย้งจุดปะทะกัน และการพบคนถือปืน AK-47 คนละที่ นั้นเป็นหลักฐานจากพยาน ย่อมอ่อนกว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขเมื่อ 27 ก.พ. 54 01:07:34 |