ทำไม WTO เห็นต่างจากกรมศุลกากรเรื่องภาษีจากราคาสำแดง ที่ไทยคิดว่าเป็นเท็จ ในคดีเลี่ยงภาษี 6.8 หมื่นล้าน
|
 |
วันนี้ ขออนุญาตลึกลงไปในรายละเอียดที่คิดว่าน่าสนใจในเรื่องนี้อีกสักนิดว่าทำไม WTO จึงเห็นว่ากรมศุลกากรทำไม่ถูกต้องที่ยกเลิกคิดภาษีจากราคาสำแดงที่ไทยคิดว่าเป็นเท็จ และในส่วนตัวเชื่อว่าเหตุผลของ WTO นี้เอง มีผลทำให้ประเทศไทยยังไม่สามารถฟ้องร้องบริษัทฟิลลิปมอร์ริสได้ และมีผลทำให้อัยการตัดสินยกฟ้องคดีที่ดีเอสไอเสนอเข้ามาไปเสียก่อนในเวลานี้ ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจสักนิดว่า คดีที่ในส่วนที่ฟิลิบปินส์ฟ้อง WTO ก็ดี ในส่วนที่ไทยเองฟ้องบริษัทฟิลลิปมอร์ริสก็ดี จะมีทั้งกรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เฉพาะช่วงการนำบุหรี่เข้ามาและมีการแสดงราคาที่ไทยถือว่าต่ำไปและทำให้ไทยเสียรายได้จากภาษีไปนั้น เป็นส่วนที่เกี่ยวกับกรมศุลกากร ส่วนภาษีภายในประเทศจากการขายบุหรี่ซึ่งเป็นเรื่องของกรมสรรพสามิตนั้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับก้อนเงิน 6.8 หมื่นล้าน และยังไม่เป็นประเด็นสำคัญในช่วงนี้ ที่เห็นว่าเรื่องนี้น่าสนใจเพราะเป็นเรื่องแปลกประหลาดมากที่ ทำไม WTO ไม่สงสัยถึงการพยายามเลี่ยงภาษีของบริษัทอย่างที่ไทยกล่าวอ้าง ดังที่กล่าวแล้ว บ.ฟิลลิป มอร์ริสฯ(หรือย่อว่า PM) สำแดงนำเข้าบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโร ราคา 7.76 บาทต่อซอง และบุหรี่ยี่ห้อแอลแอนด์เอ็ม ราคา 5.88 บาทต่อซอง แต่ บ.คิงเพาเวอร์ นำเข้าบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโร ราคาแพงกว่าคือ 27.46 บาทต่อซอง และบุหรี่ยี่ห้อแอลแอนด์เอ็ม ราคา 16.81 บาทต่อซอง ทำให้ถือได้ว่า บ.ฟิลลิป มอร์ริสฯ สำแดงราคานำเข้าที่ต่ำผิดปกติ ทำให้ค่าภาษีอากรต่างๆ ขาดหายไปประมาณ 68,881 ล้านบาท ( ในช่วงปี 2546 ถึง กพ.2550 ) ซึ่งปกติวิสัยใครๆเห็นแบบนี้ ก็ต้องสงสัยอย่างแน่นอนว่านี้เป็น การทำราคาให้ต่ำเกิดจริง หรือสำแดงราคาเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากร คำอธิบายส่วนหนึ่งเมื่อวานที่นำมาลงในกระทู้ก็คือบริษัทฟิลลิปมอร์ริส(PM)อ้างว่า ราคาของบริษัทคิงพาเวอร์เป็นราคาของ duty-free operator ซึ่งไม่หมือนกับบริษัทที่เป็น a duty-paid importer ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นคำอธิบายส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเอาตามที่คณะกรรมการ WTO สรุปนั้นไว้ในเอกสาร Final Report of the Panel นั้น ปรากฏว่าคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ของไทยในเวลานั้น ซึ่งน่าจะเป็นช่วง สค.2549 ไปจนถึง ธค.2549 ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนตามข้อตกลงใน Customs Evaluation Agreement : Article 1.2(a) ที่กำหนดว่าเมื่อพบเหตุที่ไทยสงสัยดังกล่าว ทางฝ่ายไทยต้องทำการตรวจสอบการซื้อขายระหว่างบริษัททั้งสองให้ดีเสียก่อน (examine the circumstances of sale between PM Thai and PM Phillipines) เมื่อฝ่ายไทยไม่ทำขั้นตอนนี้ให้สมบูรณ์จึงมีผลให้การติดสินของไทยเรื่องนี้ ไม่ถูกต้องตาม Customs Evaluation Agreement ดังปรากฏในรายละเอียดของเอกสารที่ว่าตั้งแต่หน้า 168-176 ซึ่งจะขอสรุปย่อลงมา ตามความเข้าใจโดยส่วนตัวดังต่อไปนี้ (อนึ่ง ความเห็นต่อไปนี้ไม่ใช่การแปลตัวอักษรตัวต่อตัว แต่เป็นการสรุปตามที่เข้าใจแล้วเขียนออกมาใหม่ตามที่คิดว่าจะทำให้อ่านง่าย จึงขอให้ท่านที่สนใจอ่านใช้วิจารณญาณตามสมควรด้วย) ความในช่วงนั้นบรรยายไว้ว่า แม้ทางฝ่ายไทยจะกล่าวหา บริษัทฟิลลิปมอร์ริส ไทย (ซึ่งในเอกสารจะเรียกย่อๆว่า PM หรือ PM Thailand และเอกสารจะมีรหัสหมายเลขกำกับทุกครั้งที่ขึ้นย่อหน้า) ไม่ได้ให้หลักฐานใดๆเพียงพอที่จะพิสูจน์ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัททั้งสอง มีผลต่อราคาซื้อขายระหว่างกันก็ตาม แต่ตาม Customs Evaluation Agreement Article 1.2(a) นั้น มันเป็นหน้าที่ของฝ่ายไทยต่างหากที่จะต้องทำการตรวจสอบการซื้อขายระหว่างบริษัททั้งสอง (ดูย่อหน้า7.177) แม้ฝ่ายไทยจะอ้างว่าได้ทำแล้วคือ (1.)ศุลกากรไทยได้แจ้งไปที่บริษัทฟิลลิปมอร์ริส ว่าต้องการข้อมูลเรื่องนี้ (2.) บริษัทฟิลลิปมอร์ริส ไม่สามารถส่งเอกสารข้อมูลได้พอเพียงที่จะพิสูจน์ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทไม่มีผลต่อราคาซื้อขายที่สำแดง (3.) ศุลกากรไทย ยังคงทำการตรวจสอบการซื้อขายของบริษัททั้งสอง แม้ว่าได้ทำตามข้อกำหนดแล้ว แต่คณะกรรมการเห็นว่า(ดูย่อหน้า 7.181) การกระทำของศุลการกรไทยที่ว่ามานี้ ก็ยังไม่เข้าตาม Article 1.2(a) โดยวิเคราะห์จากการติดต่อในเรื่องนี้ระหว่างศุลกากรไทยและบริษัทฟิลลิปมอร์ริส (ตามรายละเอียดใน 7.183) ซึ่งคณะกรรมการพบว่าบริษัทฟิลลิปมอร์ริสได้ส่งเอกสารหลายอย่างให้ศุลกากรไทยจริง เอกสารเหล่านั้นทางคณะกรรมการเห็นว่าบริษัทฟิลลิปมอร์ริสได้ทำตาม Article 1.2(a) แล้ว (ดู 7.186 ตอนท้ายย่อหน้า) เอกสารเหล่านี้จะเกี่ยวข้องหรือไม่พอเพียงในการจะทำให้เกิดการยอมรับราคาสำแดงที่ซื้อขายกัน(transaction value หรือ transfer value) นั้นเป็นอีกประเด็น แม้ฝ่ายไทยจะอ้างว่าเอกสารเหล่านั้นทั้ง financial data และเอกสารอื่นๆ นั้นไม่พอเพียงจะใช้ในการคำนวณประมาณราคาซื้อขายที่ควรเกิดขึ้นจริง (the deductive value calculation) ตามข้อกำหนดใน Article 1.2(a) และ Article 1.2(b) ก็ตาม ในวันที่ 12 เมษายน คศ.2007 ศุลกากรไทยแจ้งบริษัทว่าจะใช้การคิดภาษีศุลการกรใหม่ โดยไม่อธิบายว่าทำไมถึงสรุปว่าความสัมพันธ์ของบริษัททั้งสองมีผลต่อราคาสำแดง (ย่อหน้า 7.189 ตอนกลาง) เพราะลำพังการที่ "ผู้นำเข้ากับผู้ส่งออกมีความสัมพันธ์" ต่อกันนั้นย่อมไม่เพียงพอที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สุลกากรปฏิเสธราคาซื้อขายที่สำแดงให้ ...the mere fact that an importer is related to an exporter is not sufficient in itself for a customs administration to reject the transaction value. | ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของศุลกากรไทยที่จะต้องอธิบายว่า (ก.) ทำไมตัดสินใจที่จะปฏิเสธราคาสำแดงที่บริษัทซื้อขายระหว่างกัน (ข.) พื้นฐานของการที่ศุลกากรพิจารณาไปว่าความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทนั้นมีผลต่อราคาซื้อขาย หลังจากที่ได้พิจารณาข้อมูลการซื้อขายระหว่างบริษัทไปแล้ว โดยขอโค็ดข้อความตรงนี้ลงมาคือ Consequently, it follows that Thai Customs was under an obligation to explain why it decided to reject the transaction value, including the basis for considering that the relationship influenced the price, after it had examined the circumstances of the sale. |
คณะกรรมการชี้ว่าในจดหมาย 19 ธันวาคม คศ.2006 ที่ศุลกากรไทยส่งให้บริษัทแจ้งว่า "ศุลการกรไทยจะไม่ใช่ราคาสำแดงซื้อขายอีกต่อไป" โดยอ้างว่าบริษัทไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความสัมพันธ์ของบริษัทไม่มีผลต่อราคาสำแดง แต่นอกเหนือไปจากถ้อยคำดังกล่าวในจดหมายแล้ว คณะกรรมการไม่เห็นคำอธิบายอื่นใดอีก โดยไม่บอกบริษัทผู้นำเข้าว่า "ข้อมูลที่ให้ศุลกากรไทยไปแล้วในเวลานั้น" ไม่พอที่จะพิสูจน์ความเป็นจริงถูกต้องของราคาสำแดงได้(ย่อหน้า 7.190) ซึ่งการไม่แจ้งเรื่องนี้มาในจดหมาย ย่อมทำให้ผู้นำเข้าไม่สามารถตอบสนองแก้ไขการที่ศุลกากรไทยพิจารณาไปเช่นนี้ และทำให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรเองก็จะไม่สามารถสำรวจการซื้อขายระหว่างบริษัททั้งสองได้อย่างถูกต้องตาม Article 1.2(a) เพราะจะขาดข้อมูลที่บริษัทอาจจะได้ส่งมาเพิ่มเติม แม้แต่ในจดหมายฉบับต่อมาคือ 12 เมษายน คศ.2007 "ที่แจ้งวิธีการคิดภาษีศุลการกรใหม่" ก็ยังคงมีข้อความเพียงแต่อ้างว่า บริษัททั้งสองมีความสัมพันธ์ต่อกัน และอ้างไปว่าบริษัทไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท(ทั้งสอง) มีผลต่อการกำหนดภาษีหรือไม่ (ย่อหน้า7.191) แต่ศุลกากรไทยก็ไม่อธิบายในจดหมายนั้นว่าทำไมข้อมูลที่บริษัทส่งให้จึงไม่พอเพียง แต่ตาม Article 1.2(a) มันเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในการที่จะตรวจสอบการซื้อขายให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ในกรณีที่มีข้อสงสัยในราคาสำแดงเช่นกรณีนี้ และการที่ไม่อธิบายเรื่องนี้ให้บริษัททราบว่าทำไมข้อมูลไม่พอเพียง และนำไปสู่การปฏิเสธราคาซื้อขายที่สำแดง (transaction value) ทำให้การตรวจสอบการซื้อขายของศุลกากรไทยไม่สมบูรณ์และไม่ต้องด้วย Article 1.2(a) โดยสรุป คณะกรรมการของ WTO สรุปว่าเมื่อเกิดกรณีสงสัยราคาสำแดง เจ้าหน้าที่ศุลการไทยไม่ได้ทำการตรวจสอบการซื้อขายระหว่างบริษัททั้งสองให้ต้องตามบัญญัติใน Article 1.2(a) โดยไม่แจ้งบริษัทให้ทราบว่าข้อมูลไม่พอเพียงที่จะสรุปว่าความสัมพันธ์ระหว่างบริษัททั้งสองไม่มีผลต่อราคาสำแดงซื้อขาบ การไม่แจ้งไม่อธิบายนี้ มีผลให้บริษัทเองไม่สามารถจะแก้ไขความเข้าใจของศุลกากรไทยโดยการส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ และมีผลให้การสำรวจตรวจสอบการซื้อขายเป็นไปไม่สมบูรณ์ไม่ต้องด้วย Article 1.2(a) นั้นเอง และมีผลทำให้การที่ศุลการกรไทยยกเลิกการซื้อขายที่ใช้ราคาสำแดงเป็นการกระทำไปโดยไม่ชอบ เพราะตามข้อกำหนด Customs Evaluation Agreement นั้น ก่อนการยกเลิกการคิดภาษีจากราคาสำแดงของบริษัท ต้องผ่านขั้นตอน Article 1.2(a) ให้ถูกต้องเสียก่อน เมื่อขั้นตอนี้ไม่ชอบธรรมแล้ว ก็ถือว่าสิ่งที่ทางการไทยสรุปไปนั้น วางอยู่บนข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์และไม่ต้องตาม Customs Evaluation Agreement และไทยไม่เคยนำเสนอหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีการทำราคาระหว่างบริษัททั้งสองแจ้งแก่บริษัทเพื่อเป็นเหตุอันควรที่จะยกเลิกการคิดภาษีจากราคาที่บริษัทสำแดง หรือนำเสนอเรื่องนี้แก่ WTO ได้เลย เป็นไงครับ งงไหมครับ เออ..ผมพยายามเต็มที่แล้วที่จะสรุปให้ง่ายโดยหวังว่าใจความจะไม่คลาดเคลื่อนไปมากนัก จะอย่างไรก็ขอให้ถือว่าไม่เป็นการสรุปและแบบไม่เป็นทางการนะครับ และอาจจะมีการแปลที่ผมเองอาจเข้าใจประเด็นผิดไปอยู่ก็เป็นไปได้ครับ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วย เรื่องนี้หากย้อนกลับมาดูเรื่องที่ดีเอสไอส่งให้อัยการ แล้วอัยการสั่งไม่ฟ้อง อาจเป็นไปได้ที่อัยการจะเห็นว่า (1.) การฟ้องนี้จะไปขัดกับคำตัดสินของWTO จนทำให้เป็นปัญหาระหว่างประเทศ (2.) อัยการเองก็เห็นตรงกับ WTO ว่า เฉพาะแต่ในเวลานี้ ฝ่ายไทยมีแต่ข้อสงสัยจากพฤติการณ์ของบริษัทว่าทำราคา หรือร่วมกันสำแดงเท็จ เพื่อให้ราคาบุหรี่ที่ซื้อขายระหว่างกันต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อเสียภาษีศุลกากรนำเข้าน้อยกว่าปกติ (3.) โดยที่ไทยยังไม่มีหลักฐานทางการเงินหรือหลักฐานอื่นๆ ที่บริษัทได้ส่งมาให้และสามารถพิสูจน์ได้ว่า ราคาที่บริษัททั้งสองซื้อขายกันนั้น ผิดปกติและต่ำกว่าราคาที่ควรจะมีการซื้อขายกันจริง สรุปคือ หากอัยการสั่งไม่ฟ้อง ก็เป็นพราะพฤติการณ์คดีมีข้อมูลไม่พอเพียงนั้นเอง ไม่น่าจะเกี่ยวกับผู้ใดไปสั่ง สอดคล้องกับข่าวเนชั่นวันนี้ที่ลงไว้ตามหนังสือที่ กค 0514 (ศ) 656 ลงวันที่ 19 มิ.ย. 2551 แจ้งผลการตรวจสอบไปยังกรรมการผู้จัดการบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ประเทศไทย) จำกัด ระบุข้อความว่า จากเอกสารที่นำไปตรวจสอบไม่พบการกระทำความผิด และบริษัทฯได้รับคืนเอกสารทั้งหมดไปเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2551 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ( คลิกอ่าน ) .... เครดิตคุณ pochi ที่เสรไทย | ซึ่งเห็นได้จากการที่ไทยไม่สามารถนำเสนอเอกสารเหล่านี้ที่แสดงว่ามีการทำราคาให้ต่ำกว่าจริงต่อ WTO ได้ หรือแม้แต่ในเวลาที่ไทยจดหมายแจ้งไปที่บริษัทฟิลลิปมอร์ริส ก็ไม่อธิบายให้ชัดเจนว่า บริษัททั้งสองซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันได้มีการสำแดงราคาไม่ถูกต้องและถือเป็นการสำแดงเท็จ นั้นมาจากหลักฐานใด สำหรับเหตุการณ์ทั้งหมดที่มีการอ้างอิงกันในกรณีพิพาทนี้ โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของศุลกากรนั้น เป็นเหตุการณ์ในช่วง สค.2549-เมย.2550 ดังนั้นขอความกรุณาอย่าเพิ่งรีบโยนบาปมาให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน ดังนั้น ตามความเห็นของผม การที่ไทยยังไม่สามารถจะฟ้องบริษัทฟิลลิปมอร์ริสได้ในเวลานี้ และมีผลให้อัยการสั่งไม่ฟ้องบริษัทฟิลลิปมอร์ริสในเวลานี้ ไม่น่าจะเกิดจากการล็อบบี้ของรัฐบาลแต่อย่างใด การกล่าวหาว่ามีการรับเงินหัวคิวเพื่อล้มคดีด้วยเงินจำนวนมากมาย เป็นการกล่าวหาเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อพรรคคู่แข่งเท่านั้น เพื่อหวังผลทางการเมือง หวังให้รัฐบาลเสื่อมเสีย เพราะต่อให้อัยการสั่งฟ้อง สุดท้ายคดีก็จะมีปัญหา เพราะในเวลานี้ ตามข้อเท็จจริงที่เห็จจากเอกสารของWTO นี้ ดูเหมือนไทยจะไม่มีหลักฐานที่แน่นหนาที่พิสูจน์ได้ว่าบริษัททั้งสองร่วมกันสำแดงเท็จ นอกจากข้อสงสัยจากพฤติการณ์ณ์แบบคนทั่วไปเท่านั้น ซึ่งไม่พอเพียงแน่นอน ในการที่จะสั่งฟ้อง เรื่องนี้จึงเป็นการกล่าวหาให้ร้ายเพื่อหวังผลทางการเมืองเท่านั้น ขอขอบคุณท่านที่ทนอ่านมาได้จนถึงบรรทัดสุดท้าย และขออภัยหากเกิดมีความผิดพลาดแฝงอยู่ในคำสรุปย่อที่ได้จัดทำในส่วนข้างบนนี้เพราะเอกสาร WTO นั้นหนามากและอ่านได้ยากจริงๆ ขออภัยจริงๆ แต่สำหรับท่านที่ต้องการดูเอกสารตัวจริง Final Report of the Panel นั้น กรุณาดูที่กระทู้เมื่อวาน ผมได้เพิ่มเติมวิธีการเข้าไปดูเอกสารให้แล้วครับ ( คลิกตรงนี้ )
เข้ามากระชับกระทู้ และเพิ่มเรื่องจากเนชั่น. เข้ามาแก้คำผิดและปรับคำให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
แก้ไขเมื่อ 10 มี.ค. 54 12:58:32
แก้ไขเมื่อ 10 มี.ค. 54 12:05:58
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
10 มี.ค. 54 10:25:02
A:58.136.4.225 X:
|
|
|
|