Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
นานๆมาที ข้อใช้สิทธิ์ สะใจข่าวนี้ครับ ติดต่อทีมงาน

สมลักษณ์ จัดกระบวนพล เล็คเชอร์ระบบ "ตุลาการ" กรณี ป.ป.ช.กับศาลปกครองสูงสุด

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1299762271&grpid=01&catid=no


มภาษณ์ โดย พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 10 มีนาคม 2554)



ในอดีต "สมลักษณ์ จัดกระบวนพล" เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา และกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

แต่ปัจจุบันในวัย 70 "สมลักษณ์" เป็นอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) นักวิชาการ และที่ปรึกษากรรมการ ป.ป.ช.

หลายครั้ง เมื่อสังคมแคลงใจกระบวนการพิจารณาคดีความใด อดีตกรรมการ ป.ป.ช.รายนี้ จะเขียนบทความแสดงความเห็นส่งไปลงตามสื่อต่างๆ

บทความของ "สมลักษณ์" มักจะเน้นไปที่ "หลักการ-หลักกฎหมาย" โดยจะหลีกเลี่ยงการแตะต้อง "ตัวบุคคล" เพราะมองว่า เมื่อใดที่ไปแตะตัวคน ปัญหาของ "บ้านเมือง" จะถูกบิดเบือนเป็นเรื่องของ "การเมือง" แทน

หลังเกิดกรณี "หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล" ประธานศาลปกครองสูงสุด ให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ให้ความร่วมมือกับ ป.ป.ช. เพื่อชี้แจงกรณีที่มีการกล่าวหา "อักขราทร จุฬารัตน" ขณะดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากใช้อำนาจสั่งเปลี่ยนองค์คณะตุลาการที่พิจารณาคดีคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวที่มิให้นำมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ซึ่งสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปดำเนินการใดๆ

โดยอ้างว่า ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจไต่สวนตรวจสอบผู้พิพากษาศาลใดทั้งสิ้น

อดีตผู้พิพากษาศาลฎีการายนี้ จึงเขียนบทความ "ตุลาการกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" ตอบโต้ทันที

ยืนยันว่า ป.ป.ช.มีอำนาจในการไต่สวนผู้พิพากษา ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 250 และกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 19 เนื่องจากผู้พิพากษาก็คือ "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี

แม้ทั้งสองคนจะรู้จักกันเป็นการส่วนตัว แถมลูกสาว "เบอร์ 1 ของศาลปกครอง" ยังเป็นลูกศิษย์ของ "กุนซือ ป.ป.ช." ที่คณะนิติศาสตร์ มธ.

ทว่า "หลักการ-หลักกฎหมาย" ย่อมสำคัญกว่า "ความสัมพันธ์ส่วนตัว"

ยิ่ง "หัสวุฒิ" ออกมาการันตีความบริสุทธิ์ของอดีตผู้บังคับบัญชา ด้วยคำที่ว่า "คนระดับนี้ เป็นไปไม่ได้ที่จะทำผิดกฎหมาย..."

"มติชน" จึงอดไม่ได้ ที่จะสัมภาษณ์เจ้าตัว เพื่อขยายความถึงกรณีดังกล่าว

"ผู้พิพากษาตุลาการได้รับการคุ้มครองความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 197 แน่ แต่ต้องเป็นการใช้ดุลพินิจโดยอิสระ ไม่ทุจริตและอยู่ภายใต้กฎหมาย ...ถ้าผู้พิพากษารายใดกระทำการที่ตกขอบ แล้วยังอ้างมาตรา 197 จะกลายเป็นว่าผู้พิพากษารายนั้นอยู่เหนือกฎหมาย จะกลั่นแกล้งใคร วินิจฉัยคดีอย่างผิดๆ หรือมีอภิสิทธิ์เหนือข้าราชการทั่วไป ส่วนตัวเชื่อว่าคงไม่มีกลุ่มชนใดยอมให้คนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดอยู่เหนือกฎหมายแน่" สมลักษณ์เริ่มต้นกล่าว

"กุนซือ ป.ป.ช." ยังหยิบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองปี 2552 มาตรา 56 มาอธิบายว่า การเปลี่ยนองค์คณะจะทำได้ 3 กรณี มีการโอนคดีตามระเบียบที่เปลี่ยนไป มีการคัดค้านตุลาการเจ้าของสำนวนหรือที่ร่วมองค์คณะนั้น และองค์คณะมีคดีค้างพิจารณาอยู่จำนวนมากจะทำให้พิจารณาคดีล่าช้า

"แต่ในคำร้องคดีนี้ระบุว่า การคืนสำนวนเกิดขึ้นภายหลังองค์คณะได้ลงมติ 3 ต่อ 2 ให้กลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น หรือแปลง่ายๆ ว่า ให้ ครม.นำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวไปใช้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกได้ แสดงว่ากระบวนการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นแล้ว แต่ตุลาการเจ้าของคดีกลับคืนสำนวนไปให้กับประธานศาลปกครองสูงสุดเวลานั้น โดยอ้างว่าองค์คณะมีคดีค้างพิจารณาจำนวนมาก จากนั้นประธานศาลปกครองจึงจ่ายสำนวนไปให้องค์คณะที่ 1 ที่ตัวเองเป็นประธาน"

"สมลักษณ์" สรุปว่า คดีนี้จึงมีข้อสงสัย 2 เรื่องใหญ่ คือ 1.เหตุใดถึงคืนสำนวนหลังจากลงมติไปแล้ว (ทำไมไม่คืนตั้งแต่แรก แต่คืนเมื่อลงมติแพ้?) และ 2.ทำไมถึงจ่ายสำนวนไปที่องค์คณะของตัวเอง

"ตามความเห็นส่วนตัว หากเกิดกรณีเช่นนี้ วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ควรจะโยนให้ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองชี้ขาด ไม่เช่นนั้นอาจถูกมองได้ว่ามีการเปลี่ยนองค์คณะ เป็นเพราะคำตัดสินไม่ตรงใจผู้บริหารศาล เหมือนที่ระบุไว้ในคำร้อง"

"สมลักษณ์" ออกตัวว่า แม้จะไม่มีอำนาจพิจารณาคดีแล้วเพราะเป็นเพียงอดีตกรรมการ ป.ป.ช. แต่เห็นว่าศาลปกครองควรจะให้ความร่วมมือกับ ป.ป.ช. หากเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ผิด จะได้เคลียร์ตัวเองเร็วที่สุด!

"ตามปกติ ป.ป.ช.จะไต่สวนคดีลักษณะเช่นนี้โดย 1.ต้องดูเป็นดุลพินิจตามมาตรา 197 หรือไม่ ถ้าใช่ข้อกล่าวหาก็ตกไป 2.ถ้าข้อหานั้นพอสันนิษฐานได้ว่าทุจริต เช่น รับสินบน ใช้อำนาจมิชอบ หรือฝ่าฝืนกฎหมาย ก็ต้องสอบว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอหรือไม่ ซึ่งต้องทำด้วยความระมัดระวัง และ 3.หลังจากดูพยานหลักฐานหมดแล้ว ถ้าเห็นว่าเป็นการใช้ดุลพินิจตามมาตรา 197 ป.ป.ช.ก็ต้องให้เรื่องนี้ตกไปเช่นกัน"

"กลับกัน ถ้าเห็นว่าเป็นความผิด ก็ต้องส่งให้ศาลผ่านทางอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีทางอาญา และส่งให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาบทลงโทษทางวินัยต่อไป"

ทั้งนี้ ความน่าสนใจของคดีนี้ จึงไม่ได้อยู่ที่ว่า "ป.ป.ช.สอบสวนผู้พิพากษา" ได้หรือไม่

แต่ยังรวมถึงผลการพิจารณาคดี เพราะ "อักขราทร จุฬารัตน" เป็น 1 ในผู้ที่ถูกระบุว่าอยู่ในขบวนการตุลาการภิวัตน์คนสำคัญ

จึงน่าติดตามว่า ป.ป.ช.จะไต่สวนตรวจสอบ "คนระดับนี้" ได้อย่างตรงไปตรงมามากน้อยแค่ไหน!!!





@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


ยังไงครับ

สร้างกระบวนการบิดเบือนความเป็นธรรม ช่วยเหลือพวกพ้อง  วันนี้เป็นอย่างไรครับ  กฎหมายคือกฎหมาย  ตาข่ายฟ้าย่อมคลุมไปทั่ว

กรรมเริ่มส่งผลหล่ะครับ


แล้ว ประธานศาลปกครองคนปัจจุบัน ท่านอย่าลืม พระราชดำรัส "เรื่องการปกครอง" ที่ในหลวง ทรงเคยพระราชทาน ในปี 49 นะครับ  หากปกครองไม่ได้ ศาลปกครองก็ไม่ต้องทำหน้าที่ เมื่อไม่ต้องทำหน้าที่ พวกท่านก็ต้องลาออก



กระบวนศาลที่ยุติธรรม ต้องโปร่งใส สุจริต และตรวจสอบได้ครับ

ขยะที่ซุกไว้ใต้พรม ถึงเวลาเก็บกวาดแล้ว

จากคุณ : <<First>>
เขียนเมื่อ : 11 มี.ค. 54 10:45:39 A:182.53.199.233 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com