*** หมายเหตุ จขกท. - พรรคฝ่ายค้าน จะนำเอายุทธวิธีของหล่อไปใช้ก็ได้นะครับ เพราะการจับโจรนั้น บางทีก็ต้องใช้อุบาย ก็อุบายไม่ยากหรอกครับ คือพรรคการเมืองบางพรรคและกองเชลียร์พรรคการเมืองพรรคนั้น มีอุปนิสัยเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ บิดเบือนเก่ง โกหกเก่ง และทนด้านที่จะทำอะไรพูดอะไรแบบไร้ยางอาย ขอเพียงบรรลุจุดประสงค์ในการโฆษณาชวนเชื่อและหลอกลวงเท่านั้นเอง
ยุทธวิธีก็คือ อย่าจับผิดอะไรในครั้งเดียว เพราะโจรมันกะล่อน ต้องทำเป็นรู้ไม่ทันมันไปก่อน ให้มันนึกว่าเราไม่ทันมัน นั่นแหละค่อยจรเข้ฟาดหางก้านคอมัน

_______________________________________________________________________________________________________
หลังจากแกล้งโพสต์ข้อมูลผิด ๆ ถูก ๆ ไปสองวัน เพื่อหลอกเด็กให้มาขโมยขนม ซึ่งมันก็กล้าจริง ๆ ด้วย
วันนี้เอาเนื้อ ๆ ครับ
ช่วงรัฐบาลไทยรักไทย เมื่อมีการตั้งข้อสงสัยว่าบริษัทบุหรี่แห่งหนึ่งสำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริง ก็มีการสืบค้นข้อมูล สุดท้ายก็มีการแจ้งความบริษัทบุหรี่กับพวกในข้อหาหนีภาษีตั้งแต่ปี 2546 รวม 14 คน(มอบตัวและประกันตัวสู้คดี 10 คน หลบหนี 4 คน) ดีเอสไอรับเข้าเป็นคดีพิเศษในปี 2549
นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีคำสั่งแต่งตั้งอัยการให้เข้าร่วมทำการสอบสวนร่วมกับดีเอสไอ เมื่อเดือนสิงหาคม 2549
กลางปี 2550 รัฐบาลขิงแก่แก้กฎหมายบุหรี่ ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพสามิตเป็นผู้กำหนดราคาบุหรี่นำเข้า ซึ่งอธิบดีเห็นว่าบริษัทบุหรี่จากฟิลิปปินส์แจ้งสำแดงนำเข้าต่ำกว่าความเป็นจริง คือแจ้งแค่ซองละ 5-7 บาทมานานโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง อธิบดีจึงกำหนดราคาบุหรี่จากฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นเป็นซองละ 8 บาท(ราคานี้ จขกท.ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ ๆ คือกรมสรรพสามิตคิดราคาเพิ่มขึ้น)
ก.พ. 2550 ฟิลิปปินส์ฟ้องต่อ WTO ว่าไทยประเมินการเก็บภาษีนำเข้าบุหรี่จากฟิลิปปินส์ในอัตราสูงเกินจริง (ไทยไม่ได้แพ้คดีต่อฟิลลิปมอริส - เพราะตามกฎขององค์การการค้าโลก ฝ่ายที่จะยื่นฟ้องต่อองค์การการค้าโลก จะต้องเป็นประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกเท่านั้น บริษัทเอกชนไม่สามารถที่จะฟ้องต่อองค์การการค้าโลกได้)
พ.ย .2553 WTO ตัดสินให้ไทยแพ้ฟิลิปปินส์ (และตอนนี้ ไทยกำลังอุทธรณ์)
แพ้คดีเพราะไทยเราไม่สามารถให้เหตุผลได้ว่า ราคาสำแดงบุหรี่จากฟิลิปปินส์นั้นควรมากกว่าที่สำแดงมาเพราะอะไร แม้จะใช้ความพยายามที่จะสืบข้อมูลราคาต้นทุนที่แท้จริงอยู่หลายปี แต่ก็ไม่ได้ข้อมูลราคาต้นทุนที่แท้จริง
การตัดสินนี้ ไม่ใช่ว่าต้นทุนราคาบุหรี่จริงอยู่ที่ซองละ 5-7 บาท แต่วิธีการกำหนดต้นทุนราคาสินค้าเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ความจริงได้ ไทยเราจึงแพ้คดีดังกล่าว เพราะไทยไม่สามารถหาเหตุผลได้ว่าทำไม 5-7 บาทจึงต่ำไป
วางเรื่อง WTO ไว้ก่อน
กลับมาที่การทำงานร่วมกันของดีเอสไอและอัยการ จากการสอบสวนตั้งแต่ปี 2549 ถึงปี 2552 4 ปีในการสอบสวน สุดท้ายทั้งดีเอสไอและอัยการที่ร่วมกันสอบสวนมีข้อสรุปความเห็นตรงกันว่า "ควรสั่งฟ้อง" เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2552 สั่งฟ้องในข้อหา "หนีภาษี" ตั้งแต่ปี 2546 - 2550 เป็นจำนวนเงิน 68,881 ล้านบาท
สำหรับประเด็นที่ทีมสอบสวนร่วมกันทั้งดีเอสไอ และพนักงานอัยการ มีความเห็นในการสั่งฟ้อง 4 ประเด็น ประกอบด้วย
1.ราคาบุหรี่ การเก็บภาษีบุหรี่ จัดเก็บตามมูลค่าราคาซีไอเอฟ (C=cost I = insurance F= freights) ซึ่งแตกต่างกันมาก ถ้าหากสำแดงราคาบุหรี่ต่ำไป 1 บาท จะต้องเสียภาษีอากรประมาณ 4 บาท
2.ความสัมพันธ์กันของผู้ต้องหา ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ซื้อ กับผู้ผลิตหรือผู้ขาย ซึ่งต่างก็อยู่ในเครือของบริษัทบุหรี่ข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดของโลก อาจถือได้ว่าบริษัท หรือบุคคลเดียวกันขายให้กันเอง ที่เป็นข้อเท็จจริงจากการสอบสวนนั้น เพียงพอพิจารณาได้ว่าเป็นบุคคลเดียวกันโดยพฤตินัย เป็นกรณีตั้งราคาลวงขึ้น เพื่อใช้สำแดงเท็จว่าเป็นราคาซื้อขายระหว่างกัน โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง ถือได้ว่าเป็นการทำนิติกรรมซื้อขายลวงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร ซึ่งเกิดจากการร่วมกันมีเจตนาฉ้อฉลของกลุ่มบุคคลที่อยู่ใน 3 ประเทศ โดยร่วมกันสำแดงเท็จต่อเจ้าพนักงาน อันทำให้ค่าภาษีอากรต่างๆ ต่ำไปประมาณ 68,881,394,278.69 บาท
3.การโอนเงิน ที่อ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายไปต่างประเทศ รายการโอนส่วนใหญ่ไม่ใช่รายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร อาทิ มาตรา 65 ตรี (14) กำหนดให้รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ กรณีผู้ต้องหาซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างด้าวเพียงแต่เข้ามาตั้งสาขาในประเทศไทยเท่านั้น แม้จะมีการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยไว้แล้ว แต่มิได้ประกอบกิจการใดๆ จึงเป็นการวางแผนหลีกเลี่ยงภาษีในประเทศไทย ทั้งภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีสรรพากร
4.ค่าระวางสินค้าทางเรือ ประเภทสินค้าบุหรี่ในปีเดียวกันของผู้ให้บริการขนสินค้าทางเรือแต่ละรายเรียกเก็บค่าระวางสินค้าไม่เท่ากัน หรือค่าระวางสินค้าทางเรือ ประเภทสินค้าบุหรี่ในปีเดียวกันของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือรายเดียวกัน เรียกเก็บค่าระวางสินค้าไม่เท่ากัน รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สกุลดอลลาร์สหรัฐ (USD) ไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นกรณีผู้ใช้บริการหรือผู้นำเข้า คือผู้ต้องหากับพวก ได้ร่วมกันสำแดงราคา ซี.ไอ.เอฟ.คงที่ตลอดมา จึงเป็นความเท็จ ไม่ใช่มูลค่าอันแท้จริงของบุหรี่ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินดอลลาร์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย วันที่ 29 ธันวาคม 2549 อัตราขายถัวเฉลี่ย 36.23 บาท แต่บริษัทผู้ต้องหาคิด 40 บาท ตลอดตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 ถึงปัจจุบัน
ทีนี้ หลังการมีความเห็น "สั่งฟ้อง" ของดีเอสไอกับพนักงานอัยการ "ความผิดปกติ" มันก็เริ่มขึ้น
ต้นเดือนตุลาคม 2552 อัยการเลื่อนสั่งฟ้องครั้งที่ 1
พฤศจิกายน 2552 เลื่อนสั่งฟ้องครั้งที่ 2
ธันวาคม 2552 เลื่อนสั่งฟ้องครั้งที่ 3
มกราคม 2553 เลื่อนสั่งฟ้องครั้งที่ 4
กุมภาพันธ์ 2553 เลื่อนสั่งฟ้องครั้งที่ 5 ......จนถึง 23 กันยายน 2553 เลื่อนสั่งฟ้องอีกเป็นครั้งที่ ...... (ไม่รู้ มันเลื่อนจนมึน)
6 ก.ย. 2553 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) ทำหนังสือถึงหน่วยงานราชการต่างๆ 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต สำนักงานอัยการสูงสุด กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานผู้แทนการค้าไทย เพื่อหารือในกรณีดีเอสไอสั่งฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริสฯ ในวันที่ 2 กันยายน 2552
ปลายปี 2553 มีหนังสือจาก สลน. เชิญร่วมหารือกับ 7 หน่วยงานอีกครั้ง
6 ม.ค. 2554 อัยการมีมติไม่ฟ้อง
4 มึ.ค. 2554 อัยการสั่งไม่ฟ้อง ส่งเรื่องกลับดีเอสไอ หากดีเอสไอเห็นด้วยคดีเป็นอันยุติ แต่หากไม่เห็นด้วยก็เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณาชี้ขาด
ประเด็นของเรื่องก็คือ 4 ประด็นที่ดีเอสไอและพนักงานอัยการเห็นควรสั่งฟ้องนั้น เกี่ยวพันกันแค่ไหนกับคำตัดสินของ WTO หากอ้างคำตัดสินของ WTO ที่ตัดสินว่าไทยคิดภาษีสูงเกินจริง ฉะนั้นฟ้องไปก็ไม่ชนะเพราะบริษัทบุหรี่มีคำตัดสินของ WTO เป็นหลักฐานยืนยัน ก็มีคำถามว่า คดีใน WTO สิ้นสุดแล้วหรือ ?
ประเด็นของเรื่องก็คือ เหตุผลในการสั่งไม่ฟ้องของอัยการคือ "หลังจากคณะทำงานอัยการพิจารณาข้อกล่าวหา และพยานหลักฐานแล้วยังฟังไม่ได้ว่าพวกผู้ถูกกล่าวหาสำแดงเท็จ" ก็อยากรู้ว่า หลักฐานของดีเอสไอกับพนักงานอัยการที่ทำร่วมกันมาแย่ขนาดนั้นเลยหรือทั้ง ๆ ที่มีความเห็นสั่งฟ้องร่วมกันมาก่อน ? และหากหลักฐานฟังไม่ได้จริง ๆ ให้สอบเพิ่มจะดีกว่าไหม ดีกว่าสั่งไม่ฟ้อง ?
ประเด็นของเรื่องก็คือ ทั้ง ๆ ที่กรมศุลกากรกำลังอุทธรณ์กับ WTO อยู่ ทำไมอัยการจึงรีบสั่งคดี
ประเด็นของเรื่องก็คือ หากดีเอสไอไม่เห็นแย้งการสั่งไม่ฟ้องของอัยการ(ไม่ใช่การฟ้องไม่ได้อย่างที่บางคนพยายามบิดเบือน) คดีก็เป็นอันยุติ หากดีเอสไอเห็นแย้งแล้วต้องส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาชี้ขาด หากอัยการสูงสุดชี้ขาดว่าไม่ฟ้อง คดีก็ยุติ ไทยจะสูญเสียผลประโยชน์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคนมหาศาล เพราะบุหรี่ที่ฟิลิปปินส์ส่งมาขายไทยนั้นปีหนึ่งประมาณ 8,000 ล้านมวน(และอนาคตย่อมเพิ่มขึ้นเพราะราคาบุหรี่ต่ำ - วันนี้บุหรี่ L&M ราคาซองละ 56 บาท ขณะที่บุหรี่ไทยซองละ 58 บาท)
สรุปประเด็น
เงินภาษีเกือบเจ็ดหมื่นล้านเป็นผลประโยชน์ของชาติล้วน ๆ สิ่งที่ควรทำคือต้องหาทางเอาชนะในคดีให้ได้ ไม่ใช่อ้างนั่นอ้างนี่แล้วยุติคดี ต้องคำนึงถึงปัจจุบันและอนาคตด้วย
เรื่องนี้กำลังมีการอ้าง WTO เพื่อบิดเบือนเรื่องราว ทั้ง ๆ ที่เรื่องราวความผิดปกตินั้นมันอยู่ที่ขั้นตอนการสั่งคดีของอัยการ บิดเบือนเรื่องราวเพื่อไม่ให้กระทบกับ "คนในรัฐบาล" ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง โดยเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรี
หากใครเห็นว่าคดีนี้มีความ "ปกติ" ก็ตามสบายครับ จะได้รู้ถึง "สติปัญญา" ว่าระดับไหน นี่ไม่ใช่การดูถูกเสียดสี แต่คือ "สามัญสำนึก" ในการมองดูภาวการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนี้
นี่คือเรื่อง "ผลประโยชน์ของบ้านเมือง" ที่จะปล่อยไปง่าย ๆ อย่างไร้ความรับผิดชอบ
เมื่อยบ่ะ ว่าจะพิมพ์เยอะ ๆ ให้รายละเอียดมากกว่านี้แต่ขี้เกียจแล้ว เพราะมันเปล่าประโยชน์ที่จะเปลี่ยนสำนึก "นักบิด"
เอาไว้ฟังตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจดีกว่า แค่เรื่องอัยการ 2 คนที่ร่วมทำคดีกับดีเอสไอและเคยให้ความเห็นร่วมกับดีเอสไอว่าควรสั่งฟ้อง แต่เมื่อถึงขั้นลงความเห็นเฉพาะคณะอัยการในขั้นตอนสั่งคดีกลับมีความเห็นกลับด้านว่าไม่ฟ้องนี่ มันก็พิลึกจนมึนแล้วขะรับ
จบ

ปอลิง. ข่าวล่ามาสุด การอภิปรายไม่ไว้วางใจอาจไม่มีขึ้น ไม่มีรายละเอียด ไม่มีแหล่งข่าว ไปส่องกระจกข้างฝาฝึกทำหน้าขี้เหร่ตะกี้ได้ยินเสียงจิ้งจกมันคุยกัน

แก้ไขเมื่อ 11 มี.ค. 54 13:06:39