ขออภิปรายเรื่องน้ำมันปาล์ม ต่อสักหน่อยครับ
|
 |
ขออภิปรายเรื่องน้ำมันปาล์ม ต่อสักนิด ตามความเห็นส่วนตัว คือ ในกระทู้ก่อนได้นำข้อมูลมาแสดงให้เห็นว่าราคาน้ำมันปาล์มขายปลีกในสมัยมิ่งขวัญ มีราคาแพงพอๆหรือมากกว่า สมัยมาร์ค ดังตารางต่อไปนี้ (จิ้ม ) ปี 2551 ตรา | มค. | กพ. | มีค. | เมย. | พค. | มิย. | กค. | สค. | กย. | ตค. | พย. | ธค. | มรกต | 42.75 | 46.62 | 46.45 | 46.88 | 46.77 | 47.23 | 47.03 | 47.48 | 46.73 | 45.15 | 40.69 | 38.62 | หยก | 41.63 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.17 | 47.50 | 47.17 | 40.08 | 37.75 | โอลีน | 43.38 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.30 | 38.00 | 37.60 | แวว | 43.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 47.50 | 45.00 | 38.23 | 37.88
| โดยที่ราคาที่เกษตรกร ขายผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลาย นน.> 15 กก. สูงสุดในเดือน มค.2551 เท่ากับ 5.90 บาท/กก. เท่านั้น ( คลิก ) ในขณะที่สมัยมาร์ค เกษตรกรขายขายผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลาย นน.> 15 กก. สูงสุดในเดือน มค.2554 เท่ากับ 8.63 บาท/กก.หรือ 1.46 เท่าของราคาที่เกษตรกรขายได้ในสมัยมิ่งขวัญ ในขณะที่ราคาขายปลีกของน้ำมันปาล์มปี 2554 สมัยมาร์คอยู่ที่ ( จิ้ม ) ตรามรกต | 45.65 | 47.58 | ตราหยก | 44.94 | 47.00 | ตราโอลีน | 45.48 | 47.00 | ตราแวว | 46.59 | 48.25 |  ในช่วงเดือน พย.2553-กพ.2554 มีการขาดแคลนน้ำมันปาล์มดิบ เพราะ ผลปาล์มมีออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่โรงสกัดมีความต้องการจึงออกมาแข่งขันกันรับซื้อและปรับราคาจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบสูงขึ้น เมื่อมค. 2554 ( จิ้ม ) น้ำมันปาล์มดิบ เกรดเอ ขายส่ง กทม. ราคา 55.00 บาท/กก. แต่สมัยมิ่งขวัญ [ จิ้ม ] น้ำมันปาล์มดิบราคา 36.82 บาท/กก. ราคาของมาร์คจึงเพิ่มขึ้นราวๆ 1.49 เท่าของราคา มิ่งขวัญ คล้ายๆราคาที่เกษตรกรได้เพิ่มขึ้น
แม้ราคาขายปลีกน้ำมันปาล์มขวดพลาสติกขนาด 1 ลิตร ในตารางที่สองข้างบนในช่วงรัฐฐาลนี้นั้น จะเป็นผลมาจากการชดเชยของรัฐบาล (ชดเชยราคาน้ำมันปาล์มดิบแยกไขจากต่างประเทศ ราคาตันละ 1,310 ดอลลาร์สหรัฐ จะชดเชยให้ลิตรละ 5 บาท กรณีราคาประมูลตกลงที่ 1,270 ดอลลาร์ต่อตัน ค่าชดเชยก็จะเหลือ 3.20 บาท ส่วนราคาในประเทศไทยถ้าซื้อน้ำมันดิบจากโรงกลั่นจะชดเชยให้ลิตรละ 9.50 บาท ) - รัฐบาลทำถูกต้องหรือไม่ที่ชดเชยราคาน้ำมันปาล์ม - คงแล้วแต่มุมมอง แต่เพื่อป้องกันการเดือดร้อนของประชาชน การชดเชยราคาเช่นนี้ ถือเป็นปกติวิสัยที่รัฐบาลจะช่วยบรรเทาความเดือร้อนประชาชน - มีการทุจริตหรือไม่ - ผมไม่เห็นหลักฐาน ในส่วนตัวเชื่อว่าน่าจะเกิดจากผลผลิตที่ลดลงร้อยละ 14 ในช่วง ตค.-ธค.2553 และมีการใช้งานที่มากขึ้นในช่วงนี้ ร้อยละ 7 ( ดู )จนทำให้น้ำมันไม่พอและทั้งระบบเกิดการกักตุนทั้งผู้ผลิตผู้บริโภค ด้วยเกรงจะมีมีน้ำมันใช้ และหากดูจากสัดส่วนราคาปาล์มทลายที่เกษตรกรขายได้ กับราคาน้ำมันปาล์มดิบหน้าโรงงาน ก็มีการเพิ่มอย่างเป็นสัดส่วนกันคือ 1.4 เท่า ของกันและกัน จากราคาในปี 2551 แสดงว่าราคาสูงเพราะแรงกดดันทางกลไกตลาด และส่งผลไปถึงเกษตรกรขายได้ราคาดีด้วย ไม่ใช่การกักตุนจากน้ำมันจากปาล์มทลายที่ซื้อกันมาในราคาถูก - เป็นการบริหารงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่ คาดการณ์ล่วงหน้าไมได้หรือ - แล้วแต่มุมมอง แน่นอนคนไม่ชอบรัฐบาลและคนทั่วไปส่วนใหญ่ก็คงต้องโทษรัฐบาล แต่ในอีกมุมการผลิตที่ลดลง และการบริโภคที่เพิ่มขึ้นก็ยากจะคาดเดา แต่การที่รัฐเข้ามาแทรกแซงจนทำให้มีน้ำมันในตลาดในราคาที่ไม่แพง ก็ถือเป็นการสมควรตามหน้ามี่รัฐบาล - ราคาน้ำมันต่อไปจะเป็นอย่างไร - ขึ้นกับผลผลิตที่ออกมา และความต้องการใช้ในกิจการปกติ ความต้องการในการนำไปทำไบโอดีเซล และความตื่นตระหนกของผู้จำหน่ายและผู้บริโภค หากความตื่นตระหนกของผู้จำหน่ายและผู้บริโภคหมดไป เชื่อว่าราคาจะกลับมาเป็นปกติได้โดยรัฐไม่ต้องชดเชยราคา ก็ขอให้ความเห้นในฐานะประชาชนคนหนึ่งไว้ดังนี้แหละครับ และกระทู้ที่มีการสอบถามผมนั้น ผมยังไม่มีเวลาเข้าไปดู อาจจะเข้าไปดูค่ำนี้ แต่คาดว่า เนื้อหากระทู้นี้อาจจะให้คำตอบได้บางส่วน หรือพ้นจากนี้ไป ก็งตอบไมไดเช่นกัน เพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ได้แต่ให้ความเห็นในฐานะประชาชน ใครจะชอบหรือไมชอบ ก็คงช่วยไม่ได้จริงๆละครับ 
แก้ไขเมื่อ 16 มี.ค. 54 17:50:43
แก้ไขเมื่อ 16 มี.ค. 54 17:43:30
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
16 มี.ค. 54 17:31:52
A:58.136.4.206 X:
|
|
|
|