อยากอธิบายเรื่องของ เผด็จการรัฐสภา ครับ
|
 |
จำได้ว่าเมื่อตอนสมัยทักษิณเป็นนายกฯ มีการใช้วาทกรรมของคำว่า “เผด็จการรัฐสภา” มาใส่ร้ายป้ายสีพรรคที่ประชาชนเลือกเข้ามาด้วยคะแนนเสียงที่มากมายเป็นประวัติการณ์ของรัฐสภาไทย นั่นไม่ใช่ได้มาเพราะโชคช่วยนะครับ ไม่ไช่ได้มาเพราะคำพูดที่สวยหรู ไม่ใช่ได้มาเพราะการซื้อเสียงดังที่คนหลายฝั่งชอบนำมาอ้าง และถ้าจำไม่ผิด แม้แต่กรุงเทพนี่แหละครับ ก็ได้ ส.ส.มากมาย จนพรรคเดิมที่เป็นเจ้าของพื้นที่เกือบสูญพันธุ์ไปเลยก็ว่าได้ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ได้มาเพราะการบริหารอย่างเป็นระบบ ได้มาเพราะการทำงานอย่างหนัก ได้มาเพราะวิสัยทัศน์อันยอดเยี่ยม ได้มาเพราะผลงานอันเป็นที่จับต้องได้ของประชาชนแทบทุกภาคส่วน และทั้งหมดนี้ก็เป็นเพราะการเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ไม่ต้องมาคอยกังวลกับการเล่นเกมส์ในสภา ไม่ต้องมาวุ่นวายกับข้อกล่าวหาที่ไร้สาระในสภา และก็มีความเข้มแข็งในการบริหารประเทศ แบบนี้หรือครับเป็นความเลวร้ายของ “เผด็จการรัฐสภา”
มองกลับมาตอนนี้นะครับ เพราะความกลัว “เผด็จการรัฐสภา” จึงทำให้มีการร่างรัฐธรรมนูญที่จะสกัดความเข้มแข็งของพรรคการเมือง ตอนนี้เราจึงได้รัฐบาลที่อ่อนแอ ต้องรวมกันหลายพรรค แล้วประเทศดีขึ้นกว่าเก่าแล้วหรือยังครับ ดีกว่าเก่าหรือเปล่าครับ นอกจากได้เห็นการต่อรองเพื่อผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน มีการเล่นเล่ห์เพทุบายแม้แต่พรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน คอยสกัดกั้นผลงานที่พรรคร่วมทำ เพราะกลัวจะได้คะแนนเสียงจากประชาชน กลัวพรรคอื่นได้หน้าได้ตา แล้วคนเสียผลประโยชน์คือใครครับ ถ้าไม่ใช่ประชาชน มีการใช้ผลประโยชน์จากงบประมาณแลกเปลี่ยนกับเสียงสนับสนุนในสภา สุดท้ายเราก็ได้เห็นความไม่ชอบมาพากลในโครงการต่างๆ ที่ส่อแววว่ามีการทุจริตจริง แล้วเป็นไงครับ ตอนโหวตก็โหวตผ่านเป็นเอกฉันท์เช่นกัน อย่างนี้แล้วมันต่างตรงไหนกับเผด็จการรัฐสภาล่ะครับ
เผด็จการรัฐสภา ฝ่ายค้านไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจ เอาที่ไหนมาพูดครับ การอภิปรายนายกฯใช้เสียงแค่ 1 ใน 5 อภิปรายรัฐมนตรีก็ใช้เสียงแค่ 1 ใน 6 ในสภาเท่านั้นเอง ดังนั้นจึงเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นครับ ส่วนการอภิปรายนั้น ถ้ามองว่าอภิปรายในรัฐสภา ถ้าเป็นเผด็จการรัฐสภาแล้วโอกาสที่จะชนะรัฐบาลนั้นคงจะไม่มี แต่ถ้าเรามองการอภิปรายที่ผ่านมา จะเห็นว่า แม้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับฝ่ายค้าน แต่รัฐบาลก็ยังคงได้รับความไว้วางใจจาก ส.ส.ในสภาเช่นกัน และที่น่าเกลียดกว่านั้น ก็คือประชาชนให้ความไว้วางใจรัฐมนตรีต่ำสุด กลับได้คะแนนโหวตสูงสุด แบบนี้แล้วยังมีใครว่า ในอดีตเป็นเผด็จการรัฐสภาอีกหรือครับ
มีบางท่านยังพูดอีกว่า ในอดีตนั้นเป็นสภาผัวเมีย ว่าไปนั่น แต่ก็ยังมีคนหลงเชื่ออีกแน่ะ เล่นกับคนไทยกลุ่มนี้สิ ผมแค่อยากถามว่า แล้วเดี๋ยวนี้ล่ะ เราไม่มีสภาผัวเมียกันแล้วหรือครับ ต่อให้เป็นสภาผัวเมีย ก็แค่ครอบครัวเดียวนะครับ แต่ปัจจุบัน ลากกันมาเป็นยวงเลยนะครับ มีการเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น มีการเล่นการเมืองเป็นพวกเป็นพ้อง โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ มีการรวมกลุ่มเป็นก้อน เพื่อตกลงผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน มีกันผสมปนเปกันหลายกลุ่มหลายพรรค เพื่ออะไรกันครับ ถ้าไม่ใช่เพื่อให้มีอำนาจต่อรองกัน อย่างนี้แล้ว ผมคงจะเรียก “สภาผัวเมีย” คงไม่ได้สินะ นอกจากจะเรียกว่า “สภาสวิงกิ้ง” คงจะเข้ากับสภาชุดนี้เป็นอย่างดี
ดังนั้นเมื่อดูจากข้อดีข้อด้อยของรัฐสภา ระหว่างรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้นั้น ย่อมทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้มากกว่ารัฐบาลผสมพันธุ์อย่างแน่นอนครับ เพราะไม่ต้องคอยพะวักพะวนอยู่กับพรรคร่วม มีเวลาที่จะบริหารประเทศได้ดีกว่าเร็วกว่า ไม่ต้องมาคอยเสียเวลากับการต่อรองต่างๆ ดังตัวอย่างง่ายๆนะครับ การแก้ไขรัฐธรรมนูญแค่ 2 ข้อ ซึ่งต้องใช้งบไปจ้างเขาทำถึง 20 ล้านบาท แค่บอกว่าจะแก้รัฐธรรมนูญเท่านั้นเอง พรรคร่วมต่างก็ออกมาพูดถึงการไม่เห็นด้วย โดยยกเหตุผลต่างๆนาๆ แต่พอไปร่วมรับประทานอาหารกันมื้อเดียว เหตุผลที่ยกมาก็กลายเป็นไม่มีเหตุผลไปเสียฉิบ สุดท้ายก็เห็นด้วยจนได้ นั่นเพราะอะไรหรือครับ ถ้าไม่ใช่เพื่ออัพค่าตัวเท่านั้นเอง เรายังอยากได้รัฐสภาแบบนี้อีกหรือครับ
ข้อสำคัญนะครับ เคยเห็นเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์หรือเปล่าครับ เขามีฝ่ายค้านในสภาแค่ 2 คน แต่ประชากรของเขาไม่เคยสนใจกับ “เผด็จการรัฐสภา” เหมือนบ้านเรา แล้วประเทศเขาเป็นอย่างไรครับ ไม่ว่าทรัพยากร ไม่ว่าความเป็นประเทศใหญ่ ล้วนแต่สู้ของเราไม่ได้แม้แต่นิดเดียว แต่กลับเจริญรุดหน้ากว่าเราไปเสียทุกด้าน นั่นเป็นเพราะเหตุใดกัน หรือจะเป็นเพราะว่า “เขาเป็นคนสิงคโปร์” ที่ไม่ใช่ “คนไทย” หรือเปล่าครับ
และอีกอย่างก็คือ ถึงจะเป็นเผด็จการรัฐสภา แต่ประชาชนก็ยังตรวจสอบได้อยู่ดี ถึงจะเป็นเผด็จการรัฐสภา ประชาชนก็ยังสามารถใช้สิทธิในการถอดถอน เอาออก หรือแม้กระทั่งไม่เลือกตั้งให้เข้ามาเมื่อครบวาระ มันต่างกับสมบูรณาญาสิทธิราชหรือเปล่าลองคิดดู
สุดท้ายก็อยากฝากข้อคิดสำหรับคนที่รังเกียจ “เผด็จการรัฐสภา” ว่า ถ้าเกิดในอนาคต เกิดมีพรรคการเมืองที่มีผลงานมากยิ่งกว่าอดีตนายกฯทักษิณ จนทำให้ประชาชนทั้งประเทศเทคะแนนเสียงให้กับพรรคการเมืองพรรคนี้เพียงพรรคเดียว อย่างนี้แล้วเป็นความผิดของพรรคการเมืองพรรคนี้หรือเป็นความผิดของประชาชนครับ แล้วเราต้องฉีกรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้มี “เผด็จการรัฐสภา”หรือเปล่าครับ
จากคุณ |
:
ทวดเอง
|
เขียนเมื่อ |
:
23 มี.ค. 54 09:46:22
A:183.89.74.177 X:
|
|
|
|