
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนไว้ในคอลัมน์ซอยสวนพลูว่า สมัยโบราณนั้น "ผู้ใดอ้างพระบรมราชโองการย่อมมีโทษประหารชีวิต"
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เขียนไว้ในคอมลัมน์ "คนเดินตรอก" เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2554 ว่า
"วัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่สร้างสรรค์และเป็นอันตรายอย่างยิ่งก็คือ วัฒนธรรมการผูกขาดความจงรักภักดี ใช้ความจงรักภักดีเป็นเครื่องมือทำลายฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมือง ประชาชนคนไทยมีความจงรักภักดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เมื่อมีคนมาจี้จุดความอ่อนไหวในหัวใจคนไทยทุกคนอยู่แล้วก็เกิดอารมณ์ได้ง่าย
การใช้เรื่องนี้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองจึงมีผลตามที่ต้องการได้ในระยะสั้น โดยหารู้ไม่ว่าการกระทำเช่นนั้น ต่อไปก็จะกลายเป็นวัฒนธรรมและประเพณีทางการเมืองที่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง"
หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ
ฉบับประจำวันที่ 11 มีนาคม 2530
"ซอยสวนพลู"
คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนไว้ว่า
ความจริงผมไม่อยากจะเขียนเรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้เลย แต่เมื่อได้พิจารณาดูโดยรอบคอบแล้ว เห็นว่า จำเป็นต้อง
เขียนเพราะถ้าไม่เขียนแล้วอาจเกิดผลเสียหายใหญ่โตต่อไปได้
จะกระเทือนใครบ้างผมก็ไม่สนใจละครับ เพราะผมคิดเสียว่า ถ้าผมกระเทือนใครคนนั้นเป็นคนควรกระเทือน
หรือกระเทือนอยู่แล้ว
มีข่าวออกมาว่า ในหลวงมีพระราชดำรัสกับคนหนังสือพิมพ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ในทำนองว่า
ระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทยนั้นยุ่งยากเพราะเราต้องลอกแบบฝรั่งเอามาใช้ ถ้าทำแบบไทยๆ ก็คงจะยุ่งยาก
น้อยลง พระราชดำรัสนี้มีขึ้นในโต๊ะเสวยขณะที่มีพระราชปฏิสันถารกับคนหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นธรรมดาของพระ
ราชดำรัสในโต๊ะเสวยก็จะต้องมีพระราชกระแสอื่นๆ มาก่อนหน้านี้ หรือคนหนังสือพิมพ์กราบบังคมทูลถามอย่าง
ใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และเมื่อมีพระราชกระแสที่เป็นข่าวนี้แล้ว ก็จะต้องมีพระราชกระแสอื่นๆ ต่อไปอีก
การที่จะนำพระราชกระแสในโต๊ะเสวยมาบอกเล่าให้คนนอกทราบนั้น ก็ไม่บังควรอย่างยิ่งอยู่แล้ว
แต่ถ้าจะบอกเล่า ก็ควรจะบอกให้หมดว่า พระราชกระแสก่อนนั้นมีมาอย่างไร และพระราชกระแสต่อไปมีอย่างไร การที่รัฐบาลจงใจเชิญพระราชกระแสมาแต่ประโยคเดียว แล้วสั่งให้เผยแพร่ต่อไปนั้น เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง แม้จะเป็นคำพูดของคนอื่นก็ไม่ควร เพราะไม่เป็นธรรมแก่ผู้พูด
ความจริง คนหนังสือพิมพ์ที่เฝ้าฯอยู่ในโต๊ะเสวยนั้น มีอยู่หลายคน ไปจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ แต่มีอยู่เพียง
ฉบับเดียวหรือสองฉบับเท่านั้น ที่ได้นำมาลงเป็นข่าว แต่ก็เป็นข่าวเล็กๆ มิได้ถือว่าเป็นข่าวใหญ่ข่าวสำคัญ
หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่นั้นมิได้เอ่ยถึงเลย
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์ไทยนั้นถึงจะจ้วงจาบใครต่อใครให้เกิดโทสะ เคียดแค้นได้อยู่เสมอ แต่ก็รู้ที่ต่ำที่
สูง บูชาคนที่ควรบูชาและมีความจงรักภักดีอันมั่นคงแข็งแรงอยู่ พูดง่ายๆ ก็คือ หนังสือพิมพ์ไทยยังเป็นผู้ดีอยู่ไม่
กำเริบ
ผมก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมนายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ จึงได้ตื่นเต้นถึงกับบอกคณะรัฐมนตรีให้ช่วยกันเผยแพร่ข่าวนี้ให้สะพัดออกไป และย้ำแล้วย้ำอีกว่า อยากให้คนรู้กันทั่ว
ที่คุณเปรมอ้างว่าจงรักภักดีต่อพระกรุณายิ่งกว่าใครนั้น น่าจะต้องเอามาผ่านห้องทดลองเพื่อวิเคราะห์กันใหม่เสียแล้วกระมัง? สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องคิดก็คือ คำว่า ประชาธิปไตยแบบไทยๆ นั้น หมายความว่าอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความหมายของคำนี้ในขณะที่มีพระราชดำรัสนั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้ไม่มีใครรู้ ผมเองก็ไม่รู้
คุณเปรมเป็นอะไรมาจึงจะเข้าไปหยั่งรู้ในพระราชหฤทัยได้?
เพียงแต่คิดว่าตัวรู้ก็ออกจะเป็นคนไม่น่าติดต่อด้วยเสียแล้ว
เรื่องประชาธิปไตยแบบไทยๆ นี้ ผมได้ยินพูดกันมาช้านานแล้วคนโน้นพูดบ้างคนนี้พูดบ้าง ฟังดูก็เห็นตรงกันแต่
ศัพท์ที่ใช้เรียก
ส่วนวิธีการที่อ้างว่าเป็นวิธีการแบบไทยๆ นั้น ไม่เห็นตรงกันสักราย เมื่อต่างคนต่างคิดในเรื่องเดียวกันนี้ ต่างคน
ต่างก็มีวิธีการของตนแตกต่างกันไป บ้าบ้าง บอบ้าง บิ่นบ้าง หาอะไรเป็นแก่นสารและเอาเป็นที่ยุติไม่ได้
เมื่อคุณเปรมตื่นเต้นในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ อย่างนี้ ก็พอจะเข้าใจได้ว่า คุณเปรมเองก็ต้องการและมี
วิธีการของระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของตนเอง
หมายถึง การเป็นนายกฯโดยไม่ต้องสมัครผู้แทนฯให้เหนื่อยกาย เหนื่อยใจ ใช่ไหม?
หมายถึงการที่เป็นนายกฯคนเดียวตลอดไปใช่ไหม?
หมายถึงนายกฯคนที่ชื่อเปรมนั้นไม่ต้องรับผิดในสิ่งใดและต่อใครใช่ไหม?
หมายถึงนายกฯคนที่ชื่อเปรมจะต้องอยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ ใครแตะต้องไม่ได้ ใช่ไหม?
หมายถึง ความเป็นนายกฯนั้นมีแต่เสวยสุข ไม่มีทุกข์กับใคร ใช่ไหม? ได้อยู่บ้านหลวง ใช้น้ำหลวง ไฟหลวง ใช่ไหม?
จะไปไหนก็ใช้รถหลวง เรือหลวง หรือหลวงออกค่าโดยสารเครื่องบินให้ยกโขยงกันไปเที่ยวต่างประเทศได้ ใช่
ไหม?
จะไปไหนก็มีคนมาเรียงรายคอยต้อนรับ บางแห่งถึงกับก้มลงกราบกับพื้นดิน ใช่ไหม?
คึกฤทธิ์ ปราโมช
...........................
วันนี้ การอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในทางการเมืองยังคงเกิดขึ้น
จากใคร ? พวกใด ? ทำไมผู้ที่อ้างว่าตัวเองจงรักภักดีนักหนาจึงไม่เคยออกมาห้ามปราม ?
..........
ปี 2527 เกิดข่าวลือสะพัดว่าธนาคารกรุงเทพจะล้ม
สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนอย่างยิ่ง มีประชาชนจำนวนมากถอนเงินออกจากธนาคารกรุงเทพ
ซึ่งหากความตื่นตระหนกนี้ไม่สิ้นสุด ประชาชนที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงเทพแห่กันไปถอนเงินกันหมด
ธนาคารไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้แน่
รัฐบาลเปรมในเวลานั้น มีแนวคิดว่า หากธนาคารกรุงเทพล้ม ประเทศไทยก็ล้ม
รัฐบาลจึงให้กระทรวงการคลังสำรองเงินจำนวน 200 ล้านบาท เพื่อคอยช่วยเหลือธนาคารกรุงเทพและธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไปด้วย
การมีเงินสำรองขจัดปัญหาการถอนเงินของลูกค้าให้ธนาคารกรุงเทพได้ และธนาคารกรุงเทพสามารถสยบข่าวลือได้ในที่สุด
โปรดพิจารณาข้อเขียนชิ้นนี้
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7026 ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ ข่าวทะลุคน
ชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ ติดโผของกลุ่มคนเสื้อแดง ในฐานะเป็น 1 ในกลุ่ม 11 หรือคณะ 11
กลุ่มนักธุรกิจใหญ่ของไทยที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ถูกม็อบแดงบุกไปตั้งเวทีถึงหน้าสำนักงานใหญ่ ถนนสีลม จนต้องปิดทำการเร็วกว่ากำหนด
ถูกโจมตีรุกป่าเขาสอยดาวสร้างสนามกอล์ฟ และตั้ง พล.อ.เปรม เป็นที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ
รวมทั้งทำนิติกรรมอำพราง กรณีอนุมัติเงินกู้ให้บุคคลใกล้ชิดป๋า 500 ล้าน ทั้งที่หลักทรัพย์ค้ำประกันไม่ถึง กลายเป็นปัญหาหนี้เสีย
"บอส" ของพนักงานธนาคากรุงเทพ เกิดวันที่ 28 ก.พ.2476 บุตรของนายชิน โสภณพนิช
จบอาชีวศึกษาชั้นสูงจาก Kwang Tai High Accountancy Collage ฮ่องกง อุดมศึกษาจาก London Regent Street Polytecnic อังกฤษ
ประกาศนียบัตรวิชาการธนาคารจาก Institute of Bankers United Kingdom
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ Pepperdine University ลอสแองเจอลิส สหรัฐ และปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ De La Sale University ฟิลิปปินส์
กลับมาทำงานในธนาคารที่บิดาเป็นผู้บุกเบิก ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการบัญชี
จนเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่
ผูกพันกับ พล.อ.เปรม มาตั้งแต่ครั้ง "ป๋า" ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
และออกมาช่วยให้สัมภาษณ์ยืนยันเรื่องสถานะของธนาคารเมื่อปี 2527 ขณะที่คนทั่วไประส่ำระสายว่าธนาคารพาณิชย์แห่งนั้นแห่งนี้มีปัญหา และจะแห่มาถอนเงิน ว่า
"ถ้าธนาคารกรุงเทพล้ม ประเทศไทยก็ล้ม"
แล้วยังสั่งให้กระทรวงการคลังสำรองเงินสด 200 ล้าน ช่วยเหลือให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งฝ่าวิกฤตคนแห่ถอนเงิน
จากวันนั้นถึงวันนี้ สัมพันธ์ก็ยังไม่คลาย
............
นอกจากอ้างเบื้องสูง สิ่งหนึ่งที่เปรมมักอ้างตลอดคือบ้านเมือง
ธนาคารสักแห่งจะล้ม ยังดึงมาผูกกับชะตากรรมของบ้านเมือง
2540 สถาบันการเงินหลายสิบแห่งล้ม มูลค่ามากมายมหาศาล
บ้านนี้เมืองนี้ยังไม่ล้ม
นี่คือคำตอบทำไมถึงที่ปรึกษาธนาคาร
