-๓-
ความเป็นมาของ “สิทธิและหน้าที่มนุษยชน”และ อภิสิทธิ์ชนกับมวลชน
(๑) ในยุคดึกดำบรรพ์ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ขึ้นในโลกนั้น มนุษย์รวมกันอยู่เป็นหมู่คน ซึ่งมีหัวหน้าปกครองอย่างแม่พ่อปกครองลูก ไม่มีการกดขี่เบียดเบียนระหว่างกัน เช่นพ่อแม่ปกครองลูกนั้น พ่อแม่มิได้เบียดเบียนลูก ชนในหมู่คนนั้นมีเสรีภาพเสมอภาคกันและมีสำนึกในหน้าที่ว่าหมู่คนของตนจะดำรง อยู่ได้นั้นแต่ละคนจะต้องใช้เสรีภาพมิให้เป็นที่เสียหายแก่คนอื่นและแก่หมู่ คน สิทธิและหน้าที่มนุษยชนจึงเป็นไปตามธรรมชาติประจำอยู่กับมนุษย์ตั้งแต่มี มนุษย์ขึ้นในโลก ปวงชนของหมู่คนนั้นจึงมีแต่สามัญชนจำพวกเดียว แบบการปกครองเป็นไปอย่างประชาธิปไตยสมบูรณ์
หมู่คนชนิดนี้ยังมีซากตกค้างอยู่บ้างในสมัยพุทธกาล เช่นสักกะชนบท และในสมัยรัชกาลที่ ๕ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ไปตรวจราชการภาคอีสานก็ได้ทรงพบว่ามีชนบทหนึ่งซึ่งมีซากหมู่คนชนิดนี้แต่ ปัจจุบันหมดไปแล้ว
(๒) กาลต่อมาได้มีการปกครองแบบทาสขึ้น คือชนส่วนน้อยจำนวนหนึ่งในหมู่คนใช้อำนาจถือเอาแผ่นดินเป็นที่ตั้งหมู่คน นั้นเป็นของตน และถือว่าชนส่วนมากเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งของตน ซึ่งตนมีอำนาจเฆี่ยนตีเข่นฆ่าได้เหมือนสัตว์พาหนะ ชนจำนวนน้อยนั้นจึงเป็นเจ้านายยิ่งใหญ่ เป็น “อภิสิทธิ์ชน” ซึ่งมีอำนาจและสิทธิเด็ดขาดเหนือชนส่วนมากที่เป็น “สามัญชน” ๆ ถูกตัดสิทธิมนุษยชนโดยมีแต่หน้าที่จำต้องทำงานอย่างสัตว์พาหนะให้แก่ “อภิสิทธิ์ชน” สามัญชนจึงมีสภาพตามที่ภาษาไทยเดิมเรียกว่า “ข้า” ซึ่งภาษาบาลีเรียกว่า “ทาสา” ซึ่งแผลงเป็นภาษาไทยว่า “ทาส”
ตามธรรมชาติของมนุษย์นั้นต้องการเสรีภาพและความเสมอภาคอันเป็นสิทธิของมนุษย ชน แม้ “อภิสิทธิ์ชน” มีอำนาจเฆี่ยนตีเข่นฆ่า แต่มนุษย์ก็ต้องการหลุดพ้นจากการถูกกดขี่บีบคั้น เราย่อมเห็นได้ว่าสัตว์เดรัจฉานที่คนจับมาใช้งานก็พยายามดิ้นรนที่จะเป็น อิสระ อภิสิทธิ์ชนจึงคิดวิธีเพิ่มเติมประกอบอำนาจของตนขึ้นมาอีกวิธีหนึ่ง คือทำให้ “ข้า” หรือ “ทาส” หลงเชื่อว่าเจ้าใหญ่นายโตที่มีอำนาจยิ่งใหญ่นั้นได้ก็เพราะเป็นคนมีบุญผู้ ที่พระเจ้าบนสวรรค์ได้ส่งเทวดาให้มาจุติเกิดเป็นมนุษย์เพื่อปกครองปวงชน
(๓) ครั้นต่อ ๆ มาได้มีการปกครองแบบศักดินาขึ้น คืออภิสิทธิ์ชนได้ปรับปรุงแบบการปกครองทาสให้ทำงานเพื่อประโยชน์ของ อภิสิทธิ์ชนได้ผลยิ่งขึ้นตามเครื่องมือหัตถกรรมที่พัฒนาขึ้นและตามการ บุกเบิกและหักร้างถางพงในแผ่นดินกว้างใหญ่ให้เป็นที่นากว้างขวางขึ้น จึงจำต้องให้ “ข้า” หรือ “ทาส” ออกไปอยู่ห่างไกลจากเคหสถานของ “อภิสิทธิ์ชน” ผู้เป็นเจ้าของ อภิสิทธิ์ชนจึงต้องมีบริวารช่วยควบคุมข้าทาสและตั้งให้บริวารเหล่านี้มี ฐานันดรศักดิ์อันดับต่าง ๆ ซึ่งแต่ละคนมี “ศักดิ์” คิดตามเนื้อหาที่นา ฐานันดรศักดิ์นี้จึงเรียกว่า “ศักดินา”
ส่วนสามัญชนซึ่งเป็นคนจำนวนมากนั้นในสาระคงมีสภาพเป็น “ข้า” แต่มีคำใหม่เรียกว่า “ไพร่” โดยที่สามัญชนเข้าใจสาระของไพร่ว่าเป็น “ข้า” ชนิดหนึ่ง ฉะนั้นจึงเรียกสามัญชนในสมัยศักดินาว่า “ข้าไพร่” ซึ่งมีความเป็นอิสระดีกว่าทาสบ้าง แต่ทาสก็ยังไม่หมดสิ้นไปในสมัยศักดินา
ความหลงเชื่อว่าอภิสิทธิ์ชนเป็นเทวดาที่มาจุติในโลกมนุษย์ก็ยังคงฝังอยู่ในจิตใจของสามัญชน
(๔) ต่อมาในประเทศยุโรปได้มีผู้คิดทำเครื่องจักรกลใช้กำลังไอน้ำได้สำเร็จ จึงได้มีนายทุนเจ้าของโรงงานสมัยใหม่ที่ใช้เครื่องจักรกลสมัยใหม่ผลิตสิ่ง ของและพาหนะการขนส่ง ฯลฯ แทนแรงคนและแรงสัตว์พาหนะ นายทุนเจ้าของโรงงานจำเป็นต้องใช้ลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถใช้เครื่อง จักรกลสมัยใหม่ ในการนั้นจำเป็นต้องให้คนงานมีเสรีภาพจึงจะมีกำลังใจใช้เครื่องมือสมัยใหม่ ให้ได้ผลอย่างยุโรปตะวันตกโดยมีรัฐธรรมนูญเขียนเป็นกฎหมายให้สามัญชนหมดสภาพ เป็น ”ข้าไพร่” และให้มีสิทธิมนุษยชนเสมอภาคกับนายทุน แต่ในทางปฏิบัตินั้นนายทุนได้เปรียบเพราะอาศัยทุนใช้จ่ายเพื่อใช้สิทธิมนุษย ชนของตนได้มากกว่าสามัญชน
นายทุนยุโรปส่วนที่สะสมทุนไว้ได้มหาศาลจึงเป็นนายทุนยิ่งใหญ่ที่สุดซึ่ง เรียกว่า “จักรวรรดินิยม” นั้นได้แผ่อำนาจไปยังอเมริกา ญี่ปุ่น แล้วก่อให้เกิดนายทุนจักรวรรดินิยมอเมริกันและญี่ปุ่นขึ้น พวกนายทุนมหาศาลเหล่านี้ได้แผ่อำนาจเข้ามาในประเทศด้วยพัฒนาซึ่งรวมถึง ประเทศไทยด้วย รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงประกาศยกเลิกการปกครองทาส แต่การปกครองแบบศักดินายังมีอยู่ ชนชาวไทยปัจจุบันจึงมีฐานะและวิธีครองชีพต่าง ๆ กันมากมายหลายชนชั้นวรรณะตามวิธีศักดินาและวิธีนายทุนสมัยใหม่ เราเห็นได้แก่นัยน์ตาของเขาเองว่า ภายในปวงชนปัจจุบันนี้มีคนไร้สมบัติต้องเป็นลูกจ้างของนายทุน ชาวนา ชาวประมง ชาวสวน ชาวไร่ ช่างฝีมือ ผู้ทำมาหากินโดยแรงงานของตนเอง บุคคลส่วนมากดังกล่าวแล้วอัตคัดขัดสน ส่วนน้อยมีรายได้พอทำพอกิน มีชนผู้มีทุนน้อยรายได้พอทำพอกิน มีคนชั้นกลางรายได้ปานกลางพอมีเหลือเก็บสะสมได้ มีนายทุนรายได้ค่อนข้างมาก มีนายทุนใหญ่มหาศาลรายได้มากมายล้นเหลือเนื่องจากอาศัยทุนมหาศาลสมัยใหม่และ รับช่วงทุนมหาศาลศักดินา
เราอาจจัดชนจำพวกปลีกย่อยต่าง ๆ ภายในปวงชนไทยตามจำนวนส่วนข้างน้อย และส่วนข้างมากเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ
ก.”อภิสิทธิ์ชน” คือชนจำนวนส่วนข้างน้อยที่สุดของปวงชนได้แก่ นายทุนยิ่งใหญ่มหาศาล เนื่องจากสะสมทุนสมัยใหม่และรับช่วงสมบัติศักดินา มีฐานะดีที่สุดยิ่งกว่าคนจำนวนมากในชาติ อภิสิทธิ์ชนหมายความรวมถึงสมุนที่ต้องการรักษาอำนาจและสิทธิของอภิสิทธิ์ชน ไว้
ข.”สามัญชน” คือชนจำนวนส่วนมากที่สุดของปวงชน ประกอบด้วยชนทุกฐานะและอาชีพที่ไม่ใช่ประเภทอภิสิทธิ์ชน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------