จากแนวคิดรวบยอดของนาย ก. และเมียสรุปว่า นาย ณ.ยัดเยียดให้พวกนาย ก.เป็นอำมาตย์ และ พวกนาย ณ. เป็นไพร่ ไฉนพวกไพร่จึงมากินข้าว จิบไวน์ ที่เดียวกันกับพวกของ นาย ก. ได้ แสดงว่า วาทะกรรม "ไพร่-อำมาตย์" เป็นเพียงการยกเอามาปลุกเร้ามวลชนเท่านั้นเอง เพราะกินข้าวที่เดียวกันได้ต้องเสมอภาคกัน ซึ่งจริงๆแล้วประชาชนที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นไพร่นั้น เขาไม่สนใจหรอกว่าใครจะกินข้าวที่ไหน จิบไวน์หรือเบียร์ เขาเพียงคิดว่าเหตุใดคนสองกลุ่มจึงได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกัน เขาคงคิดว่า ทำไมๆๆๆๆๆและทำไม
พรรคหนึ่งถูกยุบ อีกพรรคถูกยก
คนหนึ่งถูกปลด อีกคนถูกปล่อย
ตายร้อยเสื้อดำ ตายสองตำรวจ
ซื้อที่ติดคุก โกงที่ติดยศ
สอนทำกับข้าวลูกจ้าง สอนกฏหมาย(รับตังค์)คุณครู
ปิดถนนถึงตาย ปิดทำเนียบเงียบกริบ
ใช้หนี้คนโง่ กู้หนี้คนเก่ง
แสนคนพูดอันธพาล หนึ่งคนพูดต้องฟัง
ที่1ฝ่ายค้าน ที่2ฝ่ายรัฐ
ฝ่ายหนึ่งป๋าชัง อีกฝั่งป๋าชอบ(จุ๊บๆ)
เรื่องราวพวกนี้ต่างหาก ที่แบ่งแยก ไพร่-อำมาตย์ ออกจากกันอย่างชัดเจน เมื่อคนกลุ่มหนึ่งต้องเป็นเบี้ยล่างอยู่ตลอดเวลา เขาย่อมมองเห็นว่าอะไร ที่แบ่งกั้นเขาให้หลุดออกจากความเท่าเทียม เสียดายนะ ที่นายก.ไปขึ้นแท็กซี่เสื้อแดง แล้วเอามาโม้เป็นตุเป็นตะนั้น คนขับไม่ได้ชื่อ ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ไม่งั้นล่ะก็ นาย ก.อาจได้ไปเกิดใหม่เป็นมหาอำมาตย์แล้ว
แก้ไขเมื่อ 09 พ.ค. 54 20:55:02