"สอบทาน-ค้ำค้าน-เกื้อกูล" - วิถีแห่งการอยู่ร่วมกันของคนหลากสีในสังคมไทย
|
|
มีผู้หลักผู้ใหญ่ท่านหนึ่งของสังคมไทยให้แง่คิดไว้ในตอนท้ายของบทความ "ปลดล็อคความไม่สงบหลังเลือกตั้ง" ตอนหนึ่งว่า
".....คนไทยต้องพัฒนาจิตสำนึกใหม่ให้เป็นจิตใหญ่ที่เห็นทั้งหมดและทำเพื่อทั้งหมด จึงจะสามารถรักษาบูรณภาพและดุลยภาพของประเทศได้ วิถีคิดใหม่ และจิตสำนึกใหม่เป็นเรื่องที่เกิดได้ยาก แต่สภาวะวิกฤตจะมาบีบบังคับให้เกิดขึ้น เพราะตราบใดที่ยังมีวิถีคิดเก่าและจิตสำนึกเก่าก็จะเกิดวิกฤตการณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ไล่ต้อนเราไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดวิถีคิดใหม่และจิตสำนึกใหม่
แท้ที่จริงวิถีคิดเก่าและจิตสำนึกเก่ากำลังนำโลกไปสู่วิกฤตการณ์ใหญ่ ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์แห่งการอยูู่ร่วมกัน ทั้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม ดังที่หายนภัยทางธรรมชาติกำลังคืบคลานเข้ามามากขึ้นๆ วิกฤตการณ์ของมนุษยชาติครั้งนี้เป็นวิกฤตการณ์ทางอารยธรรม เป็นจุดเปลี่ยนทางอารยธรรม (civilization turning Point)
อารยธรรมใหม่ เป็นอารยธรรมแห่งการอยู่ร่วมกัน อารยธรรมใหม่ เกิดจากวิถีคิดใหม่และจิตสำนึกใหม่" ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1307016012&grpid=&catid=02&subcatid=0207
ผมอยากลองเสนอแนวปฏิบัติเพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันของคนไทย ต่อเนื่องจากสิ่งที่ท่านฯได้เสนอไว้ข้างบน โดยพยายามมองภาพกว้างให้เห็นทั้งหมด คิดเพื่อทั้งหมด และทำเพื่อทั้งหมด โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของสังคมไทยในปัจจุบัน ที่เรามีคนเสื้อหลากสีซึ่งมีแนวคิดต่างกัน ให้อยู่ร่วมกันให้ได้ 1. ปัญหาความไม่สมดุลเชิงโครงสร้างในสังคม - เป็นดังที่เราทราบกันดีว่าภายหลังปี 2475 "อำนาจ"ไปตกอยู่กับคณะราษฎรและทหาร แล้วก็เกิดเผด็จการทหาร จนกระทั่งหลังปี 2516 กลุ่มทุนก็เข้ามามีส่วนร่วมในอำนาจด้วย โดยที่ภาคประชาชนก็ยังไม่แข็งแรงกระทั่งภายหลังปี 2535 จึงเริ่มมีการนับหนึ่งในภาคประชาชน เพราะคนชนชั้นกลางมีการศึกษา มีกำลังทางสติปัญญาและมีเศรษฐกิจที่ดี(พอสมควร) เริ่ม"เสียงดัง" และตรวจสอบ/ค้ำยันกับกลุ่มที่มีอำนาจอื่นๆในสังคมได้ หลังปี 2535 แม้ปัญหาความไม่สมดุลเชิงโครงสร้างในสังคมจะยังมีอยู่ แต่ก็ถูกลดทอนลงไปบ้างแล้วบางส่วน เรามี - กลุ่มข้าราชการ (ทหารรวมอยู่ในกลุ่มนี้ จึงขอแยกจากลุ่มที่สอง) - กลุ่มการเมือง (ข้าราชการการเมืองควรแยกออกมาจากกลุ่มข้าราชการประจำ) - กลุ่มทุนหรือธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งในและนอกประเทศ (สื่อสารมวลชน ผมขอจัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย) - กลุ่มภาคประชาชน (ทั้งเสื้อแดง เสื้อเหลือง และเสื้อหลากสี รวมถึงคนที่ไม่มีสีเสื้อ รวมอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งหมด) ในปัจจุบันสามกลุ่มแรกยังมีอิทธิพลสูง แต่ก็ถูกตรวจสอบและค้ำคานโดยกลุ่มที่ 4 คือภาคประชาชน ที่เริ่มเติบโตแข็งแรงในช่วง 5-6 ปีมานี้อย่างเห็นได้ชัด ปัญหาของคนเสื้อสีต่างๆ ในปัจจุบัน แท้ที่จริงแล้วเพียงสะท้อนถึงความหลากหลายของกลุ่มต่างๆ ในภาคประชาชนเท่านั้นเอง เช่น - คนเสื้อแดง ไม่ต้องการให้กลุ่มข้าราชการที่คนเสื้อแดงเรียกว่า กลุ่มอำมาตย์ สั่งการด้วยอำนาจนอกระบบ - คนเสื้อเหลือง ไม่ต้องการให้กลุ่มทุนหรือธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งทุนในประเทศ ทุนต่างประเทศ (โลตัส บิ๊กซี ธนาคารที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนต่างชาติ ฯลฯ) ใช้อำนาจเงินทำตามอำเภอใจ เป็นต้น 2. บูรณภาพและดุลยภาพเชิงโครงสร้าง - ในเมื่อความเป็นจริง เราต้องอยู่ร่วมกันทั้งหมด ไม่ว่าข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ และภาคประชาชน ทำไมเราไม่สร้างสถานะ "สอบทาน-ค้ำคาน-เกื้อกูล" ขึ้นมา เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นปกติสุข ตลอดจนสามารถเกื้อกูลกันและกันในสังคม เพราะเราล้วนต่างเป็นคนไทยด้วยกัน เลือดสีเดียวกัน เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายในฐานะมนุษย์ร่วมโลกเหมือนๆ กัน หากทหารไม่เป็นทหารอาชีพ เข้ามาก้าวก่ายการเมืองมากไป คนเสื้อแดงก็จะออกมาชุมนุมและตรวจสอบ /ค้ำคาน หากกลุ่มทุนคิดจะเข้ามาใช้อำนาจเงินซื้อๆๆๆทุกอย่างและกินรวบ คนเสื้อเหลืองก็จะออกมาชุมนุมเช่นกัน หากนักการเมืองเอาแต่โกงกินคอร์รัปชั่นทั้งคนเสื้อเหลืองและคนเสื้อแดงก็คงจับตามองและออกมาตรวจสอบ/ค้ำคานได้ สื่อสารมวลชนแม้จะรับเงินจากภาคธุรกิจ มีรายได้จากทั้งนักธุรกิจและภาคประชาชน หากเอนเอียงเข้าหากลุ่มทุนมากไป ประชาชนก็จะปฏิเสธไม่สนับสนุน แต่หากทั้งคนเสื้อแดงและ/หรือคนเสื้อเหลืองเหลิงในพลังของตนเองเสียเอง ออกมาชุมนุมพร่ำเพรื่อ สังคมหรือคนไม่มีสีเสื้อก็จะไม่สนับสนุนและต่อต้านเสียเองด้วยเช่นกัน กลับกัน หากคนทุกกลุ่มทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ประชาชน นักธุรกิจ นักการเมือง ข้าราชการเห็นว่า เราล้วนอยู่บนแผ่นดินไทยผืนเดียวกัน เกิด -แก่-เจ็บ-ตายเหมือนๆกัน อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารขององค์ในหลวงด้วยกัน เราจึงควรช่วยเหลือเกื้อกูลกัน กลุ่มทุนก็จัดทุนตอบแทนคืนสังคม ไม่เอาเปรียบเป็นทุนกระดาษซับจนเกินไป นักการเมืองและข้าราชการก็ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติเพื่อแผ่นดินให้มากขึ้น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมให้มากขึ้น นักการเมืองดีๆมีอยู่ไม่น้อย นักการเมืองที่เคยทำตัวแย่ๆก็ต้องปรับตัว คิดนโยบายเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงของคนในสังคม มิฉะนั้นก็จะถูกตรวจสอบโดยภาคประชาชน สื่อสารมวลชนก็ใช้เทคโนโลยและพลังอำนาจการสื่อสารในทางที่เป็นคุณกับสังคม คนเสื้อแดง-เสื้อเหลืองก็ต้องกำหนดบทบาท ท่าทีที่เหมาะสม พอเหมาะพอดี ไม่ใช้ความรุนแรง คนส่วนใหญ่ก็จะหายเบื่อหน่าย และเห็นคุณค่าในฐานะของกลุ่มพลังทางสังคมที่ใช้สอบทานและค้ำคานอำนาจอื่นๆได้ ด้วยวิถีแห่งการอยู่ร่วมกันแบบนี้ สังคมไทยก็จะสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้
แก้ไขเมื่อ 12 มิ.ย. 54 18:13:28
จากคุณ |
:
Younger Pat
|
เขียนเมื่อ |
:
12 มิ.ย. 54 09:06:01
A:124.122.193.35 X:
|
|
|
|