 |
ศาลยุติธรรม ยุติธรรม จริงหรือ (คดียึดทรัพย์ 46,000 ล้าน) ตอนที่ 2{แตกประเด็นจาก P10679893}
|
 |
ต่อจากตอนที่ 1 http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P10679893/P10679893.html
พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542
มาตรา 13 เมื่อมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ให้ประธานศาลฎีกาเรียกประชุมใหญ่ ศาลฎีกาเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นองค์คณะผู้พิพากษาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวโดยเร็ว แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบสี่วันนับแต่วันยื่น ฟ้องคดี ผู้พิพากษาคนใดประสงค์จะขอถอนตัวจากการได้รับเลือกให้แถลงต่อที่ประชุมใหญ่ ก่อนการลงคะแนน และให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติว่าจะให้มีการถอนตัวหรือไม่ มติของที่ประชุมใหญ่ ่เป็นที่สุด การเลือกองค์คณะผู้พิพากษาแต่ละคดีให้ใช้วิธีการลงคะแนนลับ ให้ผู้พิพากษา ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบจำนวนเก้าคนเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นองค์คณะผู้พิพากษาสำหรับคดีนั้น ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกิน เก้าคน ให้ประธานศาลฎีกาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก ผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกเป็นองค์คณะผู้พิพากษามีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา พิพากษาคดีจนกว่าจะสิ้นสุดอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และ ระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ห้ามมิให้มีคำสั่งให้ผู้พิพากษาผู้นั้นไปทำงานที่อื่น นอกศาลฎีกา
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ออกกฎหมาย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๓ เมื่อมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ให้ประธานศาลฎีกาเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา(หรือผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา)เป็นองค์คณะผู้พิพากษาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวโดยเร็ว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิบสี่วันนับแต่วัน ยื่นฟ้องคดีผู้พิพากษาคนใดประสงค์จะขอถอนตัวจากการได้รับเลือก ให้แถลงต่อที่ประชุมใหญ่ก่อนการลงคะแนน และให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติว่าจะให้มีการถอนตัวหรือไม่ มติของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นที่สุด การเลือกองค์คณะผู้พิพากษาแต่ละคดีให้ใช้วิธีการลงคะแนนลับ ให้ผู้พิพากษาที่ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบจำนวนเก้าคนเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นองค์คณะผู้พิพากษาสำหรับคดีนั้น(แต่ทั้งนี้ จะมีผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นองค์คณะผู้พิพากษาเกินกว่าจำนวนสามคนไม่ได้) ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกิน(จำนวนดังกล่าว)ให้ประธานศาลฎีกาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก ผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกเป็นองค์คณะผู้พิพากษามีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี จนกว่าจะสิ้นสุดอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ห้ามมิให้มีคำสั่งให้ผู้พิพากษาผู้นั้นไปทำงานที่อื่นนอกศาลฎีกา
(แก้ไขเพิ่มเติมข้อความในวงเล็บ และตอนท้ายตัดคำว่า "9 คน" ออกไป ใช้คำว่า "จำนวนดังกล่าว" แทน)
โดยให้เหตุผลว่า การที่ต้องเพิ่มผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาเข้าไปด้วย ก็เพราะมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณคดีเข้ามาสู่ศาลฎีกามากขึ้น ศาลฎีกาจึงขาดแคลนอัตรากำลังผู้พิพากษา
ท่านอ่านแล้วเห็นความผิดปกติอะไรบ้างในการแก้ไขเพิ่มเติม วิธีพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกทายาทคณะรัฐประหาร ใน 2 มาตรานี้
โดยส่วนตัวผมเห็นการเตรียมการ ในการจัดการองค์คณะผู้พิพากษา ที่จะจัดการกับ ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ในคดีที่กำลังจะเข้ามาสู่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มีการวางแผนบันได 4 ขั้น ของ คณะรัฐประหาร ตั้งแต่การประชุมวางแผนกัน ที่บ้านของนายปรีย์ มาลากุล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 ที่มี นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา(ปัจจุบันเป็นองคมนตรี), นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด, นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม(ปัจจุบันเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) ร่วมประชุมวางแผนด้วย
แผนการเริ่มตั้งแต่ การลอบฆ่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถ้าฆ่าไม่สำเร็จก็จะทำการปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อปฏิวัติยึดอำนาจได้แล้ว ก็จะใช้อำนาจหรือวิธีการต่างๆ เพื่อจัดการกับชีวิตและทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ แล้วอย่างนี้มันจะยุติธรรมได้อย่างไร แม้แต่คิดจะใช้คาร์บอมถล่มขบวนรถของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เชิงสะพานซังฮี รัศมีทำการ 1 กิโลเมตร ที่อาจจะมีประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิตนับร้อยคน เขายังคิดจะทำได้ นับภาษาอะไรกับการแทรกแซงขบวนการยุติธรรม โดยการหาเหตุที่จะเอาผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาพรรคพวกของตัวเองที่สามารถสั่งได้ เข้ามาเป็นองค์คณะผู้ตัดสิน (ซึ่งตาม พ.ร.บ.ฉบับ พ.ศ. 2542 เดิมไม่มีระบุไว้) นี่ถ้าวันนั้นที่บ้านของ นายปรีย์ มาลากุล ไม่มี พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี(คนที่ออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ ด้วยตัวเอง) ไม่มีนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา(ปัจจุบันเป็นองคมนตรี), นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด, นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม(ปัจจุบันเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) ร่วมประชุมวางแผนด้วย ผมก็คงจะไม่เชื่อว่ามีการวางแผนกันอย่างนี้จริงๆ ผมคงไม่เชื่อว่าจะมีเหตุการคาร์บอมเพื่อลอบสังหารทักษิณจริงๆ และคงจะสามารถยอมรับคำตัดสินคดีต่างๆที่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ แต่นี่ทุกอย่างมันอยู่ในแผนของคณะรัฐประหาร ที่ยังกุมอำนาจอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ผ่านรัฐบาลร่างทรงคณะรัฐประหาร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ งานนี้ผมถือว่ามีความเคลือบแคลงสงสัยในกระบวนการยุติธรรม ว่าไม่น่าจะยุติธรรมจริงๆ ผมจึงเห็นด้วยกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนักการเมืองคนอื่นๆ ที่ถูกกระทำจากแผนการบันได 4 ขั้น ของคณะรัฐประหาร ที่พรรคเพื่อไทยจะเสนอครับ....
(มีต่อ ตอนที่ 3 ความเห็นของนักกฎหมาย....)
แก้ไขเมื่อ 14 มิ.ย. 54 14:18:17
แก้ไขเมื่อ 14 มิ.ย. 54 14:11:03
แก้ไขเมื่อ 14 มิ.ย. 54 14:02:19
จากคุณ |
:
ALTISTK
|
เขียนเมื่อ |
:
14 มิ.ย. 54 13:41:39
A:223.206.65.132 X:
|
|
|
|  |