 |
กรือเซะ ตากใบ ฆ่าตัดตอน กับยุทธการ.. ตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ ? + 5 คำถาม คาใจ !
|
 |
ผมติดตามข่าวการเมือง การหาเสียง รวมถึงกระทู้ของ คนบางกลุ่ม ในห้องราชดำเนิน มาได้ สัก 2วัน 3 วัน รู้สึกตะหงิดๆ อยากจะแจม เผื่อจะเห็นภาพบางมิติ กับข้อเท็จจริงบางอย่าง บางมุม และ การที่ นายอภิสิทธิ์ หรือใครก็ตาม นำเรื่องที่ ละเอียดอ่อน ดังกล่าว ไปหาเสียงสาดโคลน หรือโจมตีกัน มันเป็นการสมควรหรือไม่..แต่อาจจะยาวสักหน่อยเพราะต้องเอาทั้ง 3 เรื่องที่ผ่านมานานแล้ว มารวมกัน ...โปรดพิจารณา
กรณี กรือเซะ 28 เม.ย. 2547 , ผู้ก่อการไม่สงบ เสียชีวิต 32 ราย , เจ้าหน้าที่ เสียชีวิต 3นาย บาดเจ็บ 17 นาย
กรณี ตากใบ 25 ต.ค. 2547 , ผู้ชุมนุมเสียชีวิต ในที่เกิดเหตุ และ บริเวณใกล้เคียง 9 ราย เสียชีวิตระหว่างการควบคุมผู้ต้องหาโดยเจ้าหน้าที่ทหาร ไปยัง ค่ายอิงคยุทธบริหาร 79 ราย
และ หลังจากเหตุการณ์ทั้ง 2 นี้ รัฐบาลในขณะนั้น ก็ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระ ขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง 2 ชุด ไล่หลังแต่ละกรณี และ รายงาน ต่อ นาย อานันท์ ปันยารชุน ประธาน คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2548 ซึ่งท่านสามารถ ดูรายละเอียดได้จาก link ตอนท้ายของกระทู้
ส่วนตัวผม ผมไม่อยากฟื้นฝอยหาตะเข็บหรอก เพราะ อย่างไรผู้เสียชีวิต ก็ล้วนแต่เป็น คนไทย ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะผิดหรือถูก ก็ตาม แต่ผมมีข้อสังเกตุดังนี้
รายละเอียดของคดี กรือเซะ กับ ตากใบมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ คดี กรือเซะ เป็นการต่อสู้ทั้งสองฝ่าย มีการปะทะกันเกิดขึ้น โดยผู้ก่อความไม่สงบ ทำการยึดมัสยิด และใช้อาวุธสงคราม ยิงต่อสู้กับทหาร และ ถึงแม้ ผลการสอบสวนจะปรากฏว่าทหารฯ อาจะกระทำเกินกว่าเหตุ แต่ก็ไม่มีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ส่วนชาวไทยมุสลิม ส่วนใหญ่ และ ชาติมุสลิมต่างๆก็ไม่ได้ติดใจ แต่สำหรับคดีตากใบ ผู้สูญเสียหรือชาวบ้านได้ยอมจำนนแล้ว และไม่ได้เสียชีวิตจากการปะทะ แต่เสียชีวิตขณะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหาร และจากผลการสอบสวนชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติราชการใน วันเกิดเหตุ ทั้งยังชี้มูลว่ามีผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง ซึ่งก็คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงระดับสูง 3 นาย ได้แก่ 1 ) พลโท พิศาลฯ แม่ทัพภาค 4 ผู้มีอำนาจประกาศกฏอัยการศึกในพื้นที่ 2 ) พลตรี เฉลิมชัยฯ ผบ.พล.ร.5 ในฐานะรับผิดชอบสลายการชุมนุม และ ลำเลียงผู้ชุมนุม 3 ) พลตรี สินชัย ฯ รองแม่ทัพ ภาค 4 รับผิดชอบจัดเตรียมทั้งน้ำ อาหาร และพื้นที่ เพื่อรองรับผู้ถูกควบคุมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร
ส่วนข้อมูลเชิงลึกถึงสาเหตุที่ทำให้พี่น้องชาวมุสลิม มาชุมนุมกันจำนวนมากผิดปกติ น่าจะมีเบื้องหลัง แต่ผมขอไม่วิจารณ์
เอาล่ะครับ ถ้ามองรัฐบาล ที่บริหารประเทศในขณะนั้น ด้วยความเป็นกลาง จะพบว่า
1 )รัฐบาลในขณะนั้นก็มิได้ นิ่งนอนใจ แสดงความรับผิชอบ ด้วยการตั้งคณะกรรมการอิสระฯ ที่เป็นกลาง โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ขึ้นมาสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที จนผลการสอบสวนออกมาอย่างที่ทราบกัน ภายในระยะเวลา เพียง 1 ปี
2) ปฏิเสธไม่ได้ว่าการปฏิบัติการทั้ง 2 กรณี เป็นการดำเนินการ และ สั่งการทางทหาร ไม่ว่าจะกระทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ในกรณีของ กรือเซะ ..หรือ บกพร่องในสายการบัญชาการ ในกรณีของ ตากใบ ก็ตาม ฝ่ายทหารฯ จึงอยู่ในฐานะต้องรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้..ส่วนฝ่ายรัฐ ก็ต้องมีหน้าที่ลงโทษผู้เกี่ยวข้องและ เยียวยาผู้เสียหาย ต่อไป
ต่อมา ศาลจังหวัดสงขลามีคำสั่งในคดีไต่สวนการตายของผู้เสียชีวิตจำนวน 78 คน และ หลังการปฏิวัติ ฯรัฐได้เจรจาไกล่เกลี่ยกับญาติผู้เสียชีวิต และมีการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง ( ในสมัยรัฐบาล สุรยุทธ์ ถ้าผมจำไม่ผิด ) พร้อมทั้งมีข้อสัญญาว่าผู้เสียหายจะไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐต่อไปไม่ว่าในทาง แพ่งหรือทางอาญา คดีถือว่าสิ้นสุด แต่หากมีข้อมูลใหม่ ก็สามารถรื้อคดีได้ เพราะคดีมีอายุความ 20 ปี ( แต่ผมว่ามันก็ไม่สามารถเยียวยาจิตใจของผู้สูญเสียได้หรอกครับ..และอาจจะก่อให้เกิดความรุนแรงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน )
กรณี ฆ่าตัดตอน 2000 กว่าศพ
เบื้องต้นผลสรุป พบว่า ระหว่างช่วงประกาศสงครามยาเสพติดเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน 2546 มีคดีฆาตกรรม 2,559 คดี เป็นผู้เสียชีวิตที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 1,370 คน ผู้ตายไม่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 878 คน มีผู้เสียชีวิตจากคดีฆาตกรรมที่ไม่ทราบสาเหตุการตาย 571 คน รวมยอดผู้เสียชีวิต 2,819 คน ส่วนคดีวิสามัญฆาตกรรมมีผู้เสียชีวิต 54 คน แยกเป็นผู้ตายมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 41 คน ไม่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 2 คน คดีวิสามัญฆาตกรรมไม่ทราบสาเหตุการตาย 11 คน
ก่อนอื่นผมขอคัด ผลรายงานบางส่วนของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษา และวิเคราะห์ การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดและการนำนโยบายไปปฏิบัติจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน ขึ้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติด กระบวนการยุติธรรมและผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว ( คตน. ) ซึ่งแต่งตั้งโดย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 โดยมี อาจารย์ คณิต ณ นคร เป็นประธานกรรมการฯ ส่วนกรรมการอีก 9 คนนั้น ไม่อยากบอกรายชื่อครับ ( ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลคุณทักษิณทั้งนั้น ) .. แต่ก็มีเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจครับ..
...คตน.เห็นว่าข้อเท็จจริงเบื้องต้นในขณะนี้ ยังไม่ชัดเจน จำเป็นจะต้องทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า มีหลักฐานว่ามีการกระทำอันเป็นการสั่งหรือโฆษณา หรือใช้ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตามคำสั่งหรือหนังสือสั่งการไปกลั่นแกล้ง จับกุม หรือใช้วิธีการอื่นใดที่ผิดกฎหมายใน การจับกุมหรือไม่
คตน.เห็นว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นพบว่า เกิดคดีฆาตกรรมมากกว่าปกติในห้วงเวลาดังกล่าวในลักษณะเป็นวงกว้างและเป็นระบบโดยมีประชาชนเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง และ เป็นผลจากความผิดพลาดของการนำนโยบายปราบปรามยาเสพติดไปสู่การปฏิบัติ แต่ยังไม่อาจฟังเป็นยุติว่าผู้นำฝ่ายบริหาร มีเจตนาจงใจให้เกิดการกระทำเช่นนั้น คตน.จึงเห็นควรตรวจสอบข้อเท็จจริงในส่วนนี้ต่อไป กล่าวโดยสรุปในการวิเคราะห์ความรับผิดชอบทางกฎหมาย คตน.เห็นว่า ข้อเท็จจริงยังไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะวินิจฉัยในขณะนี้ ..
และต่อมา รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ก็ได้การสั่งให้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระฯขึ้นมาตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวต่อ ใน วันที่ 12 มิ.ย. 2553 หลังการสลายการชุมนุม ที่ราชประสงค์ ได้ไม่ถึงเดือน ?.?... ?
แต่.. จนแล้วจนรอด บัดนาว ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ทราบแม้แต่เพียงคดีเดียวว่า เจ้าพนักงานคนไหน หน่วยงานไหน ผู้บริหารคนไหน ก่อคดีฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาเสพติด! ( แต่คตน.ชุดแรกใช้เงินงบประมาณไปในการนี้กว่า 40 ล้านบาท ) แต่ปรากฏว่าหลังจากการประกาศสงครามยาเสพติดในครั้งนั้นสถิติคดียาเสพติดลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ ! สวนทางกับปัจจุบันที่กลับมีแนวโน้มไปในทางตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง
ดังนั้น การที่ นายอภิสิทธิ์ เขียนลงใน face book ครั้งที่ 4 ตอนท้ายว่า..
..ลองเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่ ตากใบ กรือเซะ และการฆ่าตัดตอน 2,000 กว่าศพ ดูสิครับ ..แล้วท่านจะเข้าใจ ความแตกต่างระหว่างการสั่งฆ่าประชาชน กับ การรักษากฎหมาย..
ผมขอแค่ 5 คำถาม ว่า
1 ) นายอภิสิทธิ์ จงใจ หรือมีเจตนา กล่าวหา และบิดเบือนข้อเท็จจริง ทั้ง 3 กรณี หรือข้อหนึ่งข้อใดข้างต้น เพื่อให้ประชาชน เข้าใจผิดในสาระสำคัญ เพื่อก่อให้เกิดความเกลียดชัง ต่อบุคคล หรือพรรคการเมืองคู่แข่ง หรือไม่ ? โดยเฉพาะ การใช้ คำว่า สั่งฆ่าประชาชน
2 ) นายอภิสิทธ์ จงใจ หรือ มีเจตนา ปัดความรับผิดชอบ ตลอดจน เบี่ยงเบนความสนใจ กรณี การสั่งสลายการชุมนุม ที่ราชประสงค์ และ วัด ปทุมฯ จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 92 ราย บาดเจ็บ เกือบ 2000 คน ด้วยวิธีข้อที่ 1 หรือไม่ ?
3 ) นายอภิสิทธิ์ มีความจริงใจแค่ไหน ในการคลี่คลายคดี ฆ่าตัดตอน .. กรรมการที่คุณจัดตั้งขึ้น เป็นกลาง โปร่งใส หรือไม่ ? และเชื่อได้หรือไม่ ว่าจะไม่มีการใส่ร้ายทางการเมือง ?
4 ) ถ้าการรักษากฎหมาย ในแง่มุมของนายอภิสิทธิ์ ก่อให้เกิด ความสูญเสียชีวิต และบาดเจ็บ เป็นจำนวนมาก คุณคิดว่าคุ้มค่าแล้วหรือ และ สมควรหรือไม่ ที่คำพูดเหล่านี้ ออกมาจากปาก คนที่ได้ชื่อว่าเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ ?
5 ) จากข้อ 1 ถึงข้อ 4 นายอภิสิทธิ์ กำลังสร้าง ความปรองดอง หรือ กำลังขยายแผล ความขัดแย้ง ในหมู่คนไทยด้วยกัน เพราะเพียงเพื่อรักษาอำนาจ ของตัวเอง และพรรคพวก หรือไม่ ?
และ ถ้านายอภิสิทธ์ คิดจะเสนอตัว เป็นนายกฯ อีกสมัย ผมว่าการที่คุณเรียกร้องความเห็นใจ ผมว่าก็พอฟังได้เพราะโดนด่าอยู่ทุกวัน แต่คุณก็ควรมีความรับผิดชอบในคำพูดของคุณมากกว่านี้..อย่าสักแต่พูดเอามันส์ พูดคลุมเครือ หรือจะเป็นอย่างที่เค้าพูดกันอยู่ทุกวันว่า
..เอาดีใส่ตัว โยนความชั่วให้คนอื่น .. หรือมีความสามารถพิเศษในการ .. ตีหน้าเศร้า เล่าแต่ความเท็จ .. แต่ไม่ว่าประโยคไหน มันก็ล้วนแต่ เซ็งฮวย พอๆกันแหละครับ..ฮ่วย..บักฮ้านี่ ตั๋ว คักคัก..!
http://wbns.oas.psu.ac.th/shownews.php?news_id=21076
ปัจฉิมลิขิต : ฝากถึงสาวกแมงสาบในห้องราชดำเนิน กรุณาหยุดโพสท์เรื่อง กรือเซะ กับ ตากใบได้แล้ว เพราะมันส่อไปในทางซ้ำเติมให้เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดภาคใต้ให้แย่ลงไปอีก.. เรื่องนี้ไม่ใช่เอามาล้อกันเล่น ขอให้เข้าใจไว้ด้วย
และขอฝากคำถาม 5 ข้อ ของผม ไปให้เจ้านายคุณ หรือ นายอภิสิทธิ์ ในวันที่ 23 มิ.ย.ด้วย จะเป็นพระคุณอย่างสูง
แก้ไขเมื่อ 21 มิ.ย. 54 20:32:18
จากคุณ |
:
แมวน้ำสีคราม
|
เขียนเมื่อ |
:
21 มิ.ย. 54 19:32:16
A:180.180.88.65 X:
|
|
|
|  |