บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารเสนาธิปัตย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553 เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบการจัดทำเอกสารแนวทางในการปฏิบัติทางทหาร: กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง จากความริเริ่มของพล.ท.สิงห์ศึก สิงห์ไพร เพื่อกำหนดบทบาทของกองทัพบกในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในเมืองรูปแบบใหม่
ผู้เขียนใช้นามแฝงว่าหัวหน้าควง เป็นจปร.32 (เหล่าทหารราบ) เป็นนายทหารปฏิบัติการประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
เนื้อหาในบทความนี้เป็นมุมมองของนายทหารที่ปฏิบัติการณ์สลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่สรุปบทเรียนจากความสำเร็จในการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์
มีเนื้อหาหลายช่วงตอนที่น่าสนใจ เช่น
1.ในขณะที่สุเทพ เทือกสุบรรณรองนายกรัฐมนตรี ปราศรัยบนเวทีราชประสงค์ยืนยันว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้ร่วมสั่งการในการสลายการชุมนุม โดยนายสุเทพประกาศว่าเขาเป็นคนสั่งการเอง
ผมเรียนกับพี่น้องครับ นายกฯ อภิสิทธิ์ ไม่ได้ร่วมสั่งการใด ๆทั้งสิ้น ผมเป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. ผมเป็นคนสั่งการทุกอย่าง แล้วผมรับผิดชอบ เขากล่าวหาว่า ทำให้คนตาย ผมไปมอบตัวแล้ว ผมเรียนกับพี่น้องครับ ผมพร้อมที่จะสู้คดีพิสูจน์ความถูก ความต้อง ผมไม่หนีไปต่างประเทศเหมือนทักษิณ
แต่ในบทความชิ้นนี้ ระบุชัดว่านายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ. ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่วางไว้
นอกจากนั้นยังระบุด้วยว่านโยบายรัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่ม นปช. ความชัดเจนก็คือนโยบายกระชับวงล้อมเพื่อ"ยุติการชุมนุม"ไม่ใช้การกระชับวงล้อมเพื่อ"เปิดการเจรจา"
และนั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ข้อเสนอเป็นตัวกลางในการเจรจาของ"วุฒิสมาชิก"ในคืนวันที่ 18 พฤษภาคมถูกปฏิเสธ
มีเนื้อหาหลายช่วงตอนที่น่าสนใจ เช่น
1.ในขณะที่สุเทพ เทือกสุบรรณรองนายกรัฐมนตรี ปราศรัยบนเวทีราชประสงค์ยืนยันว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้ร่วมสั่งการในการสลายการชุมนุม โดยนายสุเทพประกาศว่าเขาเป็นคนสั่งการเอง
ผมเรียนกับพี่น้องครับ นายกฯ อภิสิทธิ์ ไม่ได้ร่วมสั่งการใด ๆทั้งสิ้น ผมเป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. ผมเป็นคนสั่งการทุกอย่าง แล้วผมรับผิดชอบ เขากล่าวหาว่า ทำให้คนตาย ผมไปมอบตัวแล้ว ผมเรียนกับพี่น้องครับ ผมพร้อมที่จะสู้คดีพิสูจน์ความถูก ความต้อง ผมไม่หนีไปต่างประเทศเหมือนทักษิณ
แต่ในบทความชิ้นนี้ ระบุชัดว่านายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ. ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่วางไว้
นอกจากนั้นยังระบุด้วยว่านโยบายรัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่ม นปช. ความชัดเจนก็คือนโยบายกระชับวงล้อมเพื่อ"ยุติการชุมนุม"ไม่ใช้การกระชับวงล้อมเพื่อ"เปิดการเจรจา"
และนั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ข้อเสนอเป็นตัวกลางในการเจรจาของ"วุฒิสมาชิก"ในคืนวันที่ 18 พฤษภาคมถูกปฏิเสธ
ยุทธการกระชับวงล้อมแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1. ช่วง 14 พฤษภาคม 2.ช่วง 15-18 พฤษภาคม และ 3 ช่วงวันที่ 19 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 03.00 จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุม 13.20 น.
2.หัวหน้าควงสรุปว่าเหตุผลหนึ่งที่ประสบชัยชนะในการกระชับวงล้อมมาจากการถอนตัวของนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกลุ่มนปช. และการเสียชีวิตของพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง เพราะทำให้นปช.ไม่มีหัวในระดับยุทธศาสตร์ทางการเมืองและไม่มีหัวเสธ.ระดับยุทธศาสตร์ทางทหารในการวางแผนตั้งรับ
ก่อนหน้านี้นายสุเทพ ปราศรัยว่าเขาสงสัยว่าพวกของนายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นฝ่ายยิงเสธ.แดง
3.เอกสารชุดนี้บอกชัดเจนถึงแผนยุทธการทั้งหมด และหน่วยทหารที่ใช้ในครั้งนี้ มีการยอมรับในเอกสารถึงการใช้หน่วยสไนเปอร์ เป็นหน่วยแรกในการเข้าสลาย โดยยึดพื้นที่สูงคืออาคารเคี่ยนหงวน และอาคารบางกอกเคเบิ้ล
และมีหลายช่วงตอนที่พุดถึงหน่วยสไนเปอร์ ที่ระดมพลแม่นปืนเท่าที่มีอยู่ในกองทัพบกเข้าประจำพื้นที่ เพื่อต่อต้านการซุ่มยิงของกลุ่มนปช.ทั้งบนอาคารสูงและพื้นที่สูงข่ม
4.มีการพูดถึงการสั่งการให้ใช้กระสุนจริง และระบุว่าแผนยุทธการครั้งนี้เป็นการวางแผนการปฏิบัติรบเต็มรูปแบบ เหมือนการทำสงครามรบในเมือง ใช้กำลังขนาดใหญ่ถึง 3 กองพลและยิ่งมีการสั่งการให้ใช้กระสุนจริงกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายผู้ถืออาวุธและเพื่อป้องกันตัวเองได้ ทำให้ทหารที่สูญเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ 10 เมษายน มีจิตใจรุกรบมากขึ้น
และปรับการยิงกระสุนยางจากปืนลูกซองเป็นการใช้กระสุนจริงจากอาวุธประจำกาย
5.จากหน่วยข่าวศอฉ.เชื่อว่ามีผู้ก่อการร้ายที่แอบแฝงในกลุ่มนปช. เป็นกองกำลังติดอาวุธประมาณ 500 คน มีอาวุธซุ่มยิง อาวุธสงคราม เช่น M 79 M16 AK 47 และ Travo-21
6.ในส่วนของข้อเสนอแนะทางยุทธวิธี มีข้อหนึ่งที่ระบุว่า ผู้บังคับบัญชาหน่วยระดับยุทธวิธีควรปฏิบัติภายใต้การรักษาชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธ์เป็นที่สำคัญที่สุด และต้องควบคุมการลั่นไกกระสุนจริงโดยมีสติ และมีเจตนารมณ์ อย่าให้กำลังพลปฏิบัติด้วยความโมโห หรือการแก้แค้นเป็นอันขาด
และควรมีการศึกษาค้นหาตัวแบบที่เหมาะสมในการกำหนดพื้นที่ที่ใช้กระสุนจริง เพราะปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามีประเทศใดในระดับนานาชาติที่ได้นำมาปฏิบัติในการสลายการชุมนุมที่ได้รับการยอมรับ
และนี่คือรายละเอียดของบทความชิ้นนี้โดย"มติชนออนไลนื"แบ่งเนื้อหาดังกล่าวเป็น 2 ตอน
อ่านต่อได้ที่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1308932303&grpid=01&catid=&subcatid=
นายกอภิสิทธิ์ฯ ว่าไงครับ ก่อนร้องไห้ท่านได้บอกเมียท่านหรือปล่าวว่า ได้สั่งทหารดำเนินการฆ่า ปชช ด้วย
และนี่เป็นเอกสารสำคัญ ที่จะสามารถดำเนินการทางคดีอาญาต่อผู้สั่งการได้ต่อไป
แก้ไขเมื่อ 25 มิ.ย. 54 19:29:38