 |
เก็บเรื่องเล่า เอามาเรียง (ตอนเขาพระวิหารและมรดกโลก)
|
 |
ได้อ่านเรื่องกรณีเขาพระวิหาร มาหลายครั้ง ส่วนมากเป็นการถก หรือ อภิปรายกันสั้นๆ ยิ่งอ่านยิ่งงง ว่าข้อมูลฝ่ายไหนถูกกันแน่
เลยไปไล่หาข้อมูลมานั่งอ่าน พอจะลำดับคร่าวๆ ที่เข้าใจง่ายๆได้ดังนี้ค่ะ (ขอไม่ใช้ภาษาวิชาการนะคะ เพราะอ่านแล้วมันชวนมึน)
1. ปี ค.ศ. 1904 ไทย-ฝรั่ง คุยกันลงตัว มีการแลกเปลี่ยนดินแดนกัน และให้กำหนดเขตแดนโดยมีการระบุจุดลากเส้นตามยอดเขาปันน้ำ
แต่...ก็มีระบุไว้ด้วยว่าให้ตั้งคณะข้าหลวงผสม เพื่อทำการกำหนดเขตแดน (เรียกเท่ห์มากอ่ะ คณะข้าหลวงผสม ^^)
2. ปี ค.ศ.1097 ไทย-ฝรั่งเศสทำสัญญากันอีกที เพื่อยืนยันตามสัญญา 1904 และมีสัญญาแถมอีกฉบับแนบท้ายมาด้วย เป็นสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตแดน ก็มีการกำหนดจุดต่างๆ ซึ่งอ้างอิงจากสันปันน้ำ
*ข้อสังเกต มีการบอกไว้ในข้อ 3 ของสัญญาแถม ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลง จะต้องไม่ทำให้สยามเสียประโยชน์ ตรงนี้เองที่นักวิชาการซึ่งสนับสนุน MOU43 ยึดไว้แน่น เพราะหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทย
3. ปี 1908 แผนที่เสร็จเรียบร้อย โดย หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร อัครราชทูตสยามประจำฝรั่งเศสตอนนั้น ได้ทำหนังสือแจ้งมาที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยว่า ทำหน้าที่สำเร็จแล้ว และ ส่งแผนที่นั้นมาที่กระทรวงการต่างประเทศของไทย รวมทั้งส่งไปเก็บ ที่สถานทูตไทยประจำประเทศต่างๆ อีกหลายที่ (สงสัยจะกันหาย *-*)
ข้อสังเกต หม่อมเจ้า จรูญศักดิ์ ใช้คำเรียกผู้จัดทำแผนที่ว่าคณะกรรมการผสม
หมายความว่า นับแต่ปี 1908 เป็นต้นมา ไทย ได้รับทราบแผนที่ดังกล่าวแล้ว โดยไม่มีการทักท้วงใดๆ ทั้งสิ้น
แต่ ฝ่ายไทยเราสู้โดยบอกว่า ไทยไม่ได้รับรองแผนที่
*ข้อสังเกต ฝ่ายไทยรับรู้เรื่องแผนที่มาโดยตลอด แต่ไม่ได้รับรอง ในขณะเดียวกันสมัยนั้นก็ไม่ได้คัดค้าน
4.เกิดกรณีอาณาเขตพิพาท 1935 - 1936 ซึ่งมีการนำแผนที่นี้มาดู ไทยก็ไม่ยอมบอกว่าแผนที่นี้มีปัญหา
5.เมือเกิดกรณีพิพาทเขาพระวิหารจนขึ้นสู่ศาลโลก ศาลตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา โดยเอาแผนที่ 1:200,000 ที่ทำไว้ตอนนู้น เป็นหลักฐาน
ฝ่ายไทยสู้โดยบอกว่า แผนที่นี้มันผิด ไทยไม่เคยรับรอง
แต่ศาลโลกบอกว่า ถ้ามันผิดแล้วตั้งนานทำไมเอ็งไม่ทักท้วง จึงยืนยันให้เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา
แต่...ศาลโลกก็ไม่ได้ยืนยันแผนที่
6. ไทยถอนทหารออกจากเขาพระวิหาร แล้วก็อยู่กันมาอย่างสงบสุขเนิ่นนาน เพราะเขมรมัวแต่รบกันเอง (ฮา)
7. ปี 2543 รัฐบาลท่าน ชวน หลีกภัย ทำ MOU 2543 กับกัมพูชา โดยระบุว่า เอกสารอ้างอิงคือ สัญญาปี 1904 และ 1907 <<< ซึ่ง 2 ชิ้นนี้ไม่มีปัญหา
แต่ใน MOU ข้อ 1 ค. ดันเกิดสมองฝ่อกระทันหัน ระบุเอกสารอ้างอิงอีกอย่างคือ แผนที่ที่จัดทำขึ้น ตามสัญญาปี 1904 และ 1907 นั่นเอง
แผนที่นั้นคืออะไร??
มันก็แผนที่ 1:200,000 ที่ทำให้ไทยแพ้คดีปราสาทพระวิหาร นั่นเอง นี่เองที่รัฐบาลประชาธิปัตย์พลาด เพราะแผนที่อื่นๆ ที่ทำขึ้นในภายหลังไม่ได้ทำตามสัญญา 1904 และ 1907
8. การดำเนินการระหว่างประเทศหลังจากนั้น ก็ต้องอิงตาม MOU43 ไปหมด ซึ่งเห็นชัดๆ ว่าไทยเสียเปรียบ ทั้งรัฐบาลทักษิณ หรือแม้แต่รัฐบาลสุรยุทธ์ เอง ก็ต้องทำข้อตกลงต่างๆ โดยอิงแผนที่ดังกล่าวไปด้วย
9. พื้นที่บางส่วน ถ้าใช้แนวสันปันน้ำจะอยู่ในเขตไทย แต่ถ้าเอาแผนที่ฝรั่งเศส จะอยู่ในเขตกัมพูชา จึงเรียกพื้นที่เจ้าปัญหานี้ว่าพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ทั้งไทยทั้งเขมร ห้ามคนเข้า ห้ามคนอยู่ ห้ามใช้ประโยชน์ ปล่อยมันไว้งั้นล่ะมีปัญหานักไม่ต้องเจริญซะ (ฮา)
10. ทหารทั้ง 2 ฝ่าย ก็ใช้แนวขอบของพื้นที่ทับซ้อนนี้ในการรักษาแนวชายแดนมาตลอด
11. ปี 2539 มีการเริ่มปักปันเขตแดน ไทย - ลาว ปรากฎว่าดันไปอ้างแผนที่ 1:200,000 ฉบับตัวปัญหา เป็นเอกสารอ้างอิงเฉยเลย
12. ในรัฐบาลทักษิณ ไทย-กัมพูชา ตกลงจับมือกันพัฒนาพื้นที่เจ้าปัญหา และบูรณปฏิสังขรณ์เขาพระวิหาร โดยเหตุผลว่าเพื้อมิตรภาพที่ยั่งยืน ระหว่าง ไทย - กัมพูชา และฝ่ายกัมพูชาจะขอศึกษาเรื่องการนำปราสาทพระวิหาร ขึ้นทะเบียนมรดกโลก แต่ ต้องได้รับความร่วมมือกับไทยอย่างใกล้ชิด
13. สมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่โลภมาก รวมพื้นที่เจ้าปัญหา 4.6 ตารางกิโลเมตรเข้าไปด้วย รัฐบาลสุรยุทธ์บอกคณะกรรมการมรดกโลกว่า ขอให้เลื่อนการพิจารณาไปก่อน
14. รัฐบาลสมัคร เหลือเวลาแค่ 5 เดือน จะถึงกำหนดเส้นตายที่รัฐบาลสุรยุทธ์ขอกับทางมรดกโลกไว้ รัฐมนตรีนพดล และ หน่วยงานราชการต่างๆ วิ่งเต้นขาขวิด จนกัมพูชายอมแถลงการร่วม ตัดพื้นที่ทับซ้อนออกจาก การขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก
โดยตกลงจะเอาพื้นที่เจ้าปัญหา 4.6 ตารางกิโลเมตร มาบริหารจัดการร่วมกันซะ จะได้เจริญซะที ดักดานมานานแล้ว (ฮา)
* ข้อสังเกต แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นครั้งแรกที่กัมพูชายอมรับว่า 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นพื้นที่ทับซ้อน ทั้งที่ก่อนหน้านั้นกัมพูชายืนยันว่า ตรงนี้ของข้านะเฟ้ย มาตลอด (ตั้งแต่ชนะคดีที่ศาลโลก)
15. พิษการเมืองเล่นงาน สุดท้ายศาลไทย ยกเลิกแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวไปแล้ว ทำให้การลงนามของรัฐมนตรีนพดลไม่มีผลมาตั้งนานแล้ว
16. ตอนนี้กรณีขึ้นทะเบียนมรดกโลกของปราสาทประวิหารไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับรัฐมนตรีนพดลแล้ว แต่กัมพูชายังเดินหน้าต่อ และคืบหน้าขึ้นเรื่อยๆ โดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ มีแนวโน้มสู้ไม่ได้ จึงใช้แนวอินดี้ที่ถนัด ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกมันซะเลย (บางกลุ่มก็สะใจกันไป)
17. ปัญหาที่ต้องกังวลคือ แถลงการณ์ร่วมที่ให้ตัดพื้นที่เจ้าปัญหา 4.6 ตารางกิโลเมตรออกไปนั้น ปัจจุบันถูกถือว่าเป็นโมฆะ ด้วยฤทธิ์เดชของการเมืองไทย หากกัมพูชาหยิบพื้นที่นี้ใส่เข้าไปใหม่ จะแก้ไขอย่างไร ??
ส่วนตัวปราสาท เราคงทำอะไรไม่ได้อยู่แล้ว เพราะศาลโลกตัดสินมาตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว ว่าเป็นของเขมร
ประชาธิปัตย์ + พันธมิตร ตอบได้หรือเปล่าคะ
แก้ไขเมื่อ 30 มิ.ย. 54 00:05:50
จากคุณ |
:
หงส์หิมะ
|
เขียนเมื่อ |
:
29 มิ.ย. 54 23:29:01
A:124.120.196.131 X:
|
|
|
|  |